เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความสำคัญกับการเข้าใจระหว่างสำนักคิดในอิสสาม ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ความสำคัญกับการเข้าใจระหว่างสำนักคิดในอิสสาม ตอนที่ 1

 

การกำเนิดและความเป็นมาของศาสตร์สาขาเทววิทยาอิสลามนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้คือในช่วงท้ายของศตวรรษที่หนึ่งแห่งปีฮิจเราะฮ์ศักราช กล่าวคือสังคมมุสลิมได้เริ่มมีการถกเถียงบางปัญหาทางด้านหลักความเชื่อ อาทิเช่น ปัญหาการกำหนดและเสรีภาพ หรือปัญหาเรื่องกอฎอ กอดัร (กฎสภาวะการกำหนดแห่งพระเจ้า) ปัญหาเรื่องความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า และปัญหาในเรื่องตำแหน่งอิมามหลังจากศาสดามุฮัมมัดและอื่นๆ นักประวัติศาสตร์ด้านเทววิทยาอิสลามเชื่อกันว่าสถาบันการศึกษาของฮะซัน อัลบัศรี(Hassan Basri) (เสียชีวิต ปีที่ 11 ฮ.ศ. )เป็นสถาบันการสอนศาสนาที่มีชื่อเสียงแห่งแรกที่ริเริ่มนำเรื่องหลักการศรัทธาและหลักความเชื่อมาวิพากษ์และสนทนาระหว่างและกัน

สังคมมุสลิมในสมัยชว่งท้ายๆของศตวรรษที่สองแห่งปีฮิจเราะฮ์ศักราชมีผู้รู้ที่มีชื่อเสียงทางวิชาการบางคนออกมาสนับสนุนทัศนะเรื่องความเชื่อต่อหลักเสรีภาพของมนุษย์อย่างแข็งขันและได้เรียกร้องสู่การแสดงออกถึงหลักเสรีภาพของมนุษย์ คือ มะบัด ญุฮานี(Mahbad Yuhani)และฆัยลาน ดิมิชกี(Kailan Damishki) โดยที่บุคคลทั้งสองแสดงทัศนะการคัดค้านผู้สนับสนุนแนวคิดในเรื่องมนุษย์ถูกบังคับและได้ถูกลิขิตชีวิตโดยพระเจ้าไว้แล้ว(อัลญับร์)โดยกลุ่มผู้สนับสนุนความเชื่อเรื่องเสรีภาพของมนุษย์ ถูกรู้จักในนาม สำนักกอ๊ดรียะฮ์(Qardriyah) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งถูกเรียกขานว่า สำนักญับรียะฮ์(Jabriyah)

ต่อมาประเด็นความขัดแย้งของสองสำนักคิดนี้ค่อยพัฒนาเป็นปัญหาลูกโซ่ขยายวงกว้างไปสู่ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับด้านเทววิทยา ธรรมชาติวิทยา และสังคมวิทยาและบางประเด็นรวมไปถึงปัญหาด้านมนุษยวิทยาและปัญหาทางการเมืองตามมาเสียด้วยซ้ำ อีกทั้งยังมีการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่เกี่ยวกับวันฟื้นคืนชีพ ชีวิตโลกหน้าและชีวิตหลังความตายอีกด้วย ส่วนปัญหาเรื่องเสรีภาพและการถูกลิขิตของมนุษย์โดยพระเจ้าก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ทั้งสองสำนักคิดมีทัศนะที่ขัดแย้งกัน จนกระทั้งช่วงสมัยต่อมาและผ่านการวิวัฒนาการการพัฒนาทั้งสองสำนักนั้น ทำให้สำนักกอ๊ดรียะฮได้ถูกปฏิรูปและพัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นและนำหลักการทางด้านความเชื่อเรื่องหลักเสรีภาพของมนุษย์มาวิเคราะห์และสืบค้นหาหลักฐานในเชิงปรัชญามากยิ่งขึ้น จนปรากฏเกิดสำนักคิดที่ยิ่งใหญ่หนึ่งในโลกอิสลาม รู้จักในนาม “สำนักคิดมุอตะซิละฮ”(Mohtazilah) ส่วนสำนักญับรียะฮ ได้ผ่านกรอบแนวคิดในเรื่องความเชื่อเรื่องการถูกกำหนดโดยพระเจ้า(ยับรียะฮ์)ว่าทุกๆสิ่งนั้นพระเจ้าได้กำหนดไว้แล้วหรือได้ลิขิตไว้แล้ว จนกระทั้งผ่านการปฏิรูปและเรียบเรียงในเนื้อหาให้ตรงกับตัวบทของอัลกุรอานและฮะดีษมากยิ่งขึ้น และปฏิเสธการอ้างอิงทฤษฎีทางปรัชญาหรือตรรกศาสตร์ จนปรากฏเกิดสำนักคิดทีสำคัญอีกสำนักหนึ่ง  ถูกเรียกว่า “สำนักคิดอะลุลฮะดีษ”(สำนักจารีตนิยม)

นักบูรพคดีบางคนและบางกลุ่มของนักวิชาการด้านประวัติเทววิทยาอิสลามได้พยายามยืนยันเพื่อให้เกิดเป็นหลักฐานและการยอมรับว่าจุดกำเนิดของการถกเถียงและการพิสูจน์เชิงเหตุผลและการใช้ตรรกวิทยาของโลกอิสลามเริ่มจากตรงจุดนี้หรือกล่าวว่าช่วงเวลาประมาณใกล้เคียงกับช่วงสมัยนี้ ทว่าความจริงแล้วการถกและวิพากษ์ในเชิงพิสูจน์ด้วยเหตุผลและตรรกะวิธีที่เกี่ยวกับหลักความเชื่อในระดับขั้นพื้นฐาน ถือว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและอรรถาธิบายขยายความโดยท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.) และต่อมาบรรดาสาวกอันทรงเกียรติ ได้แก่อิม่ามอะลี (อ.)และสาวกคนอื่นๆ ได้นำหลักพิสูจน์และอ้างเหตุผลที่เป็นตรรกะวิธีและปรัชญามากล่าวกันอย่างกว้างขวางและนิยมกันมากยิ่งขึ้น

นิยามเทววิทยาอิสลาม(อิลมุลกะลาม)

เทววิทยาอิสลาม(Islamic Theology) หรือเรียกตามภาษาอาหรับว่า “อิลมุลกะลาม”علم الكلام แน่นอนที่สุดนักวิชาการไม่ว่าจากปราชญ์ซุนนี หรือปราชญ์ชีอะฮ ได้นิยามไว้ดังนี้

    อิบนิคอลดูน กล่าวว่า…

“อิลมุลกะลาม คือ ศาสตร์และวิทยาการแขนงหนึ่งของอิสลามที่มีหน้าที่ในการหาเหตุผลและนำหลักฐานทางสติปัญญามาพิสูจน์ในเรื่องหลักการศรัทธา และโต้ตอบ ปกป้องจากแนวคิดที่บิดเบือน” (1)

    มีร ชะรีฟ กล่าวว่า…

“อิลมุลกะลาม คือ วิชาการแขนงหนึ่งของอิสลามที่กล่าวถึงเรื่องของซิฟาตพระองค์อัลลอฮ(พระคุณลักษณะพระเจ้า) และมาอรรถธิบายต่อเรื่องการงานของพระองค์อัลลอฮ ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อิลมุตเตาฮีด(2)”

    อัลลามะฮ ตัฟตาซานี กล่าวว่า…

“อิลมุลกะลาม คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของหลักการศรัทธา โดยการยืนยันจากหลักฐานทางชัรอี (ทางอัลกุรอานและฮะดีษ) และหลักฐานทางสติปัญญา เหตุผล เพื่อให้ได้รับความมั่นใจต่อสิ่งที่ได้เชื่ออยู่นั้น” (3)

    อัลลามะฮ์อีญี กล่าวว่า…

“อิลมุลกะลาม  คือ วิชาหนึ่งที่สามารถให้การพิสูจน์ในเรื่องหลักการศรัทธาได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ”(4)

–ทำไมจึงเรียกวิชาด้านหลักศรัทธาว่า “อิลมุกะลาม”?-

สาเหตุและการเรียกวิชาการด้านอูศูลุดดีน(หลักศรัทธา)ว่า “อิลมุล กะลาม” บรรดานักวิชาการได้มีทัศนะที่แตกต่างกันดังนี้

    เนื่องจากมีการถกเถียงปัญหาเรื่อง กะลาม(ถ้อยคำ)แห่งอัลลอฮ

คือในอดีตสมัย บรรดานักปราชญ์และผู้รู้ทางด้านอุศูลุดดีน(ด้านหลักศรัทธา) ได้มีการขัดแย้งกันในเรื่องถ้อยคำของพระองค์อัลลอฮว่าเป็นสิ่งเดิมมาคู่กับซาต(อาตมัน)ของพระองค์หรือเป็นสิ่งใหม่   ดังที่ชะรีสตานีย์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “สาเหตุที่เรียกวิชาอูศูลุดดีนว่า อิลมุ กะลาม เป็นไปได้ว่ามาจากถกเถียงในปัญหากะลาม(ถ้อยคำ)ของอัลลอฮ ว่าเป็นสิ่งเดิมมาคู่กับซาตของพระองค์หรือสิ่งใหม่”(5)

จากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีบรรดาอุลามาห์ ผู้รู้มากมายได้ยอมรับทัศนะนี้ เช่น ท่อัลลามะฮ์ อีญีย์  อิบนีคอลดูน  อัลลามะฮ์ตัฟตาซานีย์ และ แม้แต่อิบนิคอละค่าน ได้กล่าวว่า คำว่า “มุตตะกัลลิม”(นักเทววิทยา) ที่ได้เรียกต่อผู้รู้ที่มีที่มีความเชี่ยวชาญด้าน อุศูลุดดีน และอิลมุกะลาม เนื่องจากบรรดาผู้รู้ได้ขัดแย้งในเรื่องกะลาม(ถ้อยคำ)ของพระองค์อัลลอฮว่าเป็นสิ่งใหม่หรือสิ่งดั้งเดิม มาแต่เดิม   หลังจากนั้นบรรดาผู้รู้ได้นำเรื่องนี้มาพูดกันมากและถือเป็นเรื่องหนึ่งของหลักอุศูลุดดีน(หลักศรัทธา) จนในที่สุดบรรดาผู้รู้ได้เรียกขานวิชาอุศูลุดดีนว่า อิลมุกะลาม” (6)

ย้อยดูเหตุการณ์ความขัดแย้งในเรื่องกะลาม (อัล-กุรอาน) ของอัลลอฮ ซ.บ.

ความขัดแย้งด้านหนักความเชื่อในเรื่อง “กะลาม(ถ้อยคำ)ของอัลลอฮ” คืออัลกุรอาน ระหว่างสำนักคิดต่าง ๆ ในประเด็นที่ว่า อัลกุรอานเป็นสิ่งมาแต่เดิมมาคู่กับซาตหรือเป็นสิ่งใหม่?  ซึ่งความเป็นจริงแล้วปัญหาในเรื่องนี้มีมานานและเกิดขึ้นมาในยุคต้นๆของอิสลามเสียด้วยซ้ำ ก่อนวิชาอิลมุกะลามจะกำเนิดขึ้นมาเสียอีก กล่าวคือ ได้มีการขัดแย้งในสมัยการปกครองของนบีอุมัยะฮ์   และถือว่าบุคคลแรกที่ได้นำเรื่องนี้มากล่าว คือท “ยุอ์ดุ อิบนิดิรฮัม”

อิบนิกะษิร ได้กล่าวว่า “ยุอ์ดุ อิบนิ ดิรฮัม” เป็นบุคคลแรกที่ได้นำหลักความเชื่อว่า กุรอาน เป็นถ้อยคำแห่งอัลลอฮ ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ไม่ได้มาคู่กับซาตของพระองค์ และหลังจากยุอ์ดุ อิบนิดิรฮัม ได้เสียชีวิตลง บุคคลที่ได้นำเรื่องนี้มาเผยแพร่ต่อคือ ยะฮ์มุอิบนิศัฟวาน ” (7)

หลังจากนั้นไม่นาน สำนักคิดมุอ์ตะซีละฮได้เกิดขึ้นมา ได้กล่าวว่า “กะลาม (ถ้อยคำ) ของอัลลอฮที่อยู่ในอัลกุรอานเป็นสิ่งใหม่ แต่กลับกันนั้นสำนักคิด อะฮ์ลุลฮะดิษ ลุกขึ้นมาต่อต้าน โดยมีความเชื่อว่ากะลาม(ถ้อยคำ)แห่งอัลลอฮนั้น ที่มีอยู่ในอัลกุรอานเป็นสิ่งเดิมมาคู่กับซาตพระองค์

    เนื่องจากความเชี่ยวชาญและความสามารถของอุลละมาอ์ด้านอุศูลุดดีนในการพูดและสามารถโต้ตอบปัญหาต่างๆในเรื่องหลักการศรัทธากับผู้รู้ของศาสนาอื่น ๆได้อย่างน่าชื่นชม

กล่าวคือ  เนื่องจากการที่ที่ปราชญ์ด้านเทววิทยาในอดีตได้มีวาทศิลป์และศิลปะในการพูดและการโต้ตอบ หรือการถกเถียงปัญหาทางหลักความเชื่อกับผู้รู้ทางศาสนิกอื่นๆ และยังเอาชนะทุกเวทีของการถกเถียง  จึงได้เรียกผู้รู้ด้านนี้ว่า”มุตะกัลลิม”แปลว่า ผู้ใช้กำพูดและวาจาได้อย่างแหลมคม

    เนื่องจากตำราวิชาการด้านอุศูลุดดีน ส่วนมากจะขึ้นต้นรูปประโยคด้วยคำว่า กะลามุนา… เช่น กะลามุนา ฟิเฮาลิ อัตเตาฮีด (เรื่องของเราในเรื่องเตาฮีด) และอื่น ๆ  ต่อมาได้เรียกวิชานี้ว่า อิลมุลกะลาม
    เนื่องจากวิชาด้านอะกีดะฮ์(หลักความเชื่อ) เป็นวิชาที่มีความขัดแย้งกันมาก และมีทัศนะมากมาย และมีการโต้ตอบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้คำพูด เลยเรียกวิชานี้ว่า “อิลมุกะลาม” นั่นเอง
    เนื่องจากวิชานี้ ส่วนมากจะนำเหตุผลและกฎเกณฑ์ทางตรรกศาสตร์มาใช้ และส่วนมากแล้ว เหตุนั้นจะน่าเชื่อถือมากกว่า ซึ่งมักจะกล่าวว่า “กะลามนี้เหตุผลดีกว่า” ดังนั้นจึงเรียกว่า “อิลมุลกะลาม”

ชื่ออื่นของเทววิทยาอิสลาม มีดังนี้

    อิลมุตเตาฮีด(علم التوحيد)
    ฟิกฮุลอักบัร(فقه الاكبر)
    อิลมุอุซูลิดดีน(علم اصول الدين)
    อิลมุลกะลาม(علم الكلام

 

ด้วยเหตุนี้อิลมุกะลาม ถือว่าเป็นวิชาแขนงหนึ่งของอิสลามได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัล กุรอาน และ ฮาดิษ และอิลมุกะลามมิได้มีวิธีการหรือรูปแบบใดเลยนอกจากได้รับประโยชน์มาจากอัลกุรอาน และถ้าได้พิจารณาชีวประวัติท่านรอซูลแห่งอัลลอฮ จะพบว่าท่านรอซูล คือ แบบฉบับ ได้นำหลักการการพิสูจน์หลักการศรัทธาต่อพวกมุชริกหรือพวกยิว และต่อคริสต์เตียน ด้วยเหตุผลทางสติปัญญา ดังมีประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ คือในช่วงการเผยแพร่อิสลามของท่านรอซูล (ศ) มีคำถามและข้อสงสัยมากมายจากพวกมุชริก(ผ้กราบไหว้รูปปั้น) ดังนั้นหน้าที่หนึ่งของท่านรอซูล (ศ) ในตอนนั้น คือ การตอบคำถามข้อสงสัย (เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องหลักการศรัทธา)ของคนต่างศาสนา และในตรงนี้เราจะนำตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ในการถกปัญหาศาสนาของท่านรอซูลเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงกิบละฮ”(จากบัยตุลมักดิส เป็นกะบะฮ์) ซึ่งเป็นการใช้เหตุผลทางสติปัญญา โดยถือว่า นั่นคือบทบาทหนึ่งทางเทววิทยาของศาสดาอิสลาม

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงกิบละฮ(ทิศทาง) ได้เกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของฮิจเราะฮ กล่าวคือ อิสลามได้ถือว่ากิบละฮนั้นคือ บัยตุลมักดิส ต่อมาท่านรอซูลได้รับคำสั่งให้เปลี่ยนกิบละฮเป็นกะบะฮ เมื่อท่านรอซูลได้รับสั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงกิบละฮ บรรดาพวกยิวได้แสดงการคัดค้าน และกล่าวต่อท่านรอซูลว่า “การยกเลิกบทบัญญัติ (หลักชะรีอะฮ) เป็นไปไม่ได้ เพราะเท่ากับพระเจ้าไม่ทรงมีความรอบรู้และไม่มีความเป็นผู้มีวิทยปัญญา ท่านรอซูลได้กล่าวตอบพวกยิวว่า “การยกเลิกบทบัญญัติ” ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว (ดังที่กุรอานได้กล่าวไว้ถึงการยกเลิกบทบัญญัติบางประการของชาวยิว ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยอนุมัติ) ดังนั้นสิ่งที่ได้มาแล้วและเป็นจริง (เป็นไปได้) ด้วยเหตุนี้การยกหเลิกบทบัญญัติบางประการ (ในสมัยของฉัน) ถือว่าเป็นไปได้และไม่ผิดพลาด” (  วรสารกัยฮาน ดันดีเชะ เล่มที่ 59  ปีที่ 1995  )

นี่คือเพียงตัวอย่างหนึ่งของการถกปัญหาทางศาสนาของท่านรอซูล (ศ) ซึ่งท่านได้แสดงหลักฐานการตอบโต้ด้วยเหตุผลทางปัญญา ดังนั้นการใช้เหตุผลทางปัญญาซึ่งเป็นพื้นฐานของอิลมุกะลามอันที่แท้จริงแล้วได้นำมาจากท่านรอซูล (ศ) นั่นเอง

จากคำกล่าวหาที่ว่าอิลมุกะลามเป็นวิชาที่ทำให้ประชาชนหลงทางหรือเป็นวิธีการลอกเลียนแบบมาจากนักเหตุผลนิยมหรือมาจากต่างชาติ เป็นคำพูดที่ไร้หลักฐาน กล่าวคือ จะถือว่าเป็นศาสตร์มาจากต่างชาติได้อย่างไรในเมื่ออัลกุรอานได้สนับสนุนวิธีการของการใช้การโต้ตอบแบบสร้างสรรค์และใช้การถกแบบสันติไม่ใช้อารมณ์ (ในวิธีการนั้น) และท่านรอซูลได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบฉบับเป็นซุนนะฮ์

ถ้าหากว่าอิลมุกะลามเป็นวิธีการทำให้ประชาชนหลงทางเพียงเหตุผลที่ว่า อิลมุกะลามนำเหตุผลทางปัญญามาพิสูจน์แล้วไซร้ ดังนั้นท่านรอซูล คือ บุคคลแรกที่ได้ทำให้ประชาชนหลงทาง (เพราะท่านรอซูลได้นำเหตุผลทางปัญญาถกกับพวกยิว)

ท่านอัลลามะฮตอบะตอบาอี ได้กล่าวว่า “บทพิสูจน์ทางปัญญาหรือการให้เหตุผลทางปัญญามีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ซึ่งเป็นฟิตเราะฮ ที่พระองค์อัลลอฮมอบให้ เพื่อให้มนุษย์ค้นคว้าหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ” (ชีอะฮ ดัรอิสลาม หน้า 95-96)

รอฆิบ อิสฟะฮานี ได้กล่าวว่า “มีเจ้าเมืองท่านหนึ่งได้ส่งสาส์นให้คอลีฟะฮ์ฮาหรูน อัรรอชีดอับบาซี เพื่อต้องการให้คอลีฟะฮ์ส่งผู้รู้มาสอนและสามารถถกปัญหาศาสนากับบรรดาผู้รู้ต่างศาสนาที่ได้รุกรานพวกเขา

ฮาหรูน รอซีด ได้เรียกยะฮยา อิบนิคอลิคเป็นผู้ปกครองในเมืองมะกะฮ (มาปรึกษา) ยะฮยา ได้กล่าวว่า  “งานนี้(การถกและการโต้ตอบเชิงตรรกะ)มิมีใครสามารถกระทำได้เลย นอกจากบุคคลสองคน คือ ท่านฮิชาม อิบนิฮะกัม (ลูกศิษย์ของท่านอิมามศอดิก) และท่านฎีรอร อิบนิอัมรุ”

ยะฮยา กล่าวว่า “ผู้รู้จากสำนักอะฮ์ลุลฮาดิษ ไม่สามารถรับงานนี้ได้หรอก? (ไม่มีวิธีการในการถก)”

จากตัวอย่างประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นว่า บรรดาผู้รู้ทางด้านอิลมุกะลาม (มุตะกัลลิมีน) คือ ผู้ที่ได้ปกป้องศาสนาแบบสันติวิธี และเป็นผู้ที่ได้เผชิญหน้ากับสำนักคิดที่บิดเบือนโดยนำหลักฐานและวิธีการพิสูจน์แบบสร้างสรรค์ มิได้แสดงตนในแบบลบหลู่หรือขู่เข็นฝ่ายตรงกันข้าม เพราะว่าหน้าที่ของนักเทววิทยาคือการให้เกียรติซึ่งกันและกันพร้อมที่จะรับฟังในความต่างนั้น และพร้อมจะนำบทพิสูจน์มาแสดงที่มิได้มีความอคติ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาและปัจจุบัน มีบรรดานักเทววิทยาอิสลามมากมายที่ลุกขึ้นมาปกป้องศาสนา ไม่ว่าผู้รู้นั้นมาจากฟากฝั่งสำนักคิดอะลิซซุนนะฮ หรือสำนักคิดชีอะฮ

(อัลมุฮาฎะรอต  เล่ม 1 หน้า 37-38)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม