เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คนชั่วร้ายที่สุดในครอบครัวจากทัศนะท่านศาสดา (ซ็อลฯ)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

คนชั่วร้ายที่สุดในครอบครัวจากทัศนะท่านศาสดา (ซ็อลฯ)


การปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกต่อสมาชิกในครอบครัว คือบรรทัดฐานที่ดีที่สุดสำหรับการวัดระดับการพัฒนาทางด้านความศรัทธา (อีหม่าน) และจริยธรรม (อัคลาก) ของคนเรา เนื่องจากว่า ใครก็ตามที่ปฏิสัมพันธ์และแสดงออกต่อสมาชิกในครอบครัวด้วยความจริงใจและความรัก พฤติกรรมและการแสดงออกดังกล่าวจะบอกให้รู้ถึงการพัฒนาทางด้านความศรัทธา (อีหม่าน) และคุณธรรมของเขา เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้อ้างวจนะของท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า :

 

أَحْسَنُ‏ النَّاسِ‏ إِیمَاناً أَحْسَنُهُمْ‏ خُلُقاً وَ أَلْطَفُهُمْ بِأَهْلِهِ وَ أَنَا أَلْطَفُکُمْ بِأَهْلِی

 

"คนที่ดีที่สุดในด้านความศรัทธานั้น คือผู้ที่มีกิริยามารยาทงดงามที่สุด และมีความสุภาพอ่อนโยนที่สุดต่อครอบครัวของเขา และฉันเป็นผู้ที่มีความสุภาพอ่อนโยนที่สุดในหมู่พวกท่านต่อครอบครัวของตน" (1)

 

    

บนพื้นฐานของริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทนี้ เราจะเห็นได้ว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ในท่ามกลางคำสอนต่างๆ ที่ท่านได้แนะนำเกี่ยวกับความสำคัญและผลต่างๆ ของความศรัทธา (อีหม่าน) นั้น ในวจนะ (ฮะดีษ) บทนี้ ท่านได้มุ่งประเด็นไปที่การปฏิบัติดีต่อครอบครัว

 

   

ในทางตรงกันข้าม  ในริวายะฮ์ (วจนะ) อีกบทหนึ่ง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ได้แนะนำให้รู้ถึงคนที่เลวร้ายที่สุดไว้ด้วยเช่นกัน นั่นคือคนที่สร้างความคับอกคับใจต่อครอบครัว โดยที่ท่านได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า :

 

شَرُّ النّاسِ الضَّیِّقُ عَلى اَهْلِهِ، قالوا یا رَسُولَ اللّه ِ وَ کَیْفَ یَکُونُ ضَیِّقاعَلى اَهْلِهِ قالَ: الرَّجُلُ اِذا دَخَلَ بَیْتَهُ خَشَعَتِ امْرَأَتُهُ وَ هَرَبَ وَلَدُهُ وَ فَرَّ فَاِذا خَرَجَ ضَحِکَتِ امْرَأَتُهُ وَ اسْتَأْنَسَ اَهْلُ بَیْتِهِ

 

"คนที่ชั่วร้ายที่สุด คือคนที่สร้างความคับอกคับใจให้กับครอบครัวของเขา" บรรดาสาวกได้กล่าวว่า : "โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์! เขาจะเป็นผู้สร้างความคับอกคับใจต่อครอบครัวอย่างไรหรือ?" ท่านกล่าวว่า : "เขาคือผู้ชายที่เมื่อเขาเข้าสู่บ้าน ภรรยาของเขาจะกลัวเขา และลูกๆ ของเขาจะหลีกหนีไปจากเขา แต่เมื่อเขาออกไปจากบ้าน ภรรยาของเขาจะยิ้มแย้มเบิกบาน และครอบครัวของเขาจะใกล้ชิดสนิทสนมกัน" (2)


แหล่งอ้างอิง :

1)-อุยูน อัคบาร อัรริฎอ, เล่มที่ 2, หน้าที่ 38

2)-มัจญ์มะอุซซะวาอิด วะ มันบะอุลฟะวาอิด, เล่มที่ 8, หน้าที่ 25


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม