รหัสความสำเร็จของมนุษย์ ตอนที่ 4
รหัสความสำเร็จของมนุษย์ ตอนที่ 4
8.การปรึกษา
การปรึกษากับผู้ที่มีความคิดที่บริสุทธิ์และมีความมุ่งมั่นที่สูงส่งจะช่วยประคับประคองให้มนุษย์ไปสู่เป้าหมายที่สูงส่งได้ สิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดคือท่านศาสดา(ศ็อล)
แต่ท่านยังให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือเหมือนในสงครามต่างๆที่เราได้เรียนมา
ทุกคนที่ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญล้วนแล้วจำเป็นต่อแรงสนับสนุนที่แข็งแกร่งเพื่อให้ช่วยพยุงเขาในสถานการณ์ที่วุ่นวาย และการปรึกษาหารือเป็นแรงสนับสนุนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ ท่านอิมามอะลี(อ)กล่าวว่า
“ไม่มีการสนับสนุนใดที่เหมือนกับการปรึกษาได้อีกแล้ว”
เราสามารถใช้ประโยชน์จากคำสั่งเสียของท่านอิมามอะลี(อ)ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ได้ว่าบุคคลที่มีความเป็นเผด็จการและคิดว่าตนเองนั้นเหนือกว่าผู้อื่นเขากำลังตกในที่นั่งที่อันตราย ท่านอิมามกล่าวว่า
“การปรึกษาหารือเป็นบ่อเกิดของการงานและผู้ที่คิดว่าตนไม่จำเป็นต่อคำผู้อื่น
(เพราะมีความคิดเป็นของตนเอง)นั้นเขากำลังตกอยู่ในอันตราย(อยู่ในที่นั่งลำบาก)”
ท่านยังกล่าวอีกว่า “ผู้ที่มีทัศนะที่เผด็จการเขาจะพบกับความพินาศและผู้ที่ปรึกษากับคนอื่นเท่ากับผู้นั้น
มีส่วนร่วมในความคิดของเขา”
การละทิ้งการปรึกษาในเรื่องจิตวิญญาณและวัตถุจะทำให้พบกับความพ่ายแพ้ที่หาสิ่งใดมาทดแทนไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม การปรึกษาผู้ที่พัฒนาตน มีศีลธรรม มีความคิดที่ประเสริฐ จะช่วยให้มนุษย์รู้จักสิ่งที่ผิดพลาดและปลอดภัยจากความผิดพลาด อิมามอะลี(อ) กล่าวว่า
“ผู้ที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นจะทำให้เขารู้จักข้อผิดพลาด”
ควรปรึกษาผู้ใด?
จำเป็นต้องเลือกที่ปรึกษาที่นอกจากว่าเขามีความเข้าใจต่อเรื่องที่ปรึกษาแต่ยังสามารถได้ประโยชน์จากคำปรึกษาของเขาได้ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ตามคำสั่งเสียของอิมามอะลี(อ)ต้องปรึกษาผู้ที่สติปัญญาเองก็ยอมรับเขา อิมามอะลี(อ)กล่าวว่า “อย่าได้ปรึกษากับผู้ที่สติปัญญาไม่ยอมรับเขา” หมายถึง ต้องเลือกคนปรึกษาที่คำปรึกษาของเขากินกับสติปัญญาหากคำปรึกษาไม่กินกับสติปัญญาเขาก็ไม่คู่ควรต่อการปรึกษานั้นเอง
เพื่อไปสู่เป้าหมายและออกห่างจากความเสียใจในภายหลังจำเป็นที่มนุษย์จะต้องปรึกษากับผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์และเป็นนักแนะนำ ท่านอิมามอะลี(อ)กล่าวว่า “การต่อต้านที่ปรึกษาที่ใจดี มีความรู้ และมีประสบการณ์ทำให้เกิดความเศร้าและนำไปสู่การเสียใจในภายหลัง”
ท่านยังกล่าวอีกว่า افضل من شاورت ذو التجارب “ผู้ปรึกษาที่ดีที่สุดคือผู้ที่มีประสบการณ์”
ไม่ควรปรึกษาผู้ใด?
ท่านอิมามอะลี(อ)ได้เตือนเจ้าเมืองบัศเราะฮ์จากการปรึกษาหารือกับคนหลายกลุ่มว่า
“อย่านำผู้ตระหนี่มาเป็นที่ปรึกษาเพราะเขาจะทำให้เจ้าหลุดออกจากการงานที่ประเสริฐและจะบอกกับเจ้าว่าจะยากจน จงอย่าให้คนขี้ขลาดมาเป็นที่ปรึกษาเพราะเขาจะทำให้เจ้าเฉื่อยชาต่อการงานต่างๆและจงอย่าให้คนโลภเป็นที่ปรึกษาเพราะเขาจะทำให้ความโลภดูสวยงามด้วยความอยุติธรรมในสายตาของเจ้า ดังนั้นความตระหนี่ ความกลัวและความโลภคือสัญชาติญาณต่างๆที่มีรากฐานมาจากการคิดไม่ดีต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่”