เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ปรมัตถ์แห่งขันติธรรม ตอนที่ 3

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ปรมัตถ์แห่งขันติธรรม ตอนที่ 3

 

 

คุณลักษณะของมุตตะกีน

อัลกุรอานส่วนหนึ่งดังกล่าวนี้เป็น    هُدً۬ى لِّلۡمُتَّقِينَ   
คำถามว่าใครคือ  “มุตตะกีน”  ???
ใครคือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากอัลกุรอาน ???
อัลกุรอานบอกไว้อย่างชัดแจ้งว่า   “มุตตะกีนนั้นคือบรรดาผู้ศรัทธาในสิ่ง  “และดำรงการนมาซ”
ความหมายในประโยคเหล่านี้จำเป็นต้องอรรถาธิบายให้สมบูรณ์
 “และคือบุคคลที่ใช้จ่ายในสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงประทานให้กับเขา”   นั้นคือ “มุตตะกีน” คือเขาเหล่านี้ “มุตตะกีน”   จึงไม่ใช่ผู้ศรัทธาอิสลามเพียงเปลือกนอก  เพราะการกล่าวคำปฏิญาณ  ดำรงนมาซครบ 5 เวลายังหาใช่ “มุตตะกีน”

¤ “มุตตะกีน”  คือบุคคลที่พัฒนาตัวตนถึงขั้น   “ศรัทธาในสิ่งเร้นลับ” บุคคลที่พัฒนาไปถึงขั้นที่บุคคลจำนวนหนึ่งไม่รู้..... ไม่เข้าใจ.....  แต่ “มุตตะกีน” พัฒนาตัวตนไปถึงขั้นความสามารถศรัทธาในสิ่งเร้นลับนั้นได้  อันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน
ในวันกิยามัต  วันแห่งการตัดสินตอบแทน ส่วนนี้จะเป็นมาตรวัด ชั่ง ตวง ความดีของมนุษย์ ไม่ใช่เปลือกนอกเพียงผิวเผิน  เช่น  อัลกุรอานบอกให้นมาซมีโองการเป็นร้อยๆ โองการที่บอกให้คนนมาซ  แต่ก็มีบางโองการที่สาปแช่งคนนมาซเอาไว้ด้วย  “ฟะอะกี มุศศอลาฮฺ” สั่งให้นมาซ  อีกโองการหนึ่งบอกว่า  “ฟะวัยล ลุน ลินมุศ็อลลีน”    “ความวิบัติจงมีแด่ผู้นมาซ”   ต้องศึกษาเรียนรู้ ความเข้าใจเรื่องการนมาซอย่างลึกซึ้ง เพราะนมาซเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ผลลัพธ์ทำให้ประสพผลสำเร็จเสียแล้ว    อัลกุรอานมีคำสั่งให้นมาซ แต่ในคราวเดียวกันก็มีการสาปแช่งผู้นมาซอยู่ด้วย   แสดงว่านมาซของบางคนถูกยอมรับและนมาซของอีกคนอาจถูกสาปแช่ง
ไม่ใช่นมาซเพียงเรื่องเดียวที่ถูกกล่าวเอาไว้ในอัลกุรอานอย่างนี้  ถ้าค้นคว้าให้ละเอียด ทุกๆ เรื่องที่เป็นการปฏิบัติที่สำคัญ เป็นวาญิบต้องกระทำ  เช่น  สั่งให้ถือศีลอดต้องอดอาหารในตอนกลางวัน  และอัลกุรอานก็ไม่ได้บอกว่าในการถือศีลอดนั้นมีผลลบอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน  แต่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)  ได้มีวจนะเอาไว้ว่า  “มีคนจำนวนมากเมื่อเดือนถือศีลอดผ่านไปเขาไม่ได้อะไรเลย นอกจากความหิวกระหาย และความอดอยากเท่านั้น”

มีหะดิษจำนวนมากที่บอกว่าการถือศีลอดของบางคนจะไม่ได้รับผลตอบแทนอันใดจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)  ไม่มีรางวัลตอบแทนใดๆจากพระองค์  นอกจากความหิวกระหายและอดอยาก  และทุกๆ อิบาดะฮฺก็จะมีลักษณะเช่นนี้

เนื้อหาจริงๆ แล้วอิสลามนั้นไม่ยอมให้มุสลิมทำอิบาดะฮฺแค่กายภาพเพียงเปลือกนอกเท่านั้น  มีหลักฐานชัดแจ้งว่าการทำอิบาดะฮฺนั้นต้องควบคู่กันไปทั้งทางกายภาพและจิตวิญญาณ    หมายถึงความศรัทธาอันเข้มข้นในการทำทุกๆ อิบาดะฮฺ

มีหะดิษจำนวนมากกล่าวถึงผลบุญของการอัญเชิญอัลกุรอาน บางครั้งบอกผลบุญกันเป็นตัวอักษรเป็นฮุรุฟ ๆ ว่าใครอัญเชิญอัลกุรอานเท่านี้จะมีผลบุญเท่านั้น   โองการหนึ่งๆ จะมีผลบุญที่แตกต่างกันออกไป  แต่ในคราวเดียวกันก็มีหะดิษจากท่านรอซูลลุลลอฮฺ (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
رب قارئ للقرآن والقرآن يلعنه
 “มีคนกลุ่มหนึ่งอัญเชิญอัลกุรอาน  และขณะที่อัญเชิญอยู่นั้น  อัลกุรอานก็สาปแช่งเขา”  แสดงว่าเรื่องของการอัญเชิญอัลกุรอานเป็นเรื่องของจิตวิญญาณด้วย หาใช่แต่เพียงกายภาพอย่างเดียวเท่านั้นไม่!!!

 จากอุทาหรณ์ในการอัญเชิญ  อัลกุรอานนั้นพออนุมานได้ว่าเรื่องของศาสนาไม่ใช่เพียงปฏิบัติโดยเปลือกนอกทางกายภาพ  แต่จำเป็นจะต้องเข้าไปถึงสัจธรรมในเรื่องนั้นๆ  ถ้าไปไม่ถึงสาปแช่งทั้งกายและจิตใจในคราวเดียวกันแล้ว  มนุษย์ก็จะไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงในการนับถือศาสนาอิสลามนั้นเลย  การอัญเชิญอัลกุรอาน ถ้าไม่เข้าใจหลักภาษาอาหรับ  อ่านภาษาอาหรับไม่ถูกต้อง ไม่เข้าใจในความหมายภาษาถิ่นของตน ก็คงไปถึงเป้าหมายไม่ได้  ในที่สุดแทนที่จะเป็นผลบุญก็จะกลายเป็นโทษมหันต์ไปเสีย!!!   เดือนรอมฎอนก็ดุจเดียวกัน ไม่ใช่ปฏิบัติกันแค่เปลือกนอกทางกายภาพแต่ต้องเข้าใจในสัจธรรม  เพื่อนำไปสู่ความศรัทธาอย่างเข้มข้นต่อไป

 

ปาถกฐาโดย ฮุจญตุลอิสลามวัลมุสลีมีน ซัยยิด สุไลมาน ฮูซัยนี

(อ้างอิง จุลสารอินติศอรฺ ปีที่1  ฉบับที่  7)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม