ชะฮาดัตท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)
ชะฮาดัตท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)
บรรยายโดย ซัยยิดะฮ์ บุชรอฮุซัยนี
เริ่มต้นด้วยซูเราะฮ์ฟุตศิลัต / โองการที่33
وَمَنْ أَحْسَنُ قَوْلًا مِّمَّن دَعَا إِلَى اللَّهِ وَعَمِلَ صَالِحًا وَقَالَ إِنَّنِي مِنَ الْمُسْلِمِينَ
และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ และเขาปฏิบัติการงานอันดีงาม และเขากล่าวว่า แท้จริงฉันคือหนึ่งในบรรดาผู้ที่ยอมจำนน
ขอกล่าวแสดงความเสียใจเนื่องด้วยวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านอิมามญะฟัร ศอดิก(อ.)อิมามท่านที่หกแห่งโลกชีอะห์
السلام علیک ایها الامام الصادق
السلام عليک ایها الوصی الناس
السلام عليک لسان الناطقین
السلام علیک یازعیم الصادقین الصالحین
สลามยังอิมามแห่งบากิอฺที่แสนเจ็บปวด
สลามยังมะดีนะฮ์อันมืดมิดที่แสนรวดร้าว
สลามจากชาวชีอะห์ ส่งกราบแทบเท้า
ผ่านสายลมและดวงดาวให้ช่วยกล่าวสลาม
ใกล้ๆท่าน แทนข้าที
อินชาอัลลอฮ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสักวันหนึ่งเราจะได้รวมตัวกันที่ สุสานบากิอฺ ณ เมืองมะดีนะฮ์ และได้ทำการซิยารัตบรรดาอิมามที่ร่างของพวกท่านนั้นถูกฝังอยู่
ณ เมืองแห่งนั้น
ท่านอิมามญะฟัร ศอดิก(อ.)
ถือเป็นอิมามท่านที่หก ของบรรดาชีอะห์อิมามียะห์บิดาของท่านคือ อิมามมุฮัมมัด บาเก็ร(อ.) มารดาของท่านมีนามว่า อุมมุลฟัรวะฮ์
ท่านมีฉายานาม อย่างมากมาย ที่ความหมายของฉายาเหล่านั้น ล้วนแล้วมีนัยยะและมีปรัชญาที่สำคัญทั้งสิ้น แต่ฉายานามที่เป็นที่โด่งดังที่สุด
ที่บรรดาอาอิมมะฮ์มะศูมมีนเองก็เอื้อนเอ่ยเรียก ฉายานามนี้ นั่นก็คือ "ญะฟัร อัศศอดิก"(อ.)
ความหมายของคำว่า "อัศศอดิก"
ฉายานามนี้ อยู่ในรูปแบบ อิสมุลฟาอิล
คำว่า"อัศศอดิก" ให้ความหมายว่า
ความมั่นคง และความแข็งแกร่งที่ครบถ้วน
ซึ่งถ้าเฉพาะคำว่า"ศอดิก" นั้นหมายถึง
ความสัจจริง ความซื่อสัตย์
ที่มาของความหมาย
"ความมั่นคง และความแข็งแกร่งที่ครบถ้วน"
เนื่องจากว่า คำพูดที่ซื่อสัตย์คำพูดที่สัจจริง
จะทรงไว้ซึ่งความแข็งแกร่ง และความมั่นคง
ด้วยเหตุนี้ในวิชาด้านไวยากรณ์อาหรับ จึงเรียกคำพูดที่สัจจริงว่า "ศอดิก" จึงบอกถึงความแข็งแกร่งและความมั่นคง ของคำพูดนั้นๆ ที่ตรงข้ามกับคำพูดปดมดเท็จ เพราะฉะนั้นคำพูดใดก็ตามการตั้งใจใดก็ตามหรือการกระทำใดก็ตามที่เป็นการกระทำที่อยู่บนรากฐานของความแข็งแกร่งและความมั่นคง สามารถจะเรียกได้ว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ศอดิก
เมื่อฉายานามนี้ถูกเรียกขานแก่ท่าน อิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) นั่นก็หมายความว่า การงานของท่าน และบุคลิกภาพพิเศษที่มีในตัวของท่าน นั่นคือความแข็งแกร่งและความมั่นคงในการปฏิบัติหน้าที่นั่นเอง
ตำแหน่งการเป็นอิมาม
ตำแหน่งการเป็นอิมามของท่าน ท่านได้รับการยืนยันและได้รับการแต่งตั้งจากอิมาม(อ.)ก่อนหน้านี้ ดังนั้นจึงมีริวายัตที่รายงานจาก
"มุฮัมมัด บิน มุสลิม" ที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือ
อะวาลิมุลอุลูม
เกี่ยวกับการเล่าขานถึงการแต่งตั้งการเป็นอิมามของท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)
วันหนึ่งมุฮัมมัด บิน มุสลิม ได้นั่งอยู่กับท่านอิมาม
มุฮัมมัด บาเก็ร(อ.)และท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)ได้เข้ามา และอิมามมุฮัมมัดบาเก็ร(อ.)
ได้โอบกอดท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) และได้กล่าวกับมุฮัมมัด บิน มุสลิม ว่า โอ้มุฮัมมัด!
นี่คือนายผู้ชี้นำของเจ้า จงปฏิบัติตามเขาภายหลังจากฉัน และจงกอบโกยวิชาความรู้ จากเขาคนนี้
ขอสาบานด้วยนามของพระองค์อัลลอฮ์(ซบ.) เขาคนนี้คือญะฟัร อัศศอดิก(อ.) ที่ท่านศาสดาเคยแจ้งข่าวดีนี้แก่เราว่า
“ชีอะห์ของเขาจะได้รับชัยชนะทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์ และศัตรูของเขาจะได้รับการสาปแช่ง ทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์”
ซึ่งเรามีฮะดิษในลักษณะนี้จำนวนมากในตำราวิชาการของชีอะห์ ฮะดิษ ลักษณะนี้นอกจากจะยืนยันและบ่งชี้ถึงตำแหน่ง ที่ชัดเจนในความเป็น
อิมาม ของท่านอิมามท่านต่อไปภายหลังจากท่าน
อิมามมุฮัมมัด บาเก็รและความสำคัญในการเป็นชีอะห์ของอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)
และยังบ่งชี้ให้เห็นถึงกลุ่มคนที่ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับมะศูมีน(อ.)ว่าเป็นอย่างไรด้วยเช่นกัน
️เรื่องราวในช่วงเยาว์วัยของท่านอิมาม(อ.)
เมื่อเราทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวในช่วงเยาว์วัยของท่านเราก็จะพบกับความพิเศษ แล้วทำให้เราได้เห็นภาพว่าด้วยเหตุใด ท่านจึงมีบุคลิกภาพที่โดดเด่นและงดดงามเหมือนบรรดามะศูมมีน
ท่านอื่นๆในทุกท่าน
- ตัวอย่างความโดดเด่นในเรื่องราววิชาการความรู้ ท่านเป็นผู้ที่มีความโดดเด่นในเรื่องราวทางด้านวิชาการอย่างชัดเจน
ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับท่านอิมามสัจญาด(อ.)ผู้เป็นปู่ของท่าน
ในรายงานประวัติศาสตร์ได้ยืนยันว่า
ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) มีโอกาสได้ใช้ชีวิตร่วมสมัยกับท่านอิมามสัจญาด(อ.)เป็นระยะเวลา12ปีด้วยกัน
เป็นช่วงเวลาที่ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) ได้เห็นยุทธศาสตร์ในการปกครองของท่าน
อิมามสัจญาด(อ.)
ภายหลังจากนั้น 19 ปี ท่านมีโอกาสได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับผู้เป็นบิดาของท่าน ท่านอิมามมุฮัมมัด
บาเก็ร(อ.) และได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์ในการปกครองและวิถีการเผยแพร่ศาสนาจากบิดาของท่านในลักษณะของการเคียงบ่าเคียงไหล่
เเละช่วยเหลือเคียงข้างผู้เป็นบิดาของท่านมาโดยตลอด
และในขณะเดียวกันท่านอิมามมุฮัมมัด
บาเก็ร(อ.)นั้นเป็นผู้ปูพื้นฐาน และถากถางทางเพื่อให้เอื้อต่อยุคสมัยของท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) ด้วยเหตุนี้เองภายหลังจากการจากไปของบิดา ท่านจึงสามารถดำรงตำแหน่งและสานต่อการงานของผู้เป็นบิดาได้เป็นอย่างดี
️ความสมบูรณ์สูงสุดทางด้านวิชาการกับอัคลาก
ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) มีความงดงาม
ทางด้านอัคลากเป็นอย่างมาก และบุคลิกภาพของท่านก็เป็นบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับยุคสมัยของท่าน
- สายรายงานจากประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า
การเข้าสังคมและการคบค้าสมาคมของท่าน
อิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) กับบุคคลต่างๆมีความคล้ายคลึงกับท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นอย่างมาก ท่านจะให้ความสำคัญกับเรื่องราวของการแต่งกายและดูแลความสะอาดทั้งภายนอกและภายในเป็นอย่างดี
- บางรายงานจากประวัติศาสตร์ได้รายงานว่าท่านจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดเอาไว้ภายนอก และสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหยาบเอาไว้อีกชั้นนึงภายใน
(คงไว้ซึ่งความสัมถะ)
️ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)เป็นหนึ่งใน
อิมามที่มีอายุยืนยาวที่สุดในบรรดาอิมาม(อ.)
เนื่องจากว่าท่านมีอายุถึง 65ปี
อีกฉายานามของท่านคือ (شيخ الأئمة )
"ผู้เฒ่าแห่งบรรดาอะอิมมะฮ์"
️นามของท่านอิมาม ถูกนำมาตั้งเป็นนาม
ของมัซฮับ นามว่า “มัซฮับญะฟะรียะฮ์”
สืบเนื่องมาจากบทบาทการดำเนินงานของท่านนั้นจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการฟื้นฟูส่งเสริมพัฒนา
ในลักษณะบูรณาการ เรื่องราวของศาสนา
️ องค์ประกอบพิเศษที่ทำให้ท่านอิมาม(อ.)
ใช้โอกาสทองในยุคของท่านในการเผยแพร่ศาสนา
ลักษณะในการเผยแพร่ศาสนาของท่านอิมาม
- การสร้างวัฒนธรรมในการเผยแพร่ในลักษณะใหม่ คือ
การเผยแพร่ศาสนาในเชิงรุกอย่างแข็งขันเป็นอย่างมาก ท่านริเริ่มสร้างสำนักคิดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมในยุคสมัยของท่านนั่นคือ การญิฮาดเชิงวัฒนธรรม
จนเป็นที่มาของชื่อ มัซฮับญะฟะรียะฮ์
ท่านได้นำวิชาการทางศาสนาอิสลามที่เเท้จริง อิสลามดั้งเดิมกลับมาอีกครั้งนึง
ที่มาของแขนงศาสตร์ต่างๆเช่น
- อัคลาก
- ฟิกฮ์
- ตัฟซีร และอื่นๆ
สืบเนื่องมาจากความยิ่งใหญ่ทางวิชาการของท่าน
อิมามญะฟัร อัศศอดิก (อ.) ทั้งสิ้น
แม้กระทั่งนักวิชาการขั้นสูงในยุคนั้น เช่น
อบูฮะนีฟะฮ์ ก็ขอเข้ามาเรียนรู้เป็นลูกศิษย์ของ
ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)ด้วยเช่นกัน
หรือการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการความรู้ระหว่าง
ท่านอิมาม(อ.)กับนักวิชาการศาสนิกอีกมากมาย
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า อิทธิพลด้านวิชาการและแนวคิดของชีอะห์อิมามียะห์ในยุคสมัยของ
ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.)ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก
ถึงขั้นที่ท่านอิมาม(อ.)มีลูกศิษย์อย่างรวดเร็วถึง
"สี่พัน"คน ในยุคสมัยของท่าน
️คำแนะนำสำหรับสานุศิษย์ของท่านเกี่ยวกับการนำวิชาการไปต่อยอด
เพื่อให้วิชาการทางศาสนานั้น ถูกจัดสรรให้เป็นโครงสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวความสำคัญต่างๆเช่น
1. ทัศนะของมัซฮับชีอะห์มีทัศนะรายละเอียดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องราวประเด็นนั้นๆ
และมัซอื่นๆมีทัศนะรายละเอียดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องราวประเด็นนั้นๆ
2.อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ว่าอย่างไร
และฮะดิษทั้งหลายมีคำอธิบายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆเหล่านี้ไว้อย่างไร
เรื่องราวของข้อพึงปฏิบัติฮุกุ่ม อะฮ์กามต่างๆ
ท่านอิมามได้ทำการจัดตั้งเป็นแขนงวิชาขึ้นมาอย่างเป็นรูปปธรรมชัดเจน
เช่น ฟิกฮ์ ตัฟซีร ฯลฯ
3. การแบ่งเขตความถูกต้องของแนวคิด ให้มีจุดจบที่เป็นเขตแดน ของความโมฆะของแนวคิด