เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

“มุฮัมหมัด (ศ็อลฯ)” ศาสดาแห่งความเมตตา

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

“มุฮัมหมัด (ศ็อลฯ)” ศาสดาแห่งความเมตตา
 

������เนื่องในวาระการประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ขอแสดงความปีติยินดีแก่บรรดามุสลิมทุกท่าน หัวข้อที่อยากจะนำเสนอในบทความสั้นๆ นี้เพื่อมีส่วนร่วมในการเทิดเกียรติและร่วมฉลองช่วงวันคล้ายวันประสูติของศาสดาอิสลาม คือ “ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งความสันติ” และ “ศาสดาอิสลามคือศาสดาแห่งความเมตตา”

������กอนอื่นอยากจะเตือนความจำและทำความเข้าใจกับผู้พยายามนำเสนอศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาที่มีความรุนแรง โหดเหี้ยม โหดร้าย ทั้งที่ในสงครามครูเสดมีมุสลิมนับแสนคนที่ถูกฆ่า หลังจากสเปนมีชัยเหนือมุสลิมกล่าวกันว่าแม่น้ำกลายเป็นสีเลือดเลยทีเดียว ทั้งที่สโลแกนศาสนาของพวกเขาคือ “ศาสนาแห่งความรัก”
 
������นาแปลกที่พวกเขากลับลืมโศกนาฏกรรมของสงครามโลกไปแล้วหรืออย่างไร? ลืมระเบิดปรมณูที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิไปแล้วหรืออย่างไร? ลืมไปแล้วใช่ไหมที่กลุ่มชาติมหาอำนาจได้กดขี่ชนชาติที่ยากจนและด้อยโอกาสอย่างไร? การฆ่าล้างในอิรัก อัฟกานิสถาน ปาเลสไตน์ เหตุการณ์ความป่าเถือนในคุกกวนตานาโม พวกเขาจะลบรอยบาปเหล่านี้เพียงเพราะมีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นเข่นฆ่าผู้คนโดยอ้างอิสลามอย่างนั้นหรือ? ทั้งที่กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับหลักการที่แท้จริงของอิสลามเลย!!

������อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจไม่เข้าใจหลักการอันบริสุทธิ์ของศาสนาอิสลามหรือเข้าใจแต่ประสงค์ร้าย? อันที่จริงต้องทำความเข้าใจว่าความหมายของการต่อสู้กับบรรดากุฟฟาร(ผู้ปฏิเสธ)ที่อัลกุรอานกล่าวถึงนั้นหมายถึงใคร? หมายถึงชาวคริสต์? หรือหมายถึงบรรดาผู้ตั้งภาคีต่อพระเจ้าหรือพวกวัตถุนิยมอย่างนั้นหรือ?  แน่นอนว่าสาระธรรมคำสอนอิสลามระบุไว้อย่างชัดเจนว่าห้ามละเมิดสัญญาหากได้ทำสัญญาแม้กับพวกตั้งภาคี เพราะภาระกิจของท่านศาสดาคือเชิญชวนพวกเขาสู่การมีศรัทธาต่อพระเจ้าองค์เดียวโดยปราศจากการบังคับขู่เข็ญให้ยอมรับศาสนาอิสลาม لا اِكْراه فِی الدّینِ “ไม่มีการบังคับในศาสนา” (อัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮ์  โองการที่ 256) เพราะศาสนาประกอบด้วยการต้องมีศรัทธาด้วยหัวใจ และหากการกระทำไม่ได้เกิดจากหัวใจที่มีศรัทธาการกระทำนั้นย่อมเป็นโมฆะและไร้คุณค่าใดๆ
 
������ทว่าเป้าหมายของ “กุฟฟาร” ที่จะต้องยืนหยัดต่อสู้กับพวกเขานั้นหมายถึง ผู้ที่ต่อสู้และทำสงครามเพื่อหวังทำลายล้างอิสลามอย่างเปิดเผย ดังจะเห็นจากวิถีปฏิบัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่แข็งกร้าวกับบรรดากุฟฟาร แต่ท่านกลับให้ความปลอดภัยกับบรรดาผู้กลับกลอกทั้งที่กลุ่มนี้เลวร้ายยิ่งกว่า “กุฟฟาร” เสียอีก ท่านศาสดาและสาวกของท่านแข็งกร้าวกับผู้ที่ใช้ความรุนแรง ขณะเดียวกันท่านได้ปฏิบัติดีต่อผู้ที่ปฏิบัติดี ผู้ที่เป็นมิตร เพราะพระเจ้าได้ตรัสยืนยันไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า ศาสดาอิสลามคือผู้ที่มาเผยความเมตตาของพระเจ้าให้ปรากฎ ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวว่า:
وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلا رَحْمَةً لِلْعَالَمِينَ
“และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเมตตาธรรมแก่สากลโลก”

������ทานศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) เป็นทั้งนักรบและนักรัก หากลงรายละเอียดอีกนิดก็จะเข้าใจว่าการต่อสู้โดยรวมแล้วเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจแยกออกจากวิถีชีวิตของมนุษย์ได้ ทว่าในศาสนาอิสลามมีเงื่อนไขและหลักการที่ชัดเจนบนพื้นฐานของมนุษยธรรมที่ต้องแสดงความเป็นนักรบและผู้กล้าในยามจำเป็น

������ ในมุมหนึ่งการปิดประตูการต่อสู้จากโลกนี้ไปเลยนั้นย่อมหมายถึงการสูญสลายของมนุษยชาติ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเป็นระบบสังคม ด้านหนึ่งมนุษย์มีอารมณ์ความอยาก อยากในอำนาจ ทรัพย์สิน ตำแหน่ง ผลประโยชน์ และ ฯลฯ เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้ง ต่อสู้และสงคราม ต่างฝ่ายต่างก็ต่อสู้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ดังนั้นจึงไม่อาจปฏิเสธการต่อสู้ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเสียทีเดียว

������ “การต่อสู้” ทำให้สรรพสัตว์ดำรงอยู่ ความขัดแย้งกันในผลประโยชน์กระทั่งถึงจุดแตกหักที่ต้องทำสงครามกัน เป็นประสบการณ์ของมนุษยชาติตลอดหน้าประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา ระบอบการปกครอง ความเชื่อ แม้แต่เครือญาติก็ไม่อาจสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของสังคมได้ ทว่ามีสิ่งเดียวที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างแท้จริงนั่นคือ การมีศรัทธามั่นต่อพระเจ้าอย่างแท้จริง อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า:
وَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِهِمْ لَوْ أَنْفَقْتَ مَا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا مَا أَلَّفْتَ بَيْنَ قُلُوبِهِمْ وَلَكِنَّ اللَّهَ أَلَّفَ بَيْنَهُمْ إِنَّهُ عَزِيزٌ حَكِيمٌ
อัลลอฮ์ทรงสานสัมพันธ์หัวใจของพวกเขาไว้(ซึ่ง)หากเจ้าใช้จ่ายทุกสิ่งทุกอย่างไปในแผ่นดิน(เพื่อการนี้)เจ้าก็ไม่อาจสานสัมพันธ์แก่หัวใจของพวกเขได้ แต่ทวาอัลลอฮ์ทรงสานสายสัมพันธ์ของพวกเขไว้ แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอำนาจเด็ดขาด ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง
(บทอัลอันฟาล โองการที่ 63)

ภายใต้ร่มเงาศาสนาแห่งพระเจ้าเท่านั้นที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ได้ร้อยรวมดวงใจของชนเผ่าป่าเถื่อนชาวอาหรับเข้าด้วยกัน ได้ผูกสัมพันธ์ความเป็นพี่น้องแก่กันด้วยสโลแกนที่ว่า
وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا
“พวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์อย่างพร้อมเพรียงกันและจงอย่าแตกแยกกัน”
ด้วยการเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวขึ้นได้อย่างแท้จริง พระองค์ได้ย้ำเตือนความทรงจำพวกเขาว่าพวกเจ้าเคยเป็นศัตรูกันมาก่อนแต่ด้วยความจำเริญของศาสนาอิสลามทำให้พวกเจ้าเป็นพี่น้องกัน
 จะเห็นได้ว่าสงครามในหน้าประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพื่อขยายประเทศ แก้แค้น กุมอำนาจ และยศตำแหน่ง ด้วยเหตุนี้เหล่ากองทัพที่กระหายสงครามต่างรุมกันกินเลือดเนื้อมนุษย์ด้วยกันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองโหดร้าย

 การต่อสู้และสงครามที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของอารมณ์ ความอยาก การแก้แค้น ความเป็นชาตินิยมและศาสนานิยม ทว่าเป็นการต่อสู้ที่อยู่ภายใต้การบัญชาการของผู้นำที่เป็นบุรุษแห่งพระเจ้า เคร่งครัดในศาสนา เพราะเป้าหมายและอุดมการณ์ของพวกเขานั้นเพื่อส่งเสริมศาสนาแห่งพระเจ้า แก้ไขปรับปรุงความเสื่อมทรามทางการเมือง สังคม และอบรมสั่งสอนจริยธรรมและพัฒนาจิตวิญญาณของสังคม อัลกุรอานกล่าวว่า:
وَقَاتِلُوهُمْ حَتَّى لَا تَكُونَ فِتْنَةٌ وَيَكُونَ الدِّينُ كُلُّهُ لِلَّ
พวกเจ้า(มีหน้าที่)ต้องต่อสู้กับพวกเขาจนกว่าจะไม่มีการสร้างความยุ่งเหยิงสับสน(ฟิตนะฮ์)อีกและศาสนาทั้งหมดเป็นของอัลลอฮ์
(อัลกุรอานบทอัลอันฟาล โองการที่ 39)

เป็นการต่อสู้กับความชั่วร้าย การเข่นฆ่า การปล้น แผนการร้าย การกดขี่ การสร้างอุตริขึ้นในรูปแบบของศาสนา และเมื่อฟิตนะฮ์สิ้นสุดลงหรือศัตรูโอนอ่อนที่จะสงบศึกก็ให้โอนอ่อนและให้อภัย จะเห็นได้ว่า เมื่อท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ทราบแผนการของพวกตั้งภาคี ท่านก็ได้รับบัญชาให้ทิ้งบ้านของท่าน โดยมอบหมายให้ท่านอาลีนอนแทนที่ท่าน หลังจากที่ได้กลับมายังเมืองมักกะฮ์ กองกำลังของพวกตั้งภาคีอ่อนกำลังลงจนได้รับความพ่ายแพ้ เหล่าทหารได้จับกุมตัวพวกเขามามอบให้กับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพื่อให้ท่านจัดการ แต่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)กลับให้อภัยหลังจากที่พวกเขายอมรับสารภาพ ในหน้าประวัติศาสตร์เคยเจอไหมที่ผู้ชนะปฏิบัติต่อฝ่ายศัตรูที่พ่ายแพ้ได้เช่นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) การมีจริยธรรมในการต่อสู้เช่นนี้ไม่ใช่เพราะศาสนาแห่งพระเจ้านี้หรอกหรือ?

 กลุ่มคนที่ตรรกะวิบัติ ไม่ยอมวางมือจากการใช้ความรุนแรงและความโหดเหี้ยม เราต้องนิ่งเฉยกับกลุ่มคนพวกนี้อย่างนั้นหรือ? หากปล่อยพวกเขาไว้ สังคมย่อมไม่ปลอดภัย ไม่สงบสุข ดังนั้นพวกเขาต้องได้รับบทลงโทษ
อัลกุรอานกล่าวว่า:
وَقَاتِلُوا فِي سَبِيلِ اللَّهِ الَّذِينَ يُقَاتِلُونَكُمْ وَلَا تَعْتَدُوا إِنَّ اللَّهَ لَا يُحِبُّ الْمُعْتَدِينَ
“และพวกเจ้าจงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์กับบรรดาผู้ที่สู้รบกับพวกเจ้าและจงอย่ารุกราน แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงรักบรรดาผู้รุกราน”
(อัลกุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 190)

กล่าวคืออย่าละเมิดบรรดาสตรีและเด็กๆ อย่าทำลายเรือกสวนไร่นาของศัตรู อย่ายึดข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพวกเขา และหลักมนุษยธรรมอีกมากมายในหลักการของอิสลาม อัลกุรอานกล่าวว่า:
وَإِنْ جَنَحُوا لِلسَّلْمِ فَاجْنَحْ لَهَا وَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ إِنَّهُ هُوَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ
“หากพวกเขา(ส่งสัญญาณ)มีความโอนอ่อนมายังการสงบศึก ก็จงโอนอ่อนเพื่อสิ่งนั้นและมอบหมายต่ออัลลอฮ์ แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง”
(อัลกุรอานบทอัลอันฟาล โองการที่ 61)
 
ครั้งหนึ่งศัตรูได้เข้าประชิดตัวท่านเพื่อหวังจะฆ่าท่าน ได้ชักดาบชี้หน้าท่าน แล้วกล่าวว่า โอ้มุฮัมหมัด ใครกันเล่าจะช่วยเจ้าได้? ท่านดำรัสว่า ฮัลลอฮ์ แต่ศัตรูคนนั้นเพลี่ยงพล้ำล้มลง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงนั่งลงหน้าอกของเขาแล้วกล่าวว่า ใครกันเล่าจะช่วยเจ้าได้ ศัตรูคนนั้นกล่าวทันทีว่า “ความเมตตาของท่าน การให้อภัยของท่าน โอ้มุฮัมหมัด! เมื่อท่านเห็นดวงตาอ้อนวอนและน้ำตาของเขา ท่านศาสดาจึงดำรัสว่า เจ้าจงกลับไปยังค่ายทหารของเจ้าเสียเถิด!

นี่คือสาระธรรมของศาสนาอิสลาม เป็นหลักการและสาระธรรมที่วางอยู่บนพื้นฐานของความสันติ ความรักและความเมตตา ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าเป้าหมายการส่งท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ลงมานั้นเพื่อเมตตาธรรมแก่สากลโลก และท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ก็ได้เผยความเมตตายิ่งนั้นให้เป็นที่ประจักษณ์ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ เป็นวิถีปฏิบัติที่แม้แต่ศัตรูก็มีความหวังยังความเมตตานั้นจากท่าน พระเจ้าของศาสนาอิสลามคือพระเจ้าแห่งความเมตตา ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งสันติ และศาสดาของศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งเมตตาธรรมสำหรับสากลโลก
อลลอฮุมมะศ็อลลิอาลา มุฮัมหมัด วะอาลิมุฮัมหมัด

เชคอิมรอน พิชัยรัตน์ /เรียบเรียง

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม