ใครคือคอลีฟะตุลลอฮ์? ตอนที่ 2
ใครคือคอลีฟะตุลลอฮ์? ตอนที่ 2
บทบาทของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)
ตัวอย่าง บทบาทของอิมามทางด้านรากฐานแห่งความรู้
ในยุคของท่านอิมามบากิร(อ) และท่านอิมามญะอ์ฟัร(อ) คือ ยุคแห่งการวางรากฐานแห่งความรู้ เพื่อจะชี้ว่า บทบาทของท่านอิมามบากิร(อ) และอิมามญะฟัร(อ) คือ ผู้ที่ทำให้ชีอะฮ์เป็นหนึ่งทางด้านความรู้ในโลกนี้ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งความรู้นี้ต้องยอมรับ เพราะนักปราชญ์ทุกศาสนิกทั้งโลกยอมรับความรู้และความยิ่งใหญ่ของท่าน อีกทั้งยอมรับในความเป็นหนึ่งของชีอะฮ์ มาจากการเสียสละ การต่อสู้ ของท่านอิมามบากิร(อ) และท่านอิมามญะฟัร(อ)
ตัวอย่าง บทบาทของอิมามในแบบฉบับความกล้าหาญ
ณ บริบทนี้ เรากำลังชี้ถึงความโดดเด่นของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ หากถามว่า ทำไมชีอะฮ์ทั้งโลก มีความกล้าหาญมาก กระทั่งโลกทั้งโลกต้องเกรงกลัว โดยเฉพาะยุคนี้เห็นเดินชัดมาก โดยเฉพาะชาวอิหร่าน ชาวเลบานอน และชาติอื่นๆ อีกมากมายในยุคปัจจุบันที่แสดงความกล้าหาญออกมา ถ้าจะถามถึงความกล้าหาญนี้มากจากไหน แน่นอน ผลพวงมาจากคำสั่งสอนในแบบฉบับของท่านอิมามอะลี(อ) และท่านอิมามฮุเซน(อ)
บทสรุป นี่คือบทบาททางด้านความกล้าหาญ เพื่อจะชี้ว่า ความกล้าหาญของชีอะฮ์ในภาพรวมนั้น แท้จริงแล้วได้มาจากอิมาม 2 ท่านนี้
(หมายเหตุ : เรายกตัวอย่างนี้ เป้าหมายเพื่อจะบอกว่า บทบาทของบรรดาอะอิมมะฮ์(อ) บรรดาอิมาม(อ) มีผลต่อการดำเนินชีวิตของเรา )
การอยู่รอดของชีอะฮ์ในสังคมที่อิมามเร้นหาย
“การอยู่รอดของสังคมชีอะฮ์ในสังคมที่ไม่มีอิมามนับเป็นพันๆปี” เห็นได้ชัดว่า ในสภาวะที่ไร้ผู้นำ นับเป็นพันๆปี เหตุใดจึงมีการพัฒนาจนไปถึงความยิ่งใหญ่ได้ และจริงๆแล้ว เราสามารถกล่าวได้ว่า ชีอะฮ์กำลังจะยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วยซ้ำไป ซึ่งข้อพิสูจน์นี้ พิจารณาได้จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า เกือบทุกสื่อประโคมข่าวกันว่า อเมริกา รวมทั้งประเทศในยุโรป ระดมทุ่มสรรพกำลังเพื่อจะโค่นล้มรัฐอิสลามอันบริสุทธิ์
บริบทข้างต้น แสดงถึง วิถีแห่งการดำเนินของชีอะฮ์ไม่ใช่เรื่องธรรมดา อีกทั้งไม่ใช่กลุ่มชนธรรมดา ซึ่งตรงนี้ ต้องการชี้ว่า การที่ชีอะฮ์สามารถยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้ มาจากบทบาทของอิมาม3 ท่าน คือ อิมามท่านที่ 9 อิมามท่านที่ 10 และอิมามท่านที่ 11 ได้เตรียมการในช่วงที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ) ยังไม่ปรากฏตัว เพื่อให้ชีอะฮ์อยู่ต่อไปได้อย่างยิ่งใหญ่ และยิ่งใหญ่จนถึงขั้นสามารถเตรียมการรองรับการมาของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ) กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
บทบาทท่านอิมามฮะซัน อัลอัสกะรีย์(อ)
อนึ่ง ก่อนการเร้นหายของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ) อิมามที่บทบาทมากที่สุดในบรรดาสามอิมามนี้ คือ ท่านอิมามฮะซัน อัลอัสการี(อ) ที่จะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ และเมื่อภารกิจเสร็จสมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ) จึงขึ้นปกครอง ในรูปแบบที่เร้นหายในฮิจเราะห์ที่ 254
ข้อบ่งชี้ เมื่อหมดยุควิลายัตของท่านอิมามฮะซัน อัลกัสกะรีย์(อ) ปรากฏว่า อิมามมะฮ์ดี(อ) ได้เร้นหายทันที ทว่าการเร้นกายของท่านนั้น มี 2 ช่วงด้วยกันคือ
1. การเร้นกายช่วงสั้นๆ เรียกว่า อัล-ฆ็อยบะตุลศุฆรอ "الغيبة الصغرى"
2. การเร้นกายครั้งยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า อัล-ฆ็อยบะตุลกุบรอ "الغيبة الكبرى"
ชีอะฮ์ต้องเข้าใจด้วยว่า การเร้นกายช่วงสั้นๆ เรียกว่า “อัล-ฆ็อยบะตุลศุฆรอ” หรือการเร้นกายชั่วคราว ซึ่งในศัพท์เรียกว่า การเร้นกายครั้งแรก ประมาณ 70 ปี แต่ในช่วงนั้นมีเฉพาะบุคคลพิเศษๆ เท่านั้นที่พบเจอกับท่านได้ และไม่เพียงเท่านั้น ยังมีตัวแทนโดยตรงที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ) แต่งตั้งขึ้นมา 4 ท่าน 4 ยุค 4 สมัย เพื่อให้คุ้นเคยกับการรับคำสั่งบุคคลที่ไม่ใช่อิมามมะอ์ศูม(อ)นั่นเอง
ทว่า ตัวแทนวิละยะตุลฟะกีฮ์ 4 ท่าน ที่อิมามมะฮ์ดี (อ) ได้แต่งตั้งนั้น ท่านแต่งตั้งทีละคนๆ จนกระทั่งครบท่านที่ 4 ในปี ฮ.ศ.329 ถือเป็นสิ้นสุดตัวแทนคนสุดท้าย
และหลังจากปี ฮ.ศ.329 เป็นต้นไป จนถึงปัจจุบันและอนาคต ตามพระประสงค์ของพระองค์ อันถือเป็นยุคแห่งการเร้นกายครั้งยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า “อัล-ฆ็อยบะตุลกุบรอ” นับเป็นเวลาพันกว่าปีมาแล้ว และจะดำเนินต่อไป จนกระทั่งถึงวันแห่งการปรากฏตัวก่อนวันสิ้นโลก
ความหมาย “อัล-ฆ็อยบะตุลกุบรอ” การเร้นหายครั้งยิ่งใหญ่
1.“อัล-ฆ็อยบะตุลกุบรอ” หมายความว่า หลังจากนี้จะไม่มีใครได้พบเจอท่าน ถ้าได้พบเจอ ก็ไม่ถือว่าเป็นทางการใดๆ และไม่มีสิทธิ์มากล่าวอ้างการถ่ายทอดคำสั่งใดๆได้ นี่คือ สิ่งที่เรียกว่า “อัล-ฆ็อยบะตุลกุบรอ”
2.หลังจาก “อัล-ฆ็อยบะตุลกุบรอ”แล้ว อิมามมะฮ์ดี (อ) จะไม่แต่งตั้งใครด้วยตัวท่านเอง หมายความว่า ชีอะฮ์จะต้องใช้ความรู้ทั้งหมดที่บรรดาอิมาม(อ)ถ่ายทอดมา โดยเฉพาะความรู้ที่มาจากทั้งสามอิมาม ซึ่งหมายถึง ท่านอิมามญะวาด(อ) ท่านอิมามฮาดี(อ) และท่านอิมามฮะซัน อัล-อัสกะรีย์(อ)
(หมายเหตุ : ท่านกุลัยนีย์ ได้อ้างรายงานจาก อิสฮาก บิน อัมมาร, จากท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก (อิมามท่านที่ 6) กล่าวว่า
لِلْقَائِمِ غَيْبَتَانِ، اِحْدَاهُمَا قَصِيْرَةٌ وَالاخْرَى طَوِيْلَةٌ، اَلْغَيْبَةُ الاُوْلَى لاَ يَعْلَمُ بِمَكَانِهِ فِيْهَا اِلاَّ خَاصَّةُ شِيْعَتِهِ، وَالاُخْرَى لاَ يَعْلَمُ بِمَكَانِهِ فِيْهَا اِلاَّ خَاصَّةُ مَوَالِيْهِ
คำอธิบาย : “สำหรับอัล-กออิมนั้น จะมีการเร้นกาย 2 ครั้ง ครั้งแรกจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ และอีกครั้งหนึ่งจะเป็นระยะเวลายาวนาน โดยการเร้นกายครั้งแรกนั้น จะไม่มีผู้ใดรู้ที่อยู่ของท่าน นอกจากชีอะฮ์ผู้ใกล้ชิดโดยเฉพาะ และการเร้นกายครั้งที่สอง เช่นเดียวกัน จะไม่มีผู้ใดรู้ที่อยู่ของท่าน นอกจากมิตรสหายผู้ใกล้ชิดโดยเฉพาะเท่านั้น”
(จากหนังสือ “อุศูล อัล-กาฟีย์” เล่มที่ 1 หน้า 340, กิตาบอัล-ฮุจญะฮ์, บาบอัล-ฆ็อยบะฮ์ ฮะดีษที่ 19 )
คำอธิบาย : เหตุผลที่เน้นท่านอิมามญะวาด(อ) ท่านอิมามฮาดี(อ) และท่านอิมามฮะซัน อัล-อัสการีย์(อ) เพราะอิมามทั้งสาม คือ ผู้ถ่ายทอดวิธีการเตรียมหาผู้นำ หรือ เลือกเฟ้นผู้นำขึ้นมา ที่จะเข้ามาดูแลกิจการของสังคมชีอะฮ์นั้น ต้องมาจากความสามารถ และเกิดจากการวางรากฐานของสามอิมาม แต่ทั้งนี้ได้เน้นวิธีการเตรียมของท่านอิมามฮะซัน อัล-อัสกะรีย์(อ)เป็นพิเศษ
บทสรุป
อัลฮัมดุลิลละฮ์ จนถึงสมัยนี้นั้น ถือว่าการพัฒนาผ่านไปอย่างเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ เพราะถ้าการพัฒนาในอดีตไม่เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ เราจะดำเนินมาไม่ถึงวันนี้ แน่นอนเราล่มสลายไปตั้งนานแล้ว เพราะตามหลักทฤษฎีของนักรัฐศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลก ได้อธิบายว่า สังคมใดที่มีศัตรูอยู่รอบด้าน หากสังคมนั้นไร้ซึ่งผู้นำมาบริหารแล้วไซร้ สังคมนั้นอยู่ไม่รอดแน่นอน
ทว่าสำหรับสังคมชีอะฮ์อยู่รอด อีกทั้งสามารถลบทฤษฎีรัฐศาสตร์นี้ได้อย่างสำเร็จ เพราะชีอะฮ์ทุกคนถูกเตรียมการล่วงหน้าเพื่อความพร้อมในการรองรับสิ่งต่างๆเหล่านี้
แน่นอนภารกิจของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์(อ) ท่านขึ้นดำรงมาเป็นผู้นำ เป็นอิมามท่านที่ 11 ด้วยเวลาเพียง 4 ปี นับว่า เหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างมาก และภายหลังจากท่านเป็นชะฮีดของท่าน ก็เข้าสู่ยุคของอิมามมะฮ์ดี (อ)
คำถาม : ทำไมภารกิจของท่านอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ) จึงเหน็ดเหนื่อยอย่างมากมาย
คำตอบ : ยุคของท่านอิมามฮะซัน อัสกะรีย์(อ) ในด้านหนึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ของอิสลาม ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นจุดเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติอีกด้วย กอปรกับผู้เป็นข้อพิสูจน์ คนสุดท้ายของเอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ) ก็ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้
อนึ่งประการสำคัญในยุคท่านอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ)นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของบะนีอับบาส ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่ง หรือ ราชวงศ์หนึ่งที่มีอำนาจสูงสุดในอิสลามแห่งยุคนั้น อีกทั้งมีอำนาจเหนือกว่าทุกยุคทุกสมัยในบรรดาผู้ปกครองที่เป็นฏอฆูต หรือที่เรียกว่า ผู้ปกครองจอมปลอมทั้งหลาย
ประการต่อมา ด้วยบรรดาผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ได้ปกครองอาณาจักรอิสลามยาวนานติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จึงทำให้บะนีอับบาสเห็นถึงความเข้มแข็งของชีอะฮ์ในยุคสุดท้ายของทั้งสามอิมาม
ในการชี้ว่า บะนีอับบาสรู้เป็นอย่างดีถึงฮะดีษและริวายะฮ์ต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ และมีสายสืบมากมายต่อเนื่องเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี (อ) และบะนีอับบาสก็เชื่อคำพยากรณ์ต่างๆที่ชี้ถึงการปรากฏตัวของอิมามมะฮ์ดี(อ) รวมทั้งการทวงคืนสิทธิ์และอำนาจแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ การทวงคืนสิทธิ์และอำนาจแห่งอิสลามอันบริสุทธิ์ และเชื่อด้วยว่า สิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้นจริง เพราะอย่างน้อย คำทำนายต่างๆที่พวกเขารู้ ส่วนหนึ่งมาจากการทำนายของท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ)
โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
บรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี เนื่องในวโรกาสวันชะฮาดัตของอิมามฮะซัน อัลอัสกะรีย์ (อ)
เรียบเรียงโดย : Wanyamilah S.