เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ชะฟาอัตในอัลกุรอาน

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ชะฟาอัตในอัลกุรอาน

 

หัวข้อ : ชะฟาอัต
หนึ่งในหัวข้อที่สำคัญและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในเทววิทยาอิสลามและหัวข้อเรื่องมะอาด
ที่ทำให้นักศาสนศาสตร์และนักเทววิทยาต้องครุ่นคิด
มาโดยตลอดคือเรื่องชะฟาอัต
สิ่งที่ทำให้หัวข้อนี้เป็นประเด็นที่สำคัญเพราะมีความเกี่ยวโยงทั้งในเรื่องของเตาฮีดและความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า มีการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นนี้นานแล้ว
บางกลุ่มปฏิเสธประเด็นนี้และบางกลุ่มเชื่อว่าพวกเขาต้องการใช้เรื่องนี้มาเป็นตัวช่วยปกปิดพฤติกรรมของพวกเขา

คำว่า ชะฟาอัตถูกพูดถึงในอัลกุรอานถึงสามสิบครั้ง
ด้วยกัน ซึ่งทำให้ประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นที่สำคัญ

 ความหมายของชะฟาอัต
ชะฟาอัต ในเชิงศัพท์ มาจากคำว่า ชัฟอ์ หมายถึง คู่ شَفَعَ   หมายถึง การนำสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันมาผนวกเพิ่มกับตัวเอง และชะฟาอัต หมายถึง การรวมเข้าด้วยกันหรือการผสมผสานกับอีกคนในขณะที่เขาเป็นเพื่อนและผู้ช่วยเหลือเขาและได้ร้องขอเขา คำนี้ถูกใช้ในกรณีที่บุคคลหนึ่งมีตำแหน่งที่สูงกว่าอีกบุคคลหนึ่ง
คำที่ถูกใช้ตรงข้ามกับคำนี้คือ وتر  มีความหมายว่าหนึ่ง
และลำพัง                       
ความหมายที่ถูกต้องของชะฟาอัต คือ การเป็นสื่อกลางของผู้ถูกสร้างคนหนึ่งระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับผู้สร้างอีกคนหนึ่งเพื่อส่งความดีหรือขจัดความชั่วร้าย ท่านอัลลามะฮ์
ฎอบาฎอบาอี กล่าวว่า
“บุคคลที่เขาขอร้องวิงวอนต่อผู้ให้ชะฟาอัตเป็นเพราะอำนาจที่เขามีนั้นมันยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาไปถึงเป้าหมาย
ดังนั้นเขาจึงผูกอำนาจของตนไว้กับอำนาจของผู้ให้ชะฟาอัต ซึ่งสุดท้ายมันย่อมส่งผลให้เขาได้ในสิ่งที่เขาต้องการมากมาย ถึงขั้นที่หากเขาไม่ทำเช่นนี้และใช้แต่อำนาจของตัวเองเท่านั้นเขาย่อมไปไม่ถึงเป้าหมาย เพราะอำนาจของตนมันยังมีข้อบกพร่อง อ่อนแอและไม่ยืนยง"
(อัลมีซาน เล่ม  หน้าที่ 157)                                                        

 ปรัชญาของชะฟาอัต
จะไม่มีสิ่งใดถูกกำหนดให้เป็นรากฐานในอิสลามยกเว้นว่ามีผลพวง บารากัตและความเหมาะสมเกิดขึ้น ชะฟาอัต
เองก็เช่นกันที่มีผลพวงและบารากัตมากมาย ด้วยเหตุนี้
อัลกุรอานจึงให้ความสำคัญและมีการกล่าวถึงประเด็นนี้ไว้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บทลงโทษของพระผู้เป็นเจ้าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้า ไม่ได้เกิดจากการแก้แค้นจากพระองค์
แต่อย่างใดแต่ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นคือเครื่องค้ำประกันสำหรับมนุษย์ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และให้พวกเขาพบกับความเจริญก้าวหน้าและความสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้
สิ่งใดก็ตามเป็นตัวบั่นทอนเครื่องค้ำประกันนี้ก็ควรต้องหลีกเหลี่ยงเพื่อไม่ให้ความกล้าและเหิมเกริมที่จะทำบาปของประชาชนเกิดขึ้น ในทางกลับกันก็ไม่ควรปิดกั้นหนทางในการกลับตัวและแก้ไขปรับปรุงอย่างเต็มรูปแบบสำหรับ
ผู้กระทำบาปแต่ให้ความหวังกับพวกเขาในการปรับปรุงแก้ไขและกลับไปหาพระเจ้าและความยำเกรง
ชะฟาอัต ในความหมายที่ถูกต้องคือการรักษาความสมดุลดังกล่าวนั้นเอง เป็นเครื่องมือในการกลับตัวของคนบาปและทำผิด  แต่ความหมายที่ไม่ถูกต้องคือการเป็นปัจจัยส่งเสริมและกล้าในการทำบาป      

 เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดสำหรับชะฟาอัต
โองการและฮะดีษต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชะฟาอัตทำให้เราเข้าใจได้ว่าเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดสำหรับการให้ชะฟาอัต
คือ การอนุญาตและความพึงพอใจของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดก็ตามที่มีความหวังต่อชะฟาอัต เขาต้องได้รับความพึงพอใจและอนุญาตจากพระองค์เสียก่อนอีกทั้งมีการกระทำที่เป็นที่ยอมรับของพระผู้สร้างผู้ทรงเอกะ
ในซูเราะฮ์อันบิยาอ์/28 พระองค์ตรัสว่า
وَ لا یشْفَعُونَ إِلَّا لِمَنِ ارْتَضى‌
“และพวกเขาจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย”
หรือในซูเราะฮ์ ฏอฮา/109  
يَوْمَئِذٍ لَّا تَنفَعُ الشَّفَاعَةُ إِلَّا مَنْ أَذِنَ لَهُ الرَّحْمَٰنُ وَرَضِيَ لَهُ قَوْلًا
“วันนั้น การชะฟาอะฮ์ จะไม่เกิดประโยชน์อันใด นอกจากผู้ที่พระผู้ทรงกรุณาปรานีทรงอนุญาตแก่เขา และพระองค์ทรงพอพระทัยในคำพูดของเขาเท่านั้น”
ท่านอิมามศอดิก(อ) กล่าวว่า
«فَمَنْ سَرَّهُ أَنْ تَنْفَعَهُ شَفَاعَةُ الشَّافِعِینَ عِنْدَ اللَّهِ فَلْیطْلُبْ إِلَى اللَّهِ أَنْ یرْضَى عَنْه
شیخ کلینی، کافی، ج8، ص11.
“ใครก็ตามที่ต้องการได้รับประโยชน์จากการชะฟาอัตของบรรดาผู้ให้ชะฟาอัต ณ.เอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาต้องทำให้พระองค์พึงพอใจในตัวเขา”

ขอขอบคุณ ข้อมูล Almahdiyah Student Club Thailand

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม