ความสำคัญของการอบรมบุตรในอิสลาม ตอนที่ 2
ความสำคัญของการอบรมบุตรในอิสลาม ตอนที่ 2
ฮะดิษหนึ่งที่อยากจะนำเสนอเป็นหัวข้อแรกก็คือคำสั่งหนึ่งของท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) ที่ได้กล่าวว่า
اطلب العلم من المهد الاللحد
จงแสวงหาความรู้ตั้งแต่อู่เปลจนถึงหลุมศพ
คำว่า لحد คือ หลุมที่ขุดไม่ใช่หลุมอันใหญ่แต่จริงๆแล้วคำว่า “ละฮัด” คือหลุมที่ขุดแซะไปข้างในลึกซึ้งเป็นอย่างมาก ไม่ใช่ใส่ไปอยู่ข้างนอก แต่การผลักให้ไปอยู่ข้างในหลุมที่แซะเข้าไปเรียกว่า “ละฮัด” ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้มีคำสั่งเสียได้กำชับไว้ว่าการศึกษาหาความรู้นั้น เริ่มตั้งแต่อู่เปลจนถึงหลุมฝังศพ นั่นคือ จนกระทั่งลมหายใจสุดท้าย มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ต้องศึกษาหาความรู้ซึ่งแน่นอนคนส่วนมากในวิถีชีวิตปฏิบัตินั้นจะเริ่มศึกษาหาความรู้เมื่อโตแล้ว ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำสั่งเสียข้างต้นของท่านศาดามุฮัมมัด (ศ)
มนุษย์ส่วนมากจะเริ่มสั่งสอนลูกๆ และเอาจริงเอาจังกับการอบรมสั่งสอนลูกก็หลังจากลูกมีอายุได้ 7 ขวบ 8 ขวบ 10 ขวบ หรือ 15 ขวบ แต่สำหรับบางคนลูกโตแล้วก็ยังไม่ได้สั่งสอนอะไรเลย คำด่าหนึ่งที่ใช้กันเป็นประจำสำหรับด่าเด็กๆ ที่ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดีก็คือ“ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน”หมายถึง พ่อแม่ของเขายังไม่ได้สั่งสอนลูก แต่เมื่อพิจารณาถึงวจนะที่ลึกซึ้งของท่านศาสดา (ศ) ที่ว่า การศึกษาเรียนรู้นั้น ต้องเริ่มต้นตั้งแต่อู่เปล หมายความว่า ตั้งแต่เป็นวัยทารก ในภาษาอาหรับได้ใช้คำว่า “อู่เปล”เพราะจุดเริ่มต้นของชีวิตเมื่อคลอดออกมาก็เอาไปตั้งบนเปล ในภาษาอาหรับอาจจะใช้คำว่า “เปล”และในภาษาไทยอาจจะใช้คำว่าตั้งแต่แบเบาะ ออกมาจากท้องเมื่อไหร่ก็ต้องตั้งบนเบาะ คือวันแรกที่เด็กลืมตาขึ้นมาในวันแรก
วันที่เด็กถือกำเนิดเกิดมานั้น คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในทัศนะของอิสลาม สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ ก็คือ ทุกคำสั่งสอนในอิสลามนั้นมีเป้าหมาย มีวิทยปัญญา มีความลึกซึ้ง ไม่มีคำสั่งสอนใดในอิสลามที่ให้มนุษย์ปฏิบัติอย่างผิวเผิน โดยไม่มีนัยยะที่ลึกซึ้งกว่าหรือไม่มีนัยยะที่เร้นลับ เป้าหมายของการเรียนรู้ในวจนะข้างต้นของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) แน่นอนยิ่งเป้าหมายด้านนอก ก็คือ เป้าหมายทั่วไป คือการเรียนรู้ความรู้ทุกประเภท ทว่าจริงๆแล้วเป้าหมายด้านในความหมายที่ลึกซึ้ง ก็คือ ความรู้แห่งศาสนา และความรู้แห่งศาสนาตรงนี้นั้นรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะศาสนาแห่งอิสลามนั้นเป็นศาสนาแห่งชีวิต
ดังนั้นเมื่อบอกว่าความรู้ทางศาสนานั้นจริงๆแล้วก็คือ “องค์ความรู้ที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความรุ่งโรจน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” ถ้าเราจะพูดถึง “อู่เปล” จนถึง “หลุมฝังศพ” ก็คือตั้งแต่วันที่ลืมตาดูโลก ต้องปฏิบัติตามระบบระเบียบที่อิสลามได้วางเอาไว้ ในอิสลามการอบรมสั่งสอนเริ่มตั้งแต่อู่เปลตั้งแต่วันที่ลืมตามาดูโลก ถ้าจะถามว่าคำสั่งสอนแรกเมื่อเด็กลืมตาดูโลกคืออะไร?คำตอบก็คือ คำสั่งสอนแรกเมื่อเด็กลืมตาดูโลกคือ “อัลลอฮุอักบัร”บทเรียนแรกสำหรับมนุษย์ทุกคนเมื่อมาสู่โลกนี้ ดังนั้นจะต้องกล่าวอาซานกล่อมหูขวาและกล่าวอิกอมะฮฺกล่อมหูซ้ายเด็ก เพื่อให้เด็กรับรู้ตั้งแต่วินาทีแรกว่า “อัลลอฮุอักบัร”
บทเรียนอันยิ่งใหญ่ คือสูตรสำเร็จที่จะอยู่กับเขาตลอดไป อีกทั้งชี้ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่เรื่องของการนมาซ จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ ก็คือเสียงอัลลอฮุอักบัร และตามด้วยการกล่าว “ชะฮาดะตัยน์” จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องของศาสนาให้ถ่องแท้ การอาซานคือ การตับลีฆ สั่งสอน อบรม สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่พิธีกรรมอย่างเดียว แต่พิธีกรรมก็มีนัยยะต่างๆ ของมันอีกต่างหาก ทว่าสิ่งที่เด็กได้ยินวันแรกที่ลืมตาดูโลก สิ่งต่างๆเหล่านั้นจะมีผลต่อชีวิตของเด็กตลอดไป เสียงอัลลอฮุอักบัร เสียงอาซาน เสียงอิกอมะฮ์เสียงที่กรอกลงไปในหูนั้นจะมีผลต่อชีวิตของเด็กในอนาคต หลังจากนั้นเรื่องอื่นๆก็จะตามมา
สิ่งแรกที่เด็กควรจะเรียนรู้และสิ่งแรกที่เด็กควรจะรับรู้คือ “ความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์(ซบ)” หลังจากนั้นถ้าเรียงตามลำดับ ถ้าจะสอนให้เด็กพูดมีรายงานต่างๆมากมาย ทั้งจากท่านรอซูลุลอฮ์(ศ) จากบรรดาอะอิมมะฮ์(อ) ถ้าจะสอนให้เด็กพูดคำแรกขึ้นมาไม่ใช่คำว่า “พ่อ” ไม่ใช่คำว่า “แม่”แต่ให้สอนคำว่า لا الهและคำที่สองคือ الا الله สิ่งแรกที่จะต้องสอนให้เด็กหัดพูด สิ่งแรกที่จะให้ออกมามาจากริมฝีปากเด็ก คือ คำว่า “ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ์” ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
ฮะดิษหนึ่งที่อยากจะนำเสนอเป็นหัวข้อแรกก็คือคำสั่งหนึ่งของท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) ที่ได้กล่าวว่า
اطلب العلم من المهد الاللحد
จงแสวงหาความรู้ตั้งแต่อู่เปลจนถึงหลุมศพ
คำว่า لحد คือ หลุมที่ขุดไม่ใช่หลุมอันใหญ่แต่จริงๆแล้วคำว่า “ละฮัด” คือหลุมที่ขุดแซะไปข้างในลึกซึ้งเป็นอย่างมาก ไม่ใช่ใส่ไปอยู่ข้างนอก แต่การผลักให้ไปอยู่ข้างในหลุมที่แซะเข้าไปเรียกว่า “ละฮัด” ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้มีคำสั่งเสียได้กำชับไว้ว่าการศึกษาหาความรู้นั้น เริ่มตั้งแต่อู่เปลจนถึงหลุมฝังศพ นั่นคือ จนกระทั่งลมหายใจสุดท้าย มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ต้องศึกษาหาความรู้ซึ่งแน่นอนคนส่วนมากในวิถีชีวิตปฏิบัตินั้นจะเริ่มศึกษาหาความรู้เมื่อโตแล้ว ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำสั่งเสียข้างต้นของท่านศาดามุฮัมมัด (ศ)
มนุษย์ส่วนมากจะเริ่มสั่งสอนลูกๆ และเอาจริงเอาจังกับการอบรมสั่งสอนลูกก็หลังจากลูกมีอายุได้ 7 ขวบ 8 ขวบ 10 ขวบ หรือ 15 ขวบ แต่สำหรับบางคนลูกโตแล้วก็ยังไม่ได้สั่งสอนอะไรเลย คำด่าหนึ่งที่ใช้กันเป็นประจำสำหรับด่าเด็กๆ ที่ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดีก็คือ“ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน”หมายถึง พ่อแม่ของเขายังไม่ได้สั่งสอนลูก แต่เมื่อพิจารณาถึงวจนะที่ลึกซึ้งของท่านศาสดา (ศ) ที่ว่า การศึกษาเรียนรู้นั้น ต้องเริ่มต้นตั้งแต่อู่เปล หมายความว่า ตั้งแต่เป็นวัยทารก ในภาษาอาหรับได้ใช้คำว่า “อู่เปล”เพราะจุดเริ่มต้นของชีวิตเมื่อคลอดออกมาก็เอาไปตั้งบนเปล ในภาษาอาหรับอาจจะใช้คำว่า “เปล”และในภาษาไทยอาจจะใช้คำว่าตั้งแต่แบเบาะ ออกมาจากท้องเมื่อไหร่ก็ต้องตั้งบนเบาะ คือวันแรกที่เด็กลืมตาขึ้นมาในวันแรก
วันที่เด็กถือกำเนิดเกิดมานั้น คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในทัศนะของอิสลาม สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ ก็คือ ทุกคำสั่งสอนในอิสลามนั้นมีเป้าหมาย มีวิทยปัญญา มีความลึกซึ้ง ไม่มีคำสั่งสอนใดในอิสลามที่ให้มนุษย์ปฏิบัติอย่างผิวเผิน โดยไม่มีนัยยะที่ลึกซึ้งกว่าหรือไม่มีนัยยะที่เร้นลับ เป้าหมายของการเรียนรู้ในวจนะข้างต้นของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) แน่นอนยิ่งเป้าหมายด้านนอก ก็คือ เป้าหมายทั่วไป คือการเรียนรู้ความรู้ทุกประเภท ทว่าจริงๆแล้วเป้าหมายด้านในความหมายที่ลึกซึ้ง ก็คือ ความรู้แห่งศาสนา และความรู้แห่งศาสนาตรงนี้นั้นรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะศาสนาแห่งอิสลามนั้นเป็นศาสนาแห่งชีวิต
ดังนั้นเมื่อบอกว่าความรู้ทางศาสนานั้นจริงๆแล้วก็คือ “องค์ความรู้ที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความรุ่งโรจน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” ถ้าเราจะพูดถึง “อู่เปล” จนถึง “หลุมฝังศพ” ก็คือตั้งแต่วันที่ลืมตาดูโลก ต้องปฏิบัติตามระบบระเบียบที่อิสลามได้วางเอาไว้ ในอิสลามการอบรมสั่งสอนเริ่มตั้งแต่อู่เปลตั้งแต่วันที่ลืมตามาดูโลก ถ้าจะถามว่าคำสั่งสอนแรกเมื่อเด็กลืมตาดูโลกคืออะไร?คำตอบก็คือ คำสั่งสอนแรกเมื่อเด็กลืมตาดูโลกคือ “อัลลอฮุอักบัร”บทเรียนแรกสำหรับมนุษย์ทุกคนเมื่อมาสู่โลกนี้ ดังนั้นจะต้องกล่าวอาซานกล่อมหูขวาและกล่าวอิกอมะฮฺกล่อมหูซ้ายเด็ก เพื่อให้เด็กรับรู้ตั้งแต่วินาทีแรกว่า “อัลลอฮุอักบัร”
บทเรียนอันยิ่งใหญ่ คือสูตรสำเร็จที่จะอยู่กับเขาตลอดไป อีกทั้งชี้ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่เรื่องของการนมาซ จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ ก็คือเสียงอัลลอฮุอักบัร และตามด้วยการกล่าว “ชะฮาดะตัยน์” จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องของศาสนาให้ถ่องแท้ การอาซานคือ การตับลีฆ สั่งสอน อบรม สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่พิธีกรรมอย่างเดียว แต่พิธีกรรมก็มีนัยยะต่างๆ ของมันอีกต่างหาก ทว่าสิ่งที่เด็กได้ยินวันแรกที่ลืมตาดูโลก สิ่งต่างๆเหล่านั้นจะมีผลต่อชีวิตของเด็กตลอดไป เสียงอัลลอฮุอักบัร เสียงอาซาน เสียงอิกอมะฮ์เสียงที่กรอกลงไปในหูนั้นจะมีผลต่อชีวิตของเด็กในอนาคต หลังจากนั้นเรื่องอื่นๆก็จะตามมา
สิ่งแรกที่เด็กควรจะเรียนรู้และสิ่งแรกที่เด็กควรจะรับรู้คือ “ความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์(ซบ)” หลังจากนั้นถ้าเรียงตามลำดับ ถ้าจะสอนให้เด็กพูดมีรายงานต่างๆมากมาย ทั้งจากท่านรอซูลุลอฮ์(ศ) จากบรรดาอะอิมมะฮ์(อ) ถ้าจะสอนให้เด็กพูดคำแรกขึ้นมาไม่ใช่คำว่า “พ่อ” ไม่ใช่คำว่า “แม่”แต่ให้สอนคำว่า لا الهและคำที่สองคือ الا الله สิ่งแรกที่จะต้องสอนให้เด็กหัดพูด สิ่งแรกที่จะให้ออกมามาจากริมฝีปากเด็ก คือ คำว่า “ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮ์” ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ