รู้จักนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ตอนที่ 3
รู้จักนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ตอนที่ 3
ความเป็นโวหารและความไพเราะทางด้านภาษาของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
เอกลักษณ์อันพิเศษของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คือการเรียบเรียงภาษาได้อย่างปราณีตและมีความเป็นโวหารที่สูงมาก ทำให้นักอ่านและนักค้นคว้าด้านภาษาศาสตร์และผู้สนใจในด้านนิรุกติศาสตร์จะรู้สึกประทับใจและทะลึงต่อบทสุภาษิตหรือถ้อยคำเหล่านั้น มันเป็นความสวยงามแห่งภาษาที่ สามารถรับรู้และสำผัสได้
อิบนุอับบาส ถือว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่นิยมในตัวอิมามอะลีและมีชมชอบต่อการปราศรัยของอิมามอะลี ครั้งหนึ่งเมื่ออิมามอะลีได้กล่าวคุฏบะฮ(เทศนาธรรม)ที่ชื่อว่า”ชิกชะกียะฮ”(คุฏบะฮที่สามจากนะฮญุลบะลาเฆาะฮ) อิบนุอับบาสได้อยู่ ณ ที่นั้นด้วย ในขณะนั้นเองมีชายชาวกูฟะฮคนหนึ่งได้นำสาส์นฉบับหนึ่งนำส่งอิมามอะลี ทำให้อิมามอะลีต้องหยุดการปราศรัย แล้วได้นำสาส์นนั้นมาอ่าน อิบนุอับบาสได้กล่าวขอร้องให้อิมามอะลีเทศนาธรรมต่อจากที่ได้หยุดค้างไว้ แต่อิมามอะลีไม่กล่าวบทเทศนาต่อแต่อย่างใด อิบนุอับบาสรบเร้าเท่าไหร่ อิมามก็ไม่กล่าวต่อ จนทำให้อิบนุอับบาสถึงกับกล่าวออกมาว่า “ฉันไม่เคยรู้สึกเสียใจหรือเสียดายอะไรแบบนี้มาก่อนเลย ที่ต้องทำให้หยุดการรับฟังคำปราศรัยของอิมามอะลี”
อิบนุอับบาสได้อีกกล่าวว่า “หลังจากวจนะของศาสดามุฮัมมัดแล้ว ฉันไม่เคยได้รับประโยชน์และคุณค่าเหมือนกับสุนทโรวาทเหล่านี้เลย(คือสุภาษิตของอิมามอะลี)”
หรือแม้แต่ศัตรู ผู้มีความชิงชังอิมามอะลียังต้องยอมรับในวาทะศิลป์และความเป็นโวหารของถ้อยคำนั้น มุอาวียะฮ บินอบีซุฟยาน ถือว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่ไม่ชอบและไม่นิยมในตัวอิมามอะลีเอาเสียเลยและยังเกลียดชังอีกต่างหาก เขายังต้องยอมรับในความเป็นโวหารและความสวยงามทางด้านคำพูดของอิมามอะลี
มีรายงานกล่าวไว้ว่า วันหนึ่งมีชายผู้หนึ่งเข้ามาหามุอาวียะฮ แล้วกล่าวว่า ฉันได้มาจากบุคคลที่พูดปราศัยไม่เก่ง พูดไม่น่าฟัง(หมายถึงอิมามอะลี)” มุอาวียะฮกล่าวตอบว่า”ความหายนะประสบแก่เจ้า เขาผู้นั้น(อิมามอะลี) คือผู้ที่พูดไม่เก่ง พูดไม่น่าฟังกระนั้นหรือ? ไม่มีกุเรชคนใดที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการใช้ภาษามากเท่าอะลีและทุกๆถ้อยคำของเขาเต็มไปด้วยโวหารและมีความไพเราะ และอะลีเขาเป็นผู้สอนเรื่องบทกวีและโวหารของภาษาอาหรับแก่ชาวกุเรช!!!”
----------------------------------
“เมื่อใดที่หัวใจมีความหวังความละโมบ จะทำให้เขาตกต่ำ
เมื่อใดที่ความละโมบได้กุ่มรุมทำร้ายความหลงใหลจะพิฆาตเขา
เมื่อใดที่ความสิ้นหวังได้ปกคลุม ความอคติจะขุดรากถอนโคนเขา
เมื่อใดที่ความโกรธได้ถาถมเข้ามาไฟแห่งความแค้นก็จะลูกโชน
เมื่อใดที่ประสบกับความปลาบปลื้มยินดีก็จะดีใจจนลืมตัว
เมื่อใดที่ความหวาดกลัวได้ครอบงำ เขาจะมุ่งแต่หลีกหนี
เมื่อใดที่ภารกิจของเขาง่ายดายก็จะทำให้เขาลืมเลือน
เมื่อใดที่เขาร่ำรวยความมั่งคั่งจะทำให้เขาหยิ่งผยอง
เมื่อใดที่พบกับความทุกข์โศกเขาก็จะหงุดหงิดร้อนใจ
เมื่อใดที่ความยากจนได้ก่ำกายมาสู่เขาสาระวนอยู่กับปัญหา
เมื่อใดที่เขาหิวโหยความไร้สามารถจะเกาะกุมเขา
เมื่อใดที่เขาอิ่มแป้เขาจะอึดอัดจนหายใจแทบไม่ออก
ฉะนั้น ทุกความไม่พอดีจะทำอันตรายต่อเขา และทุกความสุดโต่งจะทำให้เขาเสียหาย”(สุภาษิตจาก นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์)
จัดพิมพ์ใน
2021-03-06 00:00:00
ผู้เขียน:
ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
รู้จักนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ตอนที่ 1
นะฮ์ญุลบาลาเฆาะฮ์ นับว่าเป็นศิลปะทางด้านภาษาศาสตร์ที่มีความไพเราะเป็นเลิศ เต็มไปด้วยศิลปะของการใช้ภาษาที่ถูกต้อง เป็นการสำแดงออกอย่างแคล่วคล่องในด้านความรู้อันลึกซึ้งกว้างขวางและประณีต ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลในสมัยนั้น นักปราชญ์ทางภาษาได้ยกย่องว่า นะฮญุลบะลาเฆาะฮคือเป็นยอดแห่งโวหาร มีความไพเราะเพราะพริ้งอย่างมากทีเดียว
ถ้อยคำต่างๆและประโยคอันงดงามพร้อมทั้งเนื้อหาอันทรงคุณค่าจากสุนทโรวาทอิมามอะลี(อ) จากอดีตที่ผ่านมาน้อยคนนักที่จะหันมาศึกษาหรือวิจัยหรือค้นคว้าต่อเนื้อหาต่างๆที่ถูกบันทึกไว้ จนกระทั้งเวลาผ่านไปอันยาวนาน ทำให้ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ชื่อว่า”ซัยยิดรอฎี”ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและสาระธรรมอันยิ่งใหญ่ของถ้อยคำเหล่านั้น จึงได้นำมาเรียบเรียงเป็นหมวดและบทต่าง ๆ โดยตั้งชื่อตำรานั้นว่า”นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” จนทำให้นักวรรณคดีอาหรับนักวิชาการและบรรดาอุลามาห์ในยุคต่อมาให้การยอมรับและนำมาอรรถาธิบายตำรานะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทั้งจากปวงปราชญ์ของสำนักคิดซุนนีย์และชีอะฮ จนเป็นที่รู้จักไปทั่วมุมโลก ทั้งในโลกของอาหรับและไม่ใช่อาหรับ
อับดุรเราะมาน บินนาบาตะฮ์ นักพูดผู้มีวาทะศิลป์สูงและเป็นนักวิชาการชั้นสูงและลือชื่อของชาวอะหรับ ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า พื้นฐานความรู้ทางด้านนิรุกติศาสตร์และความเข้าใจต่อคำพูดที่เป็นโวหาร ข้าพเจ้าได้มาจากอิมามอะลี และข้าพเจ้าได้ท่องจำคำสุภาษิตของอิมามอะลี(จากนะญุลบะลาเฆาะฮ์)ถึงหนึ่งร้อยบท นั่นแหละที่ทำให้ข้าพเจ้ามีความชำนาญด้านอักษรศาสตร์อาหรับและยังได้รับขุมทรัพย์ทางปัญญานี้อย่างไม่มีวันจบสิ้น”
บทความโดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน