อรรถาธิบายฟาติหะฮฺ
โองการที่สาม: اَلرَّحمنِ الرَّحِيمِ
ความหมาย: (พระผู้เป็นเจ้า) ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ
คำอธิบาย: อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงถือเอาความเมตตาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระองค์อัล-กุรอานกล่าวว่า
كَتَبَ رَبُّكُم عَلَى نَفسِهِ الرَّحمَةَ(๑)
และความเมตตาของพระองค์นั้นครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า
وَرَحمَتِى وَ سِعَت كُلََّ شَىءٍ(๒)
และในทำนองเดียวกันบรรดาศาสดา และคัมภีร์ที่พระองค์ประทานลงมาก็เป็นความเมตตาด้วยเช่นกัน رَحمًَة ًلِلَّعَالَمِين(๓) การอภิบาลของพระองค์วางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา และหากพระองค์ทรงลงโทษก็เนื่องจากความกรุณาปรานีของพระองค์ด้วยเช่นกัน การอภัยโทษ การตอบรับการสารภาพผิดของปวงบ่าว การปกปิดข้อบกพร่องของปวงบ่าว (จากสายตาของบุคคลอื่น)และการให้โอกาสแก้ตัวต่อพวกเขาเหล่านี้ล้วนเป็นความ เมตตากรุณาของพระองค์ทั้งสิ้น
บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮ
๑. การอภิบาลของอัลลอฮฺ (ซบ.) วางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตาและความกรุณาปรานี (ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า اَلرَّحمنได้ถูกกล่าวไว้เคียง ข้างคำว่า رَبِّ )
๒. ในทำนองเดียวกันกับที่การอบรมสั่งสอนต้องอาศัยความเมตตาอัล-กุรอานกล่าวว่า
َالرَحمنُ عَلَّمَ القُرآن (๔)
การอภิบาลและการขัดเกลาก็เช่นเดียวกันต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ด้วยเช่นกัน
رَبِّ العَا لَمِين الرَّحمنِ الرَّحِيم (๕)
เชิงอรรถ
๑. "พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ทรงลิขิตให้ความเมตตาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระองค์" (อัล-อันอาม ๕๔)
๒. "และความเมตตาของข้าครอบคลุมทั่วทุกสรรพสิ่ง" ( อัล-อะอฺรอฟ ๑๕๖)
๓.(นบี) คือ "ความเมตตาสำหรับมนุษยชาติ" ( อัล-อัมบิยาอฺ ๑๐๗)
๔."พระผู้ทรงเมตตา ทรงสอนอัล-กุรอาน (อัร-เราะฮฺมาน ๑-๒)
๕.พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ (ฟาติหะ ๒-๓)
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮฺ