เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

27 ร่อยับ ครบรอบวันแต่งตั้งมุฮัมมัด ศ. ให้เป็นศาสนทูตของพระองค์ ศาสดามุฮัมมัดผู้แสวงหาสันติภาพ และผู้ก่อตั้งสิทธิสตรีโลก ของมนุษย์ขึ้น

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

27 ร่อยับ ครบรอบวันแต่งตั้งมุฮัมมัด ศ. ให้เป็นศาสนทูตของพระองค์ ศาสดามุฮัมมัดผู้แสวงหาสันติภาพ และผู้ก่อตั้งสิทธิสตรีโลก ของมนุษย์ขึ้น

ท่านนบีมุฮัมมัด ศ. เป็นชาวอาหรับเกิดในตระกูลกุเรซ ปีช้าง ตรงกับ ค.ศ. 570 ณ มักกะฮ์เมืองกลางทะเลทรายอาระเบีย ท่านกำพร้าบิดาตั้งแต่ก่อนถือกำเนิด ได้รับการเลี้ยงดูผ่านแม่นมชาวเบดูอินก่อนกลับมาอยู่กับมารดา ถึงอายุ 6 ขวบสูญเสียมารดาจึงกลับมาอยู่ในความดูแลของปู่ กระทั่งสูญเสียปู่เมื่ออายุได้ 8 ปี ลุงที่เป็นพ่อค้าได้เข้าอุปถัมภ์ พาเดินทางค้าขายทั่วดินแดนอาระเบีย เพื่อให้สัมผัสกับสังคมหลากอารยธรรมที่อยู่รายรอบ การสัมผัสสังคมสารพัดเชื้อชาติ ภาษาและศาสนาทั้งจากคนเมือง คนทะเลทราย ช่วยให้ท่านนบี ศ. มีบุคลิกภาพที่โดดเด่นกระทั่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการสรรสร้างประชาชาติอิสลามขึ้นในภายหลัง

ช่วงสมัยที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ.  คือช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับยุคกลางของยุโรปที่นักประวัติศาสตร์ด้านยุโรปศึกษาจำนวนไม่น้อยกำหนดให้เป็นยุคมืด เนื่องจากความถดถอยทางอารยธรรม สังคมยุคนั้น ความเป็นปิตาอธิปไตย มีอยู่สูง ซึ่งหมายถึงบิดาเป็นใหญ่ ทว่าความหมายที่แท้จริงคือฝ่ายชายเป็นใหญ่ มิใช่เฉพาะในความเป็นบิดาเท่านั้นแต่ครอบคลุมถึงอำนาจทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย โดยฝ่ายชายมีอำนาจในแทบทุกบทบาทรวมถึงการกำหนดพฤติกรรม วิธีคิด ของผู้คนในครอบครัวและสังคมด้วย

โลกยุคนั้น ฝ่ายชายเป็นใหญ่ไม่เฉพาะยุโรปทว่าในแทบทุกสังคมในโลก ซึ่งรวมถึงตะวันออกกลางและอาระเบีย ในสังคมอาหรับทะเลทราย ผู้หญิงยุคนั้นมีสิทธิน้อยมาก ขาดสิทธิไม่เฉพาะการดำรงชีวิตทว่ารวมถึงสิทธิในการมีชีวิตด้วย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทารกเพศหญิงจะถูกฝังทั้งเป็น 
ในช่วงเวลาขาดแคลน ทารกหากเกิดมาเป็นหญิง ถูกตีค่าว่าคือภาระที่บิดาสามารถกำจัดทิ้งได้  ซึ่งอิสลามประณามสิ่งเหล่านี้ อัลกุรอ่านระบุไว้ชัดเจนว่าการตัดสินใจของบิดาในการสังหารลูกสาวเช่นนั้นคือความชั่วอย่างแท้จริง เช่น อัตตักวีร์ 81:8-9 ระบุว่าในวันกิยามะฮ์หรือวันวิพากษา ทารกหญิงเหล่านั้นจะทวงถามว่าเธอถูกสังหารด้วยความผิดอะไร

คุณธรรมหนึ่งของท่านนบีตั้งแต่ก่อนการมาของอิสลามคือประสงค์จะยุติความอยุติธรรมต่อทารกเพศหญิงเหล่านั้น ซึ่งครอบคลุมถึงการสร้างสิทธิที่ชัดเจนสำหรับสตรีโดยทั่วไป หากเป็นสังคมยุคใหม่ ท่านนบีย่อมถูกเรียกว่าเป็นนักสิทธิสตรี ซึ่งท่านนบีเป็นเช่นนั้นจริงๆ คำสอนของอิสลามที่ว่าชายและหญิงเท่าเทียมกันต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าจึงสอดคล้องกับจริตของท่านนบี ในอิสลามให้สิทธิสตรีในมรดก ทรัพย์สิน สิทธิทางสังคมและการแต่งงาน รวมถึงสิทธิในการปฏิเสธเงื่อนไขสำหรับข้อเสนอในการแต่งงาน รวมถึงการหย่าร้าง ในโลกสมัยใหม่ ข้อกำหนดทางกฎหมายในโลกตะวันตกหลายประเทศที่ให้รวมข้อตกลงก่อนการสมรสไว้ในสัญญาการแต่งงานนั้นได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์ในกฎหมายอิสลามมาก่อนหน้านั้นแล้ว 

ท่านนบีมุฮัมมัดแนะนำให้ชายปฏิบัติอย่างดีต่อภรรยาและบุตรสาว ว่า : 
“คุณมีสิทธิเหนือผู้หญิงของคุณและผู้หญิงของคุณมีสิทธิเหนือคุณ” อิสลามกำหนดอย่างนั้น ชายและหญิงจึงมีความเท่าเทียมกัน สตรีได้รับสิทธิในมรดก ทรัพย์สิน สิทธิทางสังคม การแต่งงาน รวมถึงสิทธิในการปฏิเสธเงื่อนไขของข้อเสนอและเริ่มต้นการหย่าร้าง โดยก่อนหน้าการมาของอิสลาม สตรีในคาบสมุทรอาหรับไม่เคยได้รับสิทธิเหล่านั้น

นี้คือของขวัญอันล้ำค่าซึ่งศาสดามุฮัมมัด ศ. ได้มอบให้แก่สตรีทั่วโลก

แล้วไหนละที่โลกตะวันตกพยายามประโคมข่าวว่า "อิสลามกดขี่สตรีเพศ"

ท่านนบีมุฮัมมัด ศ. จากไปใน ค.ศ.632 เมื่ออายุ 63 ปี สร้างรัฐอิสลามของชนอาหรับขึ้นเป็นครั้งแรกมีศูนย์กลาง ณ มะดีนะฮ์ ทางเหนือของมักกะฮ์ รวบรวมคนหลากชาติพันธุ์ หลากศาสนาเข้าด้วยกันกำเนิดเป็นอาณาจักรอิสลามที่เท่าเทียมแผ่ขยายไปทั่วดินแดนตะวันออกกลาง อัฟริกา เอเชียและยุโรป ความสำเร็จของท่านนบีมิใช่เพียงด้านศาสนา แต่ครอบคลุมทั้งการเมือง การปกครอง กลายเป็นแบบอย่างให้โลกได้เรียนรู้


บทความโดย เชคอันศอร เหล็มปาน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม