บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่ 10

บทความ วิเคราะห์สภาพสังคมทางการเมืองของกูฟะฮ์และเหตุหนุนนำสู่การเกิดโศกนาฏกรรมอาชูรอ ตอนที่ 10


اعوذ بالله من الشیطان الرجیم. بسم الله الرحمن الرحیم. قال الله الحکیم: «فَخَلَفَ مِنْ بَعْدِهِمْ خَلْفٌ أَضَاعُوا الصَّلَاةَ وَاتَّبَعُوا الشَّهَوَاتِ فَسَوْفَ يَلْقَوْنَ غَيًّا».(مریم/59)
พี่น้องซุนนีมีมุมมองต่อเหตุการณ์อาชูรออย่างไร?

ในหมู่พี่น้องซุนนีกันเองไม่ได้มีมุมมองเดียว ซึ่งแตกต่างกับชีอะฮ์ที่มีมุมมองเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยถือว่าอิมามฮุเซน (อ.) เป็นมะอ์ซูมและตั้งมั่นอยู่บนสัจธรรมส่วนยะซีดและพวกพ้องของเขานั้นคือผู้กดขี่ ผู้อธรรมและออกจากอิมาม บาปและความชั่วที่ยะซีดได้กระทำนั้นไม่ได้น้อยไปกว่าบาปและความชั่วที่พวกปฏิเสธและกลุ่มผู้ตั้งภาคีได้กระทำไว้เลย นี่คือมุมมองของชีอะฮ์ทั้งหมด ทว่าในหมู่ซุนนีมีมุมมองที่หลากหลาย บางคนยังมีความเป็นธรรมซึ่งมีจำนวนอยู่ไม่น้อยเช่นกันที่ยังไม่ได้สูดดมมลพิษของพวกวะฮาบีและพวกชิงชังเข้าไป เป็นผู้ที่อยู่เคียงข้างอิมามฮุเซน (อ.) และเหตุการณ์กัรบะลา โดยประณามยะซีดและพวกพ้องของยะซีด ซึ่งจะขอยกเป็นตัวอย่างดังนี้:
 ก. มะนาวี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (อัลฟัยฎุลฆอดีร) เล่ม 3 หน้า 14 ว่า:

« فاطمة بضعة منّى، و مع ذلك فقابل بنو أميّة عظيم هذه الحقوق بالمخالفة و العقوق »  

เขากล่าวว่าท่านศาสดามีสิทธิหนึ่ง ท่านดำรัสว่า ฟาติมะฮ์คือส่วนหนึ่งของเรือนร่างฉัน แต่พวกอุมัยยะฮ์ได้กระทำตรงกันข้ามกับสิทธิอันยิ่งใหญ่นี้ จนทำให้ท่านศาสนทูตโกรธเคือง
« فسفكوا من اهل البيت دماءهم، و سبوا نساءهم، و أسروا صغارهم ...»

พวกเขาได้หลั่งเลือดของอะฮ์ลุลบัยต์ จับบรรดาสตรีและลูกหลานเป็นเชลย ทำลายบ้านเรือนของอะฮ์ลุลบัยต์ ปฏิเสธความประเสริฐของอะฮ์ลุลบัยต์ อนุญาตให้ทำการประณามอะฮ์ลุลบัยต์ ฝ่าฝืนคำสั่งเสียของท่านศาสดา กระทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเป้าประสงค์ของท่านศาสดา พวกเขาต้องมีความละอายอย่างแน่นอนในวันที่จะต้องพบกับท่านศาสดา ความวิบัติย่อมเกิดขึ้นกับพวกเขาในวันแห่งฟื้นคืนชีพ
 ข. อัสกิลานี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 852)ได้บันทึกรายงานหนึ่งไว้ในหนังสือ ฟัตหุลบารี เล่ม 9 หน้า 240ว่า: « یوذینی من آذاهها و کل من وقع منه فی حق فاطمة » ผู้ใดที่ปฏิบัติไม่ดีต่อฟาติมะฮ์ กลั่นแกล้งท่านหญิงฟาติมะฮ์ อัซซะฮ์รอ ตามรายงานที่ถูกต้องนี้เท่ากับว่าเขาได้ทำให้ท่านศาสดาไม่พอใจ« ولا شيء أعظم في إدخال الأذى عليها من قتل ولدها» ไม่มีการกลั่นแกล้งใดที่จะเลวร้ายยิ่งไปกว่าการสังหารและทำให้ลูกหลานของท่านหญิงต้องเป็นชะฮีดอีกแล้ว
 ค. อิบนุ อิมาด ฮัมบะลีได้กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ในหนังสือ ชัษรอวาตุษษะฮับ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 1089) เล่ม 1 หน้า 66 แล้วกล่าวว่า:

«قاتل الله فاعل ذلك وأخزاه ومن أمر به أو رضيه»
ขออัลลอฮ์ทรงสังหารคนที่ได้จับครอบครัวของอะฮ์ลุลบัยต์เป็นเชลยและพอใจกับการทำเช่นนี้ด้วยเถิด

 ง. ออลูซี เจ้าของหนังสือ รูฮุลมะอานี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 1270) เป็นคนหนึ่งที่มีจุดยืนตรงข้ามกับชีอะฮ์ บางครั้งก็ปกป้องวะฮาบีด้วยซ้ำ ในขณะเดียวกันเขาได้อธิบายเรื่องหนึ่งไว้ในหนังสือ รูฮุลมะอานี เล่ม 26 หน้า 317 ใต้โองการที่ 22 ซูเราะฮ์มุฮัมหมัด ว่า: โดยผิวเผินแล้วยะซีดยังไม่เตาบะฮ์และคาดว่าการเตาบะฮ์ของเขานั้นอ่อนแอยิ่งกว่าศรัทธาของเขาเสียอีก
« الظاهر أنه لم يتب، و احتمال توبته أضعف من إيمانه، و يلحق به ابن زياد و ابن سعد و جماعة فلعنة اللّه عز و جل عليهم أجمعين، و على أنصارهم و أعوانهم و شيعتهم و من مال إليهم إلى يوم الدين ما دمعت عين على أبي عبد اللّه الحسين »
ตราบเท่าที่น้ำตาได้ไหลรินออกมาเพื่ออิมามฮุเซน (อ.) ขออัลลอฮ์ทรงสาปแช่งยะซีดและพวกพ้องของเขา จากนั้นก็ได้กล่าวเนื้อหาหนึ่งที่น่าสนใจว่า น่าเสียใจที่อะบูบักร์ อิบนุ อะรอบี มาลิกี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 543)ซึ่งเป็นผู้พิพากษาอยู่ที่เมืองอัชบีลียะฮ์ เป็นคนที่หลงทางโลกเป็นอย่างมาก อิบนุ อะรอบี ได้ประณามเหตุการณ์ของอิมามฮุเซน (อ.) โดยกล่าวว่า:
« الحسین قتل بسیف جده » ออลูซีโกรธ แล้วกล่าวกับเขาว่า:
«من اللّه تعالى ما يستحق أعظم الفرية فزعم أن الحسين قتل بسيف جده صلّى اللّه عليه و سلّم»
อะบูบักร์ อิบนุ อะรอบี ได้พูดโกหกที่ร้ายแรงที่สุด ที่พูดว่า “อิมามฮุเซนถูกทำชะฮาดัตด้วยดาบของตาท่านเอง” เป็นที่น่าเสียใจยิ่ง
« له من الجهلة موافقون على ذلك كَبُرَتْ كَلِمَةً تَخْرُجُ مِنْ أَفْواهِهِمْ إِنْ يَقُولُونَ إِلَّا كَذِباً»
ช่างเป็นคำพูดรุนแรงที่ได้หลุดออกมาจากปากของเขา จากนั้นได้กล่าวอีกว่า: อิบนุ เญาซี กล่าวไว้ในหนังสือ ซิรรุลมะซูนว่า: เป็นความเชื่อของซุนนีบางคนที่ถือว่าตนเองเป็นซุนนี กล่าวกันว่า: ยะซีดเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง (ขออัลลอฮ์ทรงปกป้องเราด้วยเถิด) อิบนุ เญาซี กล่าวว่า: หากเขามองประวัติศาสตร์สักนิดก็จะเข้าใจได้ว่า ยะซีดไม่ใช่คอลีฟะฮ์เลย จึงต้องขอให้ประชาชนทำการสัตยาบัน (บัยอัต) แก่เขา« لقد فعل في ذلك كل قبيح » ยะซีดไม่เคยละเว้นจากการกระทำชั่ว และหากสมมติว่าการให้สัตยาบันแก่เขาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 

« فقد بدت منه بواد كلها توجب فسخ العقد» การฝ่าฝืนต่างๆ ของเขาก็เป็นเหตุให้สัตยาบันนั้นเป็นโมฆะ และไม่อาจยอมรับคำกล่าวของอะบูบักร์ อิบนุ อะรอบี มาลิกี ได้ นอกจากคนโง่เท่านั้น« و لا يميل إلى ذلك إلا كل جاهل عامي المذهب »   
 หากเราเปิดตำราต่างๆ ของซุนนี ก็จะเห็นว่าตำราเหล่านั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาที่ให้เกียรติและเทิดเกียรติ ฮุเซน บิน อะลี (อ.) ทำไมพวกเขาจะไม่เทิดเกียรติเล่า? ในมุมมองของเรา ฮุเซน บิน อะลี (อ.) เป็นอิมามมะอ์ซูม และในมุมมองของซุนนีท่านคือบุตรของท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ) และเป็นหัวหน้าของชายหนุ่มในสรวงสวรรค์ และไม่อาจมีคำพูใดที่เป็นธรรมยิ่งไปกว่าได้อีกแล้ว
มุมมองเช่นนี้เป็นมุมมองในหมู่มากของซุนนีหรือไม่ การปกครองในยุคต่างๆ ไม่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักวิชาการซุนนีบ้างหรือ?
ใช่แล้ว! หากเป็นการปกครองของพวกนะวาศิบหรือนักเขียนที่ได้รับการอบรมมาจากกลุ่มพวกนะวาศิบ เรื่องราวก็จะแตกต่างออกไป แต่ในยุคที่พวกนะวาศิบไม่ได้มีอำนาจปกครอง โดยทั่วไปแล้วซุนนีเองก็จะประณามการกระทำของยะซีด
เหตุใดซุนนีจึงไม่มีแนวคิดนี้กับมุอาวียะฮ์?
 อับดุรรอซาก ซอนนาอี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งของซุนนี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 211) ท่านเป็นนักวิชาการท่านหนึ่งที่ซุนนีให้การยอมรับและให้เกียรติอย่างมาก กล่าวกันว่า: บทเรียนของเขามีผู้เข้าร่วมล้นหลามมากที่สุดหลังจากท่านศาสดาเลยทีเดียว เขาเล่าว่า เมื่อมีการเอ๋ยชื่อของมุอาวียะฮ์ในห้องเรียนของเขา ก็จะกล่าวว่า อย่าเอ๋ยนามของอาลิอะบูซุฟยานให้ห้องเรียนเราต้องเปรอะเปื้อนเลย لا تقذروا مجلسنا بذکر آل ابی سفیان(ดูบุคคลิกภาพของซอนอานีได้ในหนังสือ มีซานุลเอี้ยะอ์ติดาล) และยังกล่าวอีกว่า มุอาวียะฮ์ไม่ได้ปฏิบัติตามศาสนาอิสลาม อะลี บิน ญุอ์ด ก็มีมุมมองเป็นลบต่อมุอาวียะฮ์เช่นกัน ด้านหนึ่งมุอาวียะฮ์ปกครองอยู่เป็นระยะเวลานาน มีฮะดีษมากมายที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นเกี่ยวกับสถานะภาพของเขา ที่น่าสนใจคือ นะซาอีและฮากิมนีชาบูรี และอัยนี ผู้ที่ทำการอธิบายบุคอรี และอัสกิลานี ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า: เราไม่มีริวายะฮ์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับความประเสริฐของมุอาวียะฮ์สักริวายะฮ์เดียว และมุอาวียะฮ์เป็นคนที่ทำอะไรแบบแอบๆซ่อนๆ  แม้ว่าการให้ยะซีดขึ้นปกครองนั้นจะเป็นบาปที่ร้ายแรงที่สุดของเขาก็ตาม (อิสตัลฮาก ซิยาด) เรียกเขาว่าลูกของพ่อของเขา การเข่นฆ่าบรรดาชีอะฮ์ที่ถือเป็นบาปที่เลวร้ายที่สุดของเขานั้นก็มาจากมุอาวียะฮ์ พวกท่านลองอ่านหนังสือ “อัลฆอรอต” ซึ่งเป็นผลงานของคนใกล้ชิดคนหนึ่งของมุคตาร ในหนังสือเล่มนี้เขียนว่า มุอาวียะฮ์ได้ลอบสังหารกลุ่มคนต่างๆ มากมาย เขามีแดนประหารมากมาย และเขาได้บุกฆ่าชีอะฮ์ในหมู่บ้านหลายแห่ง แต่เขาทำทั้งหมดนี้อย่างลับๆ ซึ่งแตกต่างจากยะซีดที่เป็นคนทำชั่วอย่างเปิดเผย
ซุนนีอธิบายเหตุการณ์กัรบะลาไว้ในแหล่งอ้างอิงของพวกเขาหรือไม่?
นอกจากการกดดันต่างๆ ของบะนีอุมัยยะฮ์ อันเนื่องจากการที่พวกเขามีอำนาจปกครองอยู่ระยะหนึ่งหลังจากเหตุการณ์กัรบะลา พวกเขาพยายามที่จะลบเหตุการณ์กัรบะลาออกจากหน้าประวัติศาสตร์และปกปิดเรื่องต่างๆ ไว้ ทว่าทั้งที่มีการกดดันนี้ บุคคลแรกที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กัรบะลและอาชูรอขึ้น คือ อัศบัฆ บิน นุบาตะฮ์ เป็นสาวกผู้ใกล้ชิดของอะมีรุลมุมินีน แต่ปัจจุบันไม่มีหนังสือเล่มนี้แล้ว หรือ อะบูมิคนัฟ ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาชูรอซึ่งสืบประวัติแล้วระหว่างเขาเพียงแค่สามช่วงคนก็ถึง อะบูมิคนัฟ บิน สะลีม อะซะดี ซึ่งเป็นสาวกของอะมีรุลมุมินีน เขาก็มีหนังสือมักตัลเล่มหนึ่ง ทว่ามีความเข้าใจผิดพลาดกันเกี่ยวกับหนังสือที่รู้จักกันในนามว่า มักตัล อะบู มิคนัฟ ที่วางขายอยู่ในตลาด ซึ่งมีเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นและดัดแปลงเกิดขึ้นในนั้น อันที่จริงเป็นมักตัลของ อะบู มิคนัฟ ฮะมานี ที่ฏอบะรีนำมารายงานไว้ และท่านนัศร์ บิน มุซาฮิมก็มีมักตัลอีกเล่มหนึ่ง, อะบู มุนซิร ฮิชาม บิน มุฮัมหมัด กัลบี เสียชีวิตฮ.ศ.ที่ 205 เขาก็เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กัรบะลาและเหตุการณ์อาชูรอ และท่านวากิดีก็มีมักตัลด้วยเช่นกกัน ในหมู่ของซุนนี อะลี บิน มุฮัมหมัด มะดาอินี ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาชูรอ, ชะรอฟุดดีน กอฮิรี (เสียชีวิตปีฮ.ศ.827)ก็มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้, ควอรัซมี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 568) มีหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเขียนไว้ดีมาก ซึ่งปัจจุบันพวกวะฮาบีกำลังกล่าวหาเขาว่าเป็นชีอะฮ์  เพราะพวกวะฮาบีไม่ชอบที่ให้ใครมาตำหนิบะนีอุมัยยะฮ์ , กาชิฟี บัยฮะกี สับซะวารี (เสียชีวิต ปี ฮ.ศ. 910) เขาคือคนแรกที่เขียนเรื่องราวของกัรบะลาเป็นภาษาฟาร์ซีโดยใช้ชื่อว่า “เราฎอตุศซอฟา” ซึ่งถูกนำมาใช้บรรยายในมัจลิศต่างๆ เขาเป็นซุนนี และซุนนียังมีหนังสืออีกมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกท่านหนึ่งที่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์อาชูรอ คือ อิบนุกะษีร เป็นศิษย์ของอิบนุตัยมียะฮ์ซึ่งถือได้ว่าคือก็อปปี้ของมุอาวียะฮ์ในการเป็นศัตรูกับอะฮ์ลุลบัยต์

 

ก็ว่าได้ อิบนุกะษีร ได้เขียนมักตัลไว้ในหนังสือ “อัลบิดายะอ์วันนิฮายะฮ์” แต่เขาเขียนในลักษณะที่ว่าไม่แตะการปกครองของยะซีด หากจะตำหนิก็จะตำหนิบุคคลระดับล่าง
 แต่ผู้มีความเป็นธรรมของซุนนีท่านหนึ่งที่ได้รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบะลาคือหนังสือ มุอ์ญะมุลกะบีร ฏอบรอนี (เสียชีวิตปีฮ.ศ. 360)โดยได้รายงานความประเสริฐของอิมามฮุเซน (อ.) ไว้ในเล่มที่ 3 ถึง 100 หน้า บันทึกเรื่องการร้องไห้ของท่านศาสดาต่ออิมามฮุเซน การร้องไห้ของอะลี บิน อะบีฏอลิบถึงการถูกกดขี่ของอิมามฮุเซน และเหตุการณ์การสังหารท่านไว้ นอกจากนี้หนังสือ ฟะรออิดุสซิบฏอยน์ ของ มุฮัมหมัด บิน อิบรอฮีม อัลญุวัยนี อัลคุรอซานี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 722) ได้อธิบายเกี่ยวกับการประสูติของอิมามฮุเซนไว้ว่าเกิดอะไรขึ้นบนชั้นฟ้าและแผ่นดิน ว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) บัญชาให้ตกแต่งสวรรค์และให้บรรดามะลาอิกะฮ์หนึ่งพันกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มมีมะลาอิกะฮ์อีกหนึ่งพันองค์ร่วมแสดงความยินกับท่านศาสดาเนื่องในวโรกาสการประสูติของอิมามฮุเซน (อ.)  และท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ก็ได้เล่าเรื่องราวการเป็นชะฮาดัตของอิมามฮุเซน (อ.) ในวันนั้น ท่านได้แจ้งเรื่องนี้แก่ญิบรออีลแล้วดำรัสว่า ฉันรังเกียจพวกเขา(ที่ฆ่าอิมามฮุเซน)และพวกเขาไม่ใช่ประชาชาติของฉัน ญิบรออีลก็กล่าวเช่นกันว่า ฉันก็รังเกียจพวกเขา แล้วได้ไปหาท่านหญิงวะฮ์รอแล้วร้องไห้ จากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แจ้งข่าวดีว่าจะมีบรรดาอิมามเกิดขึ้นจากเชื้อสายของเขาจนถึงท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.)
 หนังสือ “นูรุลอับศอร ฟี มะนากิบ อาลินนะบี อัลมุคตาร” ส่วนหนึ่งชิบลันญีได้รายงานเกี่ยวกับอิมามฮุเซน (อ.) และอีกสองเหตุการณ์เกี่ยวกับศรีษะอันจำเริญของอิมามฮุเซน (อ.) เมื่อก่อนหนังสือเล่มนี้มีวางตามมัสญิดต่างๆ ต่อมาเมื่อวะฮาบีปกครองก็ได้ทำการเก็บหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด
 อิบนุฮิบบาน ชาฟี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. ที่ 354)ได้เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับอิมามฮุเซน (อ.) ไว้ในส่วนท้ายของเล่ม 2 หนังสือ “อัษษิกอต” และยังได้รายงานเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ศรีษะของอิมามฮุเซน (อ.) ไว้อีกด้วย ซึ่งน่าอ่านมาก ที่ว่าพวกเขานับพันคนได้นำศรีษะอิมามฮุเซนจากกูฟะฮ์ไปยังเมืองชาม ผ่านเส้นทางใกล้โบสถ์ของบาทหลวงท่านหนึ่ง
บาทหลวงท่านหนึ่ง บาทหลวงเห็นรัศมีเปล่งประกายในยามค่ำคืน เห็นมีศรีษะอยู่บนปลายหอก จึงถามว่า: นี่คือศรีษะของใครกัน? เขาจึงให้เงินจำนวน หมื่นดีนารทองคำเพื่อขอให้เก็บศรีษะไว้กับเขาสักหนึ่งคืน บาทหลวงได้ร้องไห้ทั้งคืน กระทั่งรุ่งสางจึงได้เข้ารับอิสลาม พวกทหารรับเงินจากเขาไปแล้วต้องการจะแบ่งกันเมื่อใกล้ถึงเมืองชามแต่กลับเห็นว่าเงินทั้งหมดกลายเป็นดินเผาที่ด้านหนึ่งเขียนไว้ว่า «وَ سَيَعْلَمُ الَّذينَ ظَلَمُوا أَيَّ مُنْقَلَبٍ يَنْقَلِبُونَ»    และอีกด้านหนึ่งเขียนไว้ว่า «وَ لا تَحْسَبَنَّ اللَّهَ غافِلًا عَمَّا يَعْمَلُ الظَّالِمُون» ทำให้พวกเขายังงงงันอยู่ในความดื้อรั้นของพวกเขา
 จึงมีกลุ่มหนึ่งเรียกร้องสู่ความสมานฉันท์ เราเองก็วางต้นทุนเกี่ยวกับความสมานฉันท์ไว้อย่างมาก เอกภาพในประชาชาติอิสลามนั้นเป็นสิ่งสำคัญ คาดหวังว่าเขาจะไม่ปล่อยให้คำพูดของซุนนีออกมาจากลำคอของวะฮาบี แล้วหันมากล่าวเนื้อหานี้กัน อุละมาซุนนีเข้ามาช่วยกันตีพิมพ์เนื้อหานี้ อธิบายเนื้อหานี้บนแท่นธรรมมาสของพวกเขา เพื่อให้ผู้คนให้รู้ว่าอะบาอับอิ้ลลาฮ์นั้นคือจุดร่วมระหว่างบรรดามุสลิม
โปรดแนะนำแหล่งอ้างอิงบางส่วนที่น่าเชื่อถือของชีอะฮ์?
ชีอะฮ์ นอกจากจะตกอยู่ภายใต้การกดดัน ตำราต่างๆ และหอสมุดของพวกเขาจะถูกเผาทำลายไป ทว่าพวกเขาได้เขียนตำราต่างๆ ขึ้นมากมายด้วยมือที่ว่างเปล่าของพวกเขา ยุคล่าสุดนี้ เช่นหนังสือนะฟะซุลมะฮ์มูม เชค อับบาส กุมมี, มักตะลุลฮุเซน ของมัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์, ละวาอิญุลอัชอาน จากซัยยิด มุห์ซิน อะมีน อามิลี, หนังสือมัรฮูม มุก็อรรอม, หนังสืออายาตุลลอฮ์บะห์รุลอุลูม, หนังสือมัรฮูม วาลิดมาน มักตะลุลฮุเซน,หนังสืออายาตุลลอฮ์กุรชี, หนังสืออะบะรอตุลมุศฏอฟัยน์ จากมัรฮูม มุฮัมหมัด บาเกร มะห์มูดี เป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่ง และมัรฮูมมัจลิซี ได้เขียนประวัติศาสตร์กัรบะลาไว้ในบิฮารุลอันวาร 3 เล่ม, อัสรอรุชชะฮาดะฮ์ ของท่านฟาฎิล ดัรบันดี ปีฮ.ศ. 1280 ทว่าในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่ไม่มีในหนังสือเล่มอื่น และได้นำเนื้อหาเหล่านั้นมาใส่ไว้ด้วยกฎที่ว่าด้วยการอะลุ่มอล่วยในเรื่องของสิ่งที่เป็นซุนนัต (ตะซามุห์ฟีอะดิลละติสสุนัน) และการเชื่อมั่นสายรายงานที่ไม่แน่ชัด,หนังสือกุมกอมซิคอร และซอมซอมบุตอร ของมีรซอ ฟัรฮอด มุอ์ตะมิด อัดเดาละฮ์ และหนังสืออีกหลายสิบเล่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในยุคนี้หนังสือกุรชีและมุก็อรรอมและหนังสือจากมะดีนะฮ์ถึงกัรบะลาและ...ได้กล่าวถถึงความจริงด้านหนึ่งของประวัติศาสตร์


อัลลามะฮ์ซัยยิด ญะอ์ฟัร มุรตะฎอ ออมุลี เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “กัรบะลา เฟากุชชุบะฮาต” ได้ทำการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาเกี่ยวกับฮิมอเซะฮ์ฮุซัยนีไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย ท่านออมุลีมีทัศนะว่าอย่างไรเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้? ข้อวิพากษ์วิจารณ์นั้นใช้ได้หรือไม่อย่างไร?
 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าเรียนกับอัลลามะฮ์ซัยยิด ญะอ์ฟัร ออมุลี อยู่หลายครั้ง ซึ่งได้รับประโยชน์จากบทเรียนของท่านกว่า 50 บทเรียนทั้งในเมืองกุมและเบรุต และข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้จากท่านหลายครั้งว่าหนังสือ ฮิมอเซะฮ์ฮุซัยนี ถูกบางคนเข้ามาฉวยโอกาสไปในทางที่ไม่ดีเพื่อต้องการที่ทำให้มัจลิสอิมามฮุเซนนั้นอ่อนแอลง และแน่นอนว่าท่านมุฏอฮะรีไม่ได้เป็นเช่นนี้ ท่านร้องไห้ให้กับอิมามฮุเซน (อ.) มากจนกระทั่งหมดสติ หากท่านจะพูดสิ่งใดออกไปย่อมไม่ใช่เพื่อให้การรำลึกถึงอิมามฮุเซนนั้นอ่อนแอลงอย่างแน่นอนทว่าท่านทำไปเพื่อส่งเสริมโศกนาฏกรรมแห่งอาชูรอทั้งสิ้น หนังสือเล่มนี้มีปัญหาในเลบานอน มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  ซัยยิด ญะอ์ฟัร เป็นนักค้นคว้าท่านหนึ่ง เมื่อประมาณสามสิบปีก่อนข้าพเจ้าได้ฟังจากอัลลามะฮ์อัสกะรีว่า ในอิหร่านไม่นักค้นคว้าท่านใดเหมือนท่านซัยยิด ญะอ์ฟัร จากนั้นท่านก็พูดว่า ไม่ใช่สิ!ในโลกนี้ไม่มีนักค้นคว้าท่านใดเหมือนซัยยิด ญะอ์ฟัรเลย ท่านซัยยิดได้เขียนหนังสือ อัรรอซูลุลอะอ์ซอมขึ้น 35 เล่ม และหนังสืออีกหลายสิบเล่ม เป็นนักค้นคว้าที่มีคำพูดและมุมมองใหม่ๆ ไม่มีใครที่ไม่ผิดพลาด ท่านได้ศึกษาและอ่านหนังสือ ฮิมอเซะฮ์ฮุซัยนี แล้วมีทัศนะความคิดเห็นต่างๆ และไม่ใช่ว่าเมื่อนักค้นคว้าท่านใดท่านหนึ่งพูดสิ่งใดแล้วจะเป็นคำพูดที่สุดท้ายตลอดไป ท่านกล่าวว่าคำพูดของชะฮีดไม่ใช่เป็นคำพูดของเขาทั้งหมด เป็นการบรรยายที่อาจเป็นไปได้ว่ามีการเปลี่ยนทัศนะใหม่เมื่อนำมาเขียนเป็นหนังสือ ปัจจุบันข้าพเจ้ามีการบรรยายต่างๆ มากมายเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตราบใดที่ข้าพเจ้าไม่ได้อ่านอีกครั้งก็จะไม่อนุญาตให้ตีพิมพ์ เขาได้บรรยายในรูปแบบของการบรรยาย ไม่ใช่เพื่อการตีพิมพ์ หากมีการตีพิมพ์ย่อมมีการตรวจสอบแก้ไข อีกด้านหนึ่งเรื่องที่นำมากล่าวถึงเช่น ปฏิเสธท่านหญิงรุกอยยะฮ์และไม่มีอุมุลัยลาในเหตุการณ์กัรบะลา หรือเรื่องอื่นๆ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นของศาสนา เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นวิธีการของสถาบันศาสนาที่จะใช้วิธีการที่ว่า หากท่านพูดมาฉันก็พูดไป
อาจารย์ของคุณมีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “อัลฆอรอต”  ที่คนหนึ่งจากญาติของมุคตารได้เขียนขึ้น ดังนั้นเป็นการดีที่ท่านจะอธิบายถึงบุคลิกภาพของท่านมุคตารและทัศนะของซุนนีเกี่ยวกับมุคตาร?
 อะบูอิสฮาก อิบรอฮีม บิน สะอีด ษะกอฟี เสียชีวิตศตวรรษที่สามและเป็นหลานของลุงท่านมุคตาร เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ทำให้ชาวอิศฟาฮานเป็นชีอะฮ์ ส่วนสำหรับท่านมุคตารนั้น ซุนนีมีมุมมองที่เป็นลบ ตามทัศนะของข้าพเจ้าแล้วการที่ซุนนีทั้งหมดต่อต้านมุคตารก็เนื่องจากเขาเป็นคนดี และเป็นไปได้ที่ว่าที่มาของทัศนะนี้คือการฝันที่ได้รับมาจากบะนีอุมัยยะฮ์ ซึ่งบะนีอุมัยยะฮ์ต้องสูญเสียอิรักไปเป็นเวลาปีครึ่ง และเขาก็ได้ลงโทษการกระทำของพวกพ้องของตน ซุนนีจึงเรียกมุคตารว่า จอมโกหก
ฉายาที่เรียกว่า “จอมโกหก” นี้มาจากไหน?
ในสงครามหนึ่งระหว่างการเผชิญหน้ากันระหว่างกองทหารของมุคตารกับกองกำลังของเมืองชาม ทหารเมืองชามคนหนึ่งพูดขึ้นว่า “เรายึดตามศาสนาของอุมัยยะฮ์ ส่วนท่านนั้นยึดตามศาสนาของอะลี โอ้ มุคตารจอมโกหก” คำพูดนี้ยังคงอยู่ และน่าเสียใจที่เนื้อหานี้ถูกตีพิมพ์ ษะฮ์บี ได้อธิบายคุณลักษณะของมุคตารไว้ในหนังสือ ซีรุ อะอ์ลามินนุบะลาอ์ว่า:มุคตารเติบโตในเมืองมะดีนะฮ์ เป็นผู้ที่มอบความรักให้กับอะฮ์ลุลบัยต์มาตั้งแต่ต้น
 «نشا علی حب ابی هاشم»ในยุคมุอาวียะฮ์ เขาได้เดินทางมายังเมืองบัศเราะฮ์ และเผยแผ่อิมามฮุเซน (อ.) อยู่ที่นั่นกระทั่งเจ้าเมืองที่นั่นจับกุมท่าน โบยและปลดท่านจากนั้นก็เนรเทศท่านไปยังเมืองฏออิฟ แต่เขาก็ยังไม่อาจทนมุคตารได้ จึงอ้างว่า มุคตารพูดว่า ญิบรออีลลงมาหาฉัน และญิบรออีลท่านนี้ไม่ใช่ญิบรออีลที่นำวะห์ยูลงมา ทว่าเป็นผู้รับใช้มุคตาร มีชื่อว่า ญิบรออีล แต่แท้จริงแล้วเป็นการเข้าฝันและทำให้เขาต้องตกต่ำ ด้วยเหตุนี้ซุนนีจึงไม่รับรองมุคตารทั้งที่เขาเป็นผู้ที่เคร่งครัดศาสนา
 แต่ในหมู่อุละมาอ์ชีอะฮ์ร่วมยุคต่างยอมรับเขา เช่น มัรฮูม อายาตุลลอฮ์คูอีย์, มัรฮูมอัลลามะฮ์ อะมีนี, ตุสตะรี กล่าวไว้ในกอมูส, มัรฮูมนะมอซี และข้าพเจ้าเองมีมุมมองเป็นบวกกับเขาร้อยทั้งร้อย มัรฮูม มัจลิซี ไม่มีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้, อิบนุนะมาฮิลี มีหนังสือที่ยกย่องมุคตารเป็นการเฉพาะ และมัรฮูมคูอีย์ได้ปฏิเสธรายงานที่ไม่มีสายรายงานทั้งหมด และยอมรับมุคตารโดยไม่มีความเคลือบแคลงใดๆ