เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัยยาม ฟาฏิมียะฮ์

1 ทัศนะต่างๆ 05.0 / 5

อัยยาม ฟาฏิมียะฮ์

 

อัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ (ภาษาอาหรับ: الأيام الفاطمي) เป็นช่วงเวลาที่ชาวชีอะฮ์ มีความโศกเศร้า เนื่องการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) มีรายงานเกี่ยวกับการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ด้วยกัน 2 รายงาน กล่าวคือ วันที่ 13 ญะมาดิลเอาวัลและวันที่ 3 ญะมาดิษษานี ซึ่งวันที่ 11 จนถึงวันที่ 13 ญะมาดิลเอาวัล จึงถูกเรียกว่า ฟาฏิมียะฮ์แรก และวันที่ 3 จนถึงวันที่ 5 ญะมาดิษษานี เรียกว่า ฟาฏิมียะฮ์ที่สอง

ช่วงอัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ มีการไว้ทุกข์ในบางประเทศ เช่น อิหร่าน อิรัก ปากีสถาน และอาเซอร์ไบจาน และนอกจากนี้ วันที่ 3 ญะมาดิษษานี ยังเป็นวันหยุดราชการของอิหร่านอีกด้วย และมัรญิอ์ตักลีดบางคน ได้เข้าร่วมในพิธีไว้อาลัยในวันนี้

การไว้อาลัยช่วงอัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ที่สอง เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1379 (ปฏิทินอิหร่าน) ตรงกับปี ฮ.ศ.1420 ได้ประกาศว่า วันที่ 3 ญะมาดิษษานี เป็นวันหยุดราชการ ซึ่งเป็นวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)
อัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ คือ วันอะไร?

อัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ เป็นวันที่ชาวชีอะฮ์ มีความโศกเศร้า เนื่องในการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (1) เป็นที่รู้จักกันว่า วันที่ 13 ญะมาดิลเอาวัล และวันที่ 3 ญะมาดิษษานี เป็นวันแห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ จึงมีสองช่วงด้วยกัน ดังนี้ ช่วงแรก เรียกว่า ฟาฏิมียะฮ์แรก และช่วงที่สอง เรียกว่า ฟาฏิมียะฮ์ที่สอง

วันที่ 11, 12 และ 13 เป็นช่วงฟาฏิมียะฮ์แรก และวันที่ 3 4 และ5 เป็นช่วงฟาฏิมียะฮ์ที่สอง (2) แน่นอนว่า บางคนถือว่า วันที่ 10 จนถึงวันที่ 20 ญะมาดิลเอาวัล เป็นฟาฏิมียะฮ์แรก และวันที่ 1 จนถึง วันที่ 10 ญะมาดิษษานี เป็นฟาฏิมียะฮ์ที่สอง (3)

ไม่มีการรายงานเกี่ยวกับวันที่แน่นอนของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ซึ่งในประเด็นนี้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ในหนังสืออัลเมาซูอะตุลกุบรอ อัน ฟาฏิมะฮ์ ผลงานเขียนของ อิสมาอีล อันศอรีย์ ซันญานี (เสียชีวิต 1388 (ปฏิทินอิหร่าน) ได้เขียนว่า มี 21 ทัศนะที่เกี่ยวกับช่วงเวลาของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (4) ตามคำกล่าวของซัยยิด มุฮัมมัด ญะวาด ชุบัยรี (ถือกำเนิด 1345 ปฏิทินอิหร่าน ) เขาเป็นหนึ่งในผู้ประพันธ์สารานุกรมฟาฏิมีย์ ระบุว่า ทัศนะที่กล่าวว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เป็นชะฮาดัตในวันที่ 3 ญะมาดิษษานี ถือเป็นทัศนะที่ได้มีการรู้จักมากกว่าของชีอะฮ์(5) คำกล่าวนี้ ได้อ้างอิงถึงริวายะฮ์จากอิมามศอดิกที่บันทึกไว้ในหนังสือดะลาอิลุลอิมามะฮ์ (7)
การจัดพิธี

ในช่วงอัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ ได้มีการจัดพิธีไว้อาลัยตามเมืองต่างๆของอิหร่าน พิธีการนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากวันที่ 3 ญะมาดิษษานี เป็นวันแห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และเป็นวันหยุดราชการของอิหร่าน ที่สืบต่อมา(8) ในปี 1389 ปฏิทินอิหร่าน อยาตุลลอฮ์ วะฮีด คุรอซานี ได้เสนอให้รัฐบาลอิหร่านประกาศให้วันที่ 3 ญะมาดิษษานี เป็นวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการ (9) ฮุเซน วะฮีด คุรอซานี (ถือกำเนิด 1300 )และลุฏฟุลลอฮ์ ศอฟีย์ ฆุลพัยฆานี (เสียชีวิต 1400 )เป็นสองมัรญิอ์ตักลีดของชีอะฮ์ที่เข้าร่วมในพิธีการไว้อาลัยให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ในช่วงอัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ โดยทั้งสองคนได้เดินเท้าเปล่าไปยังฮะรอมของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ (ซ.) (10)

นอกจากนี้ ตรงกับช่วงอัยยาม ฟาฏิมียะฮ์ ในบางเมืองของอิหร่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองกุมอันศักดิ์สิทธิ์ ได้มีการจัดนิทรรศการภายใต้ชื่อ ในซอยของบะนีฮาชิม โดยเปิดให้สาธารณชนสามารถเข้าชมได้ และในนิทรรศการดังกล่าว ได้มีการจำลองสถานที่ บะกีอ์ เหตุการณ์เฆาะดีรคุม และสวนฟะดัก(11)

กล่าวได้ว่า ชาวชีอะฮ์ในอิรัก นอกจากฟาฏิมียะฮ์แรกและฟาฏิมียะฮ์ที่สอง ยังมีการจัดงานไว้อาลัยในวันที่ 8 รอบีอุษษานี อีกด้วยเช่นกัน โดยในการไว้อาลัยนี้ ซึ่งตรงตามรายงานที่ว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) เป็นชะฮีด หลังจากการวะฟาตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) 40 วัน (12) และเช่นเดียวกัน ในประเทศต่างๆ เช่น ปากีสถาน (13) อาเซอร์ไบจาน ทาจิกิสถาน (14) และออสเตรเลีย (15) และรวมทั้งในศูนย์อิสลามกรุงฮัมบูร์ก (16) และศูนย์อิสลามอิมามอะลี ในกรุงสตอกโฮล์ม ได้มีการจัดพิธีไว้อาลัยในช่วงฟาฏิมียะฮ์ที่สองด้วย
ประวัติความเป็นมาของการไว้อาลัยให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)

มีรายงานเกี่ยวกับการไว้อาลัยของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.)ให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) (18)มีรายงานว่า อิมามศอดิก (อ.) ได้จัดพิธีไว้อาลัยให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และในพิธีการนี้ได้มีการกล่าวถึงการเสียชีวิตของท่านมุฮ์ซิน ขณะอยู่ในครรภ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์และการถูกทำร้ายร่างกายของท่านหญิง (19) และเช่นเดียวกัน รายงานจาก กอฎีย์ อับดุลญับบาร มุอ์ตะซิลี (เสียชีวิต ฮ.ศ.415) ว่า ชีอะฮ์จำนวนหนึ่ง ในหลายพื้นที่ เช่น อียิปต์ ดามัสกัส แบกแดด รัมลา อัคคา ไทร์ อัชเคลอน ญะบัลอัลบัซมาก ได้จัดงานไว้อาลัยให้กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และท่านมุฮ์ซิน บุตรชายของท่านหญิง(20)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม