บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่ 2

บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่ 2

 

ท่านอิมามซัจญาด(อ.)กล่าวริวายัตให้แก่ซุรอเราะฮ์ อิบนิ เอาฟี และในริวายัตดังกล่าวนั้น ท่านแบ่งสังคมโดยรวมออกเป็นหกชนชั้น


ซี่งในช่วงต้นของริวายัตนี้มีคำที่ถูกวางเงื่อนไขที่น่าสังเกตุและสำคัญอยู่สองประการ

คำว่า {الناس} และ {فی زماننا}  
یَا زُرَارَةُ النَّاسُ فِی زَمَانِنَا عَلَى سِتِّ طَبَقَاتٍ أَسَدٍ وَ ذِئْبٍ وَ ثَعْلَبٍ وَ کَلْبٍ وَ خِنْزِیرٍ وَ شَاةٍ...
ในแง่ของไวยกรณ์อาหรับคำศัพท์ทั้งหกคำนี้สามารถแทนชนชั้นทั้งหกได้และจะถูกอ่านด้วยกับตันวีนกัสเราะฮ์ ในขณะที่แต่ละคำสามารถเป็นคอบัร(คำหรือประโยคที่มาขยายความคำข้างหน้ามัน)ของคำว่านาสได้หรือไม่ก็ถูกอ่านเป็นตันวีนรัฟอ์(ตันวีนอุน)
الناسُ اسدٌ و ذئبٌ و... ،
ข้อสังเกตและสำคัญ คือ คำว่า الناس ซึ่งสามารถครอบคลุมทุกสังคมทุกชนชั้นและและไม่ได้เจาะจงเพียงเผ่า กลุ่มชน ประเทศและระบบการเมืองใดการเมืองหนึ่งเป็นการเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม ประโยค "فی زماننا کأنّ" ที่ถูกจำกัดไว้นั้นต้องการสื่อถึงการครอบคลุมในยุคสมัยเดียวหรือช่วงระยะเวลาที่เฉพาะ ซี่งมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นแต่ที่อิมามมะซูม(อ.)อธิบายในลักษณะนี้ก็เพื่อให้สิ่งที่ท่านกล่าวนำเสนอไปนั้นครอบคลุมสังคมทั้งหมดและกีดกันผู้ที่ไม่ใช่ออกไป

ในเชิงตรรกะคำจำกัดความที่ดีที่สุดต้องครอบคลุมทุกคนให้ได้มากที่สุดและไม่ควรให้สิ่งใดอยู่นอกขอบเขตคำอธิบาย

ในทางกลับกันต้องป้องกันไม่ให้สิ่งที่นอกเหนือคำจำกัดความเข้ามาแทรก
ในความเป็นจริง คำที่จำเพาะนี้ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนในยุคสมัยของเราหรือประชาชนกูฟะฮ์เท่านั้นที่จะเป็นเช่นนี้แต่ทว่ามันคือการเปรียบเทียบจึงถูกอธิบายไปในลักษณะดังกล่าว กล่าวคือ เมื่อเราศึกษาตัวบทมากขึ้นเราจะพบว่าการจำเพาะในประโยค فی زماننا เป็นการจำเพาะแบบเสริมและมาเพื่อขยายความเนื่องจากทุกสังคมสามารถเป็นหกกลุ่มดังกล่าวได้
แต่ประเด็นสำคัญ คือ กลุ่มใดที่จะเป็นผู้ควบคุมเพราะไม่ว่าจะกลุ่มใดที่เป็นผู้ควบคุมเขาจะลากสังคมนั้นเข้ามาอยู่ในทิศทางที่ตนกำหนด

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือมนุษย์ต้องไม่เปิดโอกาสให้สังคมใดสังคมหนึ่งใช้ระบบชนชั้นมาปกครองพวกเขาจนพบชะตากรรมเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในวันอาชูรอและกัรบะลา

ประเด็นต่อไปในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสุกร คุณลักษณะและชนชั้นของสุกรในสังคมซึ่งอยู่ท่ามกลางบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมถือเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด

ณ.จุดนี้ขอให้ทุกท่านพิจารณาตัวบทริวายัตเป็นพิเศษ
ประชาชนในยุคสมัยของเราถูกแบ่งออกเป็นหกกลุ่ม สิงโต หมาป่า สุนัขจิ้งจอก สุนัข สุกร และเเกะ

- สิงโต เปรียบดัง ราชาและเป็นผู้นำ ต้องการครอบครองทุกสิ่งและไม่ให้ผู้ใดมาควบคุมมัน

- หมาป่า เปรียบดัง นักธุรกิจ พ่อค้าเวลาที่จะซื้อสินค้า(จากผู้อื่น)จะตำหนิและเมื่อขายก็จะยกยอปอปั้น(สินค้าของตนเอง)

- สุนัขจิ้งจอก เปรียบดัง ผู้ที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินแต่สิ่งที่พวกเขาพูดออกมาไม่มีสิ่งใดอยู่ในหัวใจของพวกเขาเลย

- สุนัข เปรียบดัง ผู้ที่รังควานผู้อื่นด้วยกับเสียงของมันและผู้คนต่างให้เกียรติพวกมันเพื่อให้รอดพ้นจากลิ้นของมัน

- สุกร เปรียบดัง ผู้สร้างความโสมมและจะไม่มีคำเรียกร้องสู่การทำบาปใดเลยยกเว้นเสียแต่ว่าพวกมันจะตอบรับ(ทุกการเชิญชวนไปสู่การทำบาป)

- เเกะ เปรียบดัง ผู้ศรัทธา ซึ่งขนของพวกเขาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื้อนำไปบริโภคได้ กระดูกจะถูกหักและแกะจะทำเยี่ยงไรท่ามกลางสิงโต หมาป่า สุนัขจิ้งจอก สุนัข และสุกร?

ในฮะดีษอันล้ำค่านี้ มนุษย์หกกลุ่มถูกเปรียบเทียบกับสัตว์ทั้งหกชนิด
เนื่องจากคุณลักษณะต่างๆของสัตว์เหล่านั้นมีหลากหลายแต่ทว่าสัตว์ที่เป็นประเภทเดียวกันก็มีคุณลักษณะเหมือนกัน การเปรียบเทียบของอิมาม(อ)ได้ถูกนำเสนอได้รูปแบบที่สำคัญที่สุด
ก่อนอธิบายใดๆจะขอนำเสนอกลุ่มดังกล่าวนี้ก่อน

กลุ่มราชสีห์=ผู้ปกครอง

ในบรรดาผู้ปกครองแม้ว่าบางคนจะมีความเหมาะสมก็ตาม แต่ถึงอย่างไร  โดยทั่วไปแล้วพวกเขาส่วนใหญ่เป็นพวกหลงใหลและกระหายในอำนาจ เพื่อรักษาอำนาจของตนพวกเขาจะไม่ปราณีต่อสิ่งใดทั้งสิ้นเปรียบเสมือนสิงโตป่าที่ต้องการขย้ำสัตว์เชื่องตัวอื่นในทุกเวลา ทุกคนต้องเคารพพวกเขาและต้องกระจายคำสั่งของพวกเขา

ในยุคของอเล็กซานเดอร์ เขาได้ครอบครองอาณาเขตต่างๆในดุนยามากที่สุดคนหนึ่งจนกระทั่งถึงคราวของจีน เขาเข้ายึดทุกที่และตั้งค่ายไว้รอบเมืองหลวง จากนั้นเขาทำสนธิสัญญาสงบศึกโดยผ่านการเจรจาเพียงสั้นๆ ซึ่งมีการกำหนดว่าจีนจะต้องส่งเครื่องบรรณาการให้แก่อเล็กซานเดอร์ ท้ายที่สุดผู้ปกครองจีนได้ต้อนรับอเล็กซานเดอร์และทหารของเขาในฐานะแขก

ในวันเลี้ยงต้อนรับอเล็กซานเดอร์ได้เหลือบมองกองทัพของจีนที่มีความพร้อม เขากล่าวกับผู้ปกครองจีนว่า “เจ้ามีกลอุบายอย่างนั้นหรือ?”
เขาตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ข้าเพียงแต่ต้องการกล่าวกับท่านว่าข้อเสนอสนธิสัญญาสงบศึกของข้าไม่ได้เกิดจากความอ่อนแอแต่ข้าไม่ต้องการให้มีการหลั่งเลือดเกิดขึ้น”

สำรับอาหารสำหรับกษัตริย์ได้ถูกจัดไว้ให้กับอเล็กซานเดอร์ มีทั้งทองคำ ภาชนะที่ทำด้วยทอง เงินและไข่มุกถูกนำมาวางไว้บนสำหรับอาหารแต่อเล็กซานเดอร์ยังคงนั่งเฉยและไม่แตะต้องสำรับนั้น

ผู้ปกครองจีนกล่าวกับอเล็กซานเดอร์ว่า “เชิญรับประทานเถิด เหตุใดท่านถึงไม่รับประทาน?”
อเล็กซานเดอร์กล่าวว่า “ให้ข้ารับประทานสิ่งใด?”
ผู้ปกครองจีนกล่าวว่า “ก็อาหารอย่างไรเล่า”
อเล็กซานเดอร์กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่อาหาร”
ผู้ปกครองจีนจึงถือว่านี่คือโอกาสที่ดีที่จึงกล่าวว่า “แล้วอาหารของท่านคืออะไร?”
อเล็กซานเดอร์กล่าวว่า “ขนมปังและ....”
ผู้ปกครองจีนกล่าวว่า “แล้วขนมปังไม่มีในอาณาจักรของท่านอย่างนั้นหรือ?มนุษยชาติต่างก็อิ่มได้ด้วยกับขนมปังแล้วที่ได้ไล่ล่ารุกรานอาณาจักรต่างๆเหล่านี้เป็นเพราะเหตุใดกัน?”
อเล็กซานเดอร์กล่าวว่า “หากการเดินทางในครั้งนี้ได้เท่าในสิ่งนี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับข้า”

ขณะที่เขาจากโลกนี้ไป ได้สั่งเสียไว้ว่าให้นำมือทั้งสองของเขาออกมาให้ประชาชนเห็นว่ามันว่างเปล่า

เมื่อพิจารณารูปแบบการปกครองของเหล่าผู้ปกครองจะเป็นข้อพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีเพื่อยืนยันถึงฮะดีษ
ของอิมามสัจญาด(อ)
แมคคิวเวลี นักทฤษฎีการเมืองที่โด่งดังของประเทศอิตาลีในเขียนในหนังสือ The Prince  “เจ้าชายผู้ปกครอง” เขาอธิบายกฎเกณฑ์และคุณลักษณะของผู้ปกครองที่จะประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่าง เนื้อหาที่เขาเขียนคือ

เพื่อการครอบครองทุกเมืองนั้นไม่มีหนทางอื่นใดที่จะเข้มแข็งมากไปกว่าการทำลายประชาชนทุกคนในเมืองนั้น ต้องทำลายผู้อาศัยในเมืองนั้นและต้องไม่ให้ผู้ใดมีชีวิตเล็ดรอดไปได้ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ไม่นานเท่าใดนักประชาชนก็ลุกขึ้นก่อจลาจลและก่อความวุ่นวายอีกทั้งสร้างความเสียหายให้กับการปกครองก็เป็นได้

เราจะพบการปกครองของอาหรับเฉกเช่นมุอาวิยะฮ์ได้ในนโยบายการเมืองของแมคคิวเวลี
ดังที่เราได้อ่านหนังสือ The Prince   เราสัมผัสได้ถึง แมคคิวเวลี กำลังบันทึกชีวิตในแบบของมุอาวิยะฮ์เขาได้จู่โจมเมืองต่างๆ ปล้นสะดมทรัพย์สินของประชาชน เขาได้สังหารประชาชนส่วนใหญ่ เช่น ฮะญัร อิบนิ อะดีกับสาวกอีกจำนวนเจ็ดคนอย่างโหดเหี้ยมที่สุด
ยะซีดบุตรชายของเขา ได้ปกครองเป็นระยะเวลาสามปีในปีแรกเกิดเหตุการณ์อาชูรอ ในปีที่สองโจมตีเมืองมะดีนะฮ์และหลั่งเลือดอีกทั้งหมิ่นเกียรติประชาชน ในปีที่สามเขาได้ยิงธนูไฟใส่กะอ์บะฮ์

มัสอูดีได้บันทึกในมุรูญุลซิฮับว่า ฮัญญาจ ได้สังหารประชาชนไปถึง 120000 คนตามคำสั่งซึ่งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในสงคราม เมื่อเขาจากโลกนี้ไปมีบุรุษ 50000 คน และสตรี 30000 คนถูกจองจำอยู่ในคุก สภาพของคุกน่ารันทดเป็นอย่างมากซึ่งเป็นคุกที่ไม่มีหลังคา

ฮารูน ได้อาศัย ฮะมีด อิบนิ เกาะฮ์ฏิบะฮ์ ทำให้สมาชิกในตระกูลของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) 60 คนเป็นชะฮีดภายในคืนเดียว

มะอ์มูนได้เสียบศีรษะอะมีนผู้เป็นน้องชายของตนที่ดารุลอิมาเราะฮ์เพื่อให้ประชาชนสาปแช่งน้องชายของตนก่อนที่พวกเขาจะเข้าพบคอลีฟะฮ์

มุตะวักกิลได้รับฉายานามว่าเป็นยะซีดแห่งราชวงศ์อับบาซี

ศอลาฮุดดีน อัยยูบี ได้จัดตั้งการปกครองฟาฏิมียะฮ์ขึ้นในอียิปต์ เขาสังหารลูกหลานชีอะฮ์ทั้งในอียิปต์ แอฟริกา ซีเรียและปาเลสไตน์ เขาบีบคั้นประชาชนให้ยอมรับมัซฮับมาลิกีและชาฟีอี เขาทำลายชีอะฮ์ที่อยู่ในเมืองอเลปโปรของซีเรียไปถึงหนึ่งแสนคน
และนี่คือส่วนหนึ่งของอาชญากรรมของกษัตริย์
เราคงต้องข้ามเรื่องที่พวกเขาปฏิบัติกับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ(ซ)

قالَتْ انَّ الْمُلُوک اذا دَخَلُوا قَرْیةً افْسَدُوها وَ جَعَلُوا اعِزَّةَ اهْلِها اذِلَّةً وَ کذلِک یفْعَلُون
มะละกะฮ์ ซะบาอ์ กล่าวว่า  “แท้จริงเหล่ากษัตริย์นั้น เมื่อเข้าไปในเมืองใดก็ทำลายมัน และทำให้บรรดาผู้มีอำนาจของเมืองนั้นเป็นผู้ต่ำต้อย และเช่นนั้นแหละพวกเขากระทำกัน”

โองการนี้ ได้กล่าวถึงคำพูดของมะละกะฮ์ซะบาอ์ที่ได้ตอบจดหมายของท่านนบีสุลัยมาน(อ) แต่คำอธิบายในอัลกุรอานคัมภีร์แห่งการขัดเกลามนุษย์และนำทางประชาชาติ ประโยค وَ کذلِک یفْعَلُونَ ได้ยืนยันต่อข้อกล่าวอ้างและเน้นย้ำถึงความถูกต้อง

ด้วยกับบนพื้นฐานดังกล่าวเหล่าทรราชเมื่อเข้าสู่สถานที่หนึ่งหากพวกเขาทำสงครามพวกเขาจะสร้างความเสียหายและทำลายที่นั้นและหากไม่ทำสงครามพวกเขาก็สร้างความต่ำต้อยให้ประชาชนในเมืองนั้น และหากมีบุคคลที่ยืนหยัดต่อต้านพวกเขาก็จะถูกเยาะเย้ยถากถาง
โดยเฉพาะในกลุ่มที่หนึ่งและเป็นกลุ่มชั้นที่อันตรายที่สุด หมายถึง บรรดากษัตริย์ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงศตวรรษท้ายๆ มนุษยชาติมีความพยายามที่จะปลดเอกตนเองออกจากการปกครองของพวกเขา
ในขณะเดียวกันบางสังคมกลับกลายเป็นหนีเสือปะจระเข้