เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การอาบน้ำนมาซของชีอะห์หรือซุนนี่ห์ ที่ตรงกับอัลกุรอ่าน และซุนนะห์นบีมากที่สุด

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การอาบน้ำนมาซของชีอะห์หรือซุนนี่ห์ ที่ตรงกับอัลกุรอ่าน และซุนนะห์นบีมากที่สุด


การอาบน้ำนมาซที่ตรงกับอัลกุรอ่าน และซุนนะห์นบี อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงตรัสว่า “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อพวกเจ้าต้องการนมาซ ก็จงล้างใบหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก และจงเช็ด(บางส่วนของ)ศีรษะของพวกเจ้า และเท้าของพวกเจ้าจนถึงโหนกเท้า(ตาตุ่ม-ซุนนี่ห์)ทั้งสอง”
divider
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ. กล่าวว่า
اَکثِر مِن الطَّهورِ یَزِدِ اللّه‏ُ فى عُمُرِکَ؛
จงมีน้ำนมาซอยู่เสมอ(เพราะนั้น)จะทำให้อัลลอฮ์เพิ่มพูนอายุขัยแก่เจ้ามากยิ่งขึ้น
لاَ يَقْبَلُ اللَّهُ صَلاَةَ أَحَدِكُمْ إِذَا أَحْدَثَ حَتَّى يَتَوَضَّأَ

“อัลลอฮ์จะทรงไม่พิจารณาตอบรับการอาบน้ำวุฎูฮ์ของผู้หนึ่งผู้ใดในหมู่พวกท่านในขณะที่มีหะดัษ จนกว่า เขาจะอาบน้ำละหมาดเสียก่อน ”

จากริวายะฮ์ข้างต้น(หนึ่งริวายะฮ์ในตำราชีอะห์อีกหนึ่งในตำราซุนนะห์)เป็นตัวบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการ อาบน้ำวุฎูฮ์ ว่ามีผลต่อการดำเนินชีวิต มีผลต่อความสมบูรณ์ของภาคอิบาดัต
วุฎูฮ์ ที่สมบูรณ์ มีกฏปฎิบัติอย่างไรบ้าง ?
วิธีการอาบน้ำวุฏูฮ์ในทัศนะของชีอะห์และซุนนี่ห์
หนึ่งในความต่างระหว่างชีอะห์และซุนนี่ ก็คือ การทำวุฎูอฺ ซึ่งประเด็นนี้นอกจากจะเป็นความขัดแย้งในทางปฏิบัติแล้ว ยังได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันระหว่างสองมัซฮับอย่างไม่สิ้นสุด โดยทั้งสองกลุ่มได้นำเสนอรูปแบบของการทำวุฏูอ์ ไว้ เช่นนี้

    ชีอะห์

ชีอะห์ : ล้างใบหน้า ,ล้างมือตั้งแต่ข้อศอกไปจนถึงปลายนิ้วมือ,เช็ดส่วนหน้าของศีรษะ และ เช็ดเท้าทั้งสอง

    ซุนนี่ห์

ซุนนี่ห์ : ล้างใบหน้า ,ล้างมือตั้งแต่ปลายนิ้วมือไปจนถึงข้อศอก,เช็ดทั้งหมดของศีรษะ และล้างเท้าทั้งสอง
ดังนั้นสิ่งที่สามารถยุติข้อสงสัยได้ดีที่สุด ก็คือการย้อนกลับไปดู และวิเคราะห์อายะตุลวุฏูฮ์ในอัลกุรอ่านว่า พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงตรัสถึงวิธีการอาบน้ำนมาซไว้อย่างไร และฮะดิษที่กล่าวถึงวิธีการอาบน้ำนมาซของท่านนบีมุฮัมมัด ศ. เป็นเช่นไร อัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 6
يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا إِذا أَقَمْتُمْ إِلَى الصَّلاَةِ فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَ أَيْدِيَكُمْ إِلَى المَرَفِقِ وَ امْسَحُوْا بِرُؤُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ
“บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อพวกเจ้าต้องการนมาซ ก็จงล้างใบหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก และจงเช็ดบางส่วนของศีรษะของพวกเจ้า และเท้าของพวกเจ้าจนถึงโหนกเท้า(ตาตุ่ม-ซุนนี่ห์)ทั้งสอง”
จากอายะข้างต้นเป็นที่แน่ชัดว่า “ข้อบังคับในการอาบน้ำนมาซนั้นมี 4 อวัยวะส่วนของร่างกาย คือ ใบหน้า แขนทั้งสอง ศีรษะ และเท้าทั้งสอง ซึ่งอวัยวะแต่ละส่วนได้ถูกกำหนดให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ใบหน้า คือการล้างหน้าให้ทั่วเขตใบหน้า อัลลอฮ์ ทรงมีรับสั่งว่า
فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ
“ และพวกเจ้าจงชำระล้างใบ หน้าของพวกเจ้า ”
2. แขนทั้งสอง คือการล้างแขนทั้งสองโดยมีขอบเขตจากปลายนิ้วมือถึงข้อศอก อัลลอฮ์ ทรงมีรับสั่งว่า
وَ أَيْدِيَكُمْ إِلَى المَرَفِقِ
“และจงล้างมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก”
3. การลูบเช็ดศีรษะ คือการลูบเช็ดส่วนบนด้านหน้าของศีรษะ อัลลอฮ์ ทรงมีรับสั่งว่า
وَ امْسَحُوْا بِرُؤُوسِكُمْ
“และจงเช็ดศีรษะบางส่วนของพวกเจ้า”
ความว่า หลังจากล้างหน้า และแขนทั้งสองแล้วพวกเจ้าก็จงลูบศีรษะ(บิรุอูซิกุม- بِرُؤُوسِكُمْ) “อักษร บะอ์” ในคำว่า “บิรุอูซิกุม” ให้ความหมาย “ตับอีฎ” (تبعیض) คือ “บางส่วนของศีรษะ”
บรรดาอุละมาอฺฝ่ายชีอะอ์และซุนนะห์ ,บรรดานักภาษาศาสตร์ และนักริวายะอ์มีความเห็นตรงกันในความหมายนี้ แต่มีความขัดแย้งกันตรงขนาดที่ต้องทำการลูบ
อุละมาอ์ฝ่ายชีอะฮ์ กล่าวว่า { أقل ما يقع عليه اسم المسح } “ส่วนที่ต้องทำการลูบคือบริเวณด้านหน้าของศีรษะ” ด้วยเหตุผลที่ว่า มีรายงานจากบรรดาอิมาม อ. เช่น ท่านอิมาม ญะฟัรรุศอดิก อ. หนึ่งในอะฮ์ลุลบัยต์นบี กล่าวว่า
مُحَمَّدِ بْنِ مُسْلِمٍ عَنْ أَبِی عَبْدِ الله (علیه السلام) قَالَ: مَسْحُ الرَّأْسِ عَلَى مُقَدَّمِهِ
การเช็ดศีรษะ(สำหรับวุฏุฮ์) ก็คือการเช็ดบริเวณด้านหน้าของศีรษะ
مُحَمَّدُ بْنُ یَعْقُوبَ، عَنْ عَلِیِّ بْنِ إِبْرَاهِیمَ، عَنْ أَبِیهِ، عَنِ ابْنِ أَبِی عُمَیْرٍ، عَنْ أَبِی أَیُّوبَ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُسْلِمٍ، عَنْ أَبِی عَبْدِ الله قَالَ: «… وَ ذَکَرَ الْمَسْحَ فَقَالَ: امْسَحْ عَلَى مُقَدَّمِ رَأْسِکَ وَ امْسَحْ عَلَى الْقَدَمَیْنِ وَ ابْدَأْ بِالشِّقِّ الْأَیْمَنِ
…จงเช็ดส่วนบนด้านหน้าของศีรษะ และจงเช็ดเท้าทั้งสองโดยเริ่มจากขวาก่อน
ในหมู่นักปราชญ์ชาวอะฮฺลิซซุนนะห์ในประเด็นนี้ มี 11 ทัศนะด้วยกัน เช่น
1- อิมามชาฟิอี ได้มีทัศนะตรงกับชีอะฮ์ในเรื่องนี้
2- อิมามอะบูฮะนีฟะฮฺ ให้ลูบเท่ากับ 1 / 4 ของศีรษะ

3- อิมามมาลิกให้ลูบทั้งศีรษะ และท่านอื่น ๆ อีกมากมาย

 
4. การลูบเช็ดเท้าทั้งสอง คือการเช็ดเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่มทั้งสอง อัลลอฮ์ ทรงมีรับสั่งว่า
وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ
“และจงเช็ดเท้าทั้งสองจนถึงโหนกเท้าทั้งสอง”
เช็ดหรือล้าง…..? ที่นี้มีคำตอบให้
คำถาม.
ทำไมชีอะห์ต้องเช็ดเท้าทั้งสองจนถึงโหนกเท้าทั้งสอง และไม่อนุญาตให้ล้างเท้าทั้งสองเหมือนที่ชาวอะลิลซุนนะห์ได้ปฏิบัติกัน ?
คำตอบ.
ในประโยค “วะอัรญุละกุม” (وَأَرْجُلَكُمْ) มีอักษร “อะฏอฟฺ” อยู่ หมายถึง เป็นคำสันธาน ที่ได้ อะฏอฟ หรือเชื่อมไปยังประโยค “รุอูซะกุม” (رُؤُوسِكُمْ) ฉะนั้นเท้าทั้งสองก็ต้องเช็ดตามศีรษะที่พระองค์รับสั่งให้ “เช็ด” ไม่ใช่ “ล้าง”
ข้อสงสัย. หากประโยค “วะอัรญุละกุม” (وَأَرْجُلَكُمْ) ได้ อะฏอฟ หรือเชื่อมไปยังประโยค “รุอูซะกุม” (رُؤُوسِكُمْ)แล้วทำไม ประโยค “วะอัรญุละกุม” จึงเป็น “นัศบ์” (อ่านฟัตอะฮ์)ไม่อ่าน “ยัร”(กัสเราะห์) เหมือนประโยค “บิรุฮุซิกุม” ?
คำตอบ. อักษร “วาว” ในประโยค “วะอัรญุละกุม” ซึ่งเป็นอักษรอะฏอฟ หมายถึงเป็นคำสันธาน ฉะนั้นประโยค “อัรญุละกุม” (أَرْجُلَكُمْ) สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1. อ่านว่า “อัรญุละกุม” โดยให้อ่าน “ลาม” เป็น “ฟัตฮะฮ์” เช่น {اَرْجُلَكُمْ} เรียกว่าเป็นการ “อะฏอฟฺที่มะฮัล” หมายถึง นำคำว่า “อัรญุละกุม” ไปเชื่อมกับคำว่า “รุอูซะกุม” (ศีรษะของท่าน) ซึ่งคำนี้อยู่ในฐานะของ “กรรม” จึงอ่านว่า “รุอูซะกุม” แต่เนื่องจากว่ามีอักษร “บะอ์” (กฎไวยกรณ์ภาษาอาหรับ ถือว่าเป็น “ฮุรูฟญัร” มีหน้าที่ให้ “ญัร” (กัซเราะฮฺ) แก่คำนาม หมายถึงเมื่อเข้าบนคำนามใด คำ ๆ นั้นต้องอ่านเป็นกัซเราะฮ์ เช่น {بِرُؤُوسِكُمْ} ซึ่งในความเป็นจริงต้องอ่านว่า {رُؤُوسَكُمْ} ดังทีกล่าวไปแล้ว แต่เนื่องจากว่ามี “อักษรบะอ์” เข้ามาจึงต้องอ่านว่า “บิรุอูซิกุม” {بِرُؤُوسِكُمْ}
แบบที่ 2. อ่านโดยให้ลามเป็น “กัซเราะฮ์” คือ “อัรญุลิกุม” {اَرْجُلِكُمْ} หมายถึงให้ “ลาม”อะฏอฟบนคำว่า “บิรุฮูซิกุม” {بِرُؤُوسِكُمْ} (ซึ่งการอ่านแบบแรก นั้น ให้ลามเป็นฟัตฮะฮ์) การอ่านแบบที่สองนี้ เป็นการอ่านของ นาฟิอ์ อิบนิ อามิร กะซาอีย์ และฮัฟซ์ ส่วนคนอื่นอ่านโดยให้ลามเป็นกัซเราะฮ์
แต่ถึงอย่างไรเสียไม่ว่าจะอ่านแบบที่หนึ่ง หรืออ่านแบบที่สองโดยให้ “ฟัตอะฮ์แก่ลาม หรือให้กัสเราะฮ์แก่ลาม” ก็ถือว่ายังคงเป็นวาญิบต้อง “เช็ดเท้า” ไม่ใช่ “ล้างเท้า” อยู่ดี
ในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นท่านฟัครุกรอซีฮ์ปราชญ์ผู้ลือนามชาวซุนนี่ห์ ได้อธิบายไว้ว่า ได้มีศ่อฮาบะฮ์ ,อุลามาซุนนี่ห์กลุ่มหนึ่ง และชีอะห์ ยืนยันว่า “ต้องเช็ดศีรษะกับเท้า”
الْمَسْأَلَةُ الثَّامِنَةُ وَالثَّلَاثُونَ: اخْتَلَفَ النَّاسُ فِي مَسْحِ الرِّجْلَيْنِ وَفِي غَسْلِهِمَا،فَنَقَلَ الْقَفَّالُ فِي تَفْسِيرِهِ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ وَأَنَسِ بْنِ مَالِكٍ وَعِكْرِمَةَ وَالشَّعْبِيِّ وَأَبِي جَعْفَرٍ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيٍّ الْبَاقِرِ: أَنَّ الْوَاجِبَ فِيهِمَا الْمَسْحُ،وَهُوَ مَذْهَبُ الْإِمَامِيَّةِ مِنَ الشِّيعَةِ
ต่อมาท่านได้อธิบายถึงเหตุผลของกลุ่มคนที่เช่นนั้นโดยได้อธิบายว่า “อายะฮ์นี้สามารถอ่านได้สองแบบ คือ นัศบ์ และ ยัรร์”

حُجَّةُ مَنْ قَالَ بِوُجُوبِ الْمَسْحِ مَبْنِيٌّ عَلَى الْقِرَاءَتَيْنِ الْمَشْهُورَتَيْنِ فِي قَوْلِهِ وَأَرْجُلَكُمْ فَقَرَأَ ابْنُ كَثِيرٍ وَحَمْزَةُ وَأَبُو عَمْرٍو وَعَاصِمٌ فِي رِوَايَةِ أَبِي بَكْرٍ عَنْهُ بِالْجَرِّ، وَقَرَأَ نَافِعٌ وَابْنُ عَامِرٍ وَعَاصِمٌ فِي رِوَايَةِ حَفْصٍ عَنْهُ بِالنَّصْبِ
ฟัครุกรอซี ได้กล่าวต่อไปว่า “ไม่ว่าเราจะอ่านนัศบ์ หรือ อ่านยัรร์” ทั้งสองแบบก็บ่งชี้ไปยังการเช็ดเท้าทั้งสิ้น
وَأَمَّا الْقِرَاءَةُ بِالنَّصْبِ فَقَالُوا أَيْضًا: إِنَّهَا توجب المسح، وذلك لأن قوله وَامْسَحُوا بِرُؤُسِكُمْ فرؤوسكم في النَّصْبِ وَلَكِنَّهَا مَجْرُورَةٌ بِالْبَاءِ، فَإِذَا عَطَفْتَ الْأَرْجُلَ على الرؤوس جَازَ فِي الْأَرْجُلِ النَّصْبُ عَطْفًا عَلَى مَحَلِّ الرؤوس، وَالْجَرُّ عَطْفًا عَلَى الظَّاهِرِ، وَهَذَا مَذْهَبٌ مَشْهُورٌ لِلنُّحَاةِ
إِذَا ثَبَتَ هَذَا فَنَقُولُ: ظَهَرَ أَنَّهُ يَجُوزُ أَنْ يَكُونَ عَامِلُ النَّصْبِ فِي قَوْلِهِ وَأَرْجُلَكُمْ هُوَ قَوْلَهُ وَامْسَحُوا وَيَجُوزُ أَنْ يَكُونَ هُوَ قَوْلَهُ فَاغْسِلُوا لَكِنِ الْعَامِلَانِ إِذَا اجْتَمَعَا عَلَى مَعْمُولٍ وَاحِدٍ كَانَ إِعْمَالُ الْأَقْرَبِ أَوْلَى، فَوَجَبَ أَنْ يَكُونَ عَامِلُ النَّصْبِ فِي قَوْلِهِ وَأَرْجُلَكُمْ هُوَ قَوْلَهُ وَامْسَحُوا فَثَبَتَ أَنَّ قِرَاءَةَ وَأَرْجُلَكُمْ بِنَصْبِ اللَّامِ تُوجِبُ الْمَسْحَ أَيْضًا، فَهَذَا وَجْهُ الِاسْتِدْلَالِ بِهَذِهِ الْآيَةِ عَلَى وُجُوبِ الْمَسْحِ
تفسیر فخر الرازی، الشهیر باتفسیر الکبیر، ج۱۱،ص۱۶۵.المکتبه دار الفکر
อิบนิ ยัญม์ ปราชญ์ชาวซุนนี่ห์ กล่าวว่า “สำหรับเท้าทั้งสองในทัศนะของเรา คือ การเช็ด เพราะอัลกุรอ่านประทานลงมาในเรื่องของการเช็ดเท้า”
«وَ اَمّا قَوْلُنا فِی الرِّجْلَیْنِ فَاِنَّ القُرآنَ نَزَلَ بِالْمَسْحِ قالَ اللهُ تَعالى:«و امسحوا برؤوسکم و ارجلکم» سَواءٌ قُرِئَ بِخَفْضِ اللّامِ اَوْ بِفَتْحِها هِیَ عَلى کُلِّ حالٍ عُطِفَ عَلَى الرُّؤُوسِ، اِمّا عَلَى اللَّفْظِ وَ اِمّا عَلَى الْمَوْضِعِ وَ لا یَجُوزُ غَیْرُ ذلِکَ لِاَنَّهُ لا یَجُوزُ اَنْ یُحالَ بَیْنَ الْمَعْطُوفِ وَ الْمَعْطُوفِ عَلَیْهِ بِقَضِیَّةِ مُبْتَدَإٍ وَ هکَذا جاءَ عَن اِبْنِ عَبّاسٍ: نَزَلَ القرآنُ بِالْمَسْحِ – یَعْنی فِی الرِّجْلَیْنِ فِی الْوُضُوءِ- وَ قَدْ قالَ بِالْمَسْحِ عَلَى الرِّجْلَیْنِ جَماعَةٌ مِنَ السَّلَفِ مِنْهُمْ عَلِىِّ بْنِ اَبی طالِبٍ وَ ابْنِ عَبّاسٍ وَ الْحَسَنِ وَ عِکْرَمَةِ وَ الشَّعَبی وَ جَماعَةِ غَیْرِهِمْ وَ هُوَ قَوْلُ الطَّبَری
المحلى بالآثار ج1 ص301 المؤلف: أبو محمد علي بن أحمد بن سعيد بن حزم الأندلسي القرطبي الظاهري (المتوفى: 456هـ)، الناشر: دار الفكر – بيروت، الطبعة: بدون طبعة وبدون تاريخ، عدد الأجزاء: 12.
مسح پا
แบบฉบับและซุนนะห์อะฮ์ลุลบัยต์นบี คือ การเช็ดเท้า ไม่ใช่ ล้างเท้า
ท่านอิมามบาเกร อ. กล่าวว่า จงอาบน้ำวุฎูของพวกเจ้าให้ต่อเนื่องกัน(อย่าเว้นช่วง) นั่นคือ ล้างหน้า ล้างแขน เช็ดศีรษะ และเช็ดเท้า
عَلِيٌّ عَنْ أَبِيهِ وَ مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ عَنِ الْفَضْلِ بْنِ شَاذَانَ جَمِيعاً عَنْ حَمَّادٍ عَنْ حَرِيزٍ عَنْ زُرَارَةَ قَالَ قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ عليه السلام تَابِعْ بَيْنَ الْوُضُوءِ كَمَا قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ ابْدَأْ بِالْوَجْهِ ثُمَّ بِالْيَدَيْنِ ثُمَّ امْسَحِ الرَّأْسَ وَ الرِّجْلَيْنِ وَ لَا تُقَدِّمَنَّ شَيْئاً بَيْنَ يَدَيْ شَيْ‏ءٍ تُخَالِفْ مَا أُمِرْتَ بِهِ وَ إِنْ غَسَلْتَ الذِّرَاعَ قَبْلَ الْوَجْهِ فَابْدَأْ بِالْوَجْهِ وَ أَعِدْ عَلَى الذِّرَاعِ وَ إِنْ مَسَحْتَ الرِّجْلَ قَبْلَ الرَّأْسِ فَامْسَحْ عَلَى الرَّأْسِ قَبْلَ الرِّجْلِ ثُمَّ أَعِدْ عَلَى الرِّجْلِ ابْدَأْ بِمَا بَدَأَ اللَّهُ بِه
ท่านอิมามศอดิก อ. กล่าวถึงชายผู้หนึ่งที่เขาได้ทำนมาซมาเป็นเวลา 60 –70 ปีแต่นมาซของเขากลับไม่ถูกต้อบรับจากอัลลออ์ ซ.บ.
สาวกได้ถามอิมาม อ. ว่า อันเนื่องเหตุอันใดที่นมาซของเขาไม่ถูกตอบรับ ?
อิมาม อ. ตอบว่า เพราะเขาอาบน้ำนมาซผิด นั่นคือ เขากลับล้างในส่วนที่ต้องเช็ด(ล้างเท้าแทนการเช็ดเท้าอันเป็นบทบัญญัติที่อัลลอฮ์ทรงรับสั่งไว้)

مُحَمَّدُ بْنُ یَحْیَى، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَیْنِ، عَنِ الْحَکَمِ بْنِ مِسْکِینٍ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مَرْوَانَ، قَالَ: قَالَ أَبُو عَبْدِ اللهِ (علیه السلام) «إِنَّهُ یَأْتِی عَلَى الرَّجُلِ سِتُّونَ وَ سَبْعُونَ سَنَةً مَا قَبِلَ اللهُ مِنْهُ صَلَاةً، قُلْتُ: وَ کَیْفَ ذَاکَ؟ قَالَ: لِأَنَّهُ یَغْسِلُ مَا أَمَرَ اللهُ بِمَسْحِهِ

 
ริวายะฮ์ว่าด้วยเรื่องของการเช็ดเท้าในตำราของชาวซุนนะห์

ตำราอ้างอิงฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ บุคอรียฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือปรวัติของตน อะฮฺมัด บิน อะบีชัยบะฮฺ อิบนิ อุมัร อัลบัฆวัยฺ ฏ็อบรอนียฺ บาวัรดียฺ และคนอื่น ๆ ซึ่งรายงานมาจาก อะบี เซาดฺ จาก อิบาด บิน ตะมีม อัลมาซันนี จากบิดาของเขา ว่า
رأيت رسول الله صل الله عليه وسلم : يتوَّضأ و يمسح الماء على رجليه
ฉันเห็นท่านศ่าสดา ศ. ทำวุฎูอ์ โดยท่านได้เช็ดเท้าของท่าน
ริวายะฮฺดังกล่าวได้บันทึกนามของเซาะฮาบะฮฺจำนวนมากไว้ ซึ่งท่านเหล่านั้นถือว่าเป็นวาญิบต้องเช็ดเท้าขณะทำวุฏอฺ เช่น ท่านอิบนิ ฮิซัม กล่าว่า
و قد قال بالمسح على الرجلين جماعة من السلف منهم على بن أبي طالب و ابن عباس والحسن و عكرمه والشعبي و جماعة غيرهم

กล่าวว่า แน่นอนการเช็ดเท้าทั้งสองข้าง (ขณะทำวุฎูอฺ) เป็นการกระทำของชนรุ่นแรก เช่น ท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบ อิบนุอับบาซ ฮะซัน อิกเราะมะฮฺ ชุอฺบียฺ และอีกกลุ่มหนึ่งที่นอกเหนือจากคนเหล่านี้มีริวายะฮ์มากมาย

รายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า
افترض الله غسلتين و مسحتين
อัลลอฮ์ทรงกำหนดในการอาบน้ำนมาซให้ล้างสองที่(ใบหน้ากับมือ)และกำหนดให้เช็ดในสองที่(ศีรษะกับเท้า)
รอวีกล่าวว่า ฉันเห็นอะลี (ร.ฎ.)อาบน้ำนมาซด้วยกับการเช็ดเท้าทั้งสอง
قال : رایت علیا رضی الله عنه توضا فمسح ظهورهما
อิบนิอับบาสกล่าวอีกว่า
أبا الناس إلا الغسل و لا أجد في کتاب الله إلا المسح
ประชาชนบางส่วนได้ทำการล้างเท้า ในขณะที่ฉันไม่ประจักษ์เลยว่าในคำภีร์ของอัลลอฮ์(ระบุให้ล้างเท้า)ยกเว้น(สิ่งที่ฉันเห็นก็คือ)การเช็ดเท้าเท่านั้น
الدر المنثور للسيوطي، ج2، ص262 ـ احکام القرآن لإبن عربي، ج2، ص71 ـ مسند احمد، ج6، ص385 ـ سنن ابن ماجه، ج1، ص156 المجموع نووي، ج1، ص418 ـ المبسوط سرخسي، ج1، ص8
วิธิอาบน้ำนมาซของท่านนบี ศ. รายงานโดยศ่อฮาบะฮ์ อะห์มัด บิน ฮัมบัล รายงานจากอิมามอะลี อ. ว่า “ท่านศาสดามุฮัมมัดได้เช็ดเท้าทั้งสอง”
حدثنا عبد اللَّهِ حدثني أبي ثنا وَكِيعٌ ثنا الأَعْمَشُ عن أبي إِسْحَاقَ عن عبد خَيْرٍ عن عَلِىٍّ رضي الله عنه قال كنت أَرَى ان بَاطِنَ الْقَدَمَيْنِ أَحَقُّ بِالْمَسْحِ من ظَاهِرِهِمَا حتى رأيت رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَمْسَحُ ظَاهِرَهُمَا
مسند أحمد بن حنبل، ج ۱، ص ۹۵،
อิบนิ อบี ชัยบะฮ์ กล่าวไว้ในมุซอลนัฟ ว่า ญิบรออีล ได้สอนท่านนบี ศ. ให้อาบน้ำนมาซด้วยกับการเช็ดเท้า
عَبْدُ الرَّزَّاقِ، عَنِ ابْنِ عُيَيْنَةَ قَالَ: حَدَّثَنَا إِسْمَاعِيلُ بْنُ أَبِي خَالِدٍ، عَنِ الشَّعْبِيِّ قَالَ: أَمَّا جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السَّلَامُ فَقَدْ نَزَلَ بِالْمَسْحِ عَلَى الْقَدَمَيْنِ
المصنف ج1 ص19 المؤلف: أبو بكر عبد الرزاق بن همام بن نافع الحميري اليماني الصنعاني (المتوفى: 211هـ)، المحقق: حبيب الرحمن الأعظمي، الناشر: المكتب الإسلامي – بيروت، الطبعة: الثانية، 1403، عدد الأجزاء: 11. المصنف في الأحاديث والآثار ج1 ص26 المؤلف: أبو بكر بن أبي شيبة، عبد الله بن محمد بن إبراهيم بن عثمان بن خواستي العبسي (المتوفى: 235هـ)، المحقق: كمال يوسف الحوت، الناشر: مكتبة الرشد – الرياض، الطبعة: الأولى، 1409، عدد الأجزاء: 7.
مسح بر پا

 

ฉะนั้นจากหลักฐานข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า วิธีการอาบน้ำนมาซตามอัลกุรอ่านและซุนนะห์นบี ศ. นั้น ต้องประกอบด้วย

– ล้างในสองที่ คือ ใบหน้า กับมือทั้งสอง

-เช็ดในสองที่ คือ ศีรษะ และเท้าทั้งสอง

นี้คือวุฎูฮ์ ที่สมบูรณ์
บทความโดยเอกภาพ

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม