ทำไมต้องทำความรู้จักกับอิมามมะฮ์ดีย์

 

ทำไมต้องทำความรู้จักกับอิมามมะฮ์ดีย์

 

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ) วจนะในต่างกรรมต่างวาระว่า

مَنْ ماتَ وَ لَمْ يَعْرِفْ إمامَ زَمانِهِ مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّة

ใครที่ตายไปโดยไม่รู้จักอิมามในยุคสมัยของตน คนผู้นั้นตายไปในสภาพญาฮิลียะฮฺ หรืออนารยชน (ในบางสำนวนกล่าวว่าตายไปในสภาพกาฟิรฺชนผู้ปฏิเสธพระเจ้า)

หะดีษทำนองนี้มีปรากฏในตำราทั้งของพี่น้องสุนนีย์และชีอะฮฺ สำหรับชาวชีอะฮฺเชื่อว่าหะดีษนี้เกี่ยวข้องกับหลักศรัทธาใน “อิมามะฮฺ”

และได้พิสูจน์ให้ประจักษ์ว่าวาญิบที่ประชาชาตินี้จะต้องรู้จักและอิฏออัตต่ออิมามแห่งยุคสมัย

ในขณะที่พี่น้องอะฮฺลิสสุนนะฮฺเชื่อว่าหะดีษนี้เกี่ยวข้องกับประชาชนต่อการเชื่อฟัง “หากิมอิสลามีย์” หรือผู้นำอิสลาม และถือว่าวาญิบที่จะต้องให้บัยอัตสัตยาบันต่อผู้นำอีกด้วย....

ท่านอิมามมะฮฺดีย์ (อัจญะลัลลอฮุฟะเราะญะฮุจชรีฟ ขอพระองค์ทรงให้ท่านปรากฏโดยไวด้วยเทอญ) ได้วจนะว่า

“ท่านทั้งหลายพึงดุอาอ์ให้การปรากฏกายของฉันได้เป็นไปโดยไวด้วยเถิด เพราะดุอาอ์นั้นจะเปิดทางตันให้กับท่านทั้งหลาย”

อัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือมุอ์มินผู้ศรัทธาที่ให้การใช้เหลือมุอ์มินผู้ศรัทธาด้วยกัน

ใครที่ให้ความช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากลำบากให้กับมุอ์มินผู้ศรัทธา อัลลอฮฺก็จะทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากลำบากให้กับเขาเช่นกัน และจะทรงประทานเราะห์มะฮฺความเมตตา ๗๒ ประการให้กับเขา

เมื่อมุอ์มินผู้ศรัทธาได้วิงวอนขอดุอาอ์ให้กับ “หุจญะตุลลอฮฺ (อลัยฮิสสลาม) ด้วยหัวใจที่ใสบริสุทธิ์และด้วยความวิตกห่วงใยในความเป็นอยู่ของผู้เป็น “หลักฐานและข้อพิสูจน์สุดท้ายของอัลลอฮฺ” นั่นก็เท่ากับว่าเราได้มีความห่วงใยในความทุกข์ความเดือดร้อนและการถูกทอดทิ้งถูกอธรรมของพี่น้องร่วมสายธารศรัทธาของเรานั่นเอง

เพราะเมื่อพระองค์ทรงประทานให้ท่านอิมามซะมาน อัลมะฮฺดีย์ (อัรฺวาหุนาละฮุลฟิดาอ์) มาปรากฏ ท่านจะมาขจัดปัดเป่าปัญหาความทุกข์ระทมของประชาชาติท่านศาสดา (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ) นั่นเอง

ดุอาอ์เพื่อขอให้พระองค์ทรงประทานให้ท่านอิมามซะมานมาปรากฏโดยพลัน

 بسم الله الرحمن الرحيم

 اِلهي عَظُمَ الْبَلاءُ ، وَبَرِحَ الْخَفاءُ ،

وَانْكَشَفَ الْغِطاءُ ، وَانْقَطَعَ الرَّجاءُ

و َضاقَتِ الاْرْضُ ، و َمُنِعَتِ السَّماءُ

و اَنْتَ الْمُسْتَعانُ ، وَاِلَيْكَ الْمُشْتَكى ،

وَعَلَيْكَ الْمُعَوَّلُ فِي الشِّدَّةِ والرَّخاءِ ؛

اَللّـهُمَّ صَلِّ عَلى مُحَمَّد وَآلِ مُحَمَّد ،

اُولِي الاْمْرِ الَّذينَ فَرَضْتَ عَلَيْنا طاعَتَهُمْ ،

وَعَرَّفْتَنا بِذلِكَ مَنْز ِلَتَهُم فَفَرِّ جْ عَنا بِحَقِّهِمْ فَرَجاً عا جِلاً قَريباً كَلَمْحِ الْبَصَرِ اَوْ هُوَ اَقْرَبُ ؛

يا مُحَمَّدُ يا عَلِيُّ يا عَلِيُّ يا مُحَمَّدُ

اِكْفِياني فَاِنَّكُما كافِيانِ ،

و َانْصُراني فَاِنَّكُما ناصِرانِ ؛

يا مَوْلانا يا صاحِبَ الزَّمانِ ؛

الْغَوْثَ الْغَوْثَ الْغَوْثَ ،

اَدْرِكْني اَدْرِكْني اَدْرِكْني ،

السّاعَةَ السّاعَةَ السّاعَةَ ،

الْعَجَلَ الْعَجَلَ الْعَجَل ؛

يا اَرْحَمَ الرّاحِمينَ ،

بِحَقِّ مُحَمَّد وَآلِهِ الطّاهِرينَ

ดุอาอ์ให้ท่านอิมามมะฮฺดีย์มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ (สะละมัตเราะห์มัต)

بسم الله الرحمن الرحيم

 اَللّهُمَّ كُنْ لِوَلِيِّكَ الْحُجَّةِ بْنِ الْحَسَنِ

صَلَواتُكَ عَلَيْهِ وَعَلى آبائِه

في هذِهِ السَّاعَةِ وَفي كُلِّ ساعَة

وَلِيّاً وَحافِظاً وَقائِداً وَناصِراً وَدَليلاً وَعَيْنا

حَتّى تُسْكِنَهُ اَرْضَكَ طَوْعاً وَتُمَتِّعَهُ فیها طویلا.

  التماس دعا.

   الّلهُــمَّ عَجِّــلْ لِوَلِیِّکَــــ الْفَــرَج.

مناقب ابن شهرآشوب، ج۱، ص۲۴۶؛

مکیال المکارم ، بخش بیست و یکم.

บทความโดย Risalah Qomi