เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 36)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 36)


อิสลามกับประชาธิปไตยจัดการกับการทุจริตในการบริหาร-การเมืองอย่างไร?
การคอร์รัปชั่นทางการเมืองหมายถึงการใช้ตำแหน่งในทางที่ผิด, การรับสินบนในนามของความช่วยเหลือและของขวัญ, การเกิดช่องว่างและขาดความเป็นระเบียบในการทำงานแก่ประชาชน, การมาทำงานสาย, เลิกงานก่อนเวลา ฯลฯ ดังที่กล่าวมาแล้วหนึ่งในหลายวิธีของการปฏิรูปการการบริหารที่ได้ผล หรือการปฏิรูปการเมือง คือ การกำชับให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว ขณะเดียวกัน ศาสนาอิสลามเน้นการขัดเกลาและพัฒนาตนเอง ให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน ต้องการให้มนุษย์เอาสวรรค์มาไว้ตรงหน้าและเห็นตนเองได้รับความสุขอยู่ในนั้น  และถือว่านรกเป็นบั้นปลายของงานและจุดจบของคนชั่ว แน่นอน ในสังคมอิสลามยังมีผู้ที่ไม่ฟังคำเหล่านี้และเห็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหนือสิ่งอื่นใด ตรงนี้เราต้องไปทางเดียวกับที่คนอื่นไป หมายถึงการใช้กฎหมายอย่างละเอียดและมั่นคง เพราะมนุษย์ยอมปล่อยผลประโยชน์ส่วนตนไปสองประการ คือ การตื่นรู้และจิตใต้สำนึกและความเข้มงวดของกฎหมาย อิสลามก็ประสบความสำเร็จในการบังคับใช้กฎหมายเช่นกัน แต่พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพต้องการให้ผู้คนปฏิรูปสังคมด้วยวิธีแรก เพราะมันคู่ควรกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากกว่า สังคมที่ไม่ใช่อิสลามได้ดำเนินแนวทางที่สอง แม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคในการรวมตัวกันของพวกเขาก็ตาม กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในสังคมตะวันตก มีเพียงกฎหมายเท่านั้นที่รับผิดชอบในการปฏิรูปสังคม แต่ในอิสลาม กฎหมายทางสังคมมีไว้เพื่อการปฏิรูปปัจเจกบุคคล ประการแรก และประการที่สองสำหรับการปฏิรูปสังคม ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าที่ผู้คนจะทำการปฏิรูปตนเองก่อนอื่นใดและปฏิบัติตามจิตสำนึกที่ตนมีในสังคม นอกเหนือจากนี้แล้วก็ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
 ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการทุจริตในการบริหาร แต่การทุจริตทางการเมืองซึ่งเลวร้ายกว่าการทุจริตในการบริหาร คือเมื่อบุคคลรู้สึกว่ามีอำนาจและไม่เห็นผู้ตรวจสอบหรือคนขัดขวางใดเหนือไปกว่าเขา ในกรณีนี้ตามคำพูดของบางคนที่ว่า {อำนาจนำมาซึ่งการทุจริตส่วนอำนาจเบ็ดเสร็จนำมาซึ่งการทุจริตโดยสมบูรณ์} ; ดังนั้น หากอำนาจอันไร้ขีดจำกัดนี้อยู่ในมือของผู้นำหรือประธานาธิบดีของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ก็จะทำให้หน่วยทางการเมืองนั้นกลายเป็นความยุ่งเหยิงที่เน่าเหม็น เช่นเดียวกับที่ซัดดัม ฮุเซน ทำในอิรัก และหากอำนาจที่ถูกละทิ้งนั้นอยู่ในปากกาของตัวแทนทางเศรษฐกิจที่สังกัดรัฐบาล หรือในลายเซ็นของรัฐมนตรีหรือทนายความ หรือหัวหน้าธนาคารหรือสำนักงาน ก็จะพบกับความพินาศย่อยยับศาสนาอิสลามเชิญชวนให้ผู้นับถือศาสนา ยำเกรงพระเจ้า และออกห่างจากความโสมม และต้องการให้พวกเขาชอบในสิ่งที่พวกเขาชอบสำหรับผู้อื่น และหากพวกเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตสำหรับตนเองก็ต้องไม่เห็นว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้อื่น อันที่จริงแล้ว บุคคลที่คิดดื้อด้านและไม่มีเจ้าของย่อมไม่ใช่มุสลิมที่แท้จริง
 อิสลามต้องการให้มุสลิมเห็นว่าตนเองอยู่ภายใต้การดูแลของอิมามแห่งยุคสมัย(อ.ญ.) สิ่งนี้มีผลอย่างมากในชีวิตและพฤติกรรมทางสังคมและส่วนบุคคลของพวกเขา ขณะเดียวกัน การบังคับใช้บทลงโทษและกฎหมายของพระเจ้าไปปฏิบัติในทุกสังคมนั้น เป็นเป้าประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ และย่อมจะจัดระเบียบสังคมมนุษย์ได้อย่างแน่นอน
 นักคิดอิสลามเชื่อว่าอิสลามมีกฎหมายทุกประเภท กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา ฯลฯ ซึ่งหากมีการปฏิบัติตาม อาชญากรรมทางสังคม (และการทุจริตในการบริหารและการเมือง) จะถูกทำลาย หรือเป็นไปในระดับที่น้อย
 ในระบอบประชาธิปไตย มีเพียงการกำกับดูแลจากภายนอกเท่านั้น และมองแต็สกีเยออธิบายถึงการแบ่งอำนาจเพื่อลดภาระของปัญหาในวงกว้าง จึงถือว่าการกำกับดูแลในระดับต่างๆ และความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเป็นหนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาการทุจริตประเภทนี้ได้
ในสังคมศาสนาตามความเข้าใจดั้งเดิม ผู้คนไม่มีบทบาทในอำนาจทั้งสามอย่างนั้นหรือ?(ตอนต่อไป)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม