เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

รู้จักนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ตอนที่ 4

3 ทัศนะต่างๆ 03.7 / 5

รู้จักนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ตอนที่ 4

 

เชคมุฮัมมัด อับดุ ปราชญ์ชื่อดังชาวอียิปต์ และเป็นคนหนึ่งที่ได้เขียนคำอรรถาธิบายหนังสือนะญุลบะลาเฆาะฮ เขาได้กล่าวถึงนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ว่า


“สังคมอาหรับ จะหาใครสักคนที่มีวาทศิลป์และการใช้คำพูดอย่างมีโวหารและเปี่ยมด้วยสารัตถะธรรม รองจากพระคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะแห่งศาสดามุฮัมมัดได้เลย นอกจากสุนทโรวาทแห่งอิมามอะลี บินอะบีตอลิบ ถือได้ว่านะฮ์ญุลบะลเฆาะฮ์เป็นถ้อยคำที่มีความสละสะลวยและสวยงามทางภาษาอีกทั้งมีความเป็นโวหารที่สุด  และยังมีความหมายล้ำลึก แฝงทางอภิปรัชญาระดับสูง น่าสนใจมากทีเดียว”


  อะลี อัลญุนดีย์ นักปราชญ์ร่วมสมัยชาวอียิปต์กล่าวว่า


 “ ไม่ว่าเป็นคำคม หมวดสุภาษิตหรือหมวดบทเทศนาธรรม(คุฏบะฮ)ท่านอะลี(จากหนังสือนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์)  ถือได้ว่า ท่านอะลี บินอะบีตอลิบ หนึ่งเดียวแห่งเจ้าสำนวนและเจ้าแห่งโวหาร”


 ดร.ตอฮา ฮุเซน นักประวัติศาสตร์ชื่อดังโลกอาหรับ กล่าวว่า


”ฉันไม่เคยพบเจอถ้อยคำใดๆที่เปี่ยมล้นไปด้วยสาระธรรมและเต็มไปด้วยความหมายอันทรงพลังอยู่ในฐานะรองจากอัลกุรอานและวจนะของศาสดามุฮัมมัด มากเท่ากับสุนทโรวาทของอิมามอะลี บินอะบีตอลิบ”

 

อายาตุลลอฮ์ซัยยิดอะลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ” บทเรียนจากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์”ตอนหนึ่งว่า


  “ก่อนที่ซัยยิดรอฎี ได้ทำการรวบรวมถ้อยคำและคำพูดต่างๆของอิมามอะลี แท้จริงแล้วสุนทรพจน์และคุฎบะฮ์ เทศนาธรรม ตลอดจนคำคม คำสุภาษิต คำตักเตือนนั้นได้กระจัดกระจายอยู่ในหนังสือต่างๆ เช่นตำราประวัติศาสตร์บ้างและตำราฮะดีษบ้าง


  นักปราชญ์ทั้งหลายก่อนหน้านั้นก็ได้พยายามคนแล้วคนเล่าที่จะรวบรวมถ้อยคำเหล่านั้นของอิมามอะลี(อ)ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่มีผู้ใดรวบรวมได้สมบูรณ์เหมือนอย่างซัยยิดรอฎีได้ทำไว้ เราจึงเป็นหนี้บุญคุณในความอุตสาหะพยายามและความริเริ่มของนักปราชณ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ ที่ได้ละทิ้งนะฮ์ญลบะลาเฆาะฮ์ไว้ให้ถึงพวกเรา มีนักปราชญ์รุ่นหลังหลายต่อหลายคนได้พยายามรวบรวมและหาหลักฐานเพิ่มเติมแก่นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์


นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นเสมือนขุมคลังแห่งวิทยปัญญาที่สมบูรณ์มั่งคั่งด้วยความรู้ ความศรัทธา การชี้นำไปสู่ทางเที่ยงธรรมตลอดทั้งความรู้สึกอันประณีตอันประเมินค่ามิได้  โดยเฉพาะในด้านหลักฐานความจริงและการอรรถาธิบายซึ่งท่านอิมามอะลี(อ)อยู่ในฐานะผู้อธิบายอัลกุรอาน


 และยังมีการรวบรวมสุนทรวาทของท่านอิมามอะลี(อ)ไว้โดยเฉพาะอีกหลายเล่ม ซึ่งเราจะได้เห็นความเป็นมาของประวัติศาสตร์การรวบรวมนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ได้อย่างละเอียดมากขึ้น และยังได้ใช้วิธีการรวบรวมนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้ใช้วิธีเดียวกับการสืบการแสรายงานฮะดีษ ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจในการเลือกนักสายรายงาน ทั้งค้นคว้าถึงประวัติบุคคลที่ทำการรายงานเอกสารสำคัญเหล่านั้น ซึ่งเรียกว่า ศาสตร์ริญาล(อิลมุลริญาล) ที่กล่าวถึงหลักการความเชื่อถือได้ของบุคคลผู้รายงาน และอีกทั้งว่าด้วยอิลมุลดิรอยะฮ์ ว่าด้วยการหลักการวิเคราะห์ฮะดีษเพื่อความถูกต้องและแม่นยำ

 

หลายปีต่อมา มีนักเขียนชาวอาหรับหลายท่านได้ช่วยกันเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า”มะดาริก นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ วะมะซานิด”(ว่าด้วยเอกสารต่างและความถูกต้องของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์)”


ซัยยิดรอฎี ผู้รวบรวมนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้กล่าวถึงผลงานชิ้นนี้ไว้เมื่อห้าศตวรรษที่แล้วว่า


 “สุนทโรวาทและคำสอนที่ได้ถูกสำแดงออกมาอย่างน่ามหัศจรรย์ยิ่งในหนังสือนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์นั้น ไม่มีมนุษย์ผู้ใดจะกระทำเทียบเทียมได้ในช่วงหนึ่งพันปีที่ผ่านมาและจะยังคงเป็นอมตะตลอไป ไม่มีนักเขียนชาวอาหรับที่เก่งกาจทางด้านวรรณศิลป์ หรือที่มีความชำนาญด้านบทกวี สามารถแสดงออกได้เช่นนี้  จนทำให้ปวงปราชญ์จากนักคิดมุสลิม และแม้แต่พวกที่จะพยายามต่อต้านอิสลาม ต่างก็ยอมรับความเป็นเลิศในการแสดงออกทางด้านภาษาและหลักคิดอันสูงส่งที่ปรากฏในนะญุลบะลาเฆาะฮ และพวกเขาถือว่านะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์อยู่เหนือระดับความรู้ของมนุษย์ธรรมดาจะประดิษฐ์มันขึ้นมาได้”

 

บทความโดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม