เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ประวัติการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ประวัติการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

 

ตามทัศนะของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติ ไว้ก่อนหน้าศาสนาอิสลาม มาตั้งแต่สมัยอดีต โดยอัลกุรอานกล่าวว่า

«يا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيامُ كَما كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ»

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าแล้ว เฉกเช่นที่มันได้ถูกบัญญัติแก่ผู้ซึ่งอยู่ก่อนพวกเจ้า”[5]

จากโองการนี้ชี้ให้เห็นว่า บัญญัติเรื่องการถือศีลอดได้ถูกกำหนดไว้ ตั้งแต่สมัยประชาชาติยุคก่อน แต่ประชาชาติยุคก่อน หรือ คนก่อนหน้านี้ คือ ใคร เป็นคนกลุ่มไหน

ท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน และบรรดาผู้รู้ระดับสูงในสายนี้ ได้ค้นคว้าคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากการค้นคว้าหลักฐานอัลลามะฮ์ ได้ให้ข้อสรุปว่า “มีบันทึกรายงานมากมายทางประวัติศาสตร์ จากอิยิปต์ กรีก โรม และอินเดีย ยุคโบราณ ที่บอกเล่าถึงการถือศีลอดไว้อย่างมากมาย[6]

ในหนังสือ กอมูสกิตาบมุกอดดัซ( ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายศัพท์ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ ทั้งพันธะสัญญา ฉบับเก่า และฉบับใหม่,จดหมายเหตุ และบันทึกของเหล่าสหาย และนิกายต่างๆในศาสนายิว และคริสต์)บันทึกว่า “ในทุกหมู่ชน และทุกเชื้อชาติ การถือศีลอด เต็มช่วงเวลา เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่ตกในสถานการ์ที่ยากลำบาก หรือ มีความโศกเศร้า”[7]

ในคัมภีร์เตารอต ของศาสนายิว มีรายงานถึงการถือศีลอดของโมเซส เป็นเวลา 40 วัน “ยามเมื่อข้ามาสู่หุบเขา ข้าได้เก็บแผ่นศิลาหิน (แผ่นศิลาแห่งสัญญาที่พระเจ้าได้ทำสัญญาไว้กับพวกเจ้า)แล้วหลังจากนั้น ข้าได้อยู่บนภูเขาเป็นเวลา 40 วัน 40 คืน (ในช่วงเวลาที่ถือศีลอด)โดยไม่กินขนมปัง หรือ ดื่มน้ำ”[8]

ในศาสนาพุทธเองก็มีการถือศีลอด ซึ่งเป็นศีลข้อที่ 6 ในศีลแปด คือ วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงวันถึงรุ่งเช้าของวันใหม่) [9]

ในศาสนาคริสต์ ไม่มีการระบุถึงการถือศีลอดอาหารโดยตรง แต่มีการชมเชยว่า การถือศีลอดเป็นสิ่งที่ดี ในบทกิจการ กล่าวไว้ว่า “เมื่อ ท่าน ทั้ง‍สอง แต่ง‍ตั้ง พวก ผู้‍ปก‍ครอง ใน คริสต‌จักร แต่ ละ แห่ง แล้ว ก็ อธิษ‌ฐาน และ ถือ อด‍อาหาร เพื่อ มอบ พวก‍เขา ไว้ กับ องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า ที่ พวก‍เขา เชื่อ‍ถือ นั้น”[10]

สรุปจากหลักฐานเหล่านี้ เราได้คำตอบหนึ่งว่า “การถือศีลอด” เป็นคำสอนที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีต ในทุกอารยธรรม โบราณ และยังมีอยู่จวบจนถึงปัจจุบัน โดยจุดประสงค์หลักของการถือศีลอด คือ การขัดเกลาจิตใจ และ วิญญาณของพวกเขา ให้กลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง การถือศีลอด โดยเหตุผลที่การถือศีลอด ทำให้กลไกการขัดเกลาทางจิตเกิดขึ้น เป็นเพราะ การถือศีลอด เป็นการฝึกมนุษย์ให้รู้จักยับยั้ง และควบคุม “ความอยาก” โดยสมัครใจ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เริ่มควบคุมความอยากของตนเอง มีแน้วโน้มที่พวกเขาจะลดละความโลภ และละจากการฝักใฝ่ในวัตถุ และหันมาสนใจดูแลจิตวิญญาณของตนเอง
แหล่งอ้างอิง
[5] ซูเราะฮ์ บากอเราะฮ์ โองการที่ 183

[6] ตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 8-9 เขียนโดย ซัยยิด มูฮัมมัด ฮูเซน ฏอบาฏอบาอีย์

[7] อ้างอิงจากหนังสือ กอมูส กิตาบ มุกอดดัซ หน้า 427 เขียนโดย James H. Hawkes

[8] คัมภีร์โทราห์ บทการเดินทางที่สอง บทที่ 9 ลำดับที่ 9

[9]https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94

[10] กิจการ 14 ; 23


คัดลอกจากบทความ ประวัติย่อเดือนรอมฎอน

บทความโดย เชคมูฮัมหมัด เบเฮชตี

ที่มา ABNEWSTODAY

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม