อะมีรุลมุอ์มีนีน
อะมีรุลมุอ์มีนีน
อะมีรุลมุอ์มีนีน เป็นสมญานามที่ชีอะฮ์เรียกถึงอิมามอะลี (อ.) และชาวชีอะฮ์ยังไม่ใช้สมญานามนี้เรียกบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์คนใดเลย พวกเขามีความเชื่อว่า สมญานามนี้ ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เ)ฉพาะกับอะลี บิน อะบีฏอลิบ
ดังที่เชคมุฟีด หนึ่งในนักวิชาการชีอะฮ์ ในศตวรรษที่ห้าแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้แนะนำอะลี บิน อะบีฏอลิบ ในฐานะผู้สืบทอดและผู้นำของชาวมุสลิมจากเหตุการณ์เฆาะดีร และเชิญชวนให้ทุกคนให้สลามกับเขาด้วยสมญานามว่า อะมีรุลมุอ์มินีน ยังมีริวายะฮ์จากท่านหญิงอุมมุซะละมะฮ์ (ภรรยาคนหนึ่งของศาสดา) และอะนัส บิน มาลิก เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สมญานาม อะมีรุลมุอ์มีนีน ได้เกิดขึ้นในยุคสมัยของศาสดาจริง ขณะเดียวกัน อิบนุค็อลดูน (เสียชีวิต ฮ.ศ.808) นักประวัติศาสตร์ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ อ้างว่า สมญานามนี้ได้ถูกเรียก อุมัร บิน ค็อฏฏอบ เป็นครั้งแรกในหมู่ศอฮาบะฮ์ ซึ่งคำอ้างนี้ ขัดแย้งกับริวายะฮ์ต่างๆของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ที่รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้เรียกอิมามอะลีว่า อะมีรุลมุอ์มินีน
มีการใช้คำว่า อะมีรุลมุอ์มินีน ทางการเมืองในสมัยการปกครองของคอลีฟะฮ์ที่สอง เหล่าคอลีฟะฮ์ยุคแรก ยกเว้น อะบูบักร เหล่าคอลีฟะฮ์บะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาซียะฮ์ ต่างใช้คำว่า อะมีรุลมุอ์มินีน ซัยยิดอิบนุฏอวูซ นักวิชาการชีอะฮ์ ในศตวรรษที่เจ็ด ได้พิสูจน์ในหนังสือ อัลยะกีน บิคติศอศ เมาลานา อะลี บิอิมเราะติลมุอ์มินีน ว่า สมญานามนี้ได้ใช้กับอิมามอะลี (อ.)
ความหมาย
อะมีรุลมุอ์มินีน หมายถึง นาย ผู้บัญชาการและผู้นำของบรรดามุสลิม (1) ชาวชีอะฮ์เชื่อว่า คุณลักษณะนี้ ถูกใช้กับอิมามอะลี (อ.) เท่านั้น และไม่มีการนำมาใช้กับบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ คนอื่นเลย (2)
ในหนังสือ มะฟาติฮุลญินาน เขียนว่า ชาวชีอะฮ์ได้รับคำแนะนำให้กล่าวถึงการยึดมั่นในวิลายะฮ์ของอะมีรุลมุอ์มินีน ในวันอีดเฆาะดีร ขณะที่พบปะระหว่างกัน ด้วยคำกล่าวเฉพาะเจาะจง(บันทึกที่ 1) (3)
การใช้คำว่า อะมีรุลมุอ์มินีนโดยศาสดามุฮัมมัด
ตามความเชื่อของชีอะฮ์ การเกิดขึ้นและการใช้ครั้งแรกของสมญานามว่า อะมีรุลมุอ์มินี โดยผ่านศาสดามุฮัมมัด ที่ได้เรียกอะลี บิน อะบีฏอลิบ ด้วยสมญานามนี้ และเนื่องจากอิมามอะลีถูกกีดกันจากตำแหน่งคอลีฟะฮ์ คำนี้จึงถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับคอลีฟะฮ์ที่สองและที่สาม(4)
ชาวชีอะฮ์ ได้ยกหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากฮะดีษที่ได้รายงานมาจากชีอะฮ์และซุนนีย์ ท่านหญิงอุมมุซะละมะฮ์ (5) และอะนัส บิน มาลิก รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้เรียกอะลี บิน อะบีฏอลิบ ด้วยคำว่า อะมีรุลมุอ์มีนีน ระหว่างสนทนากับภรรยทั้งสองของเขา (6)
และเช่นเดียวกัน ตรงตามริวายะฮ์ที่รายงานจากอิบนุ มัรดะวิยะฮ์ อิศฟาฮานี นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ในหนังสือ อัลมะนากิบของเขา เขียนว่า ศาสดาแห่งอิสลาม ได้เรียกอิมามอะลี ด้วยสมญานาม อะมีรุลมุอ์มินีน หลายครั้งและหนึ่งในริวายะฮ์ รายงานว่า ญิบรออีล เทวทูตของอัลลอฮ์ ได้ลงมายังศาสนทูตของพระองค์โดยเรียกอะลีว่า อะมีรุลมุอ์มินีน (7)
ในริวายะฮ์ต่างๆของชีอะฮ์ ได้รายงานว่า ศาสดาของอิสลาม ได้แนะนำอะลีในฐานะผู้สืบทอดและผู้ปกครองของปวงมุสลิมในเหตุการณ์เฆาะดีร จนกระทั่งศาสดาต้องการให้ทุกคนกล่าวสลามกับอะลีด้วยสมญานามว่า อะมีรุลมุอ์มินีน ด้วยเหตุนี้ บรรดามุสลิมได้ปฏิบัติตามความต้องการของศาสดา พวกเขาจึงเข้ามายังกระโจมของอะลี และกล่าวสลามกับเขาดั่งเช่นที่ศาสดาสั่งไว้ (8) และตรงตามนี้ยังมีอีกริวายะฮ์หนึ่งที่สั่งให้ศอฮาบะฮ์จำนวนเจ็ดคนกล่าวสลามกับอิมามอะลี รวมทั้งอะบูบักร อุมัร ฏ็อลฮะฮ์และซุบัยร์ และพวกเขาทั้งหมดก็ตอบรับคำสั่งของศาสดา(9)
ชีอะฮ์ ได้ยกหลักฐานในการพิสูจน์สมญานาม อะมีรุลมุอ์มิอีน สำหรับอิมามอะลี (อ.) ด้วยคำพูดของอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ ที่เขากล่าวในเหตุการณ์เฆาะดีร ว่า อะลี ท่านคือ ผู้ปกครองของเหล่าสตรีและบุรุษผู้มีศรัทธา (10) และตามทัศนะของนักวิชาการบางคน การใช้คำว่า มุอ์มิน (ผู้มีศรัทธา) แสดงให้เห็นถึงการยอมรับว่า สมญานาม อะมีรุลมุอ์มินีน สำหรับอิมามอะลีโดยเฉพาะ(11)
ทัศนะของอิบนุค็อลดูน ในประเด็นการใช้คำว่า อะมีรุลมุอ์มินีน
อิบนุค็อลดูน (เสียชีวิต ฮ.ศ.808 ) นักประวัติศาสตร์ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้กล่าวว่า สมญานาม อะมีรุลมุอ์มินีน เกิดขึ้นในสมัยคอลีฟะฮ์ที่สองและกล่าวถึงอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ ศอฮาบะฮ์ เรียกอะบูบักร์ว่า คอลีฟะตุรอซูลิลลาฮ์ (ตัวแทนของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ) หลังจากเขา ก็เรียกอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบว่า คอลีฟะตุรอซูลิลลาฮ์ แต่เนื่องจากคำนี้มีหนักและการขัดแย้งกันในชื่อของอับดุลลอฮ์ บินญะฮัช หรือ อัมร์ อาศ หรือมุฆ็อยเราะฮ์ บินชุอ์บะฮ์ หรืออะบูมูซา อัชอะรีย์ จึงเรียกอุมัรว่า อะมีรุลมุอ์มินีน และด้วยเหตุนี้เอง บรรดาศอฮาบะฮ์จึงมีความพึงพอใจและอนุมัติให้เรียกเขาด้วยสมญานามนี้ (12) และบางรายงานกล่าวว่า คอลีฟะฮ์ที่สองมีบทบาทในการตั้งสมญานามนี้ (13) ยะอ์กูบี นักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ เกี่ยวข้องกับปี ฮ.ศ.18 (14) แน่นอนว่า แหล่งอ้างอิงของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ยืนยันว่า ศาสดามุฮัมมัด ได้เรียกอิมามอะลีด้วยสมญานามนี้ (15) และเช่นเดียวกัน อิบนุค็อลดูร เนื่องจากการถือว่า ชัยคอน มีฐานะที่สูงส่งกว่า จึงพยายามที่จะยกฐานะของเหล่าคอลีฟะฮ์ทั้งสาม คอลีฟะฮ์บะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาซียะฮ์ ให้เหนืออิมามอะลี(16)
ตามคำกล่าวของอิบนุค็อลดูน ถือว่า ในเวลานั้น เรียกผู้บัญชาการกองทัพว่า อะมีร และบรรดาศอฮาบะฮ์ ได้เรียกซะอ์ด บิน อะบีวักกอศว่า อะมีรุลมุอ์มินีน เนื่องจากเขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพมุสลิมในสงครามกอดีซิยะฮ์ (ปี ฮ.ศ.14) (17) และเช่นเดียวกัน มีการใช้คำว่า อะมีรุลมุอ์มีนีน ในทางการเมือง หลังจากช่วงสมัยของศาสดา ผู้ทรงเกียรติ(ศ็อลฯ) และมีการใช้สมญานามนี้กับคอลีฟะฮ์ที่สองและที่สาม ยกเว้นอะบูบักร เหล่าคอลีฟะฮ์บะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาซียะฮ์ ด้วยตลอดมา(18)
หนังสือที่เฉพาะ
ซัยยิด อิบนุฏอวูซ นักรายงานฮะดีษของชีอะฮ์ในศตวรรษที่เจ็ด ได้ประพันธ์หนังสือที่เกี่ยวกับสมญานาม อะมีรุลมุอ์มินีน โดยใช้ชื่อว่า อัลยะกีน บิคติศอศ เมาลานา อะลี บิอิมเราะติลมุอ์มินีน ซึ่งหนังสือเล่มนี้ไปรวบรวมฮะดีษถึง 220 ฮะดีษ จากแหล่งอ้างอิงของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า อะมีรุลมุอ์มินีน เป็นสมญานามเฉพาะกับอิมามอะลี (อ.) (19) และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เรียกอะลี บิน อะบีฏอลิบ ด้วยสมญานามเป็นการเฉพาะ (20)
ที่มา