เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การขอผ่าน (ตะวัซซุล) ไปยังเอาลิยาอฺ (มวลมิตร) เป็นสาเหตุทำให้เป็นชิริกและบิดอะฮฺกระนั้นหรือ?

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การขอผ่าน (ตะวัซซุล) ไปยังเอาลิยาอฺ (มวลมิตร) เป็นสาเหตุทำให้เป็นชิริกและบิดอะฮฺกระนั้นหรือ?  

 

 

การตะวัซซุลถือเป็นวิธีการหนึ่งที่มีค่าที่สุด ที่ทำให้บ่าวไปถึงยังตำแหน่งใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า  เป็นเพียงสื่อที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้าของตนเอง


ท่านอิบนิ มันซูร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  ลิซานุล อาหรับว่า

توسل إليه بكذا، تقرّب إليه بحرمة آصرةٍ تعطفه عليه

 

ได้สัมพันธ์กับเขาด้วยสิ่งที่มีอยู่ หมายถึง ได้ใกล้ชิดกับเขาด้วยเกียรติและฐานันดรที่ดึงดูดเขา (1)

 

อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَابْتَغُواْ إِلَيهِ الْوَسِيلَةَ وَجَاهِدُواْ فِي سَبِيلِهِ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ

 

ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์ และจงต่อสู้บนทางของอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ [2]

 

ท่านเญาฮะรีย์ ได้ให้ความหมายคำว่า (วะซีละฮฺ)  ไว้ในซิฮาฮุลลุเฆาะฮฺ ว่าหมายถึง

 

الوسيلة ما يتقرب به إلى الغير

สื่อหมายถึง สิ่งที่ทำให้เราใกล้ชิดกับอีกสิ่งหนึ่งโดยมัน

 

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่มีค่ายิ่งที่เราได้สัมพันธ์ด้วยนั้น บางครั้งอาจเป็นความดีงาม หรือการเคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นสื่อที่ทรงพลังทำให้เราได้เข้าใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า และบางครั้งอาจเป็นมนุษย์ที่เปี่ยมล้นด้วยความดีงาม ณ พระองค์เขาคือผู้มีฐานันดรและมีเกียรติที่สูงส่ง

 

ประเภทของการตะวัซซุล  สามารถแบ่งการตะวัซซุลออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้

 

๑. ตะวัซซุล กับอะมั้ลซอลิฮ์ (คุณงามความดี) ดังที่ท่าน ญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ได้กล่าวอธิบายโองการที่ว่า และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์  (وَابْتَغُوْا إِلَيْهِ الْوَسِيْلَةَ)  โดยรายงานมาจากท่านกุตาดะฮฺว่า

 

عن قتادة فى قوله تعالى [وَابْتَغُوْا إِلَيْهِ الْوَسِيْلَةَ] قال : تقربوا إلى الله بطاعته و العمل بما يرضيه

 

ท่านกุตาดะฮฺ ได้อธิบายโองการข้างต้นที่ว่า (จงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์) ว่าหมายถึง การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและพึงปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์พึงพอพระทัย อันเป็นสื่อทำให้บ่าวใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า

 

ตะวัซซุล กับดุอาอ์ของบ่าวที่ดี ดังที่อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของพี่น้องของท่านศาสดายูซุฟว่า

 

قَالُواْ يَا أَبَانَا اسْتَغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا إِنَّا كُنَّا خَاطِئِينَ  قَالَ سَوْفَ أَسْتَغْفِرُ لَكُمْ رَبِّيَ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ

 

พวกเขากล่าวว่า  โอ้พ่อของเรา โปรดขออภัยโทษความผิดของเราให้แก่เรา แท้จริงเราเป็นผู้ผิดเขากล่าวว่า ฉันจะขออภัยโทษต่อพระเจ้าของฉันให้พวกเจ้า แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ [3]

 

โองการได้อธิบายว่าบุตรของท่านศาสดายะอฺกูบ (อ.) ได้ตะวัซซุลกับดุอาอฺที่บิดาได้ขออภัยให้กับพวกเขา และพวกเขาได้ถือว่าสิ่งนั้นเป็นสื่อที่ ทำให้พวกเขาพบกับความผาสุกและพ้นจากเคราะห์กรรม ท่านศาสดายะอฺกูบ (อ.) ไม่เพียงแต่มิได้ท้วงติงการตะวัซซุลของพวกเขาเท่านั้น แต่ท่านยังได้สัญญากับพวกเขา ว่าจะวิงวอนขอการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าให้แก่พวกเขาอีกต่างหาก

 

การตะวัซซุล กับบุคคลที่มีเกียรติยศ และมีฐานันดรอันสูงส่ง ณ อัลลอฮ์ (ซบ.) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับพระองค์โดยให้พวกเขาเป็นสื่อ การตะวัซซุลเช่นนี้เป็นที่ยอมรับของสังคมอิสลามตั้งแต่ยุคแรก และเป็นความประพฤติของบรรดาศอฮาบะฮ์ชั้นใกล้ชิด ซึ่งต่อไป


ขอยกความประพฤติบางอย่างของเหล่าบรรดาศอฮาบะฮ์


ท่านอะฮฺมัด บิน ฮัมบัล ได้บันทึกไว้ในมุซนัดของท่าน โดยรายงานมาจาก อุซมาน บิน ฮะนีฟว่า

 

إنّ رجلا ضرير الْبَصَرِ أتى النبى (ص) فقال ادع الله أن يعافينى قال : إن شئت دعوت لك و إن شئت أخرت ذاك فهو خير فقال : أدعه فأمره أن يتوضأ فيحسن وضوئه فيصلى ركعتين و يدعو بهذا الدّعاء اللّهمّ إنّى أسئلك و اتوجه إليك بنبيّك محمد نبي الرّحمة يا محمّد إنى توجّهت بك إلى ربّى فى حاجتى هذه فتقضى لى اللهم شفعه فىّ

 

มีชายตาบอดคนหนึ่งมาหาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และพูดว่า โปรดวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้อภัยโทษแก่ฉัน ท่านศาสดา กล่าวว่า หากท่านปรารถนาฉันจะดุอาอฺให้กับท่าน แต่ถ้าท่านปรารถนาให้ฉันประวิงเวลาออกไป มันจะเป็นการดี เขาได้พูดว่า ขอให้ท่านดุอาอฺถิด  ดังนั้น ท่านศาสดาได้สั่งให้เขาไปทำวุฏูอฺ  ด้วยความตั้งใจหลังจากนั้นให้ทำนมาซ ๒ เราะกะอัต เมื่อเสร็จแล้วให้ดุอาอฺว่า โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ ข้าฯได้ผินหน้ามายังพระองค์โดยผ่านศาสดาของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตา โอ้มุฮัมมัด แท้จริงฉันได้วิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระผู้อภิบาลของฉันโดยผ่านท่าน เพื่อให้การวิงวอนของฉันถูกตอบรับ โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้เขาเป็นผู้อนุเคราะห์แก่ฉันเถิด  [4]

 

ริวายะฮฺดังกล่าวอุละมาอฺฮะดีษส่วนใหญ่ได้เห็นพ้องต้องกัน ถึงขนาดที่ว่าท่านฮากิมภายหลังจากได้รายงานฮะดีษแล้ว ท่านได้กล่าวยกย่องว่าเป็นฮะดีษเซาะฮียฺ  ท่านอิบนิ มาญะฮฺ เช่นกันได้รายงานมาจากท่าน อะบูอิซฮาก และยกย่องว่าเป็นฮะดีษเซาะฮียฺ ท่านติรมิซียฺ ได้กล่าวสนับสนุนถึงความถูกต้องไว้ในหนังสือ อับวาบุลอัดอียะฮฺ

 

ท่านมุฮัมมัด นะซีบุรเราะฟาอียฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัตตะวัซเซาะลุ อิลา ฮะกีเกาะติตตะวัซซุลิ ดังนี้ว่า

 

لاشك أن هذا الحديث صحيح و مشهور.و قد ثبت فيه بلا شكّ ولا ريب ارتداد بصر الأعمى بدعاء رسول الله صل الله عليه[وآله] وسلم له

 

ไม่มีความสงสัยใด แท้จริงฮะดีษนี้ถูกต้อง และเป็นที่รู้จักกัน ในริวา ยะฮฺได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ดุอาอฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ทำให้ดวงตาของชายตาบอดคนนั้นมองเห็น [5]

 

ริวายะฮฺได้ให้ความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า การตะวัซซุลกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยมีเจตนาให้ดุอาอฺถูกตอบรับอย่างรวดเร็วถือว่าอนุญาต ทว่าท่านได้สั่งให้ชายตาบอดดุอาอฺเช่นนั้น โดยมอบให้ท่านเป็นสื่อกลางระหว่างตนเองกับอัลลอฮฺ การกระทำอย่างนี้ในความหมายก็คือ การตะวัซซุลกับบรรดาเอาลิยาอฺ (มวลมิตร) และผู้ที่เป็นที่รักยิ่ง ณ พระองค์

 

๒. อะบูอับดิลลาฮฺ บุคอรียฺ ได้กล่าวไว้ในเซาะฮียฺของตนว่า

 

إن عمر بن الخطّاب رضى الله عنه كان إذا قحطوا إستسقى بالعبّاس بن عبد المطلب فقال : اللّهمّ إناّ كنّا نتوسل إليك بنبينا فتسقِينا و إنا نتوسّل إليك بعّم نبيّنا فاسقنا قال فيسقون

 

ทุกครั้งที่ประสบภัยพิบัติแห้งแล้ง อุมัร บิน ค็อฎฎ็อบจะขอฝนผ่านท่านอับบาซ บิน อับดุลมุฏฎอลิบ ลุงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ในยุคของท่านศาสดาเราจะขอผ่านท่าน และพระองค์ได้ประทานฝนแห่งเมตตาตกลงแก่พวกเรา ปัจจุบันเราได้ขอผ่านลุงของท่านศาสดาขอพระองค์โปรดประทานแก่พวกเราได้ ดังนั้นพวกเขาได้อิ่มสำราญ [6]

 

๓. การตะวัซซุลกับบรรดาเอาลิยาอฺแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นเรื่องปรกติธรรมดา  ถึงขนาดที่ว่าบรรดามุสลิมในยุคแรกของอิสลามได้ให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นสื่อกลางระหว่างพวกเขากับอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยกล่าวเป็นบทกลอน เช่น

 

ซะวาด บิน กอริบ ได้กล่าวกลอนบทหนึ่งแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งตอนหนึ่งของกลอนกล่าวว่า

 

و أشهد انّ الله لا ربّ غيره      و أنّك مأمون على كل غائب

وانك أذنى المر سلين  و سيلة       إلى الله يابن الأكرمين الاطائب

 

ขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์  และแท้จริงท่านคือหลักประกันแก่สิ่งซ่อนเร้นทั้งหลาย

ท่านคือสื่อที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺมากที่สุดในหมู่บรรดาศาสดา โอ้บุตรของผู้ที่มีเกียรติและมีความบริสุทธิ์ [7]

 

อย่างไรก็ตามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ยินกลอนดังกล่าวจาก ซะวาบ บิน กอริบ และท่านมิได้ห้ามปรามหรือกล่าวหาว่า กอริบ ทำชิริกหรือสร้างบิดอะฮฺแต่อย่างใด

 

ท่านอิมามชาฟิอียฺได้กล่าวกลอนที่บ่งบอกถึงแก่นแท้ไว้เช่นนี้ว่า

 

آل النّبى ذريعتى  هم إليه و سيلتى

أرجوبهم اعطى غدأ  بيدى اليمين صحيفتى

 

ครอบครัวของท่านศาสดาเป็นสื่อไปสู่อัลลอฮฺสำหรับฉัน
ฉันหวังว่าโดยสิทธิของพวกเขาฉันจะถูกมอบบัญชีการกระทำทางมือขวา [8]

 

 จะเห็นได้ว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากอนุญาตให้ตะวัซซุลกับบรรดาเอา ลิยาอฺ (มวลมิตร) ของอัลลอฮฺ (ซบ.)  และกล่าวยืนยันว่าการตะวัซซุลนั้น เป็นที่ยอมรับในทัศนะของซุนนะฮฺ เป็นแบบอย่างของบรรดาศอฮาบะฮ์และนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของอิสลาม ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำมาวิพากษ์วิจารณ์อีก

 

จากคำอธิบายดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าคำกล่าวหาของบางกลุ่มชนที่ว่า การตะวัซซุลกับบรรดาผู้ที่รักยิ่งของอัลลอฮฺเป็นชิริกนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง

 

 แหล่งอ้างอิง

 

[1] ลิซานุลอาหรับ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๗๒๔

[2] มาอิดะฮฺ / ๓๕

[3] ยูซุฟ / ๙๗-๙๘

[4] มุซนัดอะฮฺมัด บิน ฮัมบัล เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๗๘ ในส่วนของริวายะฮฺอุซมาน บินฮะนีฟ, มุซตัดร็อก อัลฮากิม เล่มที่ ๑ บาบเซาะลาตุต ตะเฎาวะฮฺ หน้าที่ ๓๑๓ พิมพ์ที่เบรุต, ซุนันอิบนิมาญะฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๔๑ พิมพ์ที่ ดารุล อะฮฺยาอฺ อัล-กุตุบิลอาระบียะฮฺ, อัตตาจญฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่-  ๒๘๖, อัล-ญามิอุซเซาะฆีร ซุยูฏียฺ หน้าที่ ๕๙, อัต-ตะวัซซุล วัลวะซีละฮฺ อิบนิ ตัยมียะฮฺ หน้าที่ ๙๘ พิมพ์ที่เบรุต

[5] อัตตะวัซเซาะลุ อิลา ฮะกีเกาะติตตะวัซซุลิ หน้าที่ ๑๕๘ พิมพ์ครั้งแรก เบรุต

[6] เซาะฮียฺบุคอรียฺ ญุซที่ ๒ กิตาบุลญุมุอะฮฺ บาบุลอิซติซกออฺ หน้ที่ ๒๗ พิมพ์ที่อิยิปต์

[7] อัดดุรรุซซะนียะฮฺ ซัยยิดอะฮฺมัด บิน ซัยนี ดะฮฺลานียฺ หน้าที่ ๒๙ คัดลอกมาจาก อัฎฎ็อบรอนียฺ

[8] อัซเซาะวาอิกุลมุฮฺริเกาะฮฺ อิบนิ ฮะญัร อัซเกาะลานียฺ หน้าที่ ๑๗๘ พิมพ์ที่อิยิปต์

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อิมามอะลี

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม