เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ทำไม..ผู้ที่ละทิ้งนมาซไม่สมควรมีความหวังในความช่วยเหลือใด ๆ จากอัลลอฮ์ ซ.บ. ?!!

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ทำไม..ผู้ที่ละทิ้งนมาซไม่สมควรมีความหวังในความช่วยเหลือใด ๆ จากอัลลอฮ์ ซ.บ. ?!!


ทำไม..ผู้ที่ละทิ้งนมาซไม่สมควรมีความหวังในความช่วยเหลือใด ๆ จากพระองค์ ?!!

ความแตกต่าง ระหว่าง

    ร่อญาอ์[رجاء]
    อะมะลัน[أمل]
    อุมนียะฮ์[اُمنیة]
    อะม่อกัต[حماقت]

ระหว่างความหมายของคำว่า รอญาอ์ อะมะลัน อุมนียะฮ์ และ อะม่อกัต นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย ซึ่งหากเราจะเปรียบเทียบความแตกต่างของคำทั้ง 4 ก็อาจเปรียบได้กับ ความหวัง ของเกษตรกร

    หากเกษตรกรคนหนึ่งเอาใจใส่ดูแลพืชผลของตนและปฎิบัติไปตามคำแนะนำของเกษตรอำเภอ ซึ่งเขามีความหวังในผลผลิตของเขาค ว า ม ค า ด ห ว ัง เช่นนี้เรียกว่า ร่อญาอ์[رجاء]
    ถ้าเกษตรกรผู้นี้ไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแลพืชผลของตนเองเท่าไหร่นักแต่เขาก็ยังหวังในผลผลิตของเขา ค ว า ม ค า ด ห วั ง เช่นนี้เรียกว่า อะมะลัน[أمل]
    ถ้าเขาไม่สนใจเลยหรือไม่เคยเอาใจใส่ดูแลพืชผลแม้แต่นิดเดียว แต่ยังหวังว่าจะได้ผลผลิต ค ว า ม ค า ด ห ว ัง เช่นนี ้เรียกว่า อุมนียะฮ์[اُمنیة] เป็นความหวังที่เกิดจากภาพจินตนาการ
    แต่ถ้าเกษตรกรผู้นี้ได้หว่านเมล็ดข้าวสาลีลงไป โดยหวังว่าจะได้ผลผลิตเป็นข้าวบาร์เล่ย์ ค ว า ม ค า ด ห ว ัง เช่นนี้เรียกว่า อะม่อกัต[حماقت] หมายถึง ความหวังที่โง่เขลา เพราะสิ่งนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ประดุจดั่งกับคนที่ละทิ้งนมาซแต่มุ่งหวังรางวัลตอบแทนจากพระองค์

ถ้า ห า ก พิจ า ร ณ า อ ย่า ง ร อ บ ค อ บ จ ะ พ บ ว่า ค ว า ม ห ว ัง ป ร ะ เ ภ ท ที่ ห นึ่ง แ ล ะ ส อ ง นั้น เป็นที่ยอมรับดังที่เราอ่านกันเสมอในดุอาฮ์อบูอัมซะฮ์ษุมาลีย์ว่า “โอ้ ข้าแต่พระองค์สำหรับพวกเราแล้ว มีความหวังที่ยาวไกลและมากมาย (ในการอภัยของพระองค์)

อีกประโยคหนึ่งกล่าวว่า

โอ้ข้าแต่พระองค์ส าหรับพวกเราแล้ว พระองค์คือ ความหวังที่ยิ่งใหญ่

ส่วนความหวังประเภทที่สาม ได้รับการวิจารณ์จากอัลกุรอาน เพราะพวกชาวคำภีร์พูดว่า “จะไม่มีใครได้เข้าสวรรค์ นอกจากยะฮูดี หรือนัศรอนี อัลกุรอานกล่าววิจารณ์ว่า นี่เป็นความเชื่อและเป็นความหวัง ลม ๆ แล้ง ๆ

ความหวังประเภทที่สี่ เป็นความหวังที่เป็นไปไม่ได้ เพราะพวกเขาหวังให้อัลลอฮ์ ซ .บ. ทำให้จักรภพนี้พินาศ ขณะที่พระองค์คือผู้ทรงกรรมสิทธิ์และเป็นผู้บริบาลจกัรภพนี้ ชีวิตที่เป็นสุขและมีพรไพบูลย์ คือชีวิตที่อยู่บนวิถีทางของพระผู้เป็นเจ้า มีการเคารพสักกระสร้างความคุ้นเคยต่อพระองค์ และมีการดำรงนมาซ ฉะนั้น ผู้ที่ละทิ้งนมาซไม่สมควรมีความหวังในความช่วยเหลือใดๆ จากพระองค์

ในวันกิยามะฮ์จะมีการซักถามกันระหว่างชาวสวรรค์กับชาวนรก ซึ่งข้อซักถามของพวกเขา อัลกุรอานบางบท(เช่นบทมุดดัษษิร์) ได้บรรยายสรุปไว้ว่า และชาวสวรรค์ได้ถามชาวนรกว่า
อ ะ ไ ร คื อ ส า เ ห ต ุท า ใ ห ้พ ว ก ท ่า น ต ้อ ง ถ ูก ล ง โ ท ษ ใ น ไ ฟ น ร ก ห รื อ ?
พวกเขาได้ตอบว่ามีอยู่สี่สาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเราเป็นชาวนรก ซึ่งหนึ่งในสี่สาเหตุนั้นคือ การที่เขาเคยอยู่ในกลุ่มชนที่ไม่นมาซ

قَالُوا لَمْ نَكُ مِنَ الْمُصَلِّينَ وَلَمْ نَكُ نُطْعِمُ الْمِسْكِينَ وَكُنَّا نَخُوضُ مَعَ الْخَائِضِينَ وَكُنَّا نُكَذِّبُ بِيَوْمِ الدِّينِ

พวกเขากล่าวว่า เรามิได้อยู่ในหมู่ผู้ทำนมาซ เรามิได้ให้อาหารแก่บรรดาผู้ขัดสน อนาถา และพวกเราเคยมั่วสุมอยู่กับพวกที่มั่วสุม และพวกเรากล่าวว่าวันตอบแทนเป็นเรื่องเท็จ (บทอัลมุดดัษษิร์โองการที่ 43-46)


บทความโดย เชคอันศอร เหล็มปาน 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม