๔๐ หะดีษจากอิมามซอดิก (อ.) ตอนที่ 4
๔๐ หะดีษจากอิมามซอดิก (อ.) ตอนที่ 4
๓๑. ความดีที่สมบูรณ์อยู่ที่สามสิ่ง
لا يَتِمُّ الْمَعْرُوفُ إِلاّ بِثَلاثِ خِصال: تَعْجيلُهُ وَ تَقْليلُ كَثيرِهِ وَ تَرْكُ الاِْمْتِنانِ بِهِ
ความดีนั้นจะไม่มีวันสมบูรณ์ได้ เว้นเสียแต่ว่าต้องมีคุณสมบัติสามประการดังนี้ มีการเร่งรีบในการกระทำ, นับความดีที่ทำให้น้อยที่สุด, และละเว้นการสรรเสริญเยินยอ
๓๒. อีมานที่เป็นประโยชน์
مَنْ لَمْ تَكُنْ فيهِ ثَلاثُ خِصال لَمْ يَنْفَعْهُ الاِْيمانُ: حِلْمٌ يَرُدُّ بِهِ جَهْلَ الْجاهِلِ، وَ وَرَعٌ يَحْجُزُهُ عَنْ طَلَبِ الَْمحارِمِ وَ خُلْقٌ يُدارى بِهِ النّاسَ
บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีคุณสมบัติทั้งสามประการดังต่อไปนี้ถือว่าอีมานของเขาไม่มีประโยชน์ได้แก่
(๑) ความอดทนที่สามารถขจัดความโง่เขลาของคนที่โง่เขลาให้หมดสิ้นลงได้
(๒) การหลีกเลี่ยงที่ทำให้เขาหลีกห่างจากการกระทำความผิดบาป
(๓) ความประพฤติที่ทำให้เขาสามารถมีสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนตลอดไป
๓๓. เรื่องเกี่ยวกับความรู้
أُطْلُبُوا الْعِلْمَ وَ تَزَيَّنُوا مَعَهُ بِالْحِلْمِ وَ الْوَقارِ وَ تَواضَعُوا لِمَنْ تُعَلِّمُونَهُ الْعِلْمَ وَ تَواضَعُوا لِمَنْ طَلَبْتُمْ مِنْهُ الْعِلْمَ، وَ لا تَكُونُوا عُلَماءَ جَبّارينَ فَيَذْهَبَ باطِلُكُمْ بِحَقِّكُمْ
การแสวงหาความรุ้นั้นได้แก่ การประดับประดามันด้วยกับความอดทนขันติ ความยินดีปรีดา และมีความอ่อนน้อมกับผู้ที่เรียนรู้วิชาการกับท่าน และจงอย่าเป็นผู้รู้ทียโสโอหัง เพราะความประพฤติที่ไม่ถูกต้องจะทำลายความถูกต้องของท่าน
๓๔. การเชื่อถือตามความรู้จัก
إِذا كانَ الزَّمانُ زَمانَ جَوْر وَ أَهْلُهُ أَهْلَ غَدْر فَالطُّمَأْنينَةُ إِلى كُلِّ أَحَد عَجْزٌ
เมื่อใดก็ตามที่กาลเวลาเป็นเวลาของการกดขี่ข่มเหง และประชาชนในยุคของมันเป็นพวกบิดพลิ้วและหักหลัง ดังนั้นการไว้วางใจกับทุกๆคนนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
๓๕. บทสรุปของผู้ที่ลุ่มหลงโลก
أَلرَّغْبَةُ فِى الدُّنْيا تُورِثُ الْغَمَّ وَ الْحُزْنَ وَ الزُّهُدُ فِى الدُّنْيا راحَةُ الْقَلْبِ وَ الْبَدَنِ
ความลุ่มหลงต่อโลกคือสาเหตุที่นำมาซึ่งความโศกเศร้าอาดูร ส่วนความตักวาและการหลีกเลี่ยงจากโลกเป็นสาเหตุของความสบายใจและสบายกาย
๓๖. คุณลักษณะของการเชิญชวนไปสู่ความดีและห้ามปรามความชั่ว
إِنَّما يَأْمُرُ بِالْمَعْرُوفِ وَ يَنْهى عَنِ المُنْكَرِ مَنْ كانَتْ فيهِ ثَلاثُ خِصال: 1ـ عالِمٌ بِما يَأْمُرُ، عالِمٌ بِما يَنْهى.2ـ عادِلٌ فيما يَأْمُرُ، عادِلٌ فيما يَنْهى.3ـ رفيقٌ بِما يَأْمُرُ، رَفيقٌ بِما يَنْهى
อันที่จริงผู้ที่ทำการเชิญชวนไปสู่ความดีและห้ามปรามความชั่วต้องมีคุณสมบัติสามประการดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นผู้รู้ในสิ่งที่เขาทำการเชิญชวนและห้ามปราม (๒) ต้องมีความยุติธรรมในสิ่งที่เขาเชิญชวน และห้ามปราม (๓) ต้องเป็นผู้อ่อนน้อมในการเชิญชวนและห้ามปราม
๓๗. ผู้ปกครองที่กดขี่
مَنْ تَعَرَّضَ لِسُلْطان جائِر فَأَصابَتْهُ مِنْهُ بَلِيَّةٌ لَمْ يُوجَرْ عَلَيْها وَ لَمْ يُرْزَقِ الصَّبْرَ عَلَيْها
บุคคลใดที่ทำการเรียกร้องความดีงามจากผู้ปกครองที่กดขี่ แต่สิ่งที่เขาได้รับคือความอธรรม ซึ่งมันไม่มีผลรางวัลตอบแทน และไม่สามารถอดทนอดกลั้นได้
๓๘. ของกำนัลที่ดีที่สุด
أَحَبُّ إِخْوانى إِلَىَّ مَنْ أَهْدى إِلَىَّ عُيُوبى
มิตรที่เป็นที่รักยิ่งสำหรับฉันคือผู้ที่บอกความผิดพลาดและข้อตำหนิของฉัน
๓๙. การกดขี่ที่เลวที่สุดคือการทำให้หลงทาง
مَنْ دَعَا النّاسَ إِلى نَفْسِهِ وَ فيهِمْ مَنْ هُوَ أَعْلَمُ مِنْهُ فَهُوَ مُبْتَدِعٌ ضالٌّ
ผู้ที่ทำการเชิญชวนประชาชนให้ภักดีกับตนเอง ขณะที่ในหมู่ของเขามีผู้รู้ที่ฉลาดกว่า เท่ากับเขาได้สร้างบิดอะฮฺและหลงทางที่สุด
๔๐ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
إِنَّ صِلَةَ الرَّحِمِ وَ الْبِرَّ لَيُهَوِّنانِ الْحِسابَ وَ يَعْصِمانِ مِنَ الذُّنُوبِ فَصِلُوا إِخْوانَكُمْ وَبِرُّوا إِخْوانَكُمْ وَ لَوْ بِحُسْنِ السَّلامِ وَ رَدِّ الْجَوابِ
แท้จริงความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และการกระทำความดีจะทำให้การตรวจสอบของเขาง่ายดาย และจะช่วยป้องกันการกระทำความผิดบาป ฉะนั้นจงสร้างสายสัมพันธ์และประพฤติดีกับครอบครัว แม้ว่าท่านจะให้สลามด้วยมารยาทที่ดีงาม และเขาไม่ตอบรับสลามก็ตาม
ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามิคซอร์ซิส