เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่9)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่9)

 


ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล
รูปแบบต่างๆ ของประชาธิปไตย
รูปแบบต่างๆ ของประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดคือรูปแบบใด?
ประชาธิปไตยสามารถแบ่งออกเป็นหลายความคิดเห็น ประเภทที่เก่าแก่ที่สุดคือประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งปรากฏครั้งแรกในการปกครองเมืองต่างๆ ของกรีก โดยเฉพาะในกรุงเอเธนส์ (ศตวรรษที่ 5) โดยประชาชนทั่วไป ยกเว้นผู้หญิงและทาส มีส่วนร่วมโดยตรงในการร่างกฎหมาย สำหรับฝ่ายบริหารเช่นกัน ผู้คนผลัดกันดำรงตำแหน่งและผู้พิพากษาถูกเลือกโดยการจับสลาก แต่เพลโตปฏิเสธการปกครองประเภทนี้โดยสิ้นเชิง และอริสโตเติลลูกศิษย์ของเขาก็เช่นกันยอมรับในฐานะที่ว่ามีความเลวร้ายที่น้อยกว่า ประชาธิปไตยทางตรงยังคงถูกนำไปใช้ในบางรัฐของสวิตเซอร์แลนด์ในลักษณะที่ว่าต้องย้อนกลับไปสู่เสียงของประชาชนเสมอ และในบางประเทศอื่นๆ ก็ถูกนำมาใช้ในกรณีพิเศษ
รูปแบบอื่นๆ ของประชาธิปไตยได้แก่ ; ประชาธิปไตยแบบคลาสสิก มีทั้งประชาธิปไตยเชิงวิวัฒนาการแบบรุนแรงและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถจำแนกได้ภายใต้หัวข้อประชาธิปไตยทางตรง ทว่าไม่ควรมองข้ามความแตกต่างระหว่างมัน ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยทางตรงหรือแบบมีส่วนร่วม พลเมืองมีส่วนร่วมโดยตรงในระบบการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาสาธารณะ ประชาธิปไตยอีกประเภทหนึ่งที่เป็นรูปแบบร่วมสมัย คือ ประชาธิปไตยทางอ้อม เรียกอีกอย่างว่าเสรีนิยมหรือประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เป็นระบบการปกครองประเภทหนึ่งที่ครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งอยู่ในกรอบของหลักนิติธรรม พวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบในการเป็นตัวแทนผลประโยชน์และมุมมองของพลเมือง ประชาธิปไตย เสรีนิยมหรือรัฐสภามีสองส่วนหลัก: ประชาธิปไตยเชิงวิวัฒนาการและประชาธิปไตยแบบสนับสนุน ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การโต้ตอบที่รุนแรง; กฎหมายและพหุนิยม สามารถอยู่ภายใต้ชื่อของประชาธิปไตยเชิงวิวัฒนาการ เหมือนดังที่ประชาธิปไตยการแข่งขันของชนชั้นสูงและประชาธิปไตยทางกฎหมายถือว่าเป็นประเภทของประชาธิปไตยสนับสนุน
ในอีกมุมมองหนึ่ง ได้แบ่งประชาธิปไตย ออกเป็นประชาธิปไตยทางการเมือง ประชาธิปไตยทางสังคมและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางการเมืองในทางปฏิบัติหมายถึงการปกครองโดยเสียงข้างมาก หรือครึ่งหนึ่งบวกอีกหนึ่งเสียงของผู้ออกเสียง จากความหมายด้านการเมืองของประชาธิปไตยมีความเห็นตรงกันข้ามสองประการคือ
ประการแรก: การทำให้เจตจำนงของคนส่วนใหญ่หมดสิ้นและบังคับใช้กับทุกคน ผลที่ไดรับจากสิ่งนั้น คือ ประชาธิปไตยแบบมาร์กซิสต์; ภายใต้ชื่อประชาธิปไตยมวลชนในรูปของเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ(Dictatorship of the proletariat)
ประการที่สอง:คือประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม หมายถึง ความจำเป็นของการมีส่วนร่วมอย่างเสรีของประชาชนในการทำให้ความต้องการปรากฏขึ้นและการทำให้เสียงข้างน้อยกลายเป็นเสียงข้างมาก
ประชาธิปไตยแบบชี้นำเป็นประชาธิปไตยอีกรูปแบบหนึ่งที่บางประเทศในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอินโดนีเซียและปากีสถาน พวกเขาได้เริ่มทดลองเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพสังคมของตน ขณะเดียวกันประชาธิปไตยต่างๆ ก็มีความมั่นคงในส่วนนี้ของโลก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่นและอื่น ๆ
ประชาธิปไตยทางตรงดีกว่าทางอ้อมหรือไม่?(ตอนต่อไป)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม