ท่านอิมามอะลี อ. เชื่อว่า “ตำแหน่งผู้นำภายหลังท่านนบี ศ. ต้องได้มาโดยการ “แต่งตั้ง” ไม่ใช่ “เลือกตั้ง”

ท่านอิมามอะลี อ. เชื่อว่า “ตำแหน่งผู้นำภายหลังท่านนบี ศ. ต้องได้มาโดยการ “แต่งตั้ง” ไม่ใช่ “เลือกตั้ง”


“ตำแหน่งผู้นำ เป็นสิทธิของอะห์ลุลบัยต์ ที่เป็นทั้ง “วะซียะฮ์ คำสั่งเสียของท่านนบี ศ. ” และเป็นทั้ง “มรดกสืบทอด จากท่านนบีแก่วงค์วานลูกหลานของท่าน”

divider

มุสลิมที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามคำพูดและการกระทำของท่านศาสดาแห่งอิสลาม และสาวกของท่านได้รับการขนานนามว่า “อะห์ลิซซุนนะฮ์ วัล-ญะมาอะห์” หรือ ซุนนีห์

มุสลิมซุนนี
มุสลิมซุนนี่ห์ เชื่อว่าศาสดาแห่งอิสลามไม่ได้แต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของท่าน ดังนั้นมุสลิมจึงจำเป็นต้อง สรรหาผู้นำ ของพวกเขากันเอง ด้วยเหตุนี้มุสลิมซุนนีจึงไม่มีวิธีที่แน่นอนในการเลือกสรรผู้นำในอนาคตของพวกเขา

ในกรณีหนึ่งบรรดาสาวกสรรหาผู้นำโดยผ่านกระบวนการซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้ง ในอีกกรณีหนึ่งผู้ที่อยู่ในตำแหน่งคนแรก ดำเนินการเสนอชื่อและแต่งตั้งผู้สืบทอดอำนาจคนต่อไปของตนเองได้เลย ในกรณีที่สามผู้อยู่ในตำแหน่งคนที่สองแต่งตั้งคะกรรมการมา 6 คน และมอบหมายหน้าที่ให้ไปเลือกบุคคลคนหนึ่งจากพวกเขามาเป็นผู้นำในอนาคตของประชาคมมุสลิม

ผู้นำคนที่สามที่ได้รับการเลือกสรรถูกสังหารในระหว่างการจลาจลและอุมมะฮ์(ประชาชาติ) มุสลิมถูกทิ้งไว้โดยปราศจากผู้นำบรรดาสาวกจึงกลับมาหาครอบครัวนบี และอ้อนวอนให้บุคคลหนึ่งในครอบครัวของท่านรับผิดชอบรัฐบาลของมุสลิม เพื่อป้องกันการแตกแยกหรือการแตกสลายของรัฐ

ผู้นำคนที่สี่กำลังปกครองมุสลิม ขณะเดียวกันผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้นำคนใหม่ ไดแต่งตั้งตนเองขึ้นมาในซีเรีย เขาไม่ใยดีกับการเลือกตั้ง ซ้ำท้าทายอำนาจของผู้นำที่ชอบธรรมของมุสลิม ด้วยการปลุกระดมโดยวิธีการใช้กำลัง และประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจรัฐบาล การกระทำของเขาทำให้ “หลักการ” สำหรับการสรรหาผู้นำของ อุมมะฮ์มุสลิมเพิ่มขึ้นเป็น 4 วิธี คือ

การเลือกตั้ง อบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ที่สะกีฟะฮ์
การเสนอชื่อแต่งตั้ง อุมัรได้รับการแต่งตั้งโดยอบูบักรให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง
การตั้งกรรมการสรรหา หรือเลือกสรร อุศมานได้รับการเลือกสรรให้เป็นคอลีฟะฮ์โดยคณะกรรมการหกคนที่แต่งตั้งโดยอุมัร
การยึดอำนาจรัฐโดยใช้กำลัง มุอาวียะฮ์ บิน อบูซุฟยาน ยึดอำนาจรัฐบาลของมุสลิมโดยใช้กำลังทหาร
ซุนนี่ห์พิจารณา “หลักการ” ทั้งสี่นี้เป็นหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม ด้วยเหตุเช่นนี้ หลัก “ธรรมนูญ” ที่แตกต่างกันสี่ประการในการหากผู้นำจึงเกิดขึ้น

ในที่นี้เราควรจะระบุลงไปว่า แม้มุสลิมซุนนีจะใช้วิธีการในการสรรหาผู้นำของ อุมมะฮ์มุสลิม แต่ละวิธีการในสี่ประการที่แตกต่างกันนี้มี “สถานะ” เป็น “หลักการ” แต่ทั้งสี่หลักการนี้ก็ไม่มีที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของท่านศาสดา ศ. แต่อย่างใด ทั้งหมดนั้นมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากการเสียชีวิตของศาสดาแห่งอิสลาม

มุสลิมชีอะห์
มุสลิมชีอะห์ มองทฤษฏีการปกครองของซุนนีว่า “ขาดความน่าเชื่อถือทางหลักการและทางศีลธรรม” และขาดความไม่อยู่กับร่องกับรอย พวกเขากล่าวว่าหลักการต้องถูกหรือไม่ก็ผิด และสิ่งที่จะทดสอบว่าผิดหรือถูกก็คือ อัลกุรอาน มุสลิมทั้งโลกสามารถมีมติเอกฉันท์ กำหนดกฎหมายขึ้น แต่ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับอัลกุรอาน ย่อมไม่ถือว่าเป็นเรื่องของอิสลาม แหล่งของความสอดคล้องตามหลักการและทางศีลธรรมคือ “อัลกุรอาน” ไม่ใช่ “เสียงส่วนใหญ่”

ดังพระดำรัสของพระองค์ “ไม่มีผู้ใดมีอำนาจปกครองนอกจากอำนาจนั้นต้องมาจากพระองค์เท่านั้น” ดังที่ระบุไว้ในคัมภีร์ดังนี้

إِنِ الْحُكْمُ إِلاَّ لِلّهِ يَقُصُّ الْحَقَّ وَهُوَ خَيْرُ الْفَاصِلِينَ

“แท้จริงการชี้ขาดนั้นมิใช่สิทธิของใครอื่น นอกจากเป็นสิทธิของอัลลอฮ์เท่านั้น โดยที่พระองค์จะทรงแจ้งความจริง และพระองค์เป็นผู้ที่เยี่ยมที่สุดในบรรดาผู้ชี้ขาด”

หลักการของชีอะห์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เป็นหลักการที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากอะห์ลุลบัยต์นบี โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี อ. ที่ท่าน อ. เชื่อว่า ผู้นำภายหลังจากท่านนบี ศ. ต้องได้รับมาโดยการ แต่งตั้ง ไม่ใช่ เลือกตั้ง ดังที่ท่าน อ. ได้กล่าวไว้ว่า “ตำแหน่งผู้นำ เป็นสิทธิของอะห์ลุลบัยต์ ที่เป็นทั้ง “วะซียะฮ์ คำสั่งเสียของท่านนบี ศ. ” และเป็นทั้ง “มรดกสืบทอดจากท่านนบีแก่วงค์วานลูกหลานของท่าน” ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในคุฎบะฮ์ที่ 2 ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะว่า

ولهم خصائصُ حقِّ الولاية، وفيهم الوصيّةُ والوِراثةُ
สิทธิที่เฉพาะของอะห์ลุลบัยต์ คืออำนาจวิลายะฮ์(อำนาจการปกครองหลังจากท่านนบี)ที่เป็นคำสั่งเสียของท่านศาสนทูตและเป็นมรดกสืบทอดจากท่าน ศ.