เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่3)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่3)

 


ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี / เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์ / แปล
คำจำกัดความต่างๆ ของประชาธิปไตยที่ถูกนำเสนอขึ้นนั้นปราศจากข้อสงสัยอย่างนั้นหรือ?
แฮนติงตันกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า: เป็นการยากและมีข้อสงสัยมากมายสำหรับการให้นิยามประชาธิปไตย เมื่อต้องการที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอำนาจการปกครองหรือเป้าหมายของการปกครอง  เนื่องจากบนพื้นฐานของนิยามของเขาเกี่ยวกับประชาธิปไตยวางอยู่บนบรรทัดฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนและการแข่งขันในการลงสมัครเลือกตั้ง ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกานอกจากมีการโกงการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนเข้าร่วมการเลือกตั้งไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำและมันยิ่งบิดเบี้ยวเมื่อเปรียบเทียบกับการปกครองอย่างสาธารณะรัฐอิสลามแห่งอิหร่านซึ่งโดยทั่วไปแล้วประชาชนจะเข้าร่วมการเลือกตั้งมากกว่าสองในสาม  ดังนั้นความคิดนี้ไม่ถูกต้องที่คาดคิดว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกประสบกับปัญหาน้อยกว่าระหว่างวาทกรรมกับการปฏิบัติ
 ปัญหาอื่นๆ เช่น หากให้สิทธิ์เลือกตั้งแก่ผู้ใหญ่เท่านั้น (ตามที่เขากล่าวไว้ในคำจำกัดความ) ก็เท่ากับไม่รักษาสิทธิ์ของเยาวชนและผู้สูงอายุ เพราะเราจะเผชิญกับคำถามนี้ทันทีว่าในสังคมประชาธิปไตย อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างคนที่อยู่ในสถานที่เพื่อออกเสียงเลือกตั้งกับคนที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่เพื่อออกเสียงเลือกตั้ง ผู้ใหญ่ เยาวชนและผู้สูงอายุ?! พวกเขาเป็นตัวแทนหรือมีอำนาจหรือไม่ใช่สักอย่างนี้?!
 โจวันนี ซาร์โทรี(Giovanni Sartori )กล่าวต่อประโยคที่เบื้องต้นได้รายงานจากเขาว่า:
 หากจะพูดถึงรากศัพท์ของคำแล้ว เป็นการดีกว่าที่เราจะกล่าวว่า ยังไม่มีความหมายที่ละเอียดอ่อนของคำสำหรับการปกครองในรูปแบบนี้ แน่นอนว่ามีสโลแกน วาทกรรมต่างๆ และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เต็มไปด้วยการกล่าวอ้างด้วยปากและคุยโวเกินจริงเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ว่าจำเป็นต้องเกิดขึ้นจากพวกเขาและเพื่อพวกเขา แต่ไม่มีสักที่ในโลกนี้ที่ประชาชนพลเรือนจะมีอำนาจอธิปไตยในแต่ละวันและอยู่ในมือของพวกเขาโดยตรงแม้แต่ในเมืองเล็กๆ แถบหุบเขาอย่างสมาพันธ์รัฐสวิส (Swiss Confederation) ที่ประชาชนจะออกมาเลือกตั้งไม่เกินหนึ่งครั้งในรอบปี โดยในระหว่างนี้พวกเขาได้มอบสิทธิ์การปกครองไว้ให้แก่บรรดาผู้แทนปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ
 ประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีรูปแบบของโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งแน่นอนว่าอำนาจอธิปไตยมักเป็นนามธรรมที่ถูกอ้างถึงยังประชาชน และหากสมมติว่าอำนาจเป็นเพียงนามและนำมาปฏิบัติใช้จนเกิดประโยชน์สำหรับพวกเขา แต่อำนาจที่แท้จริงและชัดเจนไม่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของพวกเขา ทว่าอยู่ในกรรมสิทธิ์ของบรรดาผู้ปกครองที่เลือกเข้ามา
 ส่วนคำถามที่ว่าประชาธิปไตยมีฝ่ายตรงข้ามด้วยหรือไม่? นั้นอยู่ในที่ของมัน ทว่าวอลแตร์ (Voltaire)กล่าวว่า: “ฉันรักที่จะเชื่อฟังปฏิบัติตามสิงโตดีที่แข็งแรงกว่าฉันมากกว่าตามหนูสองร้อยตัวที่เหมือนกับฉัน”  วาทกรรมเช่นนี้และวาทกรรมที่พูดถึงกันมากนั้นบ่งบอกถึงการคัดค้าน อย่างไรก็ตามเรายังไม่ต้องการที่จะนำเสนอเกี่ยวกับวาทกรรมของฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตยซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย ทว่าเราจะพยายามสุดความสามารถที่จะกล่าวถึงประเด็นต่างๆ ที่ยังคลุมเครือเกี่ยวกับการให้คำจำกัดความต่างๆ
วาทกรรมนี้ถูกต้องหรือไม่ที่ว่า “ประชาธิปไตยมีความหมายที่ขัดแย้งกัน”?
คาร์ล คูห์น เขียนไว้ภายใต้หัวข้อ “มุมมองที่เป็นโมฆะของการปกครองตนเอง”ว่า:มุมมองหนึ่ง ถือว่าเป็นวาทกรรมเสมือนจริงที่เราจะกล่าวว่าประชาธิปไตยคือการปกครองที่ประชาชนปกครองตนเอง กล่าวคือ ประชาชนเป็นผู้ปกครอง เพราะความหมายของ “การปกครอง” และ “ผู้ปกครอง” นั้นมีความสัมพันธ์กัน ไม่มีการปกครองใดที่ปราศจากผู้ปกครองและไม่มีผู้ปกครองใดที่ปราศจากการปกครอง จากนั้นเขาได้ยกคำกล่าวของจอห์น สจ๊วต มิลล์(John Stuart Mill)และท่านอื่น จอห์นได้เพิ่มความขัดแย้งนี้มากขึ้น เขากล่าวว่า:
 “ตอนนี้รู้แล้วว่าวาทกรรมต่างๆ เช่น “การปกครองของประชาชน” และ “อำนาจแห่งการ สร้างสรรค์เหนือตัวพวกเขาเอง” นั้นไม่ได้อธิบายถึงความจริงแท้ของมัน เป็นเช่นนี้เสมอมาที่ว่า “ประชาชน” ที่มีอำนาจ ไม่ใช่ประชาชนที่ใช้อำนาจ
วอลเตอร์ ลิพพ์มานน์ (Walter Lippmann) ได้กล่าวในศตวรรษต่อมาว่า:
 “ประชาชน...ไม่อาจทำอะไรได้ และโดยทั่วไปแล้วไม่สามารถที่จะมีหน้าที่วางแผนและ เสนอกฎหมายที่จำเป็นได้ มวลชนไม่สามารถปกครองได้”
บ้างก็กล่าวว่า: “การปกครองของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน”เป็นเพียงสโลแกนการโฆษณาชวนเชื่อเท่านั้น  ในขณะที่ คูห์น พยายามที่จะนำเสนอเนื้อหาต่อ เพื่อเป็นการเชื่อมระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ ด้วยเหตุนี้เขาพยายามตั้งชื่อ “การบริหารจัดการตนเอง”ให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตยเพื่อจะได้ดูไม่งี่เง่าในการปกป้องประชาธิปไตย การเผยความเป็นโมฆะหรือแก้ปัญหาการเป็นปฏิทัศน์ (Paradox)ของมัน ผู้เขียนประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความย้อนแย้งนี้หรือไม่อย่างไร ทว่าเบื้องต้นเขาไม่ได้ปกปิดความขัดแย้งของเขากับบางคำจำกัดความของประชาธิปไตย เขาเชื่อว่าคำจำกัดความสั้นๆ ที่ได้อธิบายถึงคำนี้ เช่น: “การปกครองที่วางอยู่บนฐานของความพึงพอใจ” “การปกครองของคนส่วนมาก” “การปกครองด้วยสิทธิเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน” “การปกครองของประชาชน” และคำจำกัดความในลักษณะนี้ ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เขากล่าวว่า:
 “คำจำกัดความที่สั้นและมีดีนี้ โดยทั่วไปแล้วจะไม่ผิดพลาด แต่ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึง หัวใจของเนื้อหา ทุกครั้งที่เราทำการวิพากษ์วิจารณ์การให้คำจำกัดความเช่นนี้ ความไม่ ถูกต้องของมันก็ชัดเจนขึ้น เป็นที่พึงพอใจของใคร? พึงพอใจในเรื่องใด?  สิทธิที่เท่า เทียมกันในเรื่องใด? อะไรที่เป็นปัจจัยให้เกิดความพึงพอใจและสิทธิที่เท่าเทียมกัน?  อธิปไตยคืออะไร? และเมื่อไรที่ประชาชนจะได้เป็นเจ้าของ? การปกครองโดยผ่านคน ส่วนมากนั้นคือใครกัน? การปกครองโดยคนส่วนมากนั้นคือประชาธิปไตยเสมอไป หรือไม่? และการตัดสินใจต่างๆ ของระบอบประชาธิปไตยต้องได้รับการอนุมัติจากคน ส่วนมากเสมอไปหรือไม่?
 แน่นอนว่าระหว่างการปกครอง(เพื่อ)ประชาชนกับการปกครอง(โดยประชาชน) นั้นย่อม มีความแตกต่างกัน เราจะพูดอย่างไรได้สำหรับการปกครองที่มีหนึ่งเดียวนี้เท่านั้นอื่น จากนี้ไม่ใช่ การปกครองของประชาชนเกิดขึ้นที่ไหนกัน? ยังมีปริศนาแบบนี้อีก มากมาย”
เดวิด เฮลด์ (David Jonathan Andrew Held) ก็เชื่อเหมือนกับคูห์น เช่นกันว่า “การปกครองโดยประชาชน เป็นไปได้ที่อาจจะดูว่าเป็นความหมายที่ปราศจากความคลุมเครือ แต่ภายนอกมักจะเป็นตัวทำให้หลงทางเสมอ ประวัติแนวคิดประชาธิปไตยนั้นซับซ้อนซึ่งบ่งชี้ถึงผลรับที่ย้อนแย้งกัน พื้นที่ของความขัดแย้งกว้างมาก อันที่จริงแล้วทุกองค์ประกอบของประโยคข้างต้นนั้นมีปัญหาในคำจำกัดความร่วมอยู่ด้วย คำว่า “การปกครอง” “การปกครองโดย” และ “ประชาชน” มีความหมายว่าอย่างไร? หากเราเริ่มจากความคลุมเครือที่มีอยู่ในคำว่า “ประชาชน” ใครที่ต้องถือว่าเป็น “ประชาชน” ตามที่คิดไว้พวกเขามีส่วนร่วมประเภทไหน?  อย่างน้อยมีอีกกว่า 16 คำถามที่เดวิด เฮลด์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาและความคลุมเครือต่างๆที่มีอยู่ในประชาธิปไตย เขากล่าวว่า: “...ทั้งหมดนี้และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย บ่งชี้ว่าคำจำกัดความของประชาธิปไตยยังไม่มั่นคง และคาดว่าจะไม่มั่นคงได้เลย”
สามารถนำเสนอประชาธิปไตยในคำจำกัดความเดียวและเฉพาะได้หรือไม่? (ติดตามตอนที่4)

 

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม