เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) คือ แบบอย่างอันดีเลิศที่คู่ควรแก่การปฏิบัติตาม

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


บุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) คือ แบบอย่างอันดีเลิศที่คู่ควรแก่การปฏิบัติตาม


คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงนามของบรรดาศาสดามากกว่า 25 ท่าน พร้อมกับกล่าวถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของแต่ละท่านไว้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเอ่ยถึงศาสดาอิดรีส (อ.) จะกล่าวว่า:
 اِنَّهُ کَانَ صِدِّیقًا نَّبِیًّا
“แท้จริงเขา (อิดรีส) เป็นผู้สัจจริง อีกทั้งเป็นศาสดา”  (อัลกุรอานบทมัรยัม โองการที่ 56)
������นบีอิดริส มีคุณลักษณะหนึ่งที่เหมือนกับชื่อของท่านนั่นก็คือ
"ผู้ที่แสวงหาความรู้อย่างมากมาย"

إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَاخْتِلَافِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ لَآيَاتٍ لِّأُولِي الْأَلْبَابِ
الَّذِينَ يَذْكُرُونَ اللَّهَ قِيَامًا وَقُعُودًا وَعَلَىٰ جُنُوبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَٰذَا بَاطِلًا سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
“แท้จริงการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการหมุนเวียนไปของกลางคืนและกลางวัน ย่อมเป็นหลักฐานต่างๆ สำหรับปวงผู้มีวิจารณญาณ
(พวกเขา) คือบรรดาผู้ซึ่งรำลึกถึงอัลลอฮ์ทั้งในยามยืน ยามนั่ง และในยามนอนตะแคง และพวกเขาจะคิดใคร่ครวญในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน (พร้อมกับรำพึงว่า) โอ้พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาอย่างไร้สาระ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ ได้โปรดคุ้มครองพวกเราให้พ้นจากไฟนรกด้วยเถิด”
    และนอกเหนือจากโองการดังกล่าวแล้ว คัมภีร์อัลกุรอานยังได้กล่าวถึงบางส่วนจากคุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ไว้ และในท่ามกลางคุณลักษณะเหล่านั้นที่ถูกเน้นย้ำมากที่สุด คือ
2.คุณลักษณะของความเมตตา ความเอื้ออาทร ความห่วงใยและการมีปฏิสัมพันธ์ที่อ่อนโยนต่อประชาชน
    ดังเช่นในอัลกุรอานบทอาลิอิมรอน พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงชี้ถึงเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการประกาศศาสนา และทำให้ประชาชนหันมาเลื่อมใสศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม
นั้นก็คือ ความสุภาพอ่อนโยนของท่าน โดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า :
فَبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللَّهِ لِنتَ لَهُمْ ۖ وَلَوْ كُنتَ فَظًّا غَلِيظَ الْقَلْبِ لَانفَضُّوا مِنْ حَوْلِكَ
“นั่นเป็นเพราะความเมตตาจากอัลลอฮ์ ที่ทำให้เจ้าได้สุภาพอ่อนโยนต่อพวกเขา และหากเจ้าเป็นผู้หยาบคายและมีจิตใจแข็งกระด้างแล้ว แน่นอนยิ่งพวกเขาจะเตลิดออกไปจากรอบตัวเจ้า”
(อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 159)  
✒️ ตวอย่างเรื่องเล่า
หญิงชาวยิวคนหนึ่งที่ทุกวันเขาจะเทขยะใส่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) จนกระทั่งวันหนึ่งนางหายไป ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)จึงได้ถามคนแถวนั้นว่านางไปไหน ก็ได้ทราบว่านางป่วย ท่านจึงได้ไปเยี่ยมนางด้วยความเป็นห่วงเป็นใย เมื่อนางได้เห็นท่าน
นางเกิดความรู้สึกละอายใจ และประทับใจในที่สุดนางก็เข้ารับอิสลาม
 ✒️ อกโองการหนึ่งที่ชี้ถึงคุณลักษณะของความห่วงใย ความเอื้ออาทรและความเมตตากรุณาของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
✒️ ตวอย่างเรื่องเล่า
ความเป็นห่วงของนบีถึงขั้นที่ว่า ท่านจะเสียใจเป็นอย่างยิ่งถ้าท่านไม่สามารถช่วยประชาชาติของท่าน ให้พวกเขารอดพ้นจากความหลงผิดได้
โดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า :
(อัลกุรอานบทอัตเตาบะฮ์ โองการที่ 128)
لَقَد جاءَكُم رَسولٌ مِن أَنفُسِكُم عَزيزٌ عَلَيهِ ما عَنِتُّم حَريصٌ عَلَيكُم بِالمُؤمِنينَ رَءوفٌ رَحيمٌ
“แน่นอนยิ่ง ศาสนทูตคนหนึ่งจากพวกเจ้าเองได้มาหาพวกเจ้าแล้ว เป็นที่ทุกข์ใจยิ่งต่อเขาในสิ่งที่พวกเจ้าได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใยพวกเจ้า เป็นผู้กรุณาและเป็นผู้เมตตาต่อบรรดาผู้ศรัทธา”
ความเป็นห่วงเป็นใยของท่านที่มีต่อชะตาชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) นั้นถึงขั้นที่ทำให้ท่านทุกข์ใจและเศร้าโศกเสียใจอย่างรุนแรง จนกระทั่งพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานโองการลงมายังท่านว่า :  
(อัลกุรอานบทอัชชุอะรออ์ โองการที่ 3)
لَعَلَّكَ بَاخِعٌ نَفْسَكَ أَلا يَكُونُوا مُؤْمِنِينَ
“บางทีเจ้าอาจจะเป็นผู้ทำลายชีวิตของตัวเจ้าเอง เพียงเพราะพวกเขาไม่ศรัทธา”
      และพระองค์ยังได้ทรงตรัสต่อท่านว่า : (อัลกุรอานบทฟาฏิร โองการที่ 8
فَلَا تَذْهَبْ نَفْسُكَ عَلَيْهِمْ حَسَرَاتٍ
“เจ้าอย่าทำให้จิตใจของเจ้าระทมทุกข์เนื่องจากพวกเขาเลย”


หรือเมื่อเอ่ยถึงศาสดานุห์ (อ.) จะกล่าวว่า :
إِنَّهُ کَانَ عَبْدًا شَکُورًا
“แท้จริงเขา (นูห์) เป็นบ่าวที่กตัญญูอย่างมาก”  
(อัลกุรอานบทอัลอิสรออ์ โองการที่ 3)
������คณลักษณะของท่านนบีนุฮ์(อ) คือ ต่อให้ท่านต้องพบเจอกับความยากลำบากและต้องใช้เวลาอย่างยาวนานในการเผยแพร่ศาสนา ซึ่งต่อให้ท่านต้องประสบกับอุปสรรค์ใดก็ตาม ท่านก็จะขอบคุณพระองค์อยู่เสมอ
หรือเมื่อเอ่ยถึงศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จะกล่าวว่า :  (อัลกุรอานบทฮูด โองการที่ 75)   
 إِنَّ إِبْراهيمَ لَحَليمٌ أَوَّاهٌ مُنيبٌ
“แท้จริงอิบรอฮีมนั้นเป็นผู้มีขันติ ผู้มีจิตใจอ่อนโยนและหันหน้าเข้าหาสัจธรรมเสมอ”
������คณลักษณะของท่านนบีอิบรอฮีม คือ ผู้ที่อ่อนโยนและเข้าหาสิ่งที่เป็นสัจธรรมเสมอ
แต่เมื่อเอ่ยถึงศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
อัลกุรอานไม่ได้หยิบยกแค่เพียงคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของท่านเพียงเท่านั้น แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า : (อัลกุรอานบทอัลกอลัม โองการที่ 68)
إِنَّكَ لَعَلَى خُلُقٍ عَظِيمٍ
“แท้จริงเจ้าคือผู้ตั้งมั่นอยู่บนจริยธรรมอันยิ่งใหญ่” หมายความว่า คุณลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวของคนดีมีคุณธรรมหรือปวงศาสดา (อ.) ทั้งหลายนั้นรวมอยู่ในตัวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในระดับที่สมบูรณ์ที่สุด
อะซีม (ยิ่งใหญ่) และอะอ์ซอม (เกรียงไกรเลิศล้ำ)
ทุกคุณลักษณะที่มีการเชื่อมโยงถึงท่านนบีมุฮัมมัด ย่อมเป็นวาระแห่งโลกทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะคุณลักษณะขึ้นตรงต่อผู้ดำรงคุณลักษณะนั้นๆ ในเมื่อท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นศาสดาแห่งโลกทั้งมวล ฉะนั้น หากเราพูดถึงความยิ่งใหญ่ของท่านนบี นั่นหมายถึงความยิ่งใหญ่ระดับโลกทั้งมวล
คำว่ายิ่งใหญ่ในภาษาอาหรับคือ อะซีม มีรากศัพท์เดียวกับ อัซมุน อันแปลว่ากระดูก อะซีมในที่นี้จึงหมายถึงสิ่งที่มีโครงสร้างและรากฐานมั่นคงประดุจค้ำแกนด้วยโครงกระดูก ซึ่งในที่นี้ เราจะกล่าวถึงความมั่นคงและยืนยงในแง่นามธรรมและจิตวิญญาณ
   คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า  
(อัลกุรอานบท อัลอะห์ซาบโองการที่ 21)
لَّقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِّمَن كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيرًا
“แน่นอนยิ่ง แบบอย่างอันงดงามสำหรับพวกเจ้านั้นมีอยู่ในศาสนทูตของอัลลอฮ์”
ทุกๆ จริยวัตรที่ประสานกลมกลืนกับคัมภีร์ไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามอัลกุรอานในระดับนั้นๆ และเนื่องจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้วางกรอบจริยวัตรของท่านไว้บนข้อเท็จจริงต่างๆ แห่งคัมภีร์อัลกุรอาน
ดังนั้นจริยวัตรของท่านจึงเป็นจริยวัตรที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคำกล่าวเกี่ยวกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ไว้เช่นนี้ว่า
“บุคลิกของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอาน”
เพื่อที่จะได้รับประโยชน์อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจาก
������จริยวัตรอันทรงคุณค่าของท่านศาสนทูต
 1.การเคารพภักดีพระเจ้า และการนมาซในยามค่ำคืน (ตะฮัจญุด) ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ)
พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญชาให้ท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ (ศ็อลฯ) ใช้เวลาส่วนใหญ่ในยามค่ำคืนทำอิบาดะฮ์ เพื่อว่าสิ่งดังกล่าวจะทำให้ท่านอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ (มะกอมุน มะห์มูด)
ในบทอัลอิซรออ์ โองการที่ 79 อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงตรัสว่า
وَمِنَ اللَّيْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَّكَ عَسَىٰ أَن يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَامًا مَّحْمُودًا
“และบางช่วงของยามกลางคืนเจ้าจงตื่นขึ้นทำนมาซ “ตะฮัจญุด” ด้วยความสมัครใจของเจ้าเถิด หวังว่าองค์อภิบาลของเจ้าจะทรงทำให้เจ้าฟื้นคืนชีพขึ้นด้วยตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ”
������เกี่ยวกับวิธีการนมาซในยามค่ำคืน
(ซอลาตุ้ลลัยน์) ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) มีรายงานว่า
������ทานมักจะเตรียมน้ำสำหรับทำวุฎุอ์และการแปรงฟันของท่านไว้ตั้งแต่ก่อนนอน
������และจะใช้เวลาในการนอนเพียงเล็กน้อย เหมือนกับทหารที่ตั้งมั่นอยู่ตามแนวรบเพื่อป้องกันข้าศึก ������ทานจะตื่นขึ้นหลังจากการนอนหลับไปไม่นานนัก
������และท่านจะทำนมาซสี่ร่อกะอัต
������หลังจากนั้นก็จะนอนอีกเพียงเล็กน้อย
������และตื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
และจะปฏิบัติอยู่เช่นนี้
������ทกครั้งที่ท่านตื่นนอนขึ้นมา ท่านจะมองไปยังท้องฟ้าพร้อมกับอ่านบรรดาโองการอัลกุรอานต่อไปนี้คือ
(อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 190, 191)

บรรยายโดย คุณครูรุวัยดา สร้อยระยับ

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม