เหตุการณ์ตะฮ์นียัต
เหตุการณ์ตะฮ์นียัต
เหตุการณ์ตะฮ์นียัต(การแสดงความยินดีของคอลีฟะฮ์คนที่หนึ่งและคนที่สองต่ออิมามอะลี)
เหตุการณ์ตะฮ์นียัต หมายถึง การแสดงความยินดีของอัศฮาบของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอลีฟะฮ์คนที่หนึ่งและคนที่สองที่มีต่ออิมามอะลี (อ.) หลังจากการประกาศว่าอะลี เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ในเหตุการณ์วันเฆาะดีรและการแจ้งข่าวนี้ บ่งบอกถึงความชอบธรรมของอิมามอะลี (อ.) และจุดประสงค์ของศาสดาในการประกาศตัวแทนของเขาในวันเฆาะดีร
ตัวบทของการแสดงความยินดี
เหตุการณ์ตะฮ์นียัต คือ การแสดงความยินดีของบรรดาอัศฮาบ(สาวก)ของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) หลังจากที่ศาสดาประกาศถึงความเป็นผู้นำ(วิลายัต) ของอิมามอะลี (อ.) ในเฆาะดีร(วันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์? ปีที่ 10 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช )(1) อุมัร บินค็อฏฏ็อบ กล่าวแสดงความยินดีต่ออิมามอะลี(อ.) ด้วยคำว่า
بَخٍّ بَخٍّ لَک یا عَلِی أَصْبَحْتَ مَوْلَای وَ مَوْلَی کلِّ مُؤْمِنٍ وَ مُؤْمِنَةٍ
คำแปล : ฉันขอแสดงความยินดีและแสดงความยินดีกับท่าน โอ้อะลี ท่านนั้นได้เป็นของฉันและนายของผู้ศรัทธาทุกคนทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี”(2) บางรายงานใช้คำว่า อิบนุอะบีฏอลิบ(3) หรืออะมีรุลมุอ์มินีน(4) แทนคำว่า อะลี และบางตัวบทของรายงานใช้คำว่า มุสลิม แทนคำว่า มุอ์มิน และมุมินะฮ์ (5) อะฮ์หมัด บินฮัมบัล ได้รายงานคำกล่าวของอุมัร ด้วยตัวบทที่ว่า
هَنِيئًا يا ابنَ أَبِي طَالِبٍ، أَصبَحتَ وَأَمسَيتَ مَولَى كلِّ مُؤمِنٍ وَمُؤمِنَة
คำแปล : ช่างหอมหวานยิ่งสำหรับท่าน โอ้บุตรของอะบีฏอลิบ ท่านได้เป็นนายของผู้ศรัทธาทุกคนทั้งชายและผู้หญิงทั้งยามเช้าและยามเย็น(6)
ใครคือ ผู้กล่าวแสดงความยินดีกับอิมามอะลี(อ.)?
อะบูบักร อุมัร อิบนุค็อฏฏอบ ฏ็อลฮะห์ และซุบัยร์ ซึ่งเป็นศอฮาบะฮ์ที่ร่วมแสดงความยินดีกับอิมามอะลีในวันเฆาะดีร(7) นักเขียนบางคนกล่าวว่า อะบูบักรและอุมัรได้รับคำสั่งจากศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)(8) และการฝ่าฝืนคำสั่งนี้ เป็นสาเหตุให้เกิดการปฏิเสธ ฉะนั้นพวกเขาทั้งสองจึงได้ปฏิบัติ(9) แต่บางรายงานกล่าวว่า อุมัรรู้สึกดีใจในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้(10) จากการแสดงความยินดีของเขากับอิมามอะลีถือว่ามีน้ำหนักมากที่สุดเหนือกว่าผู้อื่น(11)และเขาคือบุคคลแรกที่แสดงความยินดีกับอิมามอะลี(12) หรือเป็นหนึ่งในคนแรกๆที่แสดงความยินดีกับอิมามอะลี(อ.)(13)อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีแหล่งอ้างอิงต่างๆมากมายที่กล่าวถึงการแสดงความยินดีของอุมัรกับอิมามอะลี(อ.)(14)ขณะเดียวกัน บางแหล่งอ้างอิงกล่าวว่า อะบูบักรและอุมัร กล่าวคำเดียวกันในการแสดงความยินดีกับอิมามอะลี(15)
และหนังสือบางเล่มเขียนว่า เหตุการณ์ตะฮ์นียัต เกิดขึ้นโดยซัยยิดอาลิอะดีย์(16) หรือซัยยิดบะนีอะดีย์(17)(เชื้อสายคอลีฟะฮ์ที่สอง ไปถึงยังอะดีย์ บินกะอ์บ์ (18) หรือบุคคลอื่นไม่ระบุชื่อ(19)
ในหนังสืออัดดุรุนนะซีม เขียนว่า อุมัร หลังจากการประกาศตำแหน่งผู้นำของอิมามอะลี เขาได้กล่าวกับศาสนทูตของอัลลอฮ์ ว่า ฉันเห็นชายหนุ่มผู้หนึ่งที่สวมเสื้อผ้าที่สะอาด มีกลิ่นหอม และมีใบหน้าที่งดงาม และชายคนนั้นกล่าวกับอุมัรว่า โอ้อุมัร วันนี้ มุฮัมมัดได้ทำพันธสัญญากับลูกพี่ลูกน้องของเขา ไม่มีผู้ปฏิเสธใดเว้นแต่พวกกลับกลอก ดังนั้นศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) กล่าวว่า โอ้อุมัร เจ้ารู้จักชายผู้นั้นหรือไม่? เขาตอบว่า ไม่ ศาสดาจึงกล่าวกับเขาว่า นั่นคือ ญิบรออีล (อ.) (20)
คำบ่งชี้ของเหตุการณ์ตะฮ์นียัตที่เกี่ยวกับตำแหน่งอิมามัตของอิมามอะลี(อ.)
นักวิชาการชีอะฮ์บางคน ถือว่า อุมัรได้แสดงความยินดีกับอิมามอะลี เป็นหลักฐานที่ดีที่ระบุว่า เป้าหมายของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ในเหตุการณ์เฆาะดีร(21) คือ ความเป็นอิมามัต(ผู้นำ)และผู้ปกครองของอะลี บินอะบีฏอลิบและมีความสูงส่งเหนือผู้ใด(22) และความรอบรู้เหนือผู้อื่น(23)ในบางตำราวิชาการเขียนว่า อิมามอะลี(อ.) หลังจากนั้นได้พบปะกับคอลีฟะฮ์ที่หนึ่ง จึงยกเหตุผลนี้
นอกเหนือจากนี้ ยังมีริวายัตที่กล่าวถึงการแสดงหลักฐานต่อคอลีฟะฮ์ที่หนึ่งในความชอบธรรมของอิมามอะลีสำหรับการเป็นคอลีฟะฮ์(24) ฟัยฎ์ กาชานี กล่าวว่า แท้จริงอุมัร อิบนุค็อฏฏ็อบ หลังจากกล่าวแสดงความยินดีกับอิมามอะลี เขาได้เรียกอิมามอะลีว่า อะมีรุลมุอ์มินีน(25)
ที่มา