เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่ 1

 

การวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพและสำคัญยิ่งที่เราต้องทราบว่า เหตุใดชาวกูฟะฮ์จึงเปลี่ยนพฤติกรรมไปถึงระดับ 180 องศาภายในหนเดียว?และเปลี่ยนสถานะจากผู้ปกป้องอะบาอับดิลลาฮิลฮุเซน(อ.)ไปสู่การเป็นปรปักษ์กับท่านอีกทั้งพร้อมหลั่งเลือดอันบริสุทธิ์ของท่านอิมามฮุเซน(อ.) อัซฮาบและครอบครัวอันเป็นที่รักยิ่งของท่านลงบนผืนดิน?การขับเคลื่อนดังกล่าวทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงกลยุทธิ์นี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้หรือไม่?

เราควรทำเช่นใดที่ไม่ให้ประสบกับสังคมในลักษณะนี้โดยเฉพาะในโลกอิสลาม

ดังนั้น การตรวจสอบในประเด็นนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเราต้องวิเคราะห์สังคมของตนเพื่อที่ไม่ว่าจะอยู่ในยุคใดและแห่งหนใดเราจะไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้(สภาพเดียวกับชาวกูฟะฮฺ)

สาวกท่านหนึ่งของอิมามสัจญาด(อ)นามว่า ซุรอเราะฮ์ อิบนิ เอาฟี ได้มาพบท่านอิมาม อาจเป็นไปได้ว่าในความคิดของสาวกของอิมาม(อ)ท่านนี้ ประเด็นดังกล่าวสร้างความสับสนให้แก่เขา จนเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า เหตุใดประชาชนส่วนมากของชาวกูฟะฮ์ที่เรียกร้องอิมามฮุเซน(อ)ให้มากูฟะฮ์แต่เมื่อท่านอิมาม(อ)มาถึงพวกเขากลับทำให้ท่านเป็นชะฮีดในทันที?
ชาวกูฟะห์ได้เขียนจดหมายให้ท่านอิมามฮุเซน(อ)หลายฉบับโดยใจความในจดหมาย มีดังนี้
“โอ้บุตรชายแห่งรอซูรุลลอฮ์(ศ็อลฯ) ได้โปรดอย่าไป ณ.แผ่นดินใดเลยเพราะหากท่านเดินทางมาหาเรา (ณ.แผ่นดินของเรา)เเน่นอนว่าเราจะให้การต้อนรับท่านเป็นอย่างดี”

อย่างไรก็ตาม ด้วยกับการเชิญชวนทั้งหมดดังกล่าวแต่พวกเขากลับปฏิบัติเช่นนั้นต่อท่านอิมาม(อ.)ของตนเองซึ่งยังไม่เคยไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน

ซุรอเราะฮ์ อิบนิ เอาฟีย์  พูดว่า “วันหนึ่งฉันเข้าพบท่านอิมามซัจญาด(อ.)ท่านอิมาม(อ.)ได้กล่าวแก่ฉันว่า “โอ้ ซุรอเราะฮ์เอ๋ย ประชาชนได้ถูกแบ่งออกเป็นหกชนชั้น นั้นก็คือ สิงโต หมาป่า สุนัขจิ้งจอก สุนัข สุกรและลูกแกะ”

ริวายัตดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงสังคมวิทยาการเมืองที่ซับซ้อนและลุ่มลึกอย่างมากถึงขั้นที่สามารถครอบคลุมหลายหลักสูตรในมหาวิทยาลัยได้

ริวายัตนี้เป็นประเภทมะอ์ษูเราะฮ์ หมายถึง มาจากมะอ์ศูม(อ) ตามทัศนะของข้าพเจ้าแม้แต่ในกลุ่มนี้และชนชั้นทางสังคมก็ไม่ควรมีการสลับสับเปลี่ยนกันเองแต่ควรพินิจพิเคราะห์ไปในลักษณะเช่นนี้
อันที่จริงสามารถที่จะอ้างได้ว่าริวายัตที่สูงส่งนี้ได้เปิดเผยความจริงที่ซ่อนอยู่ในกูฟะห์และเบื้องหลังของอาชูรอ

เนื่องด้วยความสำคัญของริวายัตนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากอีกทั้งถูกให้ความสำคัญโดยนักวัฒนธรรมและผู้มีใจสงสารของสังคม ในเบื้องต้นข้าพเจ้าขอรายงานตัวบทริวายัตจากหนังสือ คิซอล ของท่านเชค ศอดูก จากนั้นข้าพเจ้าจะพยายามวิเคราะห์บางชนชั้นในช่วงสิบวันนี้ กล่าวคือ สิบวันแรกของเดือนมุฮัรรอม

 

حَدَّثَنَا جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ مَسْرُورٍ رَضِیَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ جَعْفَرِ بْنِ بُطَّةَ قَالَ حَدَّثَنَا أَحْمَدُ بْنُ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ الْبَرْقِیُّ عَنْ أَبِیهِ یَرْفَعُهُ إِلَى زُرَارَةَ بْنِ أَوْفَى‌ قَالَ: دَخَلْتُ عَلَى عَلِیِّ بْنِ الْحُسَیْنِ ع فَقَالَ یَا زُرَارَةُ النَّاسُ فِی زَمَانِنَا عَلَى سِتِّ طَبَقَاتٍ أَسَدٍ وَ ذِئْبٍ وَ ثَعْلَبٍ وَ کَلْبٍ وَ خِنْزِیرٍ وَ شَاةٍ فَأَمَّا الْأَسَدُ فَمُلُوکُ الدُّنْیَا یُحِبُّ کُلُّ وَاحِدٍ مِنْهُمْ أَنْ یَغْلِبَ وَ لَا یُغْلَبَ وَ أَمَّا الذِّئْبُ فَتُجَّارُکُمْ یَذُمُّونَ إِذَا اشْتَرَوْا وَ یَمْدَحُونَ إِذَا بَاعُوا وَ أَمَّا الثَّعْلَبُ فَهَؤُلَاءِ الَّذِینَ یَأْکُلُونَ بِأَدْیَانِهِمْ وَ لَا یَکُونُ فِی قُلُوبِهِمْ مَا یَصِفُونَ بِأَلْسِنَتِهِمْ وَ أَمَّا الْکَلْبُ یَهِرُّ عَلَى النَّاسِ بِلِسَانِهِ وَ یُکْرِمُهُ النَّاسُ مِنْ شَرِّ لِسَانِهِ وَ أَمَّا الْخِنْزِیرُ فَهَؤُلَاءِ الْمُخَنَّثُونَ وَ أَشْبَاهُهُمْ لَا یُدْعَوْنَ إِلَى فَاحِشَةٍ إِلَّا أَجَابُوا وَ أَمَّا الشَّاةُ فَالْمُؤْمِنُونَ الَّذِینَ تُجَزُّ شُعُورُهُمْ وَ یُؤْکَلُ لُحُومُهُمْ وَ یُکْسَرُ عَظْمُهُمْ فَکَیْفَ تَصْنَعُ الشَّاةُ بَیْنَ أَسَدٍ وَ ذِئْبٍ وَ ثَعْلَبٍ وَ کَلْبٍ وَ خِنْزِیرٍ

(เชคศอดูก/อัลคิซอล/เล่มที่1/หน้า338)

แน่นอนว่าริวายัตที่หยิบยกขึ้นมานั้นเป็นริวายัตมัรฟูอะฮ์(ฮะดีษที่สายรายงานขาดตอน)  ซึ่งอาจทำให้บางคนท้วงติงในแง่ของหลักฐานอ้างอิง
เเต่เนื่องจากเนื้อหาของริวายัตบทนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากและสอดคล้องกับประเด็นการเมืองของสังคมในทุกยุคสมัย เราจึงขอข้ามหลักฐานอ้างอิงในส่วนนี้และมุ่งไปที่การแปลและวิเคราะห์เพียงเท่านั้น


บทความโดย ฮุจญตุลอิสลามฯ ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม