เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ถาม - ตอบ ศาสนบัญญัติ เกี่ยวกับการเชือดกุรบาน

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 ถาม - ตอบ ศาสนบัญญัติ เกี่ยวกับการเชือดกุรบาน


 
ถาม:สัตว์ที่นำมาใช้เป็นสัตว์กุรบาน (เชือดพลีทาน)จะต้องเป็นสัตว์เพศใด?
ตอบ:เพศของสัตว์ที่ใช้ในการทำกุรบาน ไม่ถือเป็นเงื่อนไขทั้งนี้ เป็นการดียิ่งถ้าหากใช้อูฐหรือวัวเป็นสัตว์กุรบาน ควรจะใช้สัตว์เพศเมีย ถ้าหากใช้แพะหรือแกะควรใช้สัตว์เพศผู้
 
ถาม:การทำกุรบาน(เชือดสัตว์พลีทาน) ควรจะกระทำในวันใด?
ตอบ:จากวจนะและซุนนะห์ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) วันเวลาสำหรับการเชือดสัตว์กุรบานเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 - 12 ของเดือนซุลฮิจญะห์ จากเวลาทั้งหมด 3 วัน การเชือดกุรบานในวันที่10 เป็นการดีที่สุด ช่วง เวลาของการเชือดกุรบานเริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นในวันที่ 10 ซุลฮิจญะห์ (สำหรับผู้ไม่ร่วมละหมาดในวันอีด)ส่วนผู้ละหมาดหรือร่วมละหมาดอีดในวันดังกล่าวควรเชือดหลังจากเสร็จสิ้นละหมาดแล้ว
 
ถาม:เนื้อของสัตว์กุรบานควรจัดสรรปันส่วนอย่างไร?
ตอบ:เนื้อของสัตว์กุรบานเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำกุรบาน จะเก็บไว้ทานเองหรือศอดะเกาะห์ (ให้เป็นทาน) แก่ใครก็ได้ตามความเหมาะสม แต่จะเป็นการดีที่สุดด้วยการแบ่งเนื้อของสัตว์กุรบานดังกล่าวออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นทานแก่ผู้ยากไร้  ส่วนที่ 2 แจกจ่ายให้กับเครือญาติและบรรดาแขกเหรื่อ และส่วนที่ 3 เก็บไว้สำหรับครอบครัวของเขาเองทั้งนี้ ถ้าหากผู้กระทำกุรบานจะเก็บเนื้องของสัตว์กุรบานทั้งหมดไว้สำหรับตัวเอง หรือจะศอดะเกาะห์ (ให้เป็นทาน)จากเนื้อสัตว์กุรบานนั้นแก่ผู้ยากไร้หรือญาติบ้านใกล้เรือนเคียงหรือผู้ที่เขามีเสน่หาก็ถือว่าไม่ผิดต่อบัญญัติหลักการแต่อย่างใด.
 
ถาม:หนังของสัตว์กุรบานควรจะทำอย่างไร?
ตอบ:ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ขายและนำเงินที่ได้ไปบริจาคหรือสร้างสาธารณูปโภค หรือนำมาฟอกเพื่อใช้เป็นที่รองนั่งหรือใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย ก็ถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ.
 
ถาม:สัตว์กุรบาน 1 ตัวสามารถร่วมหุ้นส่วนได้กี่หุ้นส่วน?
ตอบ:สำหรับการเชือดกุรบานภาคบังคับซึ่งบรรดาฮุจญาจทุกคนจำเป็นจะต้องเชือดเพื่อความครบ ถ้วนในพิธีกรรมของเขา ผู้ประกอบพิธีจะต้องเชือดสัตว์ 1 ตัวสำหรับ 1 คน แต่การเชือดสัตว์เพื่อทำกุรบานภาคสมัครใจ ไม่จำกัดหุ้นส่วน จะ 1 คนสัตว์ 1 ตัว 7 คน สัตว์ 1 ตัว หรือหุ้นส่วนจะมากกว่าหรือน้อยกว่า ถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ  ทั้งนี้ผู้ร่วมกันเป็นหุ้นส่วนในตัวสัตว์สำหรับกุรบานจำเป็นจะต้องมีเนียต(ตั้งเจตนา)เพื่อการทำกุรบานของเขา และผู้ร่วมหุ้นส่วนต่างมีสิทธิในหุ้นส่วนของเขา สามารถนำเนื้อสัตว์กุรบานในหุ้นส่วนดังกล่าวเก็บไว้ทานเองหรือแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านหรือผู้ยากจนขัดสน ก็ถือเป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม