การใช้ความคิด หมายเลข 2

การใช้ความคิด หมายเลข 2


ท่านอิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า มีบุคคลผู้หนึ่งได้เข้ามาเพื่อพบท่านศาสดา(ศ) เขาได้กล่าวต่อศาสดาว่า โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ โปรด(อบรม)สั่งสอนฉันด้วยเถิด' ท่านศาสดา(ศ)จึงกล่าวถามต่อเขาถึงสามครั้งว่า หากฉันกล่าวสั่งเสียแก่เจ้า เจ้าจะปฏิบัติตามหรือไม่ ? ซึ่งในทุกครั้งชายคนนั้นได้ตอบว่า แน่นอนยิ่ง โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์
เช่นนั้นท่านศาสดาจึงกล่าวว่า
ฉันขอสั่งเสียแก่เจ้าว่า เมื่อเจ้าคิดตัดสินใจทำกิจใด จงใคร่ครวญถึงบั้นปลายของกิจนั้นเสียก่อน หากมันจะนำมาซึ่งความเจริญและทางนำแล้ว จงทำกิจนนั้น และหากมันจะนำมาซึ่งความหลงผิด(ความเสียใจ) ก็จงยุติมันเสียเถิด[1]
อมีรุลมุอฺมีนีน(อ) กล่าวว่า พึงสังวรเถิดไม่มีประโยชน์อันใด ในอิบาดัตที่ปราศจากการครุ่นคิด[2]
ในอีกรีวายัต ท่าน(อ)กล่าวว่า พึ่งสงวรเถิดไม่มีประโยชน์อันใด ในกีรออัต(การอ่านอัลกุรอ่าน)ซึ่งปราศจากการใคร่ครวญ[3]
ในอีกรียายัตหนึ่ง ท่าน(อ)ได้กล่าวในจดหมายคำสั่งเสียแก่มูฮัมมัด บิน ฮานาฟียะฮ์ว่า ผู้ใดก็ตามที่กระทำการงานโดยปราศจากการพิจารณาถึงบั้นปลายของกิจเหล่านั้น แน่นอนยิ่งเขาคือผู้ทำให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์อันย่ำแย่ เช่นนั้นแล้ว การคิดก่อนการกระทำ จะปกป้องเจ้าจากความเสียใจ[4]
ตัวบท
[1] . إِنَّ رَجُلاً أَتَی النَّبِی ص، فَقَالَ لَهُ: یا رَسُولَ اللَّهِ! ...(الكافی، ج8، ص150).
[2] . ... أَلا لا خَیرَ فِی عِبَادَةٍ لَیسَ فِیهَا تَفَكُّرٌ (الكافی، ج1، ص36).
[3] . ... أَلا لا خَیرَ فِی قِرَاءَةٍ لَیسَ فِیهَا تَدَبُّرٌ... (الكافی، ج1، ص36).
[4] . ... وَ مَنْ تَوَرَّطَ فِی الأُ