บทเรียนนิติศาสตร์ทางการเมือง (ฟิกฮ์สิยาซี) บทที่ 3
บทเรียนนิติศาสตร์ทางการเมือง (ฟิกฮ์สิยาซี) บทที่ 3
ฮุจญตุลอิสลาม วัลมุสลีมีน ดร. นัศรุลเลาะห์ สะคอวะตีย์
เชค อิมรอน พิชัยรัตน์ /แปล
ขอกล่าวถึงความทรงจำเกี่ยวกับอายาตุลลอฮ์มิศบาห์สักนิดหนึ่ง ถือเป็นอุทาหรณ์ที่น่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับบทเรียนนี้ อายาตุลลอฮ์มิศบาห์ เล่าว่า สมัยที่ฉันเป็นวัยรุ่นในเมืองกุม อิมามโคมัยนีได้มาสอนบทเรียนอุซูล ซึ่งตอนนั้นยังไม่เริ่มบทเรียนฟิกฮ์ เราก็เข้าเรียนบทเรียนอุซูลกับอิมาม น่าแปลกและน่าสนใจมากที่ท่านอิมามกล่าวเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ในบทเรียนอุซูล ไม่ใช่ในบทเรียนฟิกฮ์ ท่านได้ชี้ถึงเรื่องนี้ พวกเราต่างพากันแปลกใจว่า ซัยยิดท่านนี้ต้องการกล่าวอะไร? จะทำอะไร? ท่านคิดอะไรอยู่? ท่านหาข้ออ้างนำเรื่องนี้มากล่าวในบทเรียนอุซูล โดยกล่าวว่า ใช่แล้ว!เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับ اصل เช่น ถ้าหากวิลายะตุลฟะกีฮ์ต้องการจะเปลื้องชุดอะบาของท่านเพื่อช่วยเหลือสังคม พวกท่านก็จำเป็นต้องมอบให้และไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ ความทรงจำนี้ผมนำคำกล่าวของมัรฮูมอายาตุลลอฮ์มิศบาห์มาเล่าให้ฟังเพื่อจะบอกว่าการปฏิวัติอิสลามที่ยิ่งใหญ่นี้มีบรรทัดฐานหนักแน่นมั่นคงเกี่ยววิลายะตุลฟะกีฮ์ และผมเคยถกเรื่องนี้กับอิมาม 7-10 คนชาวปากีสถาน ในโปรแกรมการเรียนระยะสั้น ผมได้ให้นามบัตรแนะนำตัวไว้ให้กับพวกเขา แล้วบอกว่าให้พวกเขาศึกษาค้นคว้าต่อไปอีกสิบปี อย่างน้อยให้เตรียมพร้อมเกี่ยวนิติศาสตร์อิสลามไว้สำหรับพวกท่านเอง ไม่ใช่ว่าวันหนึ่งคนหนึ่งในหมู่พวกท่านลุกขึ้นประกาศตนว่า ฉันนี่แหละคือตัวแทนคอลีฟะฮ์ช่วงต้นอิสลาม อะบูบักร์ บัฆดาดี คือใคร? และฯลฯ พวกท่านไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ แต่พวกเราถกเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ไปตามบรรทัดฐาน พวกท่านเองก็ยอมรับในเรื่องนี้ ในอิหร่านก็เช่นกัน วันก่อนผมเองก็ได้ชี้ถึงเรื่องนี้แล้ว และได้ยกโองการนี้ให้กับพี่น้องซุนนี ว่าพวกเราเปิดประเด็นเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ตามบรรทัดฐานของโองการนี้ ซึ่งทั้งซุนนีและชีอะฮ์ยอมรับ ที่จริงแล้วเราไม่มีซุนนีและชีอะฮ์ หลักของพวกเราคืออะฮ์ลุลบัยต์ และเราจะทำการพิสูจน์กันต่อไปว่าในยุคการเร้นกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งมีสองช่วง คือ ช่วงเร้นกายระยะสั้นกับช่วงเร้นกายระยะยาว
ในช่วงการเร้นกายระยะยาวของอะฮ์ลุลบัยต์นั้น เราก็ต้องมาดูว่าใครเป็นผู้ที่ใกล้เคียงพวกท่านมากที่สุด เราต้องเฟ้นหาเขาและเชื่อฟังเขา และนี่คือบรรทัดฐานทางปัญญาและทางรายงานของเรา และเป็นบรรทัดฐานที่หนักแน่นมั่นคง ดังนั้นก็เป็นที่เข้าใจแล้วว่าทำไมจึงนำเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์เข้ามาในเรื่องนิติศาสตร์ทางการเมือง กล่าวแล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะพูดถึงเรื่องนิติศาสตร์ทางการเมืองในมุมกว้างที่ครอบคลุมทุกเรื่องไว้ได้ ทว่าเราต้องพูดถึงหัวข้อที่ปลีกย่อยออกมา และหนึ่งในประเด็นปลีกย่อยของนิติศาสตร์ทางการเมืองก็คือเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ ดังนั้นเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์นั้นเป็นประเด็นปลีกย่อยหนึ่งในหัวข้อนิติศาสตร์ทางการเมือง และปรัชญาทางการเมืองด้วยเช่นกัน อิมามโคมัยนีเมื่อเริ่มสอนบทเรียนปรัชญทางการเมืองท่านก็กล่าวถึงเรื่องนิติศาสตร์ทางการเมืองด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากต้องการจะเข้าเรื่องนิติศาสตร์ทางการเมืองซึ่งอินชาอัลลอฮ์ หากผมมีความสามารถก็จะอธิบายว่าทำไมเราจึงนำเรื่องปรัชญาทางการเมืองมาพูดถึงกันในบทเรียนนิติศาสตร์ทางการเมือง และต้องพูดกันในบทเรียนเฉพาะเพราะเนื้อหาปรัชญาทางการเมืองนั้นเป็นบทเรียนปลีกย่อยเฉพาะลงไปอีก ส่วนประเด็นวิลายะตุลฟะกีฮ์เป็นประเด็นปลีกย่อยหนึ่งของนิติศาสตร์ทางการเมือง
ทีนี้เรามาดูนิยามของวิลายะตุลฟะกีฮ์กัน ผมเคยบอกไปแล้วว่าเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์นั้นมีสารบัญของมัน วันหลังผมจะมาเสนอให้พวกท่านได้ดู ประเด็นต่างๆ ที่จะต้องพูดถึงเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ เช่น:
-นิยามของวะลียุลฟะกีฮ์
-ประวัติความเป็นมาของวิลายะตุลฟะกีฮ์
-เหตุผลเกี่ยววิลายะตุลฟะกีฮ์ เหตุผลทั้งทางด้านสติปัญญาและการรายงาน (อักลีและนักลี)
-เรื่องความขัดแย้งกันระหว่างวิลายัตต่างๆ
-เรื่องตัวแทนของวิลายัตว่ามีหรือไม่อย่างไร ซึ่งมีประมาณสิบหลักการด้วยกันที่เราจะต้องทำการถกกัน แต่เราต้องเริ่มจากประเด็นแรก ซึ่งก็คือ นิยาม
นิยามวิลายะตุลฟะกีฮ์
มาจากคำสมาสคำสองคำเข้าด้วยกัน คือ คำว่า “วิลายัต” และคำว่า “ฟะกีฮ์”
หนึ่งในเหตุผลที่ผมเข้าสู่เรื่องนี้เร็วไปนิดนึง คือคำกล่าวของบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิของพวกเรา ที่เคยอ่านไปแล้ว อาจมีคำถามเกิดขึ้นได้ว่า ซึ่งมีคนถามผมเช่นกันว่า ทำไมเชคอันซอรีกล่าวเช่นนี้ว่า:
“เรื่องเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ เช่น ผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพย์สิน ของผู้ที่ไม่มีอิสระภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สินของตนเอง: คือผู้ปกครอง (ฮากิม) กล่าวคือ: ฟะกีฮ์ ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์ในการออกคำวินิจฉัยนั่นเอง
บางครั้งเราจะเห็นว่าตรงนี้มีการกล่าวถึงตำแหน่งและสถานะของฟะกีฮ์ เพื่อให้นักศึกษาส่วนใหญ่ที่อยู่ในห้องเรียนนี้ได้เข้าใจ เราจะขอเริ่มการถกในลักษณะนี้ว่า เราจะขอกล่าวด้วยการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ว่า สำหรับฟะกีฮ์ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์นั้นมีสามตำแหน่งและสถานะด้วยกัน
ตำแหน่งและสถานะของฟะกีฮ์:
ออกคำวินิจฉัย
2.การตัดสินความ
3.วิลายัต
“และโดยคร่าวๆแล้ว การที่จะยืนยันเหตุผลว่าการเชื่อฟังฟะกีฮ์เป็นวาญิบเหมือนกับการเชื่อฟัง บรรดาอิมามมะอ์ซูมนั้นเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการเอามือรูดต้นหนามเสียอีก”
เชคอันซอรีได้ให้วิลายัตเป็นหนึ่งในหัวข้อย่อยที่แยกออกมาจากการตัดสินและการออกคำวินิจฉัย ทั้งที่ตามทัศนะของผมต้องให้ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้หัวข้อของ “วิลายัต” ซึ่งครอบคลุมถึงเนื้อหาอีกมากมาย แต่ตรงนี้ผมจะให้คำตอบว่าทำไมเชคอันซอรีจึงกล่าวเช่นนี้ ฟะกีฮ์คือตำแหน่งที่มีหน้าที่สามประการ หนึ่งคือ ออกคำวินิจฉัย และการตัดสินความ(กิฎอวัต) และวิลายัต เป้าหมายของท่านเกี่ยวกับการออกคำวินิจฉัยนั้นเป็นสิ่งที่ชัดเจน หากเป็นผู้ที่มุ่งมั่นในการเรียนจนถึงระดับหนึ่งที่อาจารย์ได้ให้คำยืนยันและรับรองว่าถึงระดับขั้นวินิจฉัยให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้แล้ว บางท่านตกอยู่ในสภาพของบัรซัคที่ไม่ชัดเจนว่าถึงระดับขั้นออกคำวินิจจัยหรือไม่ ถ้าถึงระดับขั้นแล้วก็เป็นฮะรอมที่จะทำการตักลีด หรือว่าตนเองยังต้องตักลีดมัรเญี้ยะอ์ท่านอื่น บุคคลเช่นนี้อยู่ในสภาพที่เอี้ยะห์ติยาตซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ยุ่งยากมาก ประเด็นอิจติฮาดและตักลีด เป็นอีกประเด็นที่มีรายละเอียดพอสมควร แต่เป้าหมายของ ฮุกูมัต ในที่นี้หมายถึง การตัดสินความ ที่จะต้องตัดสินปัญหาระหว่างคนสองคน
แต่ผมจะขยายตำแหน่งและสถานะของฟะกีฮ์ให้กว้างกว่านี้ เพราะเชคอันซอรีต้องการที่จะหยุดไว้เพียงเรื่องของกิจการที่ไม่มีผู้บริหารจัดการ แต่ในมุมมองของผมที่เป็นศิษย์ของอิมาม แม้ว่าจะเคยสอนมะกาซิบและเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้มาตั้งแต่แรกแล้ว จะขอเปิดประตูของวิลายะตุลฟะกีฮ์โดยจะเข้าสู่ประเด็นการบริหาร ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ท้าทายมาก กล่าวได้ว่าไม่มีใครกล้ากล่าวเช่นนี้ได้ในทันที การออกคำวินิจฉัยและการตัดสินความเป็นตำแหน่งและสถานะของฟะกีฮ์ แต่ตามคำกล่าวของอิมามโคมัยนี ซึ่งต่อมาภายหลังที่พวกเราได้กลั่นออกมาจากฟิกฮ์ของอิมามโคมัยนี ว่าถ้าหากฮุกุ่มของเรื่องหนึ่งเป็นที่ชัดเจน เช่น นาย ก. ตั้งใจฆ่านาย ข. กรณีนี้ชัดเจนว่าฮุกุ่มของมันคืออะไร ทว่าฮุกุ่มที่ชัดเจนเช่นนี้ใครกันที่มีอำนาจบริหาร? ตรงนี้เองที่บรรดาอุละมาอ์ไม่กล้าออกมากล่าวกัน ทำไม? เมื่อเราพยายามอย่างหนักในการกลั่นออกมาจากหนังสือและตำราต่างๆ แล้ว เช่นหนังสือ ฟิกฮุลฟิกอฮัต ของมัรฮูมอายาตุลลอฮ์คูอีย์และมะกาซิบของเชคอันซอรี นั้นเป็นเช่นนี้ แต่เกี่ยวกับกิจการที่ไม่มีผู้ดูแล (อุมูร อัลฮิสบียะฮ์) ซึ่งพี่น้องซุนนีได้ทำการบ้านไว้อย่างมากเพราะอำนาจการปกครองอยู่ในมือพวกเขามาก่อน ซึ่งในยุคบรรดาอิมามมะอ์ซูมก็เช่นกัน อำนาจการปกครองไม่ได้อยู่ในมือของบรรดามะอ์ซูม (อ.) หรือเป็นการปกครองในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่นการปกครองระยะเวลาหกเดือนของอิมามฮะซัน (อ.) ซึ่งไม่มีบทบาทมากนักในฟิกฮ์ของพี่น้องซุนนี อิมามฮัมบัลเป็นผู้ริเริ่มตั้ง “กอนูน ตัรบีอ์” ขึ้นมาหลังจากผ่านไปนับร้อยปี เพิ่มคุละฟาอัรรอชีดีนเป็นสี่คน ผมขอกล่าวว่าไม่ยุติธรรมเลยต้องเพิ่มเป็นห้าคน เพราะอิมามฮะซัน (อ.) มีอำนาจปกครองหกเดือน การที่ผมกล่าวชื่อนั้นเพราะเราและลูกศิษย์ของพวกเราไม่ถือเป็นเรื่องห้ามแต่อย่างใด
ที่จริงแล้วฟิกฮ์หรืออุซูล ซึ่งกล่าวได้เลยว่าศาสตร์ด้านอุซูลนั้นซุนนีเป็นคนก่อร่างมันขึ้นมา เพราะพวกเขาเข้าไม่ถึงอะฮ์ลุลบัยต์ จึงต้องดิ้นรนเองเพื่อสร้างมันขึ้นมา เพราะบรรทัดฐานของพวกเขาไม่แน่นพอโดยเฉพาะในเรื่องของฮัจญ์ พวกเขากล่าวเองว่าถ้าหากอิมามซอดิกเอาฟิกฮ์จากเราไป เราแทบไม่เหลือฟิกฮ์เกี่ยวกับฮัจญ์อยู่เลย เมื่อไม่มีบรรทัดฐานจึงจำต้องสร้างอุซูลขึ้นมา แต่ก็ไม่เป็นไรอุซูลที่มีกิยาส อิสติห์ซาน และฯลฯ ทว่าเป็นเรื่องที่ไม่อาจนำมาอ้างกับเราได้ เรามาก่อนการกิยาสเสียด้วยซ้ำ เรามีอิจมาอ์ที่มีอะดิลละตุลอัรบะอะฮ์ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ สติปัญญา สามประการนี้บรรทัดฐานของเราหนักแน่นมาก แต่การที่เราพูดถึงอิจมาอ์ก็เนื่องจากจะได้ไม่น้อยไปกว่าแหล่งอ้างอิงของคนอื่น ไม่เช่นนั้นแล้วอิจมาอ์นั้นอ่อนแอมากโดยหากมีพยานยืนยันว่ามีทัศนะของมะอ์ซูมรวมอยู่ในอิจมาอ์ด้วยเราก็จะยอมรับ ถ้าหากไม่ถึงขั้นนี้เราก็ปล่อยไป การที่ผมกล่าวชื่อมานั้นก็เพื่อให้เราได้ไปศึกษาค้นคว้าต่อไป ตรงไหนใช้เหตุผลทางปัญญา ตรงไหนใช้เหตุผลทางการรายงาน(นักลี) เราต้องเปิดการค้นคว้าของเราให้กว้างยิ่งขึ้น และเราก็ไม่ห้ามเลยที่จะให้นักเรียนศาสนาของเราศึกษาค้นคว้าตำราของสำนักคิดอื่นในทางกลับกันพวกเขาก็ต้องเปิดให้นักเรียนศาสนาของพวกเขาได้ศึกษาค้นคว้าตำราของพวกเราเช่นกัน แต่น่าเสียดายที่สิ่งนี้ยังไม่เกิดขึ้น
ในบางกรณีมีฮุกุ่มแล้ว และฮุกุ่มก็เป็นสิ่งที่ชัดเจนยิ่งกว่าแสงอาทิตย์เสียอีก และผู้ที่ออกฮุกุ่มนี้ก็คือฟะกีฮ์ แล้วยังไงต่อ? ใครจะเอามาบริหารและปฏิบัติ? ดังนั้นเราจึงต้องนำเรื่องการบริหารจัดการมาถกกัน ซึ่งผมได้นำมาประมาณเจ็ดกรณีเพื่อจะได้ดูว่าทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของใคร? ดังนั้นผมจึงไม่ให้วิลายัตเป็นหนึ่งในข้อปลีกย่อยของสถานะวลียุลฟะกีฮ์ แต่ผมได้ให้วิลายัตเป็นหัวข้อใหม่ที่มีข้อปลีกย่อยแยกออกไปจากมัน เช่น วิลายัตของการออกคำวินิจฉัย วิลายัตของการตัดสินความ วิลายัตของการจัดการเรื่องฮุดูด วิลายัตเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน ชีวิตและเกียรติของผู้คน และฯลฯ ซึ่งผมจะกล่าวถึงรายละเอียดพร้อมด้วยหลักฐานต่อไป แต่เรื่องนี้มีอยู่ในตำราและแหล่งอ้างอิงของเราอย่างกว้างขวางเลยทีเดียว แต่ผมจะรวบรวมมันมานำเสนอแก่พวกเราอินชาอัลลอฮ์
แต่ตรงนี้มัรฮูมเชคอันซอรี ต้องการให้เรื่องวิลายัตอยู่ในกรอบของท่านโดยกล่าวถึงแล้วอธิบายเล็กน้อย แล้วกล่าวบทสรุปไว้ที่เราได้ใช้สีแดงนั้นว่า ถ้าต้องการที่จะให้ฟะกีฮ์มีสิทธิ์เหมือนกับบรรดามะอ์ซูม (อ.) ในยุคเร้นกายของพวกท่าน ทั้งในมุมมองของแนวดิ่งและแนวราบ (ฏูลีและอัรฎี) หมายความว่า เช่นอิมามอาลีอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ แต่ไม่ได้อยู่ที่อียิปต์ บางครั้งท่านได้ส่งมาลิกอัชตัรไปอียิปต์ มุฮัมหมัด บิน อะบีบักร์ ส่งไปประจำการที่อียิปต์ ดังนั้นมุฮัมหมัด บิน อะบีบักร์ ก็คือ วะลียุลฟะกีฮ์ที่อียิปต์ เรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว ผมจะนำหลักฐานทั้งทางด้านปัญญาและทางการรายงานมาซึ่งจะเปิดกว้าง โดยจะยกทั้งเรื่องแนวดิ่งและแนวราบออกไป ทว่าผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านมองว่าเป็นเพียงแค่ตัวแทน (วิกาลัต) เช่นอายาตุลลอฮ์มุอ์มิน ที่นำเสนอเรื่องนี้ ผมก็เข้าใจได้ว่ามองแค่การเป็นตัวแทน แต่ทว่าวิลายัตนั้นสูงกว่าวิกาลัต อิมามอาลีได้เขียนสาส์นเมื่อครั้งส่ง มาลิกอัชตัร นะคออี ไปอียิปต์ว่า
یَا مَالِکُ أَنِّی قَدْ وَجَّهتُک إِلَى بِلَادٍ قَدْ جَرَتْ عَلَیْهَا دُوَلٌ قَبْلَکَ، مِنْ عَدْلٍ وَجَوْرٍ
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมากเลยทีเดียว وَجَّهتُک ในที่นี้หมายถึงการแต่งตั้งเป็นวะลีของท่าน เนื่องจากช่วงต้นของจดหมายสื่อถึงความหมายนี้
โปรดติดตามอ่าน บทที่4