สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 1)

สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 1)


    ความยุติธรรม คือเครื่องประดับของนักปกครอง

“ความยุติธรรม” เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงมาตั้งแต่สมัยโบราณจนมาถึงยุคปัจจุบัน แต่ละนิยามถูกปรับใช้ในสังคม ซึ่งความเข้าใจเกี่ยวกับมันสร้างผลที่แตกต่างกันให้แก่สังคมนั้นๆ เช่น ความยุติธรรมของตะวันตก ไม่ได้ทำลายความเหลื่อมล้ำระหว่าง คนรวย กับ คนจน หรือ ความยุติธรรมของสังคมนิยม ที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนอย่างสุดโต่งเกินความจำเป็น ทั้งอดีตห่างไกล และอดีตเมื่อไม่นาน ต่างมีประเด็นเรื่องความยุติธรรมถกเถียงกันอยู่ตลอดเวลา

สำหรับความยุติธรรม มันเป็นสิ่งที่มีหลายมิติ เช่น มิติทางด้านบุคคล ทุกความคิดที่เราแสดงออกหากปราศจากความยุติธรรม ความคิดนั้นจะกลายเป็น ”อคติ” ทุกการให้ การรับ การบริหารครอบครัว หากไม่ยืนอยู่บนเสาหลักแห่งความยุติธรรม จะทำให้เกิดการเบี่ยงเบน และความเสื่อมของรากฐาน แม้แต่การตัดสินใจในชีวิตประจำวันของเราเกือบทุกแง่มุมก็ยังมีความยุติธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะมันคือการหาจุดสมดุลของชีวิต จึงเป็นไปได้ที่ในแต่ละการตัดสินใจหากปราศจากความยุติธรรมต่อตนเอง มันจะนำเราไปสู่ภาวะแห่งความไม่เป็นจริงและมายาคติ เป็นเหมือนม่านปกคลุมเราไม่ให้เห็นความเป็นจริง ความยุติธรรมต่อตนเอง คือการหาจุดสมดุลของชีวิตเพื่อหาว่าอะไรคือสิ่งที่จริงและอะไรคือสิ่งที่เราควรใช้ชีวิตอยู่บนความจริงนั้น และแยกมันออกจากความเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราคาดหวังและไม่นำมาเป็นเข็มทิศชีวิต เช่น การเอาแต่ใจตัวเอง ความฟุ่มเฟือย หรือ ความตระหนี่ ผลของมันจะย้อนมาทำร้ายตัวเอง คือ การไม่ยุติธรรมต่อตนเอง

ในมิติทางสังคมความยุติธรรมคือรากฐานซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าสังคมนั้นคือสังคมที่เจริญก้าวหน้าหรือสังคมที่ล้มเหลว การตัดสินรัฐบาลจะถูกวัดคุณค่าด้วยความยุติธรรมที่พวกเขากระจายสู่สังคม เพราะรัฐบาลไม่ได้ถูกประเมินด้วยความสำเร็จทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ประชาชนประเมินรัฐบาลด้วยแง่มุมแห่งความยุติธรรมด้วย โดยดูว่า รัฐบาลทำอย่างไรกับคนที่อยู่ผิดที่ผิดทาง อาจเป็นคนแก่เก็บเห็ด ซึ่งอยู่ผิดที่ผิดทาง ประชาชนจะดูว่ารัฐบาลปฏิบัติต่อคนรวยกับคนจนต่างกันหรือไม่ในแง่กฎหมาย นี่คือตัวอย่างในแง่ของสังคมการเมือง และยังมีตัวอย่างอีกมากมายพันร้อยเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงประเด็นของความยุติธรรม ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาผู้อ่านไปสู่โลกแห่งความยุติธรรม นิยาม ความเห็น ทัศนะและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรม จากนั้นผู้เขียนจะวิพากษ์ทัศนะเหล่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาทั้งความยุติธรรมในเชิงมโนทัศน์ เชิงคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ และความยุติธรรมในมิติของการคิดเชิงวิพากษ์

1.ความยุติธรรมในประวัติศาสตร์

ตัวตนของความยุติธรรม ไม่เหมือน ส้ม หรือ มนุษย์ ไม่ใช่สิ่งจับต้องได้แบบมีกายหยาบ แต่มันมีจริงในฐานะคุณค่าหลักที่สำคัญที่สุดของจริยศาสตร์ ดังนั้น เมื่อพูดถึง “ความยุติธรรม” เรากำลังพูดถึงความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้
จอฮ์น รอวส์ เจ้าของหนังสือ ทฤษฎีความยุติธรรม

และเพื่อเข้าสู่โลกแห่งความยุติธรรม ต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ซึ่งในแง่ของประวัติศาสตร์ปรัชญาการเมืองตะวันตก ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล อริสโตเติล เพลโต และโสเครติส คือนักปราชญ์กลุ่มแรกๆ ที่ถกเถียงและวิจัยในเรื่องนี้ หลังจากนั้นกว่าจะครบงานเขียนที่พูดถึงเรื่องของความยุติธรรมในทางปรัชญาการเมืองจากนักปรัชญายุคกลาง อย่าง โทมัส อาคูวินัส,เซนต์ออกัสติน หลังจากเข้าปรัชญานวยุค งานเขียนในเรื่องของความยุติธรรมถูกปรับปรุงและนำเสนอในแง่ของญาณวิทยา โดยเดวิดฮูม และเอมานูเอล คานท์ หลังจากนั้นนักปรัชญาการเมือง เช่น มาร์กซ์ กับ อิงเกล ชองชาคส์รุสโซ โทมัส ฮอบส์ จอห์น ล็อค ก็ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่เกี่ยวกับความยุติธรรมขึ้น ซึ่งเราจะเห็นค่านิยมเชิงเสรีนิยมถูกนำมาปรับใช้กับทฤษฎีความยุติธรรม และอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีความยุติธรรมแบบเสรีนิยมประสบความสำเร็จในสมัยของ จอห์น รอลส์(1921-2002)

 

ในแง่ของประวัติศาสตร์ศาสนา และนักปรัชญาการเมืองตะวันออกกลาง ประมาณ 1250 ปี ก่อนคริสตกาล เดวิด หรือศาสดาดาวุด(อ) กับ โซโลมอน หรือ ศาสดาสุไลมาน(อ)
ภาพระลึกกษัตริย์โซโลมอน

เป็นคนกลุ่มแรกที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ศาสนา ในฐานะผู้กระจายความยุติธรรม และผู้มีความยุติธรรมในการพิพากษา หลังจากนั้นเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ความยุติธรรมถูกกล่าวถึงอีกครั้งในสมัยของศาสดาโมเสสหรือมูซา(อ) และอีกครั้งในสมัยของพระเยซูคริสต์ หรือ อีซา(อ) และอีกครั้งหนึ่งในสมัยของศาสดามูฮัมมัด(ศ) กล่าวคือศาสดามูฮัมหมัดเป็นศาสดาอีกท่านหนึ่งที่พูดถึงความยุติธรรมทั้งนิยามความเห็นมากที่สุด

 

 

หลังจากนั้นท่านอาลี บิน อบีฏอลิบ(อ) ตัวแทนของศาสดาเป็นผู้วางโครงสร้างของความยุติธรรมในทัศนะของอิสลาม ในรูปแบบคำปราศรัยสุนทรวลี และโอวาท และจดหมายเหตุที่ท่านได้ส่งให้กับผู้บัญชาการ นายทหารต่างๆของท่าน ต่อมา อบูรอยฮาน บีรูนีย์ (973-1050) อบูอาลีซีนา (980-1037) มูฮัมมัด ฆอซาลี หรือ อิมามฆอซาลี(1058-1111) ได้นำเสนอประเด็นเรื่องความยุติธรรมไว้ในหนังสือ นะซีฮะตุลมูลูก หรือโอวาทแด่ผู้ปกครองต่อมา อิบนิรุชดฺ(1126-1199) กับคอเญะ นาซีรุดดีน ฏูซีย์ เริ่มนำเสนอประเด็นในแง่ของความยุติธรรมและจุดสมดุลของอัตตา (1201-1274) กุฎบุฎฎีน ชีรอซี (1310-1237) ได้แต่งหนังสือเพื่ออธิบายมโนทัศน์เกี่ยวกับความยุติธรรม เวลาผ่านไป 200 ปี ก็มีนักวิชาการมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งที่แต่งหนังสือและพูดถึงแง่มุมของความยุติธรรมแบบเฉพาะ(ความยุติธรรมในเชิงจิตวิญญาณ)ได้แก่ มุลลาศอดรอ(1571-1640) มุลลามุฮซิน เฟศ กาชานี
ซัยยิด มูฮัมมัด ฮูเซน ฏอบาฏอบาอีย์

(1598-1680)มูฮัมมัด มะฮดี นารอกี(1794-1716) ซึ่งได้สรุปแก่นแท้ของความยุติธรรม ในฐานะสติปัญญา และหลังจากนั้น ซัยยิด มูฮัมมัด กาซิม อะศอร(1888-1973) ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของความยุติธรรมในฐานะจุดสมดุลของจิตวิญญาณ หลังจากนั้นนักวิชาการอิสลามในศตวรรษที่ 20 ได้นำเสนอความยุติธรรมในทางสังคมและแนวทางการเมืองเป็นเอกเทศจากความยุติธรรมในสาขาอื่นๆ เช่น อัลลามะ ซัยยิด มูฮัมมัด ฮูเซน ฏอบาฏอบาอีย์ (1920-1981) ซัยยิด รูฮุลลอฮ มูซาวี โคมัยนี(1903-1989)ซัยยิด มูฮัมมัด ฮูซัยนี

เบเฮชตี(1928-1981)ชะฮีด มุรฏะฎอ มูฏอฮารี(1919-1979) มูฮัมมัด ตะกี มิศบาฮ ยัซดี(1934) และซัยยิดอาลี คาเมเนอีย์ (1939) เป็นผู้พัฒนาและอธิบายแนวคิดความยุติธรรมทั้งในเชิงปรัชญาและในเชิงการเมืองและในเชิงจริยธรรม ซึ่งถือเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้ความยุติธรรมในแบบของคอลีฟะฮ์ อาลี(อ)[1]

นี่เป็นการสรุปประวัติศาสตร์สั้นๆของความยุติธรรมและผู้คนที่เกี่ยวข้องกับมัน ยังมีนักวิชาการคนอื่นๆที่มีงานเขียนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งบางส่วนจะถูกกล่าวถึงในเนื้อหาแต่ละบทของบทความชุดนี้ในบทต่อไป

อ่านต่อ: บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 2)

บทความ – สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 3)

บทความ – สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 4)

บทความ-สีสันแห่งความยุติธรรม (ตอนที่ 5)

บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 6)

บทความ-สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 7-1)

บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 7-2)

บทความ- สีสันแห่งความยุติธรรม ( ตอนที่ 7-3)

source:

[1] ฮิกมัตซียาซีย์อิสลามีย์ หรือ ปรัชญาการเมืองอิสลาม เล่ม 7 หน้า 462-481) ในชื่อภาษาอังกฤษ Islamic Political Himat เขียนโดย ดร. อาลีอักบาร อาลีคานี และ คณะวิจัย


บทความ Muhammad Behesti