เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่สี่

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่สี่

 

اعوذ بالله من الشیطان الرجیم. بسم الله الرحمن الرحیم. قال الله الحکیم: ... انّ الله لایغیّر ما بقوم حتّی یغیّروا ما بانفسهم...

การวิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุผลหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ได้อธิบายไปแล้วถึงคำกล่าวของท่านอิมามสัจญาด(อ)ที่ได้แบ่งประชาชนของสังคมหนึ่งออกเป็น 6 ชนชั้น คือ สิงโต หมาป่า สุนัขจิ้งจอก สุนัข สุกรและแกะ

กลุ่มที่สาม สุนัขจิ้งจอก

وَ امَّا الثَّعْلَبُ فَهؤلاءِ الَّذینَ یاْکلُونَ بِادْیانِهِمْ وَ لایکونُ فی قُلُوبِهِمْ مایصِفُونَ بِالْسِنَتِهِمْ.

สุนัขจิ้งจอกถูกยกให้เป็นสุภาษิตในเรื่องของความเจ้าเล่ห์เพทุบาย เป็นสัตว์ที่มีความคล่องแคล่วว่องไว ความเล่ห์เหลี่ยมของมันกับสิงโตนั้นเหมือนกันในสายตาของทั้งชาวอาหรับและไม่ใช่ชาวอาหรับ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพ สุนัขจิ้งจอกถือว่าหมาป่าเป็นศัตรู มันเข้าไปหาสิงโตและพูดว่า “แกะที่เจ้าเก็บไว้ให้ตัวเองนั้นเจ้าหมาป่ามันขย้ำไปเรียบร้อยแล้ว” สิงโตจึงถามว่า “ใครจะเป็นพยานให้เจ้าในเรื่องนี้ได้?” มันกระดิกหางและพูดว่า “หางของฉันอย่างไรเล่าที่จะเป็นพยานยืนยันคำพูดของฉันเอง” และนี่คือสาเหตุที่ทำให้สิงโตฆ่าหมาป่า และทำให้สุนัขจิ้งจอกปลอดภัยจากภัยที่จะเกิดจากหมาป่า

นิทานเรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นแต่บอกเล่าเรื่องราวความเจ้าเล่ห์เพทุบายของสัตว์ชนิดนี้

ผู้รู้ที่ปราศจากการปฏิบัติเข้าข่ายเดียวกับสุนัขจิ้งจอก เขาจะพูดและพูดได้อย่างสวยงาม ถ้อยคำถูกเรียงร้อยอย่างเป็นระเบียบ ประโยคหน้าและหลังเปี่ยมไปด้วยวาทศิลป์แต่เขากลับไม่ได้กลิ่นไอในคำพูดทั้งหมดของเขาเลย(ไม่ได้นำไปปฏิบัติ)
เขาเพียงแต่ต้องการประโยชน์จากสิ่งที่เขาพูดไม่ใช่ที่สิ่งที่เขาทำ ต้องการหารายได้และความภูมิใจและนอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ไม่มีสิ่งใดโน้มน้าวให้เขาใช้วาทศิลป์ของตนเอง อัลกุรอานได้เปรียบเทียบผู้รู้ที่ปราศจากการปฏิบัติว่าเป็นลา บางครั้งเปรียบเป็นสุนัข และริวายัตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาดังกล่าวได้เปรียบเทียบสุนัขจิ้งจอกว่ามีโฉมหน้าแห่งความเจ้าเล่ห์เพทุบายเช่นกัน
ตอนนี้เราจะขอกล่าวริวายัตที่เกี่ยวข้องกับการลงทัณฑ์มนุษย์กลุ่มนี้ในวันกิยามัต
قال رسول الله صلی الله علیه و آله: اشَدُّ النَّاسِ عَذاباً یوْمَ القِیمَةِ، عالِمٌ لم ینْفَعْهُ عِلْمَهُ
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ็อลฯ) กล่าวว่า “การลงทัณฑ์มนุษย์ที่รุนแรงที่สุดในวันกิยามัต คือ การลงทัณฑ์ผู้รู้ที่เขาไม่ได้รับประโยชน์จากความรู้ของเขา”

ท่านยังกล่าวอีกว่า
اتَیتُ عَلی سَماءِ الدُّنْیا لَیلَةَ اسْری بی فَاذا فیها رِجالٌ تُقْطَعُ الْسِنَتُهُمْ وَ شِفاهُهُمْ بِمَقاریضَ مِنْ نارٍ، فَقُلْتُ یا جَبْرائیلُ مَنْ هؤُلاءِ؟ قال: خُطَباءُ، امَّتِک

"ในค่ำคืนแห่งมิอรอจ ฉันเดินทางขึ้นสู่ฟากฟ้า ได้พบบรรดาบุรุษที่กำลังใช้กรรไกรเฉือนปากและลิ้นของตนเอง ฉันถามญิบรออีลว่า “พวกเขาคือใครกัน?” ญิบรออีลตอบว่า “พวกเขาคือนักพูดและนักปราศรัยแห่งประชาชาติของท่าน”

ในการจำแนกประเภทชนชั้นของสังคมโดยท่านอิมามสัจญาด(อ)ต้องสังเกตว่ายิ่งไล่จากชั้นบนลงมาชั้นล่างมากเท่าใด เราจะพบจำนวนที่มีมากขึ้นของชนชั้นนั้นในสังคม เหล่าสิงโตนั้นยังมีปริมาณจำกัดในเชิงรูปธรรมแต่หมาป่าเมื่อเทียบกับสิงโตแล้วมีจำนวนที่มากกว่า สุนัขจิ้งจอกมีจำนวนมากกว่าหมาป่า และเป็นเช่นนี้ที่สุนัข สุกรและแกะมีจำนวนเยอะกว่ามาก

คุณลักษณะของสุนัขจิ้งจอกตามการเปรียบเทียบของอิมามอะลี(อ) คือ พวกเขาแสวงหาผลประโยชน์กับศาสนา(หากินกับศาสนา) การแสวงหาผลประโยชน์กับศาสนา(หากินกับศาสนา)เป็นพฤติกรรมที่อันตรายอย่างมาก หลักการของความเป็นมนุษย์ คือ เราต้องไขว่คว้าอาคิรัตด้วยดุนยาไม่ใช่ไขว่คว้าดุนยาด้วยอาคิรัตและขายอาคิรัตให้กับดุนยา แต่สุนัขจิ้งจอกแทนที่จะไขว่คว้าอาคิรัตด้วยดุนยาพวกเขากับไขว่คว้าดุนยาด้วยอาคิรัต พวกเขาจะก้มหัวให้กับดุนยา แสร้งทำเป็นนอบน้อมถ่อมตนและดูสง่าผ่าเผยอีกทั้งแสดงภาพลักษณ์ว่าตนนั้นขาวสะอาดเพื่อที่จะใช้ศาสนาเป็นของเล่นในการทำบาป เป็นไปได้ที่จะกล่าวว่ากลุ่มดังกล่าวที่ท่านอิมามสัจญาด(อ)แบ่งไว้คือประเภทหนึ่งของความหน้าไหว้หลังหลอก เป็นความหน้าไหว้หลังหลอกที่อันตรายอย่างยิ่งเพราะมันจะทำให้สังคมถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมของชาติมหาอำนาจ

ดังนั้น ตามการเปรียบเทียบของท่านอิมามสัจญาด(อ) การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ก็จะอยู่เพียงแค่ลมปากแต่ไม่ได้ซึมซับไปในหัวใจของพวกเขา และประเด็นดังกล่าวโดยธรรมชาติแล้วย่อมเป็นปัจจัยที่ทำให้สิ่งที่หัวใจของพวกเขายอมรับ คือ สิ่งที่นอกเหนือจากที่พวกเขาพูดออกมาและการกระทำที่จอมปลอมพวกเขาอยู่ตรงข้ามกับความศรัทธาที่แท้จริง
พฤติการณ์เช่นนี้ได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้กับศาสนาอีกทั้งทำให้ผู้คนในสังคมมองศาสนาในด้านลบ

alhassanainth, [13.08.21 21:54]
".เหตุผลที่ท่านโฮร รอดพ้นและพบกับความผาสุก "   

การให้ความสำคัญกับวิธีการตื่นตัวและการกลับตัวของท่านโฮร ไปยังท่านอบาอับดิลลาห์ ฮิลฮุเซ็น นั้น  เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก  และเรื่องนี้ควรย้อนกลับไปยังหนังสือตำราเฉพาะในเรื่องนี้
แต่สิ่งที่ควรกล่าวถึงในบทความนี้ คือการค้นหาต้นตอและ ที่มาของความสำเร็จนี้  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เพราะ การ “รักษามารยาท” ที่มีต่อตำแหน่งอันสูงส่งของอิมามฮุเซ็น หัวหน้าแห่งบรรดาชุฮาดา : กรณีแรก คือ ในการเผชิญหน้าครั้งแรกกับอิมามระหว่างทางไปอิรัก   เขาผู้ปฏิเสธที่จะนมาซกับกองทัพของเขา   แต่เขาได้เลือกนมาซตามหลังท่านอิมาม(อ)

อีกกรณีหนึ่ง เมื่ออิหม่ามต้องการกลับไปยังมะดีนะฮ์พร้อมกับมิตรสหายของเขา   โฮรได้ขัดขวาง  และท่านอิหม่ามกล่าวว่า:   (มารดาของเจ้าจะต้องเศร้าโศกแน่ ! เจ้าต้องการอะไร?!)
โฮร ตอบว่า: ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ถ้ามีคนจากอาหรับ - ยกเว้นท่าน - ทำการพูดถ้อยคำดังกล่าว ฉันจะตอบเขาอย่างสาสม ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม! แต่ฉันสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันจะไม่พูดชื่อมารดาของท่าน ออกมา (เพราะความยิ่งใหญ่ของนางนั้น)

การอธิบาย :

เห็นได้ชัดว่าหากความละอายและการมีมารยาท (ซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นสองประการของความเป็นมนุษย์) อยู่ในหัวใจของชาวมุสลิมทุกคน  ก็จะช่วยเขาให้รอดพ้นได้   นี่คือวจนะบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องนี้:

1. أَلْحَياءُ مِفْتاحُ كُلِّ خَيْرٍ
"ความละอายเป็นกุญแจของทุกๆความดี "

2. أَلْحَياءُ يَصُدُّ عَنْ فِعْلِ الْقَبيحِ
 "ความละอาย จะห้ามเขาไม่ให้ทำสิ่งที่น่าเกลียด”

3. أَلْحَياءُ مِنَ اللَّهِ يَمْحُو كَثيراً مِنَ الْخَطايا
ความละอายต่ออัลลอฮ์ จะช่วยลบล้างและชำระบาปของเขาอย่างมากมาย

4.  أَلْحَياءُ وَ الايمانُ مَقْرُونانِ فِى قَرَنٍ وَ لا يَفْتَرِقانِ
ความละอายและความศรัทธา จะคล้องกันเป็นสายเชือกเดียวกันและไม่สามารถแยกออกจากกันได้

5. أَلْأَدَبُ أَفْضَلُ حَسَبٍ
มารยาทเป็นเกียรติและความประเสริฐสูงสุดของชาติพันธ์
 
6. أَفْضَلُ الْأَدَبِ أَنْ يَقِفَ الْإِنْسانُ عِنْدَ حَدِّهِ وَ لا يَتَعَدَّى قَدْرَهُ.
มารยาทที่ดีที่สุดคือผู้ที่ยืนหยัดในขอบเขตของเขาและไม่ล่วงเกินความสามารถของเขา

7. لِكُلِّ أَمْرٍ أَدَبٌ
สำหรับทุกสิ่งย่อมมีมารยาทของมัน

ในทางกลับกัน ความหยิ่งทะนงและการไร้ซึ่งมารยาท  จะเป็นตัวทำลายความศรัทธา และลบล้างความดีของมนุษย์   ซึ่งขอให้ใส่ใจกับวจนะบางส่วนในเรื่องนี้ :

1. «مَنْ قَلَّ أَدَبُهُ ، كَثُرَتْ مَساوِيهِ.»
ผู้ใดที่ไร้มารยาท  ความชั่วร้ายของเขาจะเพิ่มขึ้น

2. «بِئْسَ النَّسَبُ ، سُوءُ الْأَدَبِ.»
ความชั่วร้ายทางสายเลือด คือการไร้มารยาท

3.  لَا شَرَفَ مَعَ سُوءِ الْأَدَبِ
ไม่มีเกียรติใดๆสำหรับผู้ที่ไร้มารยาท

4. «بِئْسَ الْوَجْهُ ، أَلَقاحُ.»
ใบหน้าที่แย่ที่สุดคือผู้ที่หยาบคายและไร้มารยาท
 
5.  رَأسُ كُلِّ شَرٍّ، أَلْقِحَةُ
บ่อเกิดของความชั่วร้ายทั้งหมดคือความไม่สุภาพ ไร้มารยาท

6. «مَن قَلَّ حيايُهُ, قَلَّ وَرَعُهُ.»
ผู้ใดที่มีความละอายเพียงเล็กน้อย   ความยำเกรงของเขาก็จะน้อยตามไปด้วย    

7. «مَنْ لا حيءَ لَهُ ، فَلا خيْرَ فيهِ.»
ผู้ใดที่ไม่มีความละอาย  เขาย่อมไม่พบความดีใดๆในตัวเขา
 
8. مَنْ لَمْ يَتَّقِ وُجُوهَ الرِّجالِ، لَمْ يَتَّقِ اللَّهَ سُبْحانَه
ผู้ใดที่ไม่มีความละอายต่อหน้ามนุษย์ เขาย่อมไม่มีความยำเกรงต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า

 

 

บทความโดย ฮุจญตุลอิสลามฯ ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม