เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คุณลักษณะและบุคลิกภาพของอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก(อ.)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

คุณลักษณะและบุคลิกภาพของอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก(อ.)


อิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อ.) ก็เป็นเช่นเดียวกันกับบิฟาของท่าน คืออิมามมุฮัมมัด บากิรฺ(อ.) ที่ท่านได้มีโอกาสในการรับใช้ประชาชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดามุสลิมเป็นเวลายาวนานโดยไม่มีข้อจำกัด

ด้วยเหตุนี้เอง บุญคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านในฐานะครู, นักวิชาการ และอัจฉริยะบุคคล ได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นที่รู้จักในที่ต่างๆ ของโลกในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่

ด้วยการที่ท่านเป็นผู้มีความรอบรู้ในด้านมนุษยศาสตร์, ฟิสิกส์ และวิชาการด้านศาสนา จึงทำให้ท่านมีคุณลักษณะที่ไร้ที่ติ บุคลิกภาพของท่านคือการผสมผสานกันอย่างลงตัวของความศรัทธาอย่างแรงกล้า, ความมุ่งมั่นในการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, ความกล้าหาญ และเหนือสิ่งอื่นใด ความอ่อนไหวต่อความต้องการและความคาดของหวังของเพื่อนมนุษย์ ผู้ใดก็ตามที่ได้ติดต่อกับท่านจะจากไปด้วยความรู้สึกทึ่งในตัวท่าน

คุณสมบัติพิเศษของท่าน การใส่ใจต่อผู้อื่นและเอาใจใส่ในการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ที่อัลลอฮ์ทรงสร้างขึ้นเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านมีผลกระทบต่อหลายชีวิต เรื่องนี้สามารถเห็นได้จากคำยกย่องที่บรรดานักวิชาการมุสลิมที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ หลายยุคหลายสมัยได้กล่าวถึงท่าน

ชาห์รัสตานี นักเขียนชาวซุนนีผู้มีชื่อเสียง ได้ยกย่องอิมามศอดิก(อ.) ไว้ว่า “ความรู้ของท่านยิ่งใหญ่ทั้งในด้านศาสนาและวัฒนธรรม ท่านได้รับความรู้มาอย่างเต็มที่ในด้านปรัชญา ท่านได้รับความนับถืออย่างมากในโลก และท่านได้ละเว้นจากกิเลสทุกรูปแบบ”

“ท่านอาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์นานมาพอที่จะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงให้แก่กลุ่มนิกายที่ปฏิบัติตามท่าน และทำให้สหายของท่านได้ประโยชน์จากวิทยาการที่ซ่อนเร้น เพราะผู้ที่จมดิ่งลงในมหาสุมทรแห่งความรู้ยอ่มไม่ปรารถนาสิ่งใด…” อิบนิ ฮาญัร ผู้ประพันธ์หนังสือ ซอวาอิกุล มุฮ์ริเกาะฮ์ กล่าวถึงอิมามศอดิก(อ.) และกล่าวว่าท่านเป็นบุคคลที่ดีที่สุดในยุคสมัยของท่าน และด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นผู้สืบทอดของบิดาของท่าน

อิบนฺ คอลคัน ได้ยกย่องอิมาม(อ.) โดยกล่าวว่า ความยิ่งใหญ่และความสำเร็จของท่านสมควรแก่การพรรณนาถึง อิมามฟัครุดดีน รอฎี(ในตัฟซีร กาบีรฺของเขา) และชาห์ อับดุลอาซิซ เดห์ลาวี(ในหนังสือตุฮ์ฟา อิษนาเชริด) ถือว่าอิมามศอดิก(อ.) เป็น “มะอฺซูม” (ผู้ปราศจากความผิดพลาด)

การวิเคราะห์อย่างรวดรัดถึงคุณลักษณะของอิมาม(อ.) จะทำให้เราได้เห็นว่าทำไมบรรดาผู้รู้ในโลกอิสลามจึงได้กล่าวถึงท่านไว้ด้วยถ้อยคำที่เป็นการยกย่องสรรเสริญที่สุดเช่นนี้
ความศรัทธาอย่างแรงกล้า

ท่านถือศีลอดในเวลากลางวัน และนมาซในเวลากลางคืน และแนะนำสั่งสอนให้สาวกของท่านยึดถือการกระทำที่เคร่งครัดเช่นนี้ ในขณะเดียวกัน ท่านพยายามอธิบายให้สาวกของท่านเข้าใจว่า ในขณะที่พิธีการต่างๆ เป็นส่วนสำคัญของความศรัทธา แต่มันจะไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยการปฏิบัติในแต่ละวัน
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ท่านเชื่อในการแบ่งปันสิ่งที่มีกับผู้อื่น ไม่ว่าสิ่งที่ท่านมีจะอยู่ในรูปของความรู้หรือทรัพย์สิน เราได้เห็นถึงการแบ่งปันความรู้ของท่านกับผู้อื่นมาแล้ว ต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงการแบ่งปันทรัพย์สินที่ท่านมีกับผู้อื่น บ้านของท่านเป้อนกว้างสำหรับผู้ขัดสนเสมอ

ท่านไม่เคยนั่งรับประทานอาหารตามลำพัง จะต้องมีแขกมาร่วมรับประทานอาหารกับท่านเสมอ อิมาม(อ.) เคยกล่าวไว้ว่า ในทัศนะของท่าน การนั่งรับประทานอาหารร่วมกับผู้ศรัทธาเป็นคุณความดียิ่งกว่าการปล่อยทาน

ท่านอะบู ฮัมซะ ษุมาลี ได้กล่าวถึงโอกาสหนึ่งที่ท่านได้ร่วมอยู่ด้วย หลังจากอาหารรสเลิศได้ถูกนำมาบริการแล้ว อินทผลัมสดและหวานก็ถูกนำมา แขกคนหนึ่งเห็นว่าการมีส่วนร่วมในอาหารที่อุดมสมบูรณ์เช่นนี้ ผู้ร่วมรับประทานจะต้องถูกสอบสวนในวันแห่งการพิพากษา ตามที่โองการอัล-กุรอานได้กล่าวถึงวันนั้นที่จะมีการคิดคำนวณกับผู้ที่ได้รับประโยชน์จากความโปรดปรานทั้งหลาย

อิมาม(อ.) ตอบว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องนอกเหนือจากความประเสริฐของอัลลอฮ์ที่พระองค์จะตั้งคำถามกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ในเรื่องอาหารที่พระองค์ให้พวกเขาหามาได้ แต่ในวันแห่งการพิพากษา มนุษย์จะถูกสอบสวนในเรื่องความประพฤติของพวกเขาที่มีต่อ “อะฮ์ลุลบัยต์”

– อิมาม(อ.) ร่วมรับประทานอาหารกับแขกของท่านในวันหนึ่ง และเมื่อแขกคนหนึ่งของท่านลุกขึ้นยืนเพื่อไปหยิบสิ่งของบางอย่างเพื่อตัวเอง อิมาม(อ.) ได้ห้ามเขาไว้ แล้วลุกขึ้นไปบริการแขกผู้นั้น โดยกล่าวว่ามันเป็นหน้าที่ของท่านในฐานะเจ้าบ้านที่จะต้องบริการแขกของท่าน และให้เขาได้รับประทานอาหารต่อไปอย่างสบายใจ เพราะนี่เป็นคำสอนจากท่านศาสดา(ศ.)

– สิ่งที่อิมาม(อ.) ถือปฏิบัติเป็นประจำอย่างหนึ่งในยามค่ำคืนคือ ท่านจะปกปิดใบหน้าเพื่อไม่ให้ถูกจดจำได้ แล้วนำอาหารไปให้แก่ผู้ขัดสนที่บ้านของพวกเขา

– ผู้ที่ได้รับอาหารเหล่านี้ได้รู้จักตัวผู้นำอาหารมาให้พวกเขาก็ต่อเมื่อหลังจากที่อิมาม(อ.) ได้พลีชีพไปแล้ว


ขอขอบคุณ เว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม