อิบาดะฮ์กับวิลายะฮ์
อิบาดะฮ์กับวิลายะฮ์
อิบาดะฮฺมีคุณค่าต่อเมื่อ มิใช่อิบาดะฮฺขั้นพื้นฐานธรรมดา แต่ต้องเป็นอิบาดะฮฺที่ปฏิบัติบนพื้นฐานของการรู้จักผู้นำ และอำนาจของเขาพร้อมทั้งมีความนอบน้อมถ่อมตนและมีมารยาทเฉพาะตัว
อิมามอะลี (อ.) ต้องเผชิญกับกลุ่มชนที่เคร่งครัดต่อนมาซ และถือว่านมาซนั้นศักดิ์สิทธิ์ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า หน้าผากของพวกเขาด้านหนา อันเป็นผลมาจากการทำสัจญะดะฮฺมากคนกลุ่มนี้รู้จักกันในนามของพวกมาริกีน และพวกคอวาริจญ์ ซึ่งต่อมาพวกเขาได้เป็นปรปักษ์ กับท่านอิมาม (อ.) และถือดาบเข้าเผชิญหน้าด้วย ริวายะฮฺได้กล่าวไว้เช่นกันว่า “เมื่อท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) ได้ปรากฏตัวออกมาจะมีประชาชนจากมัสญิด ทำการเคลื่อนไหวต่อต้านท่าน
โปรดอย่าได้คิดว่าเหล่าทหารของยะซีด (ขออัลลอฮฺสาปแช่งเขา) ที่ไล่สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในแผ่นดินกัรบะลา จงเป็นผู้ละทิ้งนมาซ ตรงกันข้ามพวกเขามีความเคร่งครัดต่อนมาซญะมาอัตอย่างยิ่ง เพียงแต่ว่าผู้นำนมาซพวกเขา เป็นมุอาวิยะฮฺและยะซีดเท่านั้น
แน่นอนอิบาดะฮฺที่อยู่บนพื้นฐานของความโง่เขลาแม้แต่การสังหารบ่าวที่ดีที่สุด เฉกเช่นท่านอิมามอะลี (อ.) ในเมหฺรอม พวกเขาถือว่าเป็นอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ฉะนั้นในค่ำลัยละตุ้ลก็อดรฺก่อนลงมือสังหารท่านอิมามอะลี(อ.) พวกเขาได้เนียตว่า “กรุบะตันอิลั้ลลอฮฺ (เพื่อแสดงความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ)
มิใช่นมาซเพียงอย่างเดียวที่ต้องรู้จักว่าใครคือผู้นำที่ถูกต้อง และเป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามเขา อิบาดะฮฺอื่นๆก็เช่นเดียวกัน ริวายะฮฺกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กำหนดให้หัจญ์เป็นวาญิบสำหรับมุสลิม เพื่อให้ประชาชนได้มารวมตัวกัน ที่กะอฺบะฮฺ และ ณ สถานที่แห่งนี้พวกเขาจะได้มีโองการติดต่อและเยี่ยม คารวะ อิมามของพวกเขา แต่ ณ วันนี้ผู้เดินทางไปแสวงบุญจำนวนนับล้านคน ซึ่งพวกเขาปราศจากผู้นำที่แท้จริง วิสัยทัศน์และอุดมการณ์จงจืดจางลง ขณะที่พวกเขามีศูนย์กลางเป็นของตนเอง มีการประชุมรวมกันอยู่ทุกปี แต่พวกเขากับมิได้ใช้ประโยชน์จากมัน ยังคงปล่อยให้ยิวไซออกนิสต์แทรกแซงในทุกกิจการงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ไล่เข่นฆ่าพี่น้องมุสลิมอยู่ทุกวันตาบจนปัจจุบัน
แน่นอนอิสลามคือ สังคมของความเป็นพี่น้องที่อาจแยกออกจากกันได้ ดังนั้นนมาซที่ปราศจากวิลายะฮฺ และนมาซที่ปราศจากการบริจาคซะกาต เป็นนมาซที่ไม่ถูกยอมรับ ส่วนการบริจาคที่ปราศจากนมาซก็ไม่ถูกยอมรับเช่นกันคำสั่งของอิสลาม เปรียบเหมือนอวัยวะของร่างกายที่ไม่อาจรับหน้าแทนกันและกันได้ เช่น ตาไม่อาจทำหน้าที่แทนหูและหูก็ไม่อาจทำหน้าที่แทนมือ อิสลาม ก็เช่นกัน นมาซไม่อาจแทนที่การบริจาคซะกาตได้และทั้งสอง ก็ไม่อาจแทนที่การญิฮาด (ต่อสู้บนวิถีทางของพระผู้เป็นเจ้า ) ได้เหมือนกัน เพราะทั้งหมดเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วคือ อิสลาม ซึ่งไม่อาจขาดอย่าหนึ่งอย่างใดไปได้
นมาซกับผู้นำ
แน่นอนหากนมาซถูกปฏิบัติโดยผู้นำที่ถูกต้อง อำนาจของบรรดาฏอฆูต และพวกฉ้อฉลทั้งหลายจะถูกสั่นคอน ดังเช่น ครั้งหนึ่งท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้มีโองการนำนมาซซึ่งเป็นการเริ่มต้นมีความยิ่งใหญ่ อันเป็นเหตุทำให้รัฐบาลที่กดขี่ของบนีอับบาสเกิดความระส่ำระสาย พวกเขาเข้าใจทันที่ว่าถ้าหากปล่อยให้ท่านอิมาม (อ.) นำนมาซจนจบราชวงศ์และการปกครองของเขาก็จะจบสิ้นได้ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้มะอฺมูนจึงได้ออกคำสั่งให้นำตัวท่านอิมามกลับกลางทาง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับราชวงศ์ของเขา
ฉะนั้นเหตุผลที่ว่า นมาซของมุสลิมทุกวันนี้ ไม่ส่งผลสะท้อนใดๆทั้งสิ้น เป็นเพราะว่า พวกเขาได้ปฏิบัติตามอัล-กุรอานเพียงครึ่งเดียวส่วนอีกครั้งได้ทอดทิ้งและหลงลืม อัล-กุรอานกล่าวว่า “พวกเจ้าจงดำรงนมาซ จงจ่ายซะกาต และจงภักดีต่อรอซูล” (อัน – นูร /๕๖)
ทุกวันนี้จะสังเกตเห็นว่า มุสลิมบางคนทำนมาซแต่ไม่จ่ายซะกาต บางคนทำทั้งสองอย่างแต่ยอมรับอำนาจของกาฟิร อีกความหมายหนึ่งก็คือ มีอีมานต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ไม่ยอมปฏิเสธพวกฏอฆูต ซึ่งอีมานประเภทนี้ถือว่าเป็นอิมานที่ไม่สมบูรณ์
ขณะที่อัลลอฮฺ (ซ.บ) ตรัสว่า “ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธฏอฆูตและมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺ เท่ากับเขาได้ยึดมั่นต่อสายเชือกที่มั่นคง” (อัล-บะกอเราะฮฺ /๒๕๖)
อัล-กุรอานต้องการบอกว่า การปฏิเสธฏอฆูต กับการมีอีมานต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ถือเป็นความจำเป็นแต่หน้าเสียดายที่ว่า วันนี้บรรดามุสลิมได้ลืมการประณามและสาปแช่งบรรดาผู้ปฏิเสธและมารร้ายไปจนหมดสิ้นด้วยเหตุนี้ อัล-กุรอานจึงกล่าวกับพวกที่ยอมจำนนต่อบรรดามารร้ายว่าพวกเขาคิดว่าพวกเขามีอีมาน
อัล-กุรอานกล่าวว่า
“เจ้าไม่สังเกตดอกหรือว่า บรรดาพวกที่อ้างตัวว่า พวกเขามีความศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานมายังเจ้า และสิ่งที่ถูกประทานมาก่อนหน้าเจ้า พวกเขามีความปรารถนาที่จะมอบหมายการตัดสิน (ในข้อพิพาท) แก่มารร้ายทั้งที่พวกเขาถูกบัญชาให้ปฏิเสธมัน” (อัน-นิ สาอฺ / ๖๐)