เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ศาสดามุฮัมมัด แบบฉบับแห่งมนุษย์ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ตอนที่ 13

2 ทัศนะต่างๆ 03.0 / 5

ศาสดามุฮัมมัด แบบฉบับแห่งมนุษย์ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ตอนที่ 13

 

การสร้างสันติภาพและความสมานฉันท์ในเมืองมะดีนะห์

 

หลังจากที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองมะดีนะห์ ได้มีการเชิญชวนชาวเมืองมะดีนะห์ที่ขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกันเป็นเวลาหลายปีมาสู่สันติสุข และท่านได้สร้างมิตรภาพและความเมตตาให้เกิดขึ้นระหว่างชาวเมืองมะดีนะห์ทั้งหลาย และถึงแม้ท่านจะสั่งสอนให้มุสลิมทุกคนอยู่ในความสงบร่วมกับชาวยิวที่อาศัยอยู่ในมะดีนะห์ และกล่าวกับสหายของท่านว่า

 

“ชาวยิวมีอิสระในการเลือกที่จะเข้ารับอิสลาม ไม่มีความแตกต่างระหว่างชาวมุสลิมและชาวยิว เนื่องจากศาสนาอิสลามถือว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติหรือนับถือศาสนาใดๆ มีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายแห่งรัฐอิสลาม และในแง่มุมของศาสนาอิสลาม ประชาชนทุกคนมีสิทธ์ที่จะเติบโต ได้รับความเจริญรุ่งเรือง และข้าพเจ้า ศาสดาแห่งอิสลามเป็นผู้แสวงหาความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทุกคน”


สงครามเป็นหนึ่งในลักษณะสำคัญของทุกๆ สังคม โดยไม่คำนึงถึงวัฒนธรรม ภาษา นิกายหรือศาสนา แม้กระทั่ง สัตว์ยังมีเครื่องป้องกันตนเองจากบรรดาศัตรูของมัน ศาสนาอิสลามเชื่อว่า ปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างมนุษย์ไม่สามารถแยกออกจากลักษณะและสาระสำคัญของพวกเขา

 

อัลกุรอานให้เหตุผลว่า เหตุผลสำคัญเบื้องหลังความขัดแย้งและสงครามระหว่างมนุษย์คือ วิธีการที่ก้าวร้าวของพวกเขา ความโง่เขลา ความรุนแรง ความอกตัญญู ความหยิ่งยโสและเชื่อฟังความชั่วร้ายของพวกเขา มนุษย์ที่มีเหตุผลทุกคน จะประณามการทำสงคราม ความรุนแรงของมันและผลกระทบที่เลวร้ายของมัน

 

ในแง่มุมของความสันติและความสงบสุข ที่มนุษย์สามารถก้าวขึ้นไปสู่จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการสร้าง ตามความแตกต่างทางศาสนาและเทววิทยาในหมู่มวลมนุษย์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องของสงครามและความขัดแย้งได้รวมถึงการที่สหายนับถือศาสนา และนิกายที่แตกต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่นดังที่ท่านได้อยู่ร่วมกับชาวยิว และชาวคริสต์อย่างสงบในเมืองมะดีนะห์ และไม่บังคับให้พวกเขาเข้ารับอิสลาม ดังที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้หยิบยกมาจากพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ในอัลกุรอานว่า

 

“อะลุ้ลกิตาบ (ยิว คริสต์ โซโรแอสเทรียนส์) พวกเราจงยึดมั่นในคำสอนที่ถูกต้องซึ่งใช้ร่วมกันระหว่างเราและเชื่อมโยงเรากับศาสนาอื่น”

 

และในอีกอายะห์หนึ่งของอัลกุรอาน กล่าวว่า

 

“ดังนั้น เจ้า (มุฮัมหมัด) จงแจ้งข่าวดีแก่ปวงบ่าวของข้าเถิดว่า บรรดาผู้ที่สดับฟังคำกล่าวและปฏิบัติตามอย่างดีที่สุด ชนเหล่านี้คือบรรดาผู้ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงชี้แนะทางนำที่ถูกต้องให้แก่พวกเขา และชนเหล่านั้นแหละ คือ ผู้ที่มีสติปัญญาใคร่ครวญ”


ฉะนั้น หากเราลองตรวจสอบดูทุกช่วงชีวิตของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เราจะพบว่าในช่วง๑๐ ปีของช่วงที่ท่านพำนักอยู่ที่นครมะดีนะห์

 

ท่านและสหายต้องเผชิญกับการทำสงครามมากกว่า ๗๐ ครั้งในนครอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และสำหรับสงครามเหล่านั้นล้วนเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านชาวมุสลิมทั้งสิ้น แต่ในทางตรงกันข้าม

 

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ไม่เคยเป็นฝ่ายเริ่มสงครามก่อนเลย และถึงแม้ว่าท่านได้หลบหนีจากบรรดาศัตรูของท่านในนครเมกกะห์ บรรดาพวก นอกรีตยังคงทำความลำบากและสร้างความทรมานให้แก่บรรดาสหายผู้บริสุทธิ์ของท่าน โดยการยึดทรัพย์สินอัน

 

น้อยนิดของพวกเขา และในทางตรงกันข้ามได้มีการวางแผนที่จะสั่งห้ามกองคาราวานเข้าออกเมืองสำคัญเศรษฐกิจของนครมะดีนะห์เพื่อป้องกันไม่ให้มีการส่งออกอาหารไปยังเมืองนี้ หนึ่งในหัวหน้าของพวกนอกรีต มีชื่อว่า อะบูยะฮัล เขาได้ส่งจดหมายที่มีความหยาบคาบมายังท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เพื่อเตือนท่านให้เตรียมตัวสำหรับการโจมตีโดยชาวกุเรช


หลังจากที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้รับจดหมาย ท่านก็ได้รับการแจ้งจากพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพโดยตรัสว่า

 

“พวกเขาเหล่านั้นได้รับการแจ้งถึงการโจมตีและการบุกรุกสามารถป้อง กันได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง และพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพ จะทรงช่วยกลุ่มชนผู้ซึ่งถูกขับไล่ออกไปจากบ้านและเมืองของพวกเขาสำหรับความศรัทธาในพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพของพวกเขา”

 

กองทัพแห่งนครเมกกะเริ่มออกเดินทางไปยังนครมะดีนะห์และสงครามนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “สงครามบะดัร” ในปีที่สองของฮิจเราะห์ศักราช ได้ขับไล่ศาสดาแห่งอิสลามออกนอกเขตนครมะดีนะห์ ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)และสหายของท่าน อย่างไรก็ตาม หนึ่งปีหลังจากสงครามบะดัร

 

ชาวเมกกะได้รวบรวมไพล่พลจัดตั้งเป็นกองทัพใหญ่ขึ้นอีกครั้งหนึ่งและเดินทางมุ่งหน้าไปยังนครมะดีนะห์เพื่อทำลายชาวมุสลิม ศาสนาและศาสดาของพวกเขา เมื่อศาสดาแห่งพระเจ้าได้รับแจ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้
ท่านได้เรียกชุมนุมชาวมุสลิมทั้งหมดในมัสญิดและปรึกษาหารือกับพวกเขาถึงวิธีการป้องกันนครแห่งนี้และควรจะเผชิญหน้ากับศัตรูภายนอกเมืองนี้หรือไม่ บรรดาสหายจำนวนมากบอกกับท่านว่า พวกเขาเห็นควรให้ต่อสู้กับชาวเมกกะนอกเมือง เพื่อที่ว่าจะได้ไม่
เกิดอันตรายใด ๆ แก่ภรรยาและครอบครัวของพวกเขา ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เห็นชอบตามนั้นและการต่อสู้ซึ่งชาวเมกกะเป็นผู้โจมตี ถูกตีแตกบนภูเขาอุฮุด ชาวมุสลิมมากกว่า ๗๐ คนถูกฆ่าตายในการสู้รบ รวมถึงลุง ซึ่ง สืบเชื้อสายทางบิดาของท่านศาสดา คือ ท่านฮัมซะห์ บุตร อับดุลมุฏฏอลิบ ซึ่งศพของเขาถูกตัดออกเป็นชิ้นๆ โดยศัตรู เมื่อท่านศาสดาเห็นสภาพศพของลุงของท่าน

 

ท่านร่ำไห้อย่างขมขื่นและรู้สึกเจ็บปวดอย่างยิ่ง แต่หลังจากนั้นผู้ที่สังหารลุงของท่านได้เข้ามอบตัวแก่ท่าน และท่านศาสดา(ซล)ก็ได้ตัดสินใจให้อภัยแก่เขามีการสู้รบและสงครามอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสิบปีที่ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) พำนักอยู่ในนครมะดีนะห์ซึ่งเป็นการป้องกันทุกครั้งและมุ่งที่จะรวบรวมแกนสำคัญของความสันติและความสงบสุข ในสงครามเหล่านั้น


ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยึดมั่นในการหลักการและคุณค่าแห่งมนุษยธรรมเช่น การปกป้องสิทธิ์ของผู้บริสุทธิ์ สตรีและเด็กๆ รวมถึงปฏิบัตกับนักโทษ ด้วยความเคารพ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนักโทษที่ถูกจับมานั้นจะได้รับการส่งเสริมให้สอนวิธีการเขียนและอ่านแก่ชาวมุสลิม วิธีนี้เหล่านักโทษจะถูกปล่อยตัวเป็นอิสระเมื่อพวกเขาเสร็จสิ้นการสอนแล้ว

 

 อะบูอะซีซ หนึ่งในบรรดานักโทษจากสงครามบะดัร กล่าวว่า

“พวกมุสลิมจับข้าพเจ้าเป็นนักโทษและนำตัวไปยังนครมะดีนะห์

 

ระหว่างทาง มีหลายคนถูกมอบหมายให้ดูแลข้าพเจ้าโดยเป็นคำสั่งของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ว่าเมื่อไรหรือที่ใดก็ตามที่พวกเราหยุดพัก ข้าพเจ้าจะได้รับอาหารและน้ำ พวกเขาดูแลข้าพเจ้าอย่างเมตตาและเคารพ ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกละอายใจมากสำหรับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กระทำกับพวกเขาก่อนหน้านี้ ดังนั้น บางครั้งข้าพเจ้าจะคืนขนมปังให้กับพวกเขาอย่างไม่ละอาย”


ตั้งแต่เข้ามายังมะดีนะห์ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ลงนามในสนธิสัญญาแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับชาวยิวในเมืองแห่งนั้นและประกาศว่า ชาวมุสลิมและยิวเป็นดังเช่นคนชาติเดียวกันที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และสามารถปฏิบัติศาสนกิจของตนได้อย่างเสรี ตามสนธิสัญญาดังกล่าว ชาวมุสลิมและยิวสามารถให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่พวกเขาถูกคุกคามโดยผู้อื่น อย่างไรก็ตามและภายใต้ข้ออ้างต่างๆ นานา สนธิสัญญาดังกล่าวมาข้างต้นได้ถูกทำลายลงโดยชาวยิว และในที่สุด พวกเขาได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเผ่านอกศาสนาของนครเมกกะ ซึ่งท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งการสู้รบในสมรภูมิ การสู้รบครั้งนี้ มุสลิมเป็นผู้ครองชัยชนะ จากนั้น ชาวยิวหวังที่สังหารท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) อย่างทารุณเพื่อฉีกสนธิสัญญาแห่งความสันติ จึงร่วมมือกับบรรดาศัตรูของท่าน แต่เมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เป็นศาสดาแห่งความปรานีและความเมตตา ท่านศาสดา (ซล) จึงได้ให้อภัยแก่พวกเขา

 

เขียนโดย เชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต

 
 

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม