เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความสำคัญของ “ความรู้” ในอิสลาม

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


ความสำคัญของ “ความรู้” ในอิสลาม

 

คุณค่าของผู้คนอยู่ที่ความรู้และวิทยาการ การเรียนรู้เป็นหน้าที่โดยทั่วไปและสำหรับมุสลิมทุกคนเป็นกิจที่ต้องทำ

อิสลามคือศาสนาแห่งความรู้และศิลปะวิทยาการ ต้องการให้มุสลิมมีความพยายามและขวนขวายอย่างเอาจริงเอาจังต่อการแสวงหาความรู้ อิสลามมีทัศนะว่า คุณค่าของผู้คนอยู่ที่ความรู้และวิทยาการ การเรียนรู้เป็นหน้าที่โดยทั่วไปและสำหรับมุสลิมทุกคนเป็นกิจที่ต้องทำ อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสในอัลกุรอานว่า   “จงกล่าวบอกไป บรรดาผู้มีความรู้จะเท่าเทียมกับบรรดาผู้ไม่มีความรู้อย่างนั้นหรือ? อันที่จริงบรรดาผู้มีปัญญาอันลุ่มลึกนั้นจะได้คิดใคร่ครวญ” (อัซซุมัร / 9)

“อัลลอฮ์จะทรงยกสถานะบรรดาผู้มีศรัทธาในหมู่พวกเจ้าและบรรดาผู้ที่ได้รับความรู้ในหลายฐานันดร อัลลอฮ์คือผู้ทรงรู้แจ้งสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่“ (อัลมุญาดะละฮ์ / 11)

ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) มีวจนะธรรมว่า “การแสวงหาความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งชายและหญิง”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 1 หน้าที่ 177)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) มีวจนะธรรมว่า “บุคคลที่มีความรู้ที่สุดก็คือคนที่ใช้ประโยชน์จากการรับรู้ของผู้อื่นและเสริมเข้ากับความรู้ของตนเอง บุคคลที่มีค่าที่สุดก็คือคนที่การกระทำของเขามีมากสุดและบุคคลที่ไร้ค่าที่สุดก็คือคนที่รู้น้อยกว่าคนอื่น”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 1 หน้าที่ 164)

ท่านอิมามอะลี (อ.) มีวจีธรรมว่า “ไม่มีขุมทรัพย์ใดดียิ่งไปกว่าความรู้” (บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 1 หน้าที่ 165)

ท่านอิมามซอดิก (อ.) มีวจีธรรมว่า “ฉันไม่ชอบที่จะให้เยาวชนของพวกท่านอยู่ในสภาพอื่นใดนอกจากหนึ่งในสองสภาพนี้คือไม่เป็นผู้รู้ก็เป็นผู้เรียนรู้ถ้าไม่เป็นเช่นนี้ก็เท่ากับพวกเขาได้ละเลยไปแล้วและถ้าพวกเขาได้ละเลยไป อายุขัยของพวกเขาก็ได้สูญเสียไปแล้ว และใครก็ตามที่ทำให้อายุขัยของเขาเสียเปล่าไป ก็ถือว่าเป็นคนบาปและต้องเข้าสู่ไฟนรก”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 1 หน้าที่ 170)

ท่านอิมามบาเกร (อ.) มีวจีธรรมว่า “บุคคลใดที่แสวงหาความรู้ทั้งกลางคืนกลางวัน เขาได้อยู่ภายใต้ความการุณย์ของพระเจ้าแล้ว”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 1 หน้าที่ 174)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ็อลฯ)มีวจนะธรรมต่อท่านอะบูซัรว่า“หนึ่งชั่วโมงที่นั่งในที่ชุมนุมความรู้ณ อัลลอฮ์(ซบ.) ดียิ่งกว่าหนึ่งพันคืนแห่งการทำอิบาดะฮ์ซึ่งในแต่ละคืนนั้นมีการนมาซถึงหนึ่งพันเราะกะอะฮ์”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 1 หน้าที่ 203)
ขอขอบคุณ เว็บไซต์เลิฟฮุเซน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม