เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)กับบทบาทด้านศาสนสัมพันธ์ ตอนที่ 3

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)กับบทบาทด้านศาสนสัมพันธ์ ตอนที่ 3

 

ความเมตตาโอบอ้อมอารีและอยู่กับประชาชนของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)

 

แบบฉบับของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)อย่างหนึ่งต่อประชาชนทั้งที่เป็นมุสลิมและต่างศาสนาคือความมีเมตตาและโอบอ้อมอารีอย่างบริสุทธิ์ใจ ท่านมองผู้ที่ต่อต้านท่านว่าเป็นผู้ที่มีอาการป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาและเห็นอกเห็นใจสำหรับการเยียยารักษาและแพทย์ต้องรู้ถึงอาการของเขาจึงจะรักษาเขาได้ดี และท่านศาสดา(ศ็อลฯ)มองศรัทธาชนว่า เขาจะต้องมีการระมัดระวังตน ตั่งมั่นอยู่บนปัญญา ไม่ประมาทเพื่อให้จิตศรัทธาเจริญเติบโตสู่ระดับจิตศรัทธาขั้นสูง อันเนื่องด้วยสาเหตุนี้ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)จึงสร้างความสัมพันธ์อันแนบสนิทและความรักกับพวกเขาด้วยความบริสุทธิ์ใจ  ความเมตตาและโอบอ้อมอารีต่อบรรดาผู้หลงทางในด้านของการสร้างความอ่อนโยนแก่จิตใจและเตรียมการเพื่อให้หัวใจของพวกเขาหันมายอมรับการเชิญชวนสู่อิสลามและความสัมพันธ์อันแนบแน่นต่อบรรดาศรัทธาชน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์การเผยแพร่ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) คือ การมีเมตตาและโอบอ้อมอารีซึ่งเป็นเหมือนต้นไม้ที่ให้ผลผลิตที่รวดเร็วที่สุดและง่ายที่สุดมากกว่าแบบฉบับอื่นๆ ที่ถูกนำมาใช้ในแนวทางการเผยแพร่จนกระทั่งว่าท่านได้รับฉายานามว่า “ศาสดาแห่งความเมตตา”

 

  การให้เสรีภาพทางความเชื่อ


เป็นไปได้ที่ความเชื่ออาจจะเกิดจากความคิดและเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการลอกเลียนแบบ ปฏิบัติตามผู้อื่น หรือเกิดจากจินตนาการไปเองหรือสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นเองหรือหลายร้อยพันอย่าง ความเชื่อที่มิได้เกิดจากปัญญาและความคิด   เป็นแค่ปฏิกิริยาทางจิตวิทยาเท่านั้น กล่าวคือ เป็นสถานการณ์ต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางจิตวิญญาณ ในมุมมองของอิสลามไม่อนุญาตให้ใครถูกพันธนาการไว้ด้วยสถานการณ์ต่อเนื่องเหล่านี้  แม้ว่าจะเป็นในลักษณะที่บุคคลคนนั้นคล้องโซ่แห่งพันธนาการนี้ไว้ด้วยกับมือของตนเองก็ตาม
     ดังนั้นเรื่องเสรีภาพทางความเชื่อมีความหมายที่กว้าง เรื่องเสรีภาพทางความคิดและเสรีภาพของการศรัทธา หมายถึงว่า ทุกคนต้องทำการค้นคว้าและคิดเกี่ยวกับการศรัทธาในการได้สิ่งนั้นมา แนวทางของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และอัลกุรอานคือการต่อสู้สำหรับการที่จะขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางเสรีภาพทางสังคมและความคิด ท่านศาสดามิได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายต้องยอมรับอิสลาม” ดังนั้น หลักพื้นฐานมนุษยธรรม   ความเป็นมิตรไมตรี ความนุ่มนวล  ความรักและหลีกเลี่ยงจากความหยาบกระด้างรุนแรงและการบีบบีงคับและการหยัดเหยียดในเรื่องการศรัทธาอย่างไม่เป็นธรรม ( ไม่เกี่ยวกับอุปสรรคทั้งหลายทางสังคมและทางความคิดของการศรัทธาซึ่งถือว่าเป็นประเด็นอื่น ) เป็นหลักของการเชิญชวนสู่อิสลาม หากแต่ว่า อัลกุรอานได้ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า  


“ไม่มีการบังคับกันในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา สิ่งที่ถูกต้องได้ถูกจำแนกแยกแยะออกจากสิ่งที่ผิดเป็นที่ชัดเจนแล้ว ดังนั้น ผู้ใดที่ปฏิเสธฏอฆูต และศรัทธาในอัลลอฮ์ เขาก็ได้รับการสนับสนุนอันมั่นคงไม่มีวันขาด และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้”

 

เพราะว่าธรรมชาติของการศรัทธาไม่ยอมรับการบีบบังคับและการหยัดเหยียดความเชื่ออย่างไม่เป็นธรรมและไม่สอดคล้องกับความหยาบกระด้าง ยังมีอีกโองการหนึ่งระบุว่า
“ดังนั้นจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา


นอกจากผู้ที่ผินหลังให้และปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น อัลลอฮ์จะทรงลงโทษเขาซึ่งการลงโทษอันมหันต์”


โอ้ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้า ! จงตักเตือนเถิดแก่ประชาชาติเถิด  จงปลุกประชาชาติให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหลเถิด จงเรียกให้พวกเขาตื่นเถิด จงประกาศให้ประชาชาติได้รู้เถิด จงทำให้ประชาชาติเกิดความตระหนักเถิด


 จงเชิญชวนพวกเขาสู่ศาสนาเถิด


 “ انما انت مذکر”
 

 เจ้าไม่มีฐานภาพอื่นนอกจากเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น


 เจ้าไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจ  คือ พระเจ้าไม่ได้แต่งตั้งท่านมาเพื่อที่จะใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญให้พวกเขาเกิดศรัทธา”

 

นิตยสารรายสัปดาห์ TIME ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม 1974 หน้า 32-33 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Who Were History’s Great Leaders ? (ใครคือผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์?)ของนักจิตวิเคราะห์ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ จูลส์ มาสเซอร์แมน (Jules Masserman) ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์กว้างๆในการคัดเลือกไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลได้นั้น จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ประการต่อไปนี้ให้สำเร็จ นั่นคือ

 

1) ให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง
2) สร้างระเบียบทางสังคมที่ทำให้คนที่อยู่อาศัยในนั้นมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
3) สร้างระบบความเชื่ออย่างหนึ่งให้แก่สังคม


หลังจากกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะตัดสินว่าใครสมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดของมหาบุรุษโลกผู้ยิ่งใหญ่แล้ว นายจูลส์ มาสเซอร์แมนก็ไดแสดงความเห็นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นพื้นฐานการพิจารณาว่า :- “คนอย่างหลุยส์ ปาสเตอร์และซอล์ค เป็นผู้นำในข้อแรก ส่วนคนอย่างคานธีและขงจื๊อในด้านหนึ่งและคนอย่างอเล็กซานเดอร์ ซีซ่าร์และฮิตเลอร์ในอีกด้านหนึ่งนั้นเป็นผู้นำในข้อที่สองและในข้อที่สาม สำหรับพระเยซูและพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นผู้นำในข้อที่สามเท่านั้น แต่คนที่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลก็คือมุฮัมมัดผู้ทำหน้าที่ทั้งสามได้ครบ ถึงแม้โมเสสจะทำได้เหมือนกับมุฮัมมัด แต่ก็ยังน้อยกว่า”


หลังจากนั้นอีกสี่ปี คือใน ค.ศ.1978 ก็มีหนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ The 100 – A Ranking of The Most Influential Persons in History ( 100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์) ซึ่งเขียนโดยนายไมเคิล เอช. ฮาร์ท (Michael H. Hart) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในเวลานั้น หนังสือเล่มนี้ได้จัดลำดับบุคคลสำคัญๆในแขนงสาขาต่างๆจำนวน 100 คนที่เขาเห็นว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเพียง 20 ลำดับเท่านั้นคือ


1) นบีมุฮัมมัด
2) ไอแซค นิวตัน
3) พระเยซูคริสต์
4) พระพุทธเจ้า
5) ขงจื๊อ
6) เซนต์ ปอล
7) ไซหลุน
โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
9) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
10) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
11) คาร์ล มาร์กซ
12) หลุยส์ ปาสเตอร์
13) กาลิเลโอ
14) อริสโตเติล
15) เลนิน
16) โมเสส
17) ชาร์ส ดาร์วิน
18) ซีหวังตี
19) ออกัสตัส ซีซ่าร์
20) เหมาเจ๋อตุง

 

 ในหนังสือเล่มนี้ นายไมเคิล เอช. ฮาร์ต ได้แสดงความคิดเห็นข้อพิจารณาในการจัดลำดับมหาบุรุษของโลกไว้หลายแง่หลายมุมด้วยกัน ลองมาดูว่าเขาได้กล่าวถึงท่านนบีมุฮัมมัดไว้อย่างไร

 

          1) ประสบความสำเร็จสูงสุด “ที่ผมเลือกเอานบีมุฮัมมัดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของรายชื่อบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดของโลกนั้นอาจทำให้ผู้อ่านบางคนแปลกใจและบางคนอาจจะสงสัย แต่ท่านเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ” (หน้า 4 และ 33)

 

         2) ผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “ชนเผ่าเบดูอินแห่งอารเบียเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงร่ำลือมากในเรื่องความเป็นนักรบที่ดุร้าย แต่เนื่องจากมีจำนวนน้อยและแตกแยกเป็นก๊กเป็นเผ่าทำสงครามเข่นฆ่ากันอยู่ตลอดเวลา พวกอาหรับจึงไม่มีทางที่จะเปรียบเทียบได้กับกองทัพที่ใหญ่กว่าของอาณาจักรต่างๆในเขตการเกษตรที่เป็นหลักแหล่งแล้วในทางตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้ถูกรวบรวมเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยมุฮัมมัดและด้วยความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว กองทัพอาหรับเล็กๆเหล่านี้ก็เริ่มทำการพิชิตต่อเนื่องกันอย่างน่าประหลาดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”(หน้า 34-35)

 

        3) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม “ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลามมากกว่าที่พระเยซูมีต่อการพัฒนาศาสนาคริสต์ถึงแม้ว่าพระเยซูจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อคำสอนทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมของศาสนาคริสต์ เซนต์ปอลต่างหากที่เป็นคนพัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป็นคนเปลี่ยนแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม นบีมุฮัมมัดก็เป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศีลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และในการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย” (หน้า 39)

 

อิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเพียง 20 ลำดับเท่านั้นคือ


1) นบีมุฮัมมัด
2) ไอแซค นิวตัน
3) พระเยซูคริสต์
4) พระพุทธเจ้า
5) ขงจื๊อ
6) เซนต์ ปอล
7) ไซหลุน
โยฮาน กูเต็นเบิร์ก
9) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
10) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
11) คาร์ล มาร์กซ
12) หลุยส์ ปาสเตอร์
13) กาลิเลโอ
14) อริสโตเติล
15) เลนิน
16) โมเสส
17) ชาร์ส ดาร์วิน
18) ซีหวังตี
19) ออกัสตัส ซีซ่าร์
20) เหมาเจ๋อตุง

 

           ในหนังสือเล่มนี้ นายไมเคิล เอช. ฮาร์ต ได้แสดงความคิดเห็นข้อพิจารณาในการจัดลำดับมหาบุรุษของโลกไว้หลายแง่หลายมุมด้วยกัน ลองมาดูว่าเขาได้กล่าวถึงท่านนบีมุฮัมมัดไว้อย่างไร

 

          1) ประสบความสำเร็จสูงสุด “ที่ผมเลือกเอานบีมุฮัมมัดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของรายชื่อบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดของโลกนั้นอาจทำให้ผู้อ่านบางคนแปลกใจและบางคนอาจจะสงสัย แต่ท่านเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทั้งในด้านศาสนาและด้านโลกวัตถุ” (หน้า 4 และ 33)

 

         2) ผู้ที่รวมอาหรับได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ “ชนเผ่าเบดูอินแห่งอารเบียเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงร่ำลือมากในเรื่องความเป็นนักรบที่ดุร้าย แต่เนื่องจากมีจำนวนน้อยและแตกแยกเป็นก๊กเป็นเผ่าทำสงครามเข่นฆ่ากันอยู่ตลอดเวลา พวกอาหรับจึงไม่มีทางที่จะเปรียบเทียบได้กับกองทัพที่ใหญ่กว่าของอาณาจักรต่างๆในเขตการเกษตรที่เป็นหลักแหล่งแล้วในทางตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้ถูกรวบรวมเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยมุฮัมมัดและด้วยความศรัทธาอันแข็งแกร่งในพระเจ้าที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว กองทัพอาหรับเล็กๆเหล่านี้ก็เริ่มทำการพิชิตต่อเนื่องกันอย่างน่าประหลาดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”(หน้า 34-35)

 

        3) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอิสลาม “ประการแรก นบีมุฮัมมัดมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอิสลามมากกว่าที่พระเยซูมีต่อการพัฒนาศาสนาคริสต์ถึงแม้ว่าพระเยซูจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อคำสอนทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมของศาสนาคริสต์ เซนต์ปอลต่างหากที่เป็นคนพัฒนาวิชาการคริสตศาสนาและเป็นคนเปลี่ยนแปลงศาสนาที่สำคัญและเป็นผู้เขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ของคัมภีร์ใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม นบีมุฮัมมัดก็เป็นผู้รับผิดชอบต่อทั้งศาสนศาสตร์และหลักการทางศีลธรรมและจริยธรรมของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่และในการวางรากฐานการปฏิบัติศาสนกิจของอิสลามด้วย” (หน้า 39)

 

         4) ผู้นำทางโลกและทางศาสนาที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ “เนื่องจากกุรอานเป็นสิ่งสำคัญต่อมุสลิมเช่นเดียวกับที่คัมภีร์ไบเบิลมีความสำคัญต่อชาวคริสเตียน อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดผ่านทางคัมภีร์กุรอานจึงยิ่งใหญ่มาก ดังนั้น มันจึงเป็นไปได้ที่อิทธิพลของนบีมุฮัมมัดต่ออิสลามจะยิ่งใหญ่กว่าอิทธิพลของพระเยซูและเซนต์ ปอลที่มีต่อศาสนาคริสต์รวมกันเสียอีก” “ยิ่งไปกว่านั้น มุฮัมมัดยังเป็นผู้นำทางโลกและทางศาสนาด้วยซึ่งไม่เหมือนกับพระเยซู ความจริงแล้ว ในฐานะที่เป็นพลังผลักดันอยู่เบื้องหลังการพิชิตของชาวอาหรับ ท่านน่าที่จะอยู่ในตำแหน่งผู้นำทางการเมืองที่มีอิทธิพลที่สุดในทุกยุคทุกสมัยเสียด้วยซ้ำ” “ในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ บางคนอาจพูดว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมันเกิดขึ้นมาเองถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้นำทางการเมืองคนใดคนหนึ่งมานำทางเหตุการณ์นั้น ตัวอย่างเช่น อาณานิคมอเมริกาใต้อาจจะได้รับเอกราชจากสเปนก็ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีคนอย่างไซม่อน โบลิวาร์ แต่กรณีเช่นนี้จะนำมาใช้กับการพิชิตของพวกอาหรับไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งใดเช่นว่านี้เกิดขึ้นก่อนนบีมุฮัมมัด และไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่าการพิชิตของพวกอาหรับจะเกิดขึ้นได้หากปราศจากนบีมุฮัมมัด”(หน้า 39-40)


5) บุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ “ดังนั้น เราจะเห็นว่าการพิชิตของพวกอาหรับในศตวรรษที่ 7 ยังมีบทบาทสำคัญต่อไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน” “การรวมกันของอิทธิพลทางโลกและศาสนาอย่างไม่มีอะไรมาเสมอเหมือนได้นี้เองที่ทำให้ผมรู้สึกว่านบีมุฮัมมัดสมควรที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นบุคคลเดียวที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ” (หน้า 40)


พฤติกรรมที่สมบูรณ์แบบแห่งความเมตตา ( Perfect Behavior of Mercy )


ในนิยามของคำว่า “ผู้นำที่ดี” คือนิยามที่ให้โดยเดมมิ่ง (Deming ) ซึ่งเขากล่าวว่า “ผู้นำที่ดี คือผู้นำ คือผู้ที่สามารถสร้างภาวะผู้นำให้เกิดแก่ผู้อื่น


รับฟังประชาชนและอภัยต่อความผิดของพวกเขาเหล่านี้ ” …ซึ่งมีสาระใกล้เคียงกับคำสอนอิสลาม ว่า

 

وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلا رَحْمَةً لِلْعَالَمِينَ
 

“และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นได้เว้นแต่เพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก”

 

“ เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้าและมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย


และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย”


ดังนั้นสรุปได้ว่าแท้จริงศาสนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพบูชาของแต่ละศาสนิกและเป็นสิ่งสากลสูงสุดมีจุดร่วมและจุดต่าง มีคำสอนที่เป็นหลักศรัทธาและความเชื่อ และแท้จริงแล้ว อุดมการณ์อันสูงสุดของศาสนาทั้งหลายที่ยิ่งใหญ่ของโลกคือนำพามนุษย์ไปสู่ความรอดพ้น จากความชั่วร้ายทั้งด้านปัจเจกบุคคลและด้านสังคม โดยการเข้าสู่วิถีชีวิตแห่งธรรมะและเป็น วิถีธรรมชาติ วิถีแห่งความประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวทางศาสนาตนอย่างบริสุทธิ์ใจ ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นก็จะไม่เบียดเบียน ไม่นิยมความรุนแรง ไม่กดขี่ขมเหงรังแกและจะเข้าสู่หน้าที่อันเป็นภารกิจสูงสุดแห่งชีวิตมนุษย์ สังคมทั้งหลายก็จะเปลี่ยนสภาพโดยอัตโนมัติเข้าสู่ธรรมสถานสูงสุดซึ่งเรียกในภาษาบาลีว่า สภาพ “อสังขตธรรม” แล้วมนุษย์ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

 

บรรณานุกรม


 กีรติ บุญเจือ. อรรถปริวรรต คู่เวรคู่กรรม ปรัชญาหลังนวยุค  กรุงเทพฯ. พิมพ์ที่ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่พิมพ์ พศ. ๒๕๔๙


 คณาจารย์คณะอุศูลุดดีน สถาบัน ดัรรอเฮฮัก เมืองกุม แปล เชคซัยนุลอาบีดีน ฟินดี้ รากฐานศาสนาอิสลาม กรุงเทพฯ .ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำกรุงเทพฯ ปีที่พิมพ์ พศ.๒๕๔


 เชคชะรีฟ ฮาดียฺ  คำสอนจากนะฮญุลบะลาเฆาะฮ  กรุงเทพฯ, สถานศึกษา ดารุลอิลมฺ มูลนิธิ อิมามคูอีย์ ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐


พีชวออี แปลโดย ไซม่า ซาร์ยิด ภาพลักษณ์ทางการเมืองของอิมาม ๑๒  พิมพ์ สถาบันศึกษาอัลกุรอานรอซูลอัลอะอ์ซอม.ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๑


วิวัฒน์วงศ์. บรรณาธิการ. สังคมวัฒนธรรมกับสุขภาพ, หน้า 27-38. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.


อบูอาดิลชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548 การกำเนิดสำนักต่างๆในอิสลาม กรุงเทพฯ: ศูนย์วัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูต สาธารรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำกรุงเทพฯ


อยาตุลลอฮ์ ญะอ์ฟัร ซุบฮานี แปลโดย อบูอาดิล ชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548 ชีอะฮ์ในประวัติศาสตร์อิสลาม กรุงเทพฯ: The Ahl al bayta.s World Assembly


อัลลามะฮ ฎอบะฎอบาอีย์ แปลโดย เชคชะรีฟ เกตุสมบูรณ์ 2548 ชีอะฮ์ในอิสลาม กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม


อ้างอิงจากเว็ปไซต์  www.al shiah .com ภาคภาษาไทย


Ayatullah Javadi Amoli.  Imam Khomaini   Qom Iran: Isra Publication Center 1384


Ayatullah Misbah Yazdi.  Jamiah  waTareek.  Qom Iran  : SazmanTabliqat1372


Ayatullah JavadiAmoli.  FalsafahHukok Bashar. Qom Iran  :IsraPuplication Center 1382

 

บทความโดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน


ขอขอบคุณ เว็บไซต์ inewhorizon

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม