ความโกรธกริ้วของบุพการี
- จัดพิมพ์ใน
-
- ผู้เขียน:
- มุฮัมหมัด วะฮีดี
- แหล่งที่มา:
- หนังสือศาสนบัญญัติสำหรับบุตรี
ความโกรธกริ้วของบุพการี
การทำให้บุพการีกริ้วนั้นเป็นที่ฮะรอม(ต้องห้าม)(1)ท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อลฯ)(2)ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ) (3)อิมามซอดิก(อ) (4)อิมามริฎอ(อ)(5)และอิมามญะวาด (อ) (6)ได้ถือว่าการกระทำเช่นนี้นั้นเป็นบาปใหญ่ ซึ่งบาปใหญ่ที่สุด คือ การตั้งภาคีต่อพระเจ้าและการทำให้บุพการีโกรธกริ้ว (7)และผู้ใดที่มองบุพการีด้วยสายตาที่ขุ่นเคือง ถึงแม้พวกท่านจะข่มเหงเขา พระองค์ก็จะทรงไม่รับการทำนมาซของเขา(8) และเขาจะถูกสาปแช่ง ถูกสาปแช่ง จากการทำให้บิดามารดาของตนโกรธ(9) หรือฝ่าฝืนพวกท่าน หรือไม่ปฏิบัติดีต่อพวกท่าน และผู้ใดที่ทำให้บิดามารดาของตนเสียใจ เท่ากับทำให้พระองค์ทรงเสียใจ หากทำให้บิดามารดาโกรธ เท่ากับทำให้พระองค์ทรงกริ้ว(10) และเทวทูตแห่งความตาย(มะละอิกะตุลเมาต์) จะมองมายังเขา ในขณะที่ถูกดึงวิญญาณด้วยใบหน้าที่โกรธ(11) และผู้ที่ทำให้บิดามารดาเสียใจ เขาจะไม่ได้เข้าสรวงสวรรค์และจะไม่ได้รับกลิ่นไอของสรวงสวรรค์(12) และพระองค์จะไม่พูดกับเขา และจะไม่เมตตา จะไม่ช่วยเหลือเขา และการลงโทษอันน่าสะพรึงกลัว(13) จะรอคอยเขาอยู่ในขุมนรกนั้น ระหว่างพวกที่ทำให้บิดามารดาเสียใจกับฟิรอูนนั้นมีความห่างกันเพียงน้อยนิด(14)
แต่จำเป็นจะต้องสนใจในจุดนี้ด้วยว่า บุคคลที่ทำให้บิดามารดาเสียใจในขณะที่พวกท่านยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อพวกท่านเสียชีวิตแล้วก็ยังคงเป็นเช่นนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีริวายะฮ์รายงานว่า ผู้ที่ทำให้บิดามารดาพอใจ แต่เมื่อพวกท่านเสียชีวิตกับหลงลืมพวกท่านโดยที่ไม่ได้ขอดุอาให้แก่พวกท่าน มิได้ชดใช้หนี้สินให้แก่พวกท่าน ก็จะสรุปได้ว่ากลายเป็นความโกรธของบุพการีด้วย และในทางตรงกันข้าม บุคคลที่สร้างความไม่พอใจให้แก่พวกท่านในขณะที่มีชีวิต แต่เมื่อพวกท่านเสียชีวิตลง เขาได้ทำการขอดุอาให้แก่พวกท่าน ชดใช้หนี้สินให้แก่พวกท่าน จะสรุปได้ว่าชื่อของเขาจะถูกบันทึกว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีต่อบิดามารดา(15) ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจด้วยว่า บุพการี ณ ที่นี้ รวมถึงบุพการีที่เป็นผู้ศรัทธาและผู้ปฏิเสธด้วย เพียงแต่หากบรรดาบุพการีที่เป็นผู้ปฏิเสธสั่งให้เขาตั้งภาคีต่อพระองค์(16) การปฎิบัติตามพวกนั้นไม่เป็นวาญิบ
ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า
انّ من احزن والدیه فقد عقّهما
“ผู้ใดที่ทำให้บิดามารดาของตนโศกเศร้าก็เท่ากับเขาได้ทำให้ท่านทั้งสองโกรธด้วยเช่นกัน”(17)
แหล่งอ้างอิง
1. บิฮารุลอันวาร เล่ม 86 หน้า 166
2. มิรอาตุลกะมาล เล่ม1หน้า 64
3. มุสตัดร็อกวะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม 2 หน้า 314 บทที่ 46 ฮะดีษที่ 23
4. อัลคิศอล เล่ม1หน้า 373 ฮะดีษที่16
5. อุศูลอัลกาฟี เล่ม 2 หน้า 278 ฮะดีษที่ 8 บาบุล กะบาอีร
6. อ้างอิงเดิม หน้า 285 ฮะดีษที่ 24 บาบุลกะบาอีร
7. อ้างอิงเดิม
8. มุสตัดร็อกวะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม 2 หน้า 630 บทที่ 75 ฮะดีษที่ 19
9. มัชกูตุลอันวารหน้า 149 บทที่ 14
10. อุศูลอัลกาฟีเล่ม 2 หน้า 349 ฮะดีษที่ 5 บาบุลอุกูก
11. มุสตัดร็อกวะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม 2 หน้า 630 บทที่ 75 ฮะดีษที่ 18
12. อ้างอิงเดิมหน้า 628 บทที่ 68 ฮะดีษที่ 16
13. อุศูลอัลกาฟีเล่ม 2 หน้า 249 ฮะดีษที่ 5 บาบุลอุกูก
14. มุสตัดร็อกวะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม 2 หน้า 631 บทที่ 75 ฮะดีษที่ 25
15. อุศูลอัลกาฟีเล่ม 2 หน้า 163 ฮะดีษที่ 21 ขบทว่าด้วยเรื่งการทำดีต่อบุพการี
16. อัลกุรอาน บทลุกมาน โองการที่ 15 บทอัลอังกะบูต โองการที่ 8
17. มิรอาตุลกะมาล เล่ม 2 หน้า 463
ที่มา จากหนังสือศาสนบัญญัติสำหรับบุตรี
เขียนโดย มุฮัมหมัด วะฮีดี
แปลโดย ซัยยิดะฮ์ ฮิดายะฮ์ ซาร์ยิด