เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

หลัก ตะกียะฮ์ ที่มีระบุไว้ในอัล-กุรอ่าน

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

หลัก ตะกียะฮ์ ที่มีระบุไว้ในอัล-กุรอ่าน


มีจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนสำหรับการสนทนาเชิงวิเคราะห์กันในหมู่มุสลิมระหว่างชาวชีอะห์และชาวซุนนี่ห์ และได้มีการพยายามทำความเข้าใจกับพวกเขาว่า หลัก ตะกียะฮ์ นั้นมิใช่ลักษณะ ของการหน้าไหว้หลังหลอก แต่บรรดาพี่น้องชาวซุนนะฮ์ก็มิได้ยอมรับ ทั้งนี้ก็เพราะทัศนคติในเชิงถือฝักถือฝ่ายในเรื่องมัซฮับเข้ามามีอิทธิพลกับพวกเขา

แน่นอนว่า ตะกียะฮ์ กับ นิฟาก มีความหมายต่างกันราว “ฟ้ากับเหว”, “ขาวกับดำ”, “นรกกับสวรรค์” เลยทีเดียวเชียว เพราะ

“มุนาฟิก” คือ กลับกลอกหลอกลวง

“ตะกียะฮ์” คือ การอำพราง ปิดบังความจริง

“มุนาฟิก” คือการโกหกหลอกลวง “อัลลอฮ์”

“ตะกียะฮ์” คือการอำพรางความจริงต่อ “ศัตรูของอัลลอฮ์”

การโกหกหลอกลวงอัลลอฮ์ เป็นความผิดร้ายแรง และนรกเท่านั้นสำหรับเขา… (นอกจากเขาจะเตาบัตและกลับตัว)

การโกหก และอำพรางความจริงต่อศัตรูของอัลลอฮ์ ในยามคับขันเพื่อรักษาชีวิต เป็นความถูกต้อง และจำเป็นสำหรับเขา เขาจึงได้รับการอภัยจากอัลลอฮ์..

ตัวอย่างของ “มุนาฟิก” และ “ตะกียะฮ์”

คนกลุ่มหนึ่ง เมื่ออยู่ต่อหน้าท่านศาสดา ศ. เขาแสดงตัวว่าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. แต่เมื่อท่านศาสดา ศ. ไม่อยู่หรือจากไปแล้ว เขากลับไปเป็นแบบเดิมที่เขาเคยเป็น คือไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. … นั่นคือ “มุนาฟิก”

แต่ตะกียะฮ์ มีระบุไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอ่าน เช่น เรื่องราวของ อัมมาร บิน ยาซีร หรือท่านอื่นๆ เป็นต้น

หลักตะกียะฮ์ถูกกล่าวไว้ใน อายะฮ์ 106 ซูเราะห์อัน-นะฮัล
مَنْ کَفَرَ بِاللَّهِ مِنْ بَعْدِ ایمانِهِ اِلاَّ مَنْ اُکْرِهَ وَقَلْبُهُ مُطْمَئِنٌّ بِالْایمانِ وَلکِنْ مَنْ شَرَحَ بِالْکُفْرِ صَدْراً فَعَلَیْهِمْ غَضَبٌ مِنَ اللَّهِ وَلَهُمْ عَذابٌ عَظیمٌ؛

ท่านอับดุรร็อซซาก ท่านอิบนุซะอัด ท่านอิบนุญะรีร ท่านอิบนุอะบี ฮาติม และท่านอิบนุมัรดูวียะฮฺ ได้รายงานไว้ และท่านฮากิมก็ได้ถือว่าเป็นฮะดีษศ่อฮีฮฺ ดังปรากฏอยู่ใน “มุซตัดร็อก” และท่านบัยฮะกีก็ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัด-ดะลาอิล” ว่า :

وأخرج عبد الرزاق وابن سعد وابن جریر، وابن أبی حاتم وابن مردویه، وصححه الحاکم فی المستدرک، والبیهقی فی الدلائل، قال: أَخذ الْمُشْركُونَ عمار بن یاسر فَلم يَتْرُكُوهُ حَتَّى سب النبی صلی الله علیه وآله وسلم وَذكر آلِهَتهم بِخَير، ثم ترکوه فلما أتی رسول الله صلی الله علیه وآله وسلم قال: مَا وَرَاءَك شئ ؟ قال: شَرّ، مَا تركت حَتَّى نلْت مِنْك وَذكرت آلِهَتهم بِخَير. قَالَ: فَكيف تَجِد قَلْبك ؟ قَالَ: مطمئنا بِالْإِيمَان. قَالَ: فَإِن عَادوا فعد، وَفِيه نزل: {إِلَّا من إِكْرَاه وَقَلبه مطمئن بِالْإِيمَان} النَّحْل: 106

พวกมุชริกได้จับตัวท่านอัมมาร บินยาซิร แล้วไม่ยอมปล่อยตัวท่าน จนกว่าท่านอัมมารจะได้ประณามท่านนบี ศ. ท่านจึงได้กล่าวเพื่อเอาใจพวกเขาเหล่านั้นโดยดี ต่อจากนั้นพวกเขาก็ได้ปล่อยท่าน ครั้นแล้วท่านก็ได้มาหาท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ.

ท่านนบี ศ. กล่าวว่า “มีอะไรอยู่ข้างหลังท่านกระนั้นหรือ ?”

ท่านยาซิร ตอบว่า “ความชั่วร้าย ฉันมิอาจถูกปล่อยตัวออกมาได้จนกระทั่งฉันได้ประณามต่อท่าน และกล่าวถึงพระเจ้าของพวกเขาด้วยถ้อยคำที่ดีงาม”

ท่านนบี ศ. ได้กล่าวว่า “แล้วในหัวใจของท่านเป็นอย่างไร ?”

ท่านอัมมาร ตอบว่า “เป็นหัวใจที่สงบมั่นกับความศรัทธา”

ท่านศาสนทูต ศ. กล่าวว่า “ถ้าหากพวกนั้นกลับมาทำอีก ท่านก็จงทำอย่างนั้นอีก” ดังนั้น ได้มีโองการหนึ่งถูกประทานลงมาว่า

{إِلَّا من إِكْرَاه وَقَلبه مطمئن بِالْإِيمَان}

“นอกจากผู้ที่ถูกบังคับแต่หัวใจของเขานั้นยังสงบมั่นอยู่กับความศรัทธา” (อัน-นะฮัล / 106 )

หลักตะกียะฮ์ถูกกล่าวไว้ใน อายะฮ์ 26 ซูเราะห์อาลี อิมรอน
لا یَتَّخِذِ الْمُؤْمِنُونَ الْکافِرینَ اَوْلِیاءَ مِنْ دُونِ الْمُؤْمِنینَ وَمَنْ یَفْعَلْ ذلِکَ فَلَیْسَ مِنَ اللَّهِ فی‌ شَیْ‌ءٍ اِلاَّ اَنْ تَتَّقُوا مِنْهُمْ تُقاةً وَیُحَذِّرُکُمُ اللَّهُ نَفْسَهُ وَاِلَی اللَّهِ الْمَصیر؛

รายงานโดยอิบนุญะรีด และอิบนุ อะบีฮาติม จากรายงานของอิบนุอับบาซ ในโองการที่ว่า

{ إِلَّا أَنْ تَتَّقُوا مِنْهُمْ تُقَاةً }

“ยกเว้นในกรณีที่พวกเขาหวาดกลัวต่อพวกเขาในกรณีของความน่ากลัวอย่างใดอย่างหนึ่ง” (อาลิอิมรอน / 26 )

حدثني محمد بن سعد قال، حدثني أبي قال، حدثني عمي قال، حدثني أبي، عن أبيه، عن ابن عباس في قوله:”إلا أن تتقوا منهم تقاة”، فالتقية باللسان. مَنْ حُمل على أمر يتكلم به وهو معصية لله، فيتكلم به مخافة الناس وقلبه مطمئن بالإيمان، فإن ذلك لا يضره. إنما التقية باللسان

ท่านอิบนุอับบาซ อธิบายว่า คำว่า “ตะกียะฮฺ” ในภาษาพูดหมายถึงบุคคลที่มีความจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะต้องพูดออกมาในสิ่งที่เป็นความละเมิดต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. โดยเขาได้พูดออกมาด้วยความกลัวต่อมนุษย์ แต่ในหัวใจของเขานั้นมีความสงบมั่นกับความศรัทธา กล่าวคือ หากเป็นเช่นนี้ ไม่ถือว่าเขาจะได้รับอันตรายใดๆ

وأخرج الحاکم وصححه، والبیهقی فی سننه من طریق عطاء عن ابن عباس فی قوله تعالی: (إلا أن تتقوا منهم تقاه) قال: التقاه هی التکلم باللسانوالقلب مطمئن بالإیمان

ท่านฮากิม ได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮ์ของท่าน ท่านบัยฮะกีได้บันทึกไว้ในซุนัน ของท่านโดยสายสืบของท่านอะฏออ์ จากรายงานของอิบนุอับบาซ ในโองการที่ว่า

“ยกเว้นในกรณีที่พวกเขาหวาดกลัวต่อพวกเขาในกรณีของความน่ากลัวอย่างใดอย่างหนึ่ง”

ท่านกล่าวว่า “อัต-ตุกอฮฺ”{التقاه} หมายถึงการพูดด้วยวาจาโดยหัวใจมีความสงบมั่นกับความศรัทธา

وأخرج عبد بن حمید عن الحسن قال: التقیه جائزه إلی یوم القیامه

รายงานจากอับดุ บินฮะมีด จากท่านฮะซัน(อฺ) กล่าวว่า “หลักตะกียะฮฺเป็นที่อนุญาตจนถึงวันฟื้นคืนชีพ”


ท่านอับดุ บินอะบีเราะอฺญาอฺ รายงานว่า ท่านเองเคยอ่านโองการนี้ว่า “เว้นแต่พวกเจ้าจะหวาดกลัวต่อพวกเขาในฐานะตะกียะฮฺ”

وأخرج عبد بن أبی رجاء أنه کان یقرأ: إلا أن تتقوا منه تقیه

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม