ซะกาตฟิตเราะฮ์
ซะกาตฟิตเราะฮ์
ความหมาย
ซะกาตฟิตเราะฮ์ คือ ซะกาตที่มุสลิมทุกคน(อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้)จะต้องจ่าย หลังจากสิ้นสุดเดือนรอมฎอน
ชนิดและปริมาณของซะกาตฟิตเราะฮ์
ข้าวสาร หรือ อาหารประจำท้องถิ่นนั้นประมาณ ๓ กิโลกรัม ต่อ ๑ คน
เวลาจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์
เวลาที่เป็นวาญิบของการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ คือ หลังจากพระอาทิตยืตกดินของคืนวันอีดฟิตร์ จนกระทั่งเวลาดุฮ์ริของวันอีดฟิตร์
ผู้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์
ซะกาตฟิตเราะฮ์ เป็นวาญิบสำหรับบุคคลที่มีคุณลักษณะดั่งต่อไปนี้
๑) อัล-บุลูฆ (บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ)
๒) อัล-อักล์ (มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์)
๓) อัล-ฆอนี (มีฐานะความเป็นอยู่ไม่ขัดสน)
ผู้ที่รับซะกาตฟิตเราะฮ์
คือบุคคล ๘ จำพวกที่สามรถรับซะกาตทั่วไปได้
- ต้องเป็นคนยากจน ขัดสนที่เป็นมุอ์มินเท่านั้น และอยู่ในเมืองเดียวกับผู้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ รายละเอียดเรื่องซะกาตฟิตเราะฮ์
๑) ผู้มีคุณสมบัติทั้งสี่ประการข้างต้น เป็นวาญิบที่เขาต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์สำหรับตัวเขาเอง และผู้ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเขา (เช่น ลูกหลาน คนรับใช้ เป็นต้น)
๒) สำหรับเด็กทารก คนวิกลจริต คนที่เป็นทาส คนยากจน ขัดสน ที่ไม่มีรายได้เพียงพอในการใช้จ่ายตลอดปี ไม่เป็นวาญิบต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์
๓) เป็นวาญิบสำหรับเจ้าของบ้านต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์สำหรับ(จ่ายแทน)แขกผู้มาผู้มาเยือน(แม้ว่าจะเป็นกาฟิรก็ตาม) ซึ่งเขาได้มาเยือนก่อนเวลามักริบของค่ำวันอีด แต่ทว่าก็ยังถือว่าเป็นวาญิบต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ สำหรับ (จ่ายแทน) แขกผู้มาเยือนเวลาใกล้มัฆริบ หรือ หลังมัฆริบด้วย เหมือนกับตราบเท่าที่เวลาของการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ยังคงเหลืออยู่
๔) เด็กทารกที่คลอดออกมาใกล้เวลามัฆริบ หรื ก่อนเวลามัฆริบเพียงครู่เดียว ก็อยู่ในฐานะที่ผู้ปกครอง(พ่อหรือแม่)ต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์สำหรับ(จ่ายแทน)ทารกนั้นด้วย
ขอขอบคุณเว็บไซต์ทีวีชีอะฮ์