บุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) คือ แบบอย่างอันดีเลิศที่คู่ควรแก่การปฏิบัติตาม
บุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) คือ แบบอย่างอันดีเลิศที่คู่ควรแก่การปฏิบัติตาม
คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงนามของบรรดาศาสดามากกว่า 25 ท่าน พร้อมกับกล่าวถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของแต่ละท่านไว้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเอ่ยถึงศาสดาอิดรีส (อ.) จะกล่าวว่า:
اِنَّهُ کَانَ صِدِّیقًا نَّبِیًّا
“แท้จริงเขา (อิดรีส) เป็นผู้สัจจริง อีกทั้งเป็นศาสดา” (อัลกุรอานบทมัรยัม โองการที่ 56)
นบีอิดริส มีคุณลักษณะหนึ่งที่เหมือนกับชื่อของท่านนั่นก็คือ
"ผู้ที่แสวงหาความรู้อย่างมากมาย"
หรือเมื่อเอ่ยถึงศาสดานุห์ (อ.) จะกล่าวว่า :
إِنَّهُ کَانَ عَبْدًا شَکُورًا
“แท้จริงเขา (นูห์) เป็นบ่าวที่กตัญญูอย่างมาก”
(อัลกุรอานบทอัลอิสรออ์ โองการที่ 3)
คุณลักษณะของท่านนบีนุฮ์(อ) คือ ต่อให้ท่านต้องพบเจอกับความยากลำบากและต้องใช้เวลาอย่างยาวนานในการเผยแพร่ศาสนา ซึ่งต่อให้ท่านต้องประสบกับอุปสรรค์ใดก็ตาม ท่านก็จะขอบคุณพระองค์อยู่เสมอ
หรือเมื่อเอ่ยถึงศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จะกล่าวว่า : (อัลกุรอานบทฮูด โองการที่ 75)
إِنَّ إِبْراهيمَ لَحَليمٌ أَوَّاهٌ مُنيبٌ
“แท้จริงอิบรอฮีมนั้นเป็นผู้มีขันติ ผู้มีจิตใจอ่อนโยนและหันหน้าเข้าหาสัจธรรมเสมอ”
คุณลักษณะของท่านนบีอิบรอฮีม คือ ผู้ที่อ่อนโยนและเข้าหาสิ่งที่เป็นสัจธรรมเสมอ
แต่เมื่อเอ่ยถึงศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
อัลกุรอานไม่ได้หยิบยกแค่เพียงคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของท่านเพียงเท่านั้น แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า : (อัลกุรอานบทอัลกอลัม โองการที่ 68)
إِنَّكَ لَعَلَى خُلُقٍ عَظِيمٍ
“แท้จริงเจ้าคือผู้ตั้งมั่นอยู่บนจริยธรรมอันยิ่งใหญ่” หมายความว่า คุณลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวของคนดีมีคุณธรรมหรือปวงศาสดา (อ.) ทั้งหลายนั้นรวมอยู่ในตัวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในระดับที่สมบูรณ์ที่สุด
อะซีม (ยิ่งใหญ่) และอะอ์ซอม (เกรียงไกรเลิศล้ำ)
ทุกคุณลักษณะที่มีการเชื่อมโยงถึงท่านนบีมุฮัมมัด ย่อมเป็นวาระแห่งโลกทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะคุณลักษณะขึ้นตรงต่อผู้ดำรงคุณลักษณะนั้นๆ ในเมื่อท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นศาสดาแห่งโลกทั้งมวล ฉะนั้น หากเราพูดถึงความยิ่งใหญ่ของท่านนบี นั่นหมายถึงความยิ่งใหญ่ระดับโลกทั้งมวล
คำว่ายิ่งใหญ่ในภาษาอาหรับคือ อะซีม มีรากศัพท์เดียวกับ อัซมุน อันแปลว่ากระดูก อะซีมในที่นี้จึงหมายถึงสิ่งที่มีโครงสร้างและรากฐานมั่นคงประดุจค้ำแกนด้วยโครงกระดูก ซึ่งในที่นี้ เราจะกล่าวถึงความมั่นคงและยืนยงในแง่นามธรรมและจิตวิญญาณ
คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า
(อัลกุรอานบท อัลอะห์ซาบโองการที่ 21)
لَّقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِّمَن كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيرًا
“แน่นอนยิ่ง แบบอย่างอันงดงามสำหรับพวกเจ้านั้นมีอยู่ในศาสนทูตของอัลลอฮ์”
ทุกๆ จริยวัตรที่ประสานกลมกลืนกับคัมภีร์ไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามอัลกุรอานในระดับนั้นๆ และเนื่องจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้วางกรอบจริยวัตรของท่านไว้บนข้อเท็จจริงต่างๆ แห่งคัมภีร์อัลกุรอาน
ดังนั้นจริยวัตรของท่านจึงเป็นจริยวัตรที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคำกล่าวเกี่ยวกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ไว้เช่นนี้ว่า
“บุคลิกของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอาน”
เพื่อที่จะได้รับประโยชน์อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจาก
จริยวัตรอันทรงคุณค่าของท่านศาสนทูต
1.การเคารพภักดีพระเจ้า และการนมาซในยามค่ำคืน (ตะฮัจญุด) ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ)
พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญชาให้ท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ (ศ็อลฯ) ใช้เวลาส่วนใหญ่ในยามค่ำคืนทำอิบาดะฮ์ เพื่อว่าสิ่งดังกล่าวจะทำให้ท่านอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ (มะกอมุน มะห์มูด)
ในบทอัลอิซรออ์ โองการที่ 79 อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงตรัสว่า
وَمِنَ اللَّيْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَّكَ عَسَىٰ أَن يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَامًا مَّحْمُودًا
“และบางช่วงของยามกลางคืนเจ้าจงตื่นขึ้นทำนมาซ “ตะฮัจญุด” ด้วยความสมัครใจของเจ้าเถิด หวังว่าองค์อภิบาลของเจ้าจะทรงทำให้เจ้าฟื้นคืนชีพขึ้นด้วยตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ”
เกี่ยวกับวิธีการนมาซในยามค่ำคืน
(ซอลาตุ้ลลัยน์) ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) มีรายงานว่า
ท่านมักจะเตรียมน้ำสำหรับทำวุฎุอ์และการแปรงฟันของท่านไว้ตั้งแต่ก่อนนอน
และจะใช้เวลาในการนอนเพียงเล็กน้อย เหมือนกับทหารที่ตั้งมั่นอยู่ตามแนวรบเพื่อป้องกันข้าศึก ท่านจะตื่นขึ้นหลังจากการนอนหลับไปไม่นานนัก
และท่านจะทำนมาซสี่ร่อกะอัต
หลังจากนั้นก็จะนอนอีกเพียงเล็กน้อย
และตื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
และจะปฏิบัติอยู่เช่นนี้
ทุกครั้งที่ท่านตื่นนอนขึ้นมา ท่านจะมองไปยังท้องฟ้าพร้อมกับอ่านบรรดาโองการอัลกุรอานต่อไปนี้คือ
(อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 190, 191)
บรรยายโดย รุวัยดา สร้อยระยับ