เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บรรดาอิมามของชีอะฮ์อิมามียะฮ์

2 ทัศนะต่างๆ 04.5 / 5

บรรดาอิมามของชีอะฮ์อิมามียะฮ์


ตามริวายะฮ์(คำรายงาน) กล่าวว่า บรรดาอิมามจำนวน 12 คน ของชีอะฮ์อิมามียะฮ์ เป็นผู้ที่สืบทอดเจตนารมณ์และเป็นตัวแทนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และเป็นอะฮ์ลุลบัยต์(วงศ์วาน) ของศาสดา หลังจากการจากไปของศาสดา (ศ็อลฯ)

อิมามคนแรก คือ อิมามอะลี(อ.) และบรรดาบุตรและลูกหลานของท่าน คือ บรรดาอิมามหลังจากเขา โดยทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ทั้งสิ้น

ตามความเชื่อของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ บรรดาอิมามได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์ (พระผู้เป็นเจ้า) และมีคุณลักษณะต่างๆ เช่น ความบริสุทธิ์ปราศจากความผิดบาป (อิศมะฮ์) ความประเสริฐเหนือผู้อื่นใด ความรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ(ฆ็อยบ์) และเป็นผู้ให้การอนุเคราะห์(ชะฟาอะฮ์) ทั้งนี้ บรรดาอิมามยังปฏิบัติภารกิจของท่านศาสดาอีกด้วย เช่น การรับคำวิวรณ์ (วะฮีย์)และการนำมาซึ่งหลักศาสนบัญญัติ(ชะรีอะฮ์)

ขณะที่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ไม่ยอมรับความเป็นอิมาม(อิมามะฮ์)ของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ แต่ทว่าพวกเขานั้นมีความรักและความปรารถนาดีต่อบรรดาอิมามและยอมรับในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความรู้ทางศาสนาและวิชาการทั้งหลาย

นามของบรรดาอิมาม มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน แต่มีริวายะฮ์จากศาสดา เช่น ฮะดีษจากญาบิร และฮะดีษสิบสองคอลีฟะฮ์และฮะดีษที่กล่าวถึงจำนวนของบรรดาอิมาม ด้วยเหตุนี้เอง ตามริวายะฮ์ จึงกล่าวไว้ว่า บรรดาอิมามและตัวแทนของท่านศาสดา จึงมีจำนวน 12 คนและทั้งหมดนั้นมาจากเผ่าพันธุ์กุเรชและเป็นอะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดาทั้งสิ้น

ในขณะที่ทัศนะของชีอะฮ์อิษนาอะชะรียะฮ์(ชีอะฮ์อิมามสิบสอง) ต่างเชื่อว่า อิมามอะลีนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนของศาสดา จากวจนะของเขา และหลังจากนั้น ได้มีการแต่งตั้งอิมามอย่างเปิดเผยและชัดเจนด้วยริวายะฮ์ของท่านศาสดา

บรรดาผู้สืบทอดหลังจากศาสดา(ศ็อลฯ) จำนวน 12 คน ซึ่งมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

อะลี บินอะบีฏอลิบ ฮะซัน บินอะลี ฮุเซน บินอะลี อะลี บินฮุเซน มุฮัมมัด บินอะลี ญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด มูซา บินญะอ์ฟัร อะลี บินมูซา มุฮัมมัด บินอะลี อะลี บินมุฮัมมัด ฮะซัน บินอะลี และอัลมะฮ์ดี (อ.ญ)

ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จักของชีอะฮ์ ระบุว่า บรรดาอิมามจำนวนสิบเอ็ดคน ถูกทำชะฮาดะฮ์ (ชะฮีด) ในขณะที่อิมามคนสุดท้าย คือ อิมามมะฮ์ดี ผู้ที่ถูกรอคอย กำลังอยู่ในช่วงของการเร้นหาย และในอนาคต จะปรากฏกายและจะทำให้แผ่นดินเต็มไปด้วยความยุติธรรม

ชาวอะฮ์ลิซซุนะฮ์ ไม่ยอมรับบรรดาอิมามทั้งสิบสองคน ในฐานะที่เป็นอิมามและตัวแทนของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) แต่ทว่า พวกเขาเหล่านั้นกลับมีความรักและความห่วงใยในบรรดาอิมามทั้งสิบสองคน

ได้มีการบันทึกชีวประวัติของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ ทั้งในตำราของชีอะฮ์ เช่น ในหนังสืออัลอิรชาดของเชคมุฟีดและหนังสือดะลาอิล-อัลอิมามะฮ์ และในตำราของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เช่น หนังสือยะนาบิอุลมะวัดดะฮ์ และหนังสือตัซกิเราะตุลเคาวาศ
สถานภาพและคุณลักษณะต่างๆ

ความเชื่อในความเป็นอิมาม(อิมามัต)ของอิมามทั้งสิบสองคน ถือเป็นหนึ่งในหลักการของชีอะฮ์อิษนาอะชะรียะฮ์ (1) ในทัศนะของชีอะฮ์ เชื่อว่า บรรดาอิมามได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์ โดยผ่านท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม(2)

บรรดาชีอะฮ์ ต่างเชื่อว่า ถึงแม้ว่า จะไม่มีกล่าวนามของบรรดาอิมามในอัลกุรอานก็ตาม แต่จากโองการอัลกุรอานต่างๆ เช่น โองการอูลิลอัมร์ โองการตัฏฮีร โองการวิลายะฮ์ โองการอิกมาล โองการตับลีฆและโองการศอดิกีน ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นอิมามะฮ์ของบรรดาอิมาม(ผู้นำ)ทั้งสิ้น (3) ซึ่งแน่นอนว่า ยังมีริวายะฮ์ต่างๆมากมายที่ได้กล่าวชื่อและจำนวนของบรรดาอิมาม(4)

ตามความเชื่อของชีอะฮ์ บรรดาอิมามมีหน้าที่ความรับผิดชอบของศาสดา(ศ็อลฯ) เช่น การอธิบายโองการอัลกุรอาน การอธิบายหลักการปฏิบัติ การอบรมผู้คนในสังคม การตอบคำถามทางศาสนา การดำรงความยุติธรรมในสังคมและการปกป้องเขตพรมแดนของอิสลาม แต่มีความแตกต่างระหว่างพวกเขากับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ก็คือ การรับคำวิวรณ์(วะฮ์ยู) การนำศาสนบัญญัติ(ชะรีอัต)(5)
คุณลักษณะจำเพาะ

ตามทัศนะของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ เห็นว่า บรรดาอิมามทั้งสิบสองท่าน จะต้องมีคุณลักษณะพิเศษต่างๆเหล่านี้ : ความบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน(อิศมัต) : บรรดาอิมามก็เหมือนศาสดาของอิสลาม มีความบริสุทธิ์ปราศจากบาปและความผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น ความสูงส่งเหนือกว่าผู้อื่น : ในทัศนะของบรรดาผู้รู้ของชีอะฮ์ เชื่อว่า บรรดาอิมาม หลังจากศาสดาของอิสลาม(ศ็อลฯ) มีความสูงส่งเหนือกว่าบรรดาศาสดา มวลเทวทูต(มะลาอิกะฮ์) และผู้อื่นใด(7)ริวายะฮ์(คำรายงาน) บ่งบอกถึงความสูงส่งของบรรดาอิมาม ซึ่งอยู่ในระดับมุสตะฟีฎ(มีผู้รายงานจำนวนมาก แต่ยังไม่ถึงระดับมุตะวาติร) แต่ทว่าอยู่ในระดับมุตะวาติรอีกด้วย(8)

ความรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ : บรรดาอิมามได้รับความรอบรู้ในสิ่งเร้นลับจากพระเจ้า(9)

วิลายัตตักวีนีย์และตัชรีอีย์(การมีอำนาจในการสร้างสรรค์และศาสนบัญญัติและกฏหมาย)  : นักวิชาการของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ส่วนมาก ยอมรับว่า บรรดาอิมาม(อ.) มีวิลายัตตักวีนีย์(10) และไม่มีการขัดแย้งกันในการพิสูจน์ว่า พวกเขามีวิลายัตตัชรีอีย์ในความหมายที่ว่า มีความสามารถในการจัดการทรัพย์สินและชีวิตของมนุษย์(11) มีริวายัตในระดับตัฟวีฎ(12) รายงาน บรรดาอิมาม(อ.) มีวิลายัตตัชรีอีย์ในความหมายที่ว่า มีความชอบธรรมในการกำหนดหลักศาสนบัญญัติและกฏหมาย(13)

ฐานภาพการให้อนุเคราะห์ (ชะฟาอัต)  : บรรดาอิมาม(อ.) เหมือนศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ที่มีฐานภาพการให้อนุเคราะห์(14)
แหล่งที่มาของศาสนาและศาสตร์

จากฮะดีษต่างๆ เช่น ฮะดีษษะเกาะลัยน์(15) และฮะดีษซะฟีนะฮ์(16) บ่งบอกว่า บรรดาอิมาม (อ.) เป็นแหล่งที่มาและย้อนกลับของศาสนาและวิชาการศาสตร์ต่างๆ และประชาชน จะต้องย้อนกลับไปยังพวกเขาในประเด็นทางศาสนา(17)

ผู้นำสังคม  : บรรดาอิมาม (อ.) มีหน้าที่ในการปกครองสังคมและชี้นำสังคมอิสลาม หลังจากศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) (18)

ความจำเป็นในการปฏิบัติตาม  : ตามโองการอูลิลอัมร์ แสดงให้เห็นว่า เป็นสิ่งวาญิบ(ความจำเป็น)ที่จะต้องปฏิบัติตามบรรดาอิมาม(อ.) และการปฏิบัติตามพวกเขา เป็นสิ่งจำเป็นอย่างสมบูรณ์ ดังเช่นที่การปฏิบัติตามอัลลอฮ์และศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เป็นสิ่งจำเป็น(19)

ตามทัศนะส่วนมากของนักวิชาการชีอะฮ์ เชื่อว่า บรรดาอิมาม(อ.) ทั้งหมดทุกคน เสียชีวิตด้วยการเป็นชะฮีดหรือจะถูกทำชะฮาดัต(20) เหตุผลก็คือ ริวายัต(21) ที่ได้กล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า จะไม่มีจากพวกเรา เว้นแต่ถูกสังหาร เป็นชะฮีด(22) ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า จากริวายัตนี้ บ่งบอกว่า บรรดาอิมามทั้งหมดจะถูกสังหารด้วยการเป็นชะฮีด(23)
อิมามัตของบรรดาอิมาม

นักวิชาการชีอะฮ์ ได้พิสูจน์ความเป็นอิมามัตของบรรดาอิมามทั้งสิบสอง ด้วยเหตุผลทางสติปัญญา เช่น ความบริสุทธิ์ปราศจากความผิดบาปและความสูงเหนือกว่าผู้อื่นใดของบรรดาอิมาม และยังมีเหตุการณ์จากการรายงาน เช่นฮะดีษของญาบิร ฮะดีษเลาฮ์ และฮะดีษ 12 คอลีฟะฮ์(24)
ฮะดีษญาบิร

ญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี หลังจากการประทานลงมาของโองการ โอ้บรรดาผู้ศรัทธา พวกเจ้าจงปฏิบัติตามอัลลอฮ์ และปฏิบัติตามศาสนทูตของพระองค์และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้า(25) เขาได้ถามศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เกี่ยวกับความหมายของคำว่า ผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้า คือ ผู้ใดหรือ?ศาสดาได้ตอบกับเขาว่า พวกเขาคือ ตัวแทนของฉันและเป็นอิมามของชาวมุสลิมหลังจากฉัน บุคคลแรกคือ อะลี บินอะบีฏอลิบ และหลังจากเขา คือ ฮะซัน ฮุเซน อะลี บินฮุเซน มุฮัมมัด บินอะลี ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด มูซา บินญะอ์ฟัร อะลี บินมูซา มุฮัมมัด บินอะลี อะลีย บินมุฮัมมัด ฮะซัน บินอะลี และหลังจากเขา บุตรของเขาซึ่งมีชื่อและฉายานามเหมือนกับฉัน(26)
ฮะดีษ สิบสองคอลีฟะฮ์

รายงานจากอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ที่กล่าวถึงจำนวนของคอลีฟะฮ์ และคุณลักษณ์พิเศษ เช่น ทั้งหมดนั้นมาจากเผ่าพันธุ์กุเรช

ญาบิร บินซะมุเราะฮ์ รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) กล่าวว่า อิสลามอันทรงเกียรติ ยังคงอยู่ จนกว่าจะมีผู้ปกครอง(คอลีฟะฮ์) ทั้ง 12 คน ซึ่งทั้งหมดนั้นมาจากเผ่าพันธุ์กุเรช(28)

และมีรายงานจากอิบนุมัสอูด กล่าวว่า จำนวนของผู้นำหลังศาสดา 12 คน เท่ากับจำนวนผู้นำของบะนีอิสราเอล (29)

สุลัยมาน บินอิบรอฮีม กุนดูซี นักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เขียนในหนังสือ ยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์ ว่า ความหมายของคอลีฟะฮ์ทั้งสิบสองคนในฮะดีษของศาสดา คือ บรรดาอิมามสิบสองคนของอะฮ์ลุลบัยต์ เพราะว่าเป็นไปไม่ได้ที่ฮะดีษจะหมายถึงผู้อื่นใด นอกเหนือจากนี้(30)
แนะนำบรรดาอิมาม

ชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ มีความเชื่อด้วยหลักฐานทางสติปัญญา(31) และคำรายงาน เช่น ฮะดีษเฆาะดีร และฮะดีษมันซิลัต ว่า คอลีฟะฮ์อันชอบธรรมและเป็นตัวแทนของศาสดาแห่งอิสลาม คือ อะลี บินอะบีฏอลิบ(32) และหลังจากอิมามอะลี(อ.) เรียงตามลำดับ อิมามฮะซัน (อ.) อิมามฮุเซน(อ.) อิมามซัจญาด(อ.)อิมามบากิร(อ.) อิมามศอดิก(อ.) อิมามมูซา กาซิม(อ.) อิมามริฎอ(อ.) อิมามญะวาด(อ.) อิมามฮาดี(อ.) อิมามฮะซัน อัสกะรี(อ.) และอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ซึ่งทั้งหมดล้วนมีหน้าที่ในการเป็นอิมามัต(ผู้นำ)ของสังคมอิสลามทั้งสิ้น(33)
อิมามอะลี(อ.)

อะลี บินอะบีฏอลิบ เป็นที่รู้จักกันว่า อิมามอะลี ฉายานามของเขา อะมีรุลมุอ์มินีน(อ.) เขาเป็นอิมามคนแรกของชีอะฮ์ เขาเป็นบุตรของอะบูฏอลิบและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บินติอะซัด ถือกำเนิดในเดือนรอญับ ปีที่30 แห่งปีช้าง(อามุลฟีล) ณ วิหารอัลกะอ์บะฮ์(34)เขาเป็นบุรุษคนแรกที่มีศรัทธาต่อศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)(35) และเขาร่วมอยู่กับศาสดามาโดยตลอดและเขายังได้สมรสกับฟาฏิมะฮ์ บุตรีศาสนทูตของอัลลอฮ์อีกด้วย(36)

ถึงแม้ว่าศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้แนะนำอะลี เป็นตัวแทน ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของเขา ในหลายกรณีต่างๆมากมาย เช่น ในวันเฆาะดีร(37)แต่หลังจากการจากไปของศาสดา ได้เกิดเหตุการณ์ขี้นที่ซะกีฟะฮ์ บะนีซาอิดะฮ์ จนกระทั่งมีการให้สัตยาบัน(บัยอะฮ์) กับอะบูบักร บินอะบีกุฮาฟะฮ์ในฐานะที่เป็นคอลีฟะฮ์ของชาวมุสลิม(38) หลังจากที่ผ่าน 25 ปี และการหลีกเลี่ยงจากการต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่อรักษาความปลอดภัยและเอกภาพของสังคมอิสลาม (ช่วงยุคการปกครองของสามคอลีฟะฮ์ ในปีที่ 35 ฮ.ศ. ประชาชนให้สัตยาบันกับอะลี(อ.ป และเลือกให้เขาขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์(39) ช่วงเวลาการเป็นคอลีฟะฮ์ของอะลี ประมาณ สี่ปีกับอีกเก้าเดือน ได้เกิดสงครามภายในสามครั้ง สงครามญะมัล สงครามซิฟฟีน และสงครามนะฮ์รอวาน ด้วยเหตุนี้ ส่วนมากของยุคการปกครองของอิมามอะลี (อ.) จึงใช้เวลาในการขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายใน(40)

อิมามอะลี ถูกฟันที่ศีรษะโดยอิบนุมุลญัม ในวันที่ 19 รอมฎอน ปีที่ 40 ในสถานที่มิฮ์รอบ ณ มัสญิดกูฟะฮ์ ในขณะที่เขากำลังทำนมาซ และในวันที่ 21 รอมฎอน เขาก็ได้รับการเป็นชะฮีด และร่างอันไร้วิญญาณของเขาถูกนำไปฝังยังเมืองนะญัฟ(41) เขาเป็นผู้ที่มีความประเสริฐอย่างมากมายเหลือคณานับ(42) รายงานจากอิบนุอับบาส ว่า โองการอัลกุรอานมากกว่า 300 โองการถูกประทานลงมาเพื่อกล่าวยกย่องความประเสริฐของอิมามอะลี(อ.) (43)และยังมีรายงานจากอิบนุอับบาสอีกด้วยเช่นกันว่า ไม่มีโองการใดที่ไม่กล่าวถึง โอ้บรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งบ่งบอกว่า อิมามอะลีนั้นคือ หัวหน้าและผู้ปกครองของพวกเขา(44)
อิมามฮะซัน(อ.)

ฮะซัน บินอะลี เป็นที่รู้จักกันว่า อิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา บุตรชายของอิมามอะลี (อ.) กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ(ซ.) เขาถือกำเนิดในวันที่ 15 รอมฎอน ปีที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ณ เมืองมะดีนะฮ์(45)

หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอะลี ผู้เป็นบิดา ด้วยคำสั่งของอัลลอฮ์และคำสั่งเสียของบิดา จึงทำให้อิมามฮะซันดำรงตำแหน่งอิมามัต(ผู้นำ) และเขาได้ปกครองชาวมุสลิมในฐานะคอลีฟะฮ์ของบรรดามุสลิม เป็นระยะเวลาประมาณ หกเดือนด้วยกัน(46) ในช่วงระยะเวลานี้ มุอาวียะฮ์ บินอะบีซุฟยานพร้อมเหล่าทหารของเขา ได้บุกโจมตียังอิรัก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของคอลีฟะฮ์ของอิมามฮะซันและได้หลอกลวงกองทัพของอิมามฮะซัน และทำการยุยงปลุกปั่นให้พวกเหล่านี้ต่อต้านกับอิมามฮะซัน เพื่อที่จะบังคับให้อิมามฮะซันต้องยอมทำสนธิสัญญาประนีประนอมและโอนอำนาจคอลีฟะฮ์ให้กับมุอาวียะฮ์ ด้วยเงื่อนไข(ที่ว่า หลังจากการเสียชีวิตของมุอาวียะฮ์ ตำแหน่งคอลีฟะฮ์ จะย้อนกลับไปสู่อิมามฮะซันอีกครั้งและครอบครัวของอิมามและบรรดาชีอะฮ์ จะปลอดภัยจากการรุกรานอีกด้วย)(47) อิมามฮะซัน ดำรงตำแหน่งอิมามัต ได้ 10 ปี( 48) และในวันที่ 28 ซอฟัร ปี 50 ฮ.ศ. เนื่องการยุยงของมุอาวียะฮ์ อิมามฮะซันได้รับยาพิษจากญุอ์ดะฮ์ ภรรยาของเขา จนได้รับชะฮีดและร่างอันไร้วิญญาณของเขา ถูกนำไปฝังยังสุสานบะเกียะอ์(49)

อิมามฮะซัน(อ.) เป็นหนึ่งในชาวอะฮ์ลิลกิซา(50) เขาเป็นผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์(51) และเขายังเป็นหนึ่งในบุคคลที่อัลลอฮ์ทรงขจัดมลทินออกไป ด้วยการประทานลงมาของโองการตัฏฮีรเกี่ยวกับพวกเขา(52)
อิมามฮุเซน(อ.)

ฮุเซน บินอะลี เป็นที่รู้จักกันว่า อะบาอับดิลลาฮ์ และซัยยิดุชชุฮะดาอ์ และเขาเป็นอิมามคนที่สามของชีอะฮ์ เขาเป็นบุตรชายคนที่สองของอิมามอะลี(อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.) เขาถือกำเนิดในวันที่ 3 ชะอ์บาน ปีที่ 4 ฮ.ศ. ณ เมืองมะดีนะฮ์(53) หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮะซัน(อ.) ด้วยคำกล่าวอย่างเปิดเผยของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)และอิมามอะลี(อ.) รวมทั้งคำสั่งเสียของพี่ชายของเขา อิมามฮุเซน(อ.) จึงได้ดำรงตำแหน่งอิมามัตสืบต่อจากอิมามฮะซัน(อ.)(54)

อิมามฮุเซน(อ.) ดำรงตำแหน่งอิมามัตได้ 10 ปี(55)ในยุคการเป็นอิมามัตของเขา ประมาณหกเดือนอยู่ในช่วงการเป็นคอลีฟะฮ์ของมุอาวียะฮ์(56) มุอาวียะฮ์เสียชีวิตในปีที่ 60 ฮ.ศ.) และยะซีด บุตรของเขาได้ขึ้นแทนที่มุอาวียะฮ์(57) ยะซีดได้สั่งให้ผู้ปกครองเมืองมะดีนะฮ์ ไปเอาสัตยาบันมาจากอิมามฮุเซน หากเขาไม่ให้สัตยาบัน ก็จงส่งศีรษะของเขามายังเมืองชาม(ซีเรีย) หลังจากที่ผู้ปกครองเมืองมะดีนะฮ์ได้ส่งสารของยะชีดให้อิมามฮุเซน(อ.) เขาพร้อมทั้งครอบครัวได้เดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังมักกะฮ์ ในยามกลางคืน(58) ในช่วงเวลาหนึ่ง ด้วยคำเชิญชวนของประชาชนชาวเมืองกูฟะฮ์ เขาพร้อมทั้งครอบครัวและบรรดาสาวกบางส่วนได้เดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองกูฟะฮ์(59) อิมามฮุเซน พร้อมผู้ร่วมเดินทางได้ถูกปิดล้อมด้วยกองทัพของยะซีด และวันที่ 10 (อาชูรอ) มุฮัรรอม ได้เกิดสงครามระหว่างอิมามฮุเซนกับกองมทัพของยะซีด ภายใต้การนำของอุมัร บินซะอัด และอิมามฮุเซน ครอบครัวและบรรดาสาวกของเขาเป็นชะฮีด ขณะที่เหล่าสตรีและเด็กๆและอิมามซัจญาดถูกจับเป็นเชลยศึก(60)

อิมามฮุเซน เป็นหนึ่งในอะฮ์ลิลกิซาอ์ (61) เขาเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์(62) และเขาเป็นหนึ่งในอะฮ์ลุลบัยต์แห่งศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่โองการตัฏฮีรถูกประทานลงมาให้กับพวกเขา(63)
อิมามซัจญาด (อ.)

อะลี บินฮุเซน ฉายานามของเขา คือ ซัจญาดและซัยนุลอาบิดีน เขาเป็นอิมามคนที่สี่ของชีอะฮ์ เขาเป็นบุตรของอิมามฮุเซน(อ.) กับท่านหญิงชะฮ์ริบานู บุตรีของยัซด์กิรด์ที่สาม เขาถือกำเนิดในปีที่ 38 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ณ เมืองมะดีนะฮ์(64)

อิมามซัจญาดถูกจับเป็นเชลยในเหตุการณ์กัรบะลา และเขาได้ถูกส่งตัวพร้อมทั้งเหล่าเชลยแห่งกัรบะลา ไปยังเมืองกูฟะฮ์(65)และเมืองชาม(66) เขาได้กล่าวเทศนาธรรมในเมืองชามด้วยการแนะนำตัวเองและบรรพบุรุษของเขา จนสร้างความประทับใจให้กับประชาชน(67) หลังจากสิ้นสุดการเป็นเชลยศึก อิมามซัจญาด(อ.) ได้เดินทางกลับไปยังเมืองมะดีนะฮ์และหมกมุ่นอยู่กับการทำอะมั้ลอิบาดัตและไม่มีการติดต่อสื่อสารกับผู้ใด เว้นแต่อะบูฮัมซะฮ์ ษุมาลี และอะบูคอลิด กาบุลี และบุคคลเหล่านี้ต่างได้เรียนรู้วิชาการจากอิมามซัจญาดและทำการเผยแพร่ให้ชาวชีอะฮ์รับรู้(68)

อิมามที่สี่ ดำรงตำแหน่งอิมามัตได้ 34 ปีและได้รับยาพิษโดยน้ำมือของวะลีด บินอับดุลมะลิก ในขณะที่เขามีอายุ 58 ปี ในปีที่ 95 ฮ.ศ.และได้รับการเป็นชะฮีด(71) ทั้งนี้ ร่างอันไร้วิญญาณของเขาถูกนำไปฝังเคียงข้างอิมามฮะซัน ผู้เป็นอาของเขา ณ สุสานบะเกียะอ์(72)

บทดุอาอ์ (การขอพร)และการวิงวอนของอิมามซัจญาดที่มีความหมายอย่างมากได้ถูกเรียบเรียงไว้ในหนังสือเศาะฮีฟะฮ์ อัซซัจญาดียะฮ์(73)
อิมามบากิร (อ.)

มุฮัมมัด บินอะลี เป็นที่รู้จักกันว่า อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) เขาเป็นอิมามคนที่ห้าของชีอะฮ์ และเป็นบุตรของอิมามซัจญาดกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บุตรีของอิมามฮะซัน(อ.) (74) เขาถือกำเนิดในปีที่ 57 ฮ.ศ.) ณ เมืองมะดีนะฮ์(75) เขาดำรงตำแหน่งอิมามัต(76) หลังจากบิดาของเขา ด้วยคำสั่งของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และการแนะนำของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)และบรรดาอิมาม(อ.) ก่อนหน้าเขา และเขาได้รับยาพิษโดยอิบรอฮีม บินวะลีด บินอับดุลมะลิก ผู้ที่เป็นหลานชายของฮิชาม คอลีฟะฮ์ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในปีที่ 114 ฮ.ศ.(77) จนได้รับการเป็นชะฮีด(78)และร่างอันไร้วิญญาณของเขาถูกนำไปฝังเคียงข้างบิดาของเขา ณ สุสานบะเกียะอ์(79)อิมามบากิร เป็นผู้ที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์กัรบะลา ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุ 4 ปีด้วยกัน(80)

ระยะเวลาการเป็นอิมามัตของอิมามที่ห้า มีระยะเวลานานถึง 18 ปี หรือ 19 ปี (81) ในขณะที่ทางกลับกัน เนื่องจากความฉ้อฉลของราชวงศ์บะนีอุมัยยะฮ์ ได้เกิดการปฏิวัติและสงครามในทุกๆวัน และปัญหาเหล่านี้ ทำให้ระบอบคอลีฟะฮ์ เกิดความยุ่งเหยิงและห่างไกลออกจากการรุกรานต่อบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(82) ในอีกด้านหนึ่ง การเกิดเหตุการณ์กัรบะลา และการถูกกดขี่ของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ทำให้ชาวมุสลิมมีความหลงใหลในตัวเขาและเปิดโอกาสให้เขาที่จะเผยแพร่ความจริงของอิสลามและคำสอนของอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในช่วงของอิมามคนใดเลย ด้วยเหตุนี้ จึงมีการบันทึกฮะดีษต่างๆเป็นจำนวนมาก(83)ดังคำกล่าวของเชคมุฟีด กล่าวว่า ฮะดีษจากอิมามบากิร(อ.) ครอบคลุมถึงทุกแขนงวิชาการ ขนาดที่ว่าไม่มีบุตรหลานของอิมามฮะซัน (อ.)และอิมามฮุเซน(อ.)เคยรายงานฮะดีษใดที่มากมายเท่านี้มาก่อน(84)
อิมามศอดิก(อ.)

ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด เป็นที่รู้จักกันว่า อิมามญะอ์ฟัร ศอดิก(อ.) เป็นอิมามคนที่หกของชีอะฮ์ เขาเป็นบุตรของอิมามบากิร(อ.)กับท่านหญิงอุมมุฟัรวะฮ์ บุตรีของกอซิม บินมุฮัมมัด บินอะบีบักร เขาถือกำเนิดในวันที่ 17 รอบีอุลเอาวัล ปีฮ.ศ. 83 ณ เมืองมะดีนะฮ์(85) เขาได้รับยาพิษโดยมันซูร คอลีฟะฮ์ อับบาซี(46) และเป็นชะฮีดในปี ฮ.ศ.148(47)ร่างอันไร้วิญญาณของเขาถูกนำไปฝังยังสุสานบะเกียะอ์(88)

อิมามศอดิก(อ.)ดำรงตำแหน่งอิมามัต เป็นระยะเวลา 34 ปี (89) เนื่องจากความอ่อนแอของการปกครองบะนีอุมัยยะฮ์ จึงเป็นโอกาสที่ดีของอิมามศอดิกในการเผยแพร่คำสอนของอิสลาม ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้อิมามศอดิก เผยแพร่คำสอนของอิสลามและอบรมสั่งสอนบุคลากรทางวิชาการในแขนงต่างๆ(90) จำนวนสานุศิษย์และผู้รายงานฮะดีษจากเขา ถึง 4 พันคนด้วยกัน(91) บุคคลเช่น ซุรอเราะฮ์ มุฮัมมัด บินมุสลิม มุอ์มิน ฏอก ฮิชาม บินฮะกัม อะบาน บินตัฆลิบ ฮิชาม บินซาลิมและญาบิร บินฮัยยาน(92) และชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เช่น ซุฟยาน ษูรี อะบูฮะนีฟะฮ์ (ผู้ก่อตั้งมัสฮับฮะนะฟียะฮ์)มาลิก บินอะนัส (อิมามมัสฮับมาลิก) ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนคือ บุคคลที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาจากอิมามศอดิกทั้งสิ้น(93)

ตามคำกล่าวของเชคมุฟีด จะเห็นได้ว่า ในระหว่างบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ส่วนมากของริวายะฮ์นั้นได้รับรายงานมาจากอิมามศอดิก(94) และด้วยเหตุนี้เอง มัสฮับชีอะฮ์ จึงได้รับนามว่า มัสฮับญะอ์ฟะรียะฮ์(95)
อิมามกาซิม (อ.)

มูซา บินญะอ์ฟัร เป็นที่รู้จักกันดี คือ อิมามมูซา กาซิม ด้วยฉายานามว่า กาซิม และบาบุลฮะวาอิจญ์ เขาเป็นอิมามคนที่เจ็ดของชีอะฮ์ เขาเป็นบุตรของอิมามศอดิกกับท่านหญิงฮะมีดะฮ์ ถือกำเนิดในปีฮ.ศ. 128 ณ หมู่บ้านอับวาอ์ ระหว่างเมืองมักกะฮ์และมะดีนะฮ์(96)

อิมามกาซิม (อ.) ได้ดำรงตำแหน่งอิมามัต หลังจากบิดาของเขา ด้วยคำกล่าวอย่างเปิดเผยของอิมามศอดิก(อ.)(97)อิมามกาซิม ดำรงตำแหน่งอิมามัต 35 ปี(98) เขาร่วมสมัยกับมันซูร,ฮาดี,มะฮ์ดีและฮารูน จากคอลีฟะฮ์บะนีอับบาซียะห์(99)ช่วงเวลานั้น เป็นช่วงเวลาการเรืองอำนาจของคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับอิมามกาซิมและบรรดาชีอะฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงต้องทำการตะกียะฮ์และสั่งให้ชีอะฮ์ปฏิบัติเช่นนี้(100)ในวันที่ 20 เชาวาล ปี ฮ.ศ.179 ขณะที่ฮารูนเดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮ์เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ เขาได้ออกคำสั่งให้จับกุมตัวอิมามกาซิมจากมะดีนะฮ์ ไปยังเมืองบะศอเราะฮ์ และจากเมืองบะศอเราะฮ์ไปยังกรุงแบกแดด(101)อิมามกาซิม (อ.) ได้รับยาพิษในคุกโดยซินดี บินชาฮิก จนอิมามเป็นชะฮีดในปี ฮ.ศ. 184 และร่างอันไร้วิญญาณของอิมาม ถูกนำไปฝังยังสถานที่หนึ่งที่ชื่อว่า มักบะเราะฮ์กุเรช(102) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเมืองกาซิมัยน์(103)
อิมามริฎอ (อ.)

อะลี บินมูซา บินญะอ์ฟัร เป็นที่รู้จักกันดีคือ อิมามริฎอ (อ.) เขาเป็นอิมามคนที่แปดของชีอะฮ์ เขาเป็นบุตรของอิมามกาซิม (อ.)กับท่านหญิงนัจมะฮ์ คอตูน ถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 148 ณ เมืองมะดีนะฮ์และได้เป็นชะฮีดในขณะที่มีอายุ 55 ปี ในปี ฮ.ศ. 203 ณ เมืองฏูส(มัชฮัด)(104) อิมามริฎอ(อ.)ดำรงตำแหน่งอิมามัตหลังจากบิดาของเขา ด้วยบัญชาของอัลลอฮ์และการเปิดเผยของอิมามกาซิม(อ.) (105)ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอิมามัตของเขา 20 ปี (183-203) ซึ่งตรงกับการเป็นคอลีฟะฮ์ของฮารูน อัรรอชีดและลูกชายทั้งสองของเขา กล่าวคือ อะมีนและมะอ์มูน(107)

หลังจากฮารูน อัรรอชีด มะอ์มูนขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์ (108) มะอ์มูนเพื่อทำให้การปกครองของเขาทีความชอบธรรม และสามารถควบคุมพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวของอิมามริฎอ (อ.) ทั้งยังทำให้ฐานภาพตำแหน่งอิมามมัตมีความสั่นคลอน เขาจึงตัดสินใจที่จะแต่งตั้งอิมามริฎอ (อ.) ขึ้นเป็นมกุฏราชกุมาร(109)ด้วยเหตุนี้เองิอิมามริฎอจึงถูกส่งตัวจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังเมืองมัรว์ (110) ในปีฮ.ศ. 201(111) มะอ์มูนได้ยกตำแหน่งคอลีฟะฮ์ให้อิมามริฎอ เป็นอันดับแรก หลังจากนั้นก็เสนอให้ตำแหน่งมกุฏราชกุมาร ซึ่งอิมามริฎไม่ยอมรับทั้งสองตำแหน่ง แต่ในที่สุดมะอ์มูนได้บังคับให้อิมามริฎอ ยอมรับตำแหน่งมกุฏราชกุมาร แต่ทว่าอิมามริฎอได้ตั้งเงื่อนไขที่ว่า จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการปลดออกของเจ้าหน้าที่รัฐและการปกครองเลย(112)

หลังจากนั้น ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมะอ์มูนเห็นถึงความก้าวหน้าของชีอะฮ์ และเขาจึงได้ให้ยาพิษกับอิมามและทำให้อิมามเป็นชะฮีด เพื่อรักษาตำแหน่งคอลีฟะฮ์(113)

ฮะดีษที่รู้จักกันว่า ซิลซิละตุซซะฮับ อิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวในขณะที่เดินทางจากเมืองนีชาบูร ไปยังเมืองมัรว์(114)ขณะที่อิมามริฎอ (อ.) ได้เดินทางถึงเมืองมัรว์ มะอ์มูนได้เชิญชวนให้ผู้รู้ในศาสนาและสำนักคิดต่างเข้าร่วมในการเสวนาวิชาการกับอิมามริฎอ ซึ่งเป็นเหตุให้อิมามริฎอมีความสูงส่งในวิชาการและความรู้เหนือนกว่าผู้อื่นใด (115)
อิมามญะวาด(อ.)

มุฮัมมัด บินอะลี เป็นที่รู้จักคือ อิมามญะวาดและอิมามมุฮัมมัดตะกี (อ.) เขาเป็นอิมามคนที่เก้าของชีอะฮ์ อิษนาอะชะรีย์ เขาเป็นบุตรของอิมามที่แปดกับท่านหญิงซะบีกะฮ์ นูบียะฮ์ อิมามญะวาดถืกำเนิดในเดือนรอมฎอน ปี ฮ.ศ. 195 ณ เมืองมะดีนะฮ์ (116) และในปี ฮ.ศ.220 ถูกทำชะฮาดัตที่กรุงแบกแดด(117) ร่างของเขาถูกนำไปฝังเคียงข้างปู่ของเขา กล่าวคือ อิมามที่เจ็ด ณ มักบะเราะฮ์กุเรช ในเมืองกาซิมัยน์(118) อิมามญะวาด( อ.)ดำรงตำแหน่งอิมามัตในขณะที่มีอายุ 8 (119) ด้วยคำสั่งเสียของบิดาของเขา(120) อายุน้อยของอิมามญะวาด เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวชีอะฮ์จำนวนหนึ่งเกิดความสงสัยในอิมามัตของเขา บางคนถือว่า อับดุลลอฮ์ บินมูซา น้องชายของอิมามริฎอ เป็นอิมามและบางคนยึดถือสำนักคิดวากิฟียะฮ์ ขณะที่ส่วนมากของพวกเขาได้ยอมรับตำแหน่งอิมามัตของอิมามญะวาด(อ.)(121) เนื่องจากริวายัตอย่างเปิดเผยที่เกี่ยวกับอิมามัตและการทดสอบทางวิชาการของอิมามญะวาด ระยะเวลาในการเป็นอิมามัตของอิมามญะวาด 17 ปีเขาอยู่สมัยกับคอลีฟะฮ์มะอ์มูนและมุอ์ตะศิม จากบะนีอับบาซียะฮ์(123

ในปี ฮ.ศ. 204 มะอ์มูน ต้องการที่จะทำให้อิมามญะวาดและบรรดาชีอะฮ์อยู่ในการควบคุมของเขา เขาจึงเรียกอิมามญะวาดให้เดินมายังกรุงแบกแดด (ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของคอลีฟะฮ์) และให้อิมามญะวาดแต่งงานกับอุมมุลฟัฎล์ ลูกสาวของเขา(124)หลังจากนั้นอิมามญะวาดก็เดินทางกลับไปยังเมืองมะดีนะฮ์ และอยู่ที่นั้น จนสิ้นสุดยุคของมะอ์มูน และหลังจากการเสียชีวิตของมะอ์มูน มุอ์ตะศิม ได้ขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์ และในปี ฮ.ศ. 220 เขาได้เรียกให้อิมามญะวาดมายังกรุงแบกแดดอีกครั้ง เพื่อที่จะควบคุมและในที่สุด อิมามญะวาดได้รับยาพิษจากภรรยาของตน จนเป็นชะฮีด เนื่องจากการยุยงของมะอ์ตะศิม(125)
อิมามฮาดี (อ.)

อะลี บินมุฮัมมัด เป็นที่รู้จักกันคือ อิมามฮาดี หรือ อิมามอะลี อันนะกี (อ.) เขาเป็นบุตรของอิมามญะวาดกับท่านหญิงซะมานะฮ์ มักริบียะฮ์ เขาถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 212 ในหมู่บ้านศ็อลยา ใกล้เมืองมะดีนะฮ์(126) และเขาได้ถูกทำชะฮาดัต ด้วยการได้รับยาพิษจากมือของอัลมุอ์ตัซ บิลลาฮ์ คอลีฟะฮ์บะนีอับบาซียะฮ์ ในปี ฮ.ศ. 254

อิมามฮาดี (อ.) ดำรงตำแหน่งอิมามัตให้กับบรรดาชีอะฮ์ เป็นเวลา 33 ปี (ฮ.ศ.220-254)(129) และในช่วงเวลานั้น เขาอยู่ร่วมสมัยกับเหล่าคอลีฟะฮ์ทั้งหกคนของบะนีอับบาซียะฮ์ เช่น มุอ์ตะซิม วาษิก มุตะวักกิล มุนตะศิร มุสตะอีนและมุอ์ตัซ(130) เนื่องจากมุตะวักกิลต้องการที่จะควบคุมตัวอิมามฮาดี เขาจึงเรียกตัวอิมามฮาดี(อ.) จากมะดีนะฮ์ให้เดินทางมายังเมืองซามัรรอ ซึ่งเป็นศูนย์กลางคอลีฟะฮ์ในขณะนั้น(132) และเรียกตัวเข้าพบ(133) อิมามฮาดีใช้ชีวิตที่เหลือของตนในเมืองนี้(134) หลังจากการเสียชีวิตของมุตะวักกิล เรียงลำดับ มุนตะศิร มุสตะอีนและมุอ์ตัซได้เข้ามามีอำนาจ และอิมามฮาดี(อ) ได้เป็นชะฮีดด้วยการได้รับยาพิษในยุคสมัยของมุอ์ตัซ(135)

อิมามฮาดี(อ.) ได้สอนบทดุอาอ์และบทซิยาเราะฮ์ต่างๆให้กับบรรดาชีอะฮ์ ซึ่งเต็มไปด้วยวิชาการที่แท้จริงของชีอะฮ์(136)หนึ่งในซิยาเราะฮ์ของอิมามฮาดี(อ.) คือ ซิยาเราะฮ์ญามิอะฮ์ตุลกะบีเราะฮ์ ถือเป็นบทซิยาเราะฮ์ที่สำคัญอย่างยิ่งที่ได้รับรายงานจากอิมามฮาดี(อ.) (137)
อิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.)

ฮะซัน บินอะลี เป็นที่รู้จักกันคือ อิมามฮะซัน อัสกะรี เขาเป็นอิมามคนที่สิบเอ็ดของบรรดาชีอะฮ์อิษนาอะชะรียะฮ์(ชีอะฮ์อิมามสิบสอง) เขาเป็นบุตรของอิมามฮาดี (อ.) กับท่านหญิงฮุดัยษ์ เขาถือกำเนิดในปี ฮ.ศ.232 ณ เมืองมะดีนะฮ์ (138) และในปี ฮ.ศ.260(139) เขาถูกทำชะฮาดัตด้วยการได้รับยาพิษจากแผนการร้ายของมุอ์ตะมิด คอลีฟะฮ์บะนีอับบาซียะฮ์(140) และร่างของเขาถูกนำไปฝังในบ้านของเขา ณ เมืองซามัรรอ เคียงข้างหลุมศพของบิดาของเขา(141)

อิมามคนที่สิบเอ็ด ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อจากบิดาของเขาอย่างเปิดเผยและระยะเวลาการเป็นอิมามัตของเขา 6 ปีด้วยกัน(142) เขาได้ร่วมสมัยกับคอลีฟะฮ์ทั้งสามของบะนีอับบาซียะฮ์ กล่าวคือ มุอ์ตัซ มุฮ์ตะดี และมุอ์ตะมิด(143) อิมามอัสกะรี ถูกควบคุมตัวโดยเหล่าคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และถูกจับขังคุกหลายครั้ง(144) ตามคำกล่าวที่ว่า การพำนักของยาวนานของอิมามอัสกะรี นั่นหมายถึง การถูกจองจำและการกักบริเวณประเภทหนึ่งของคอลีฟะฮ์ในขณะนั้น(145) ฉะนั้น เขาจึงแสดงพฤติกรรมด้วยการตะกียะฮ์(146) และดังเช่นหลายอิมามที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ การเชื่อมสัมพันธ์กับบรรดาชีอะฮ์ด้วยการตั้งตัวแทน(วะกีล)(147)

กล่าวได้ว่า สาเหตุของการสร้างแรงกดดันและความเข้มงวดของเหล่าคอลีฟะฮ์ ในอีกด้านหนึ่ง กล่าวคือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการมีอำนาจของชีอะฮ์ พร้อมความหวาดกลัวเหล่าคอลีฟะฮ์ที่มีต่อพวกเขา และในอีกนัยหนึ่ง หลักฐานยืนยันว่า อิมามที่สิบเอ็ดมีบุตรชายคนหนึ่งที่เรียกเขาว่า มะฮ์ดี ผู้ถูกสัญญา(148) อิมามอัสกะรีและบิดาของเขา เนื่องด้วยการพำนักในเมืองชะมัรรอ(อัสกัร) จึงถูกรู้จักกันว่า อัสกะรียัยน์(149)
อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)

มุฮัมมัด บินฮะซัน เป็นที่รู้จักกันคือ อิมามมะฮ์ดี และอิมามซะมาน (อ.ญ.) เขาเป็นอิมามคนที่สิบสองและคนสุดท้ายของบรรดาชีอะฮ์อิมามสิบสอง เขาเป็นบุตรของอิมามอัสกะรี(อ.) กับท่านหญิงนัรญิส คอตูน เขาถือกำเนิดในวันที่ 15 เดือนชะอ์บาน ปี ฮ.ศ. 255 ณ เมืองซามัรรอ(150)

อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ดำรงตำแหน่งอิมามัตในขณะที่เขานั้นมีอายุได้ 5 ปี(151) และมีคำกล่าวอย่างชัดเจนจากบรรรดาอิมามทุกคนเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของเขา(152)เขาถูกซ่อนเร้นจากสายตาของประชาชนในช่วงการเป็นชะฮีดของอิมามอัสกะรี บิดาของเขา(ฮ.ศ.260) นอกจากชีอะฮ์จำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถพบเจอกับเขาได้ แต่ไม่มีผู้ใดที่สามารถเจอกับเขา(153) หลังจากการเป็นชะฮีดของบิดาของเขา เขาได้รับบัญชาจากอัลลอฮ์ให้ซ่อนตัวจากสาธารณชน ซึ่งประมาณ 70 ปีที่เขาหายตัวไปในระยะสั้น และในช่วงเวลานั้น บรรดาชีอะฮ์ สามารถติดต่อเขาโดยผ่านตัวแทนทั้งสี่ แต่ในการเริ่มต้นการหายตัวครั้งใหญ่ในปี ฮ.ศ.329 บรรดาชีอะฮ์ไม่สามารถจะติดต่อเขาโดยผ่านตัวแทนพิเศษทั้งสี่ได้อีกต่อไป(154)

ตามรายงานจากริวายัต บ่งบอกว่า การกระทำที่ดีที่สุดในยุคสมัยของการเร้นหายของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) คือ การรอคอยการปรากฏกายของอิมามซะมาน (155)และบรรดาชีอะฮ์มีความเชื่อว่า ตามรายงานของริวายัต(156) ยุคสมัยหลังการปรากฏของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) จะเป็นยุคสมัยที่สังคมอิสลามเต็มไปด้วยความยุติธรรม(157) และยังมีริวายัตต่างๆอีกมากมายที่กล่าวถึงสัญลักษณ์การปรากฏของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) (158)
ฐานภาพของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ในทัศนะของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ไม่ยอมรับว่า บรรดาอิมามทั้งสิบสองคนของชีอะฮ์ ในฐานะที่เป็นอิมามและเป็นตัวแทนโดยตรงของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)(159) แต่ทว่าพวกเขานั้นมีความรัก(160)

ตามริวายะฮ์จากศาสดา(ศ็อลฯ) ที่กล่าวไว้ในแหล่งอ้างอิงของพวกเขา บ่งบอกว่า บรรดาเครือญาติสนิทที่ถูกกล่าวไว้ในโองการมะวัดดะฮ์ (161) หมายถึง การแสดงความรักต่อพวกเขา เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ อะลี (อ.)ฟาฏิมะฮ์(ซ.) และบรรดาบุตรของพวกเขาทั้งสอง(162) ฟัครุดดีน รอซี นักตัฟซีรและนักเทววิทยาของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ในศตวรรษที่ 6 ได้ยกหลักฐานจากโองการมะวัดดะฮ์ ระบุว่า การกล่าวศอลาวาตในการตะชะฮ์ฮุด และวิถีของศาสดา(ศ็อลฯ) คือ การแสดงความรักต่ออะลี (อ.) ฟาฏิมะฮ์(อ.)และบรรดาบุตรของพวกเขาทั้งสองเป็นสิ่งจำเป็น(163)

นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคน เคยไปซิยาเราะฮ์ฮะรัมของบรรดาอิมามของชีอะฮ์ และกล่าวตะวัซซุลไปยังพวกเขา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อะบูอะลี ค็อลลา นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ 3 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่ฉันประสบกับปัญหา ฉันก็จะไปซิยาเราะฮ์ยังฮะรัมของอิมามมูซา บินญะอ์ฟัรและขอตะวัซซุลต่อเขา แล้วปัญหานั้นก็ได้รับการแก้ไข(164)

อะบูบักร มุฮัมมัด บิน คุซัยมะฮ์ นักรายงานฮะดีษและนักตัฟซีรของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ 3และ ที่ 4 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช รายงานว่า เขาได้ไปซิยาเราะฮ์ยังฮะรัมของอิมามริฎอ(อ.) หลายครั้ง เขายังได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และการแสดงความนบน้อมที่มีต่ออิมามริฎอ จนสร้างความประหลาดใจให้กับเขา(165)

อิบนุ ฮิบบาน นักรายงานฮะดีษชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในศตวรรษที่ 3และที่ 4 แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช กล่าวว่า เมื่อใดที่ข้าพเจ้าพำนักในเมืองฏูส หากประสบกับปัญหาใดก็ตาม ฉันจะไปซิยาเราะฮ์ยังฮะรัมของอิมามริฎอ(อ.) และขอดุอาอ์ และดุอาอ์ของฉันได้ถูกตอบรับแล้วปัญหาของฉันก็ได้รับการแก้ไข(166)

ตามคำกล่าวของอยาตุลลอฮ์ ญะอ์ฟัร ซุบฮานี ระบุว่า นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ส่วนมากนั้นต่างยอมรับในฐานภาพทางศาสนาและความรู้ของบรรดาอิมามของชีอะฮ์(167) ยกตัวอย่างเช่น อะบูฮะนีฟะฮ์ ผู้ก่อตั้งมัสฮับฮะนะฟี เขากล่าวว่า ฉันไม่เห็นผู้ใดที่จะมีความรู้เหนือยิ่งกว่าญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด(168) ซึ่งคำพูดดังกล่าวนี้ ยังได้รายงานจากมุฮัมมัด บินมุสลิม บินชะฮาบ ซุฮ์รี นักนิติศาสตร์และผู้รายงานฮะดีษของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์จากตาบิอีน ในศตวรรษที่หนึ่งและที่สองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ที่กล่าวถึงอิมามซัจญาด(อ.)ด้วยเช่นกัน (169) อับดุลลอฮ์ บินอะฏออ์ มักกี นักรายงานฮะดีษชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เป็นหนึ่งในสาวกของอิมามบากิร(อ.) เขากล่าวว่า ฉันไม่เคยนักวิชาการคนใดที่มีอายุน้อยที่สุด ดั่งที่ฉันเคยเห็นในมุฮัมมัด บินอะลี(อ.)และฉันได้เห็นฮะกัม บินอุตัยบะฮ์ (นักนิติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของกูฟะฮ์) เขาได้ปฏิบัติกับมุฮัมมัด บินอะลี เหมือนดั่งกับ เขานั้นเป็นลูกศิษย์(170)
บรรณานุกรม

มีหนังสือต่างๆจำนวนมากมายทั้งจากชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ที่เขียนถึงชีวประวัติและความประเสิรฐของบรรดาอิมามของชีอะฮ์
หนังสือชีอะฮ์

ในหมู่หนังสือที่นักวิชาการทั้งหลายของชีอะฮ์เขียนถึงบรรดาอิมามและควาามประเสริฐของพวกเขา เราสามารถที่จะยกตัวอย่างได้ หลายกรณีด้วยกันดังต่อไปนี้

1.ดะลาอิลุลอิมามะฮ์ หนังสือเป็นภาษาอาหรับ เขียนโดยมุฮัมมัด บินญะรีร ฏอบะรี ศอฆีร (เสียชีวิต ฮ.ศ.310) เกี่ยวกับชีวประวัติ มุอ์ญิซาต และความประเสริฐของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.)และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์(อ.)

2.อัลอิรชาด ฟีย์ มะอ์ริฟะติฮุญะญิลลาฮ์ อะลัลอิบาด หนังสือเกี่ยวกับหลักศรัทธาและประวัติศาสตร์ เป็นภาษาอาหรับ เขียนโดยเชคมุฟีด (เสียชีวิต ฮ.ศ.413)นักนิติศาสตร์และนักเทววิทยาชาวชีอะฮ์ หนังสือนี้ได้รายงชีวประวัติและความประเสริฐของบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ตามคำรายงาน มุฮัมมัด บากิร ซาอิดี คุรอซานี ได้แปลเป็นภาษาฟารซีย์

3.มะนากิบ อาลิอะบูฏอลิบ หนังสือเป็นภาษาอาหรับ เขียนโดยอิบนุชะฮ์ร ออชูบ มาซันดะรอนี (เสียชีวิต ฮ.ศ.588) เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับความสูงส่งของบรรดามะอ์ศูมทั้งสิบสี่คน

4.อิอ์ลามุลวะรอ บิอิอ์ลามิลฮุดา หนังสือเป็นภาษาอาหรับ เขียนโดยฟัฎล์ บินฮะซัน ฏอบัรซี (เสียชีวิต ฮ.ศ.548) หนังสือเกี่ยวกับวิถีชีวิตของศาสนทูตของอัลลอฮ์(ศ็อลฯ)และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์(อ.)

5.กัชฟุลฆุมมะฮ์ ฟีย์ มะอ์ริฟะติลอะอิมมะฮ์ เป็นภาษาอาหรับ เขียนโดยอะลี บินอีซา อิรบะลี หนังสือเกี่ยวกับชีวประวัติ ความประเสริฐ และมุอ์ญิซาตของบรรดามะอ์ศูมทั้งสิบสี่คน(อ.)

6.เราเฎาะตุลวาอิซีน วะบะศีเราะตุลมุตตะอิซีน เขียนโดย ฟัตตาล นีชาบูรี (เสียชีวิต 508) เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การดำเนินชีวิตของศาสดา ผู้ทรงเกียรติของอิสลาม (ศ็อลฯ) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) หนังสือนี้ยังได้มีการจัดแปลเป็นภาษาฟารซีย์โดยมุฮัมมัด มะฮ์ดะวี ดอมฆอนี

7.ญะลาอุลอุยูน หนังสือภาษาฟารซีย์ เขียนโดยมุฮัมมัดบากิร มัจญ์ลิซี (1037-1359 ฮ.ศ.) ได้กล่าวชีวประวัติของมะอ์ศูมทั้งสิบสี่คนอย่างละเอียด

8.มุนตะฮัลอามาล ฟีย์ ตะวารีคินนะบี วัลอัล ผลงานของเชคอับบาส กุมมี (1294-1359 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของบรรดามะอ์ศูมทั้งสิบสี่คน
หนังสืออะฮ์ลิซซุนนะฮ์

บางส่วนของหนังสือของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์เขียนเกี่ยวกับชีวประวัติและความประเสริฐของบรรดาอิมามทั้งสิบสอง ซึ่งมีดังนี้

    มะฏอลิบุซซุอูล ฟีย์ มะนากิบอาลิรเราะซูล เป็นหนังสือภาษาอาหรับ ประพันธ์โดย มุฮัมมัด บินฏอลฮะฮ์ ชาฟิอี(582-652 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือที่มี 12 บทในการอธิบายชีวประวัติของอิมามสิบสอง(171)
    ตัสกิรอตุลเคาวาศ มินัลอุมมะฮ์ ฟีย์ ซิกริเคาะศออิศิลอะอิมมะฮ์ ผลงานของยูซุฟ บินก็อซอูฆลี รู้จักกันคือ ซิบฏ์ อิบนุเญาซี นักรายงานประวัติศาสตร์และนักวิชาการของมัสฮับฮะนีฟี หนึ่งในมัสฮับของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.654) เป็นหนังสือที่มี 12 บท หมายถึง จำนวนของบรรดาอิมาม และเป็นผลงานที่ประพันธ์เกี่ยวกับชีวประวัติของบรรดอิมามและความประเสริฐของพวกเขา(172)
    อัลฟุศูลุลมุฮิมมะฮ์ ฟีย์ มะอ์ริฟะติลอะอิมมะฮ์ ผลงานของอิบนุศ็อบบาฆ มาลิกี (เสียชีวิต ฮ.ศ.855) นักเขียนชาวซุนนี ในศตวรรษที่้เก้า เป็นหนังสือมที่ประพันธ์เกี่ยวกับชีวประวัติและความสูงส่งของบรรดาอิมามทั้งสิบสองคน ซึ่งนักวิชาการทั้งชีอะฮ์และซุนนีจำนวนมากมายได้อ้างอิงจากหนังสือนี้(174)
    อัลอะอิมมะฮ์ อัลอิษนา อะชัร หรือ อัชชัซซะรอตุซซะฮาบียะฮ์ ผลงานของชัมซุดดีน อิบนุฏูลูน นักวิชาการฮะนีฟี ชาวเมืองดะมัสกัส (เสียชีวิต ฮ.ศ.953)(175)
    อัลอิตฮาฟ บิฮุบบิลอัชรอฟ ผลงานของญะมาลุดดีน ชิบวารี(1092-1172 ฮ.ศ.) จากนักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ชาฟิอี ชาวอียิปต์ ได้เขียนหนังสือนี้เกี่ยวกับครอบครัวของศาสดาและบรรดาอิมาม(อ.)(176)
    นูรุลอับศอร ฟีย์ มะนากิบอาลิบัยติลนะบียิลมุคตาร เขียนโดยมุอ์มิน ชิบลันญี จากนักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ในศตวรรษที่สิบสาม ซึ่งเขาได้เขียนเกี่ยวกับชีวประวัติของศาสดาและบรรดาอิมามของชีอะฮ์และเหล่าคอลีฟะฮ์ของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์
    ยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์ ลิซะวิลกุรบา หนังสือที่เกี่ยวกับชีวประวัติและความสูงส่งอันพิเศษของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดา(ศ็อลฯ) ประพันธ์โดย สุลัยมาน บินอิบรอฮีม กุนดูซี (เสียชีวิต ฮ.ศ.1294) จากหมู่นักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มัสฮับฮะนะฟีย์ (178)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม