เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คุฏบะฮ์ที่ 28

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คุฏบะฮ์ที่ 28

 

คุฏบะฮ์ที่ 28 ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ อิมามอะลี(อ)กล่าวว่า


وَإِنَّ الْيَوْمَ الْمِضْمَارَ وَغَداً السِّبَاقَ وَالسَّبَقَةُ الْجَنَّةُ وَالْغَايَةُ النَّارُ
“วันนี้เป็นวันแห่งการฝึกฝนและพรุ่งคือการแข่งขัน ผู้ใดชนะเขาก็จะได้สวรรค์ ผู้ใดแพ้เขาก็จะตกนรก”
หมายความว่า วันนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการขัดเกลาตน พรุ่งนี้คือการแข่งขัน เมื่อถึงวันพรุ่งนี้ก็จะหมดเวลาแห่งการฝึกตน หากจะเปรียบเป็นการสอบก็จะหมายถึงหมดเวลาอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียนแล้ว มันถึงเวลาที่ต้องสอบแล้ว
คำว่า مضمار หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการฝึกฝนม้าซึ่งอิมามอะลี(อ)นำมาใช้เปรียบเทียบหรือนำมายกตัวอย่างเพราะการฝึกม้ามีช่วงเวลาในการฝึก เหมือนกับมนุษย์ที่มีช่วงเวลาในการฝึกเพื่อสร้างความพร้อมให้กับตนเองแต่จะใช้เวลาเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ดังนั้น เวลานี้คือเวลาแห่งการฝึกตน แห่งการขัดเกลา ให้ขัดเกลาตนเองเท่าที่เราจะทำได้ ปฏิบัติอะมัลที่ดีเพื่อพระองค์ เพราะเมื่อถึงวันแข่งทุกคนจะต้องสอบจะไม่มีใครมีโอกาสกลับไปทำความดีได้อีกเพราะไม่ใช่เวลาของมันแล้ว และหลังจากสอบแข่งขันเสร็จจะมีสองลักษณะเกิดขึ้นคือผ่านกับไม่ผ่าน ตามฮะดีษที่บอกว่าหากชนะจะได้เข้าสวรรค์และหากแพ้ก็เข้านรก
อีหนึ่งประโยคที่อยู่ในคุตบะฮ์ที่ 28 ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
أَلَا عَامِلٌ لِنَفْسِهِ قَبْلَ يَوْمِ بُؤْسِهِ؟  จะมีใครไหมที่จะปฏิบัติก่อนที่วันเคราะห์ร้ายจะมาถึง?
ดังนั้น หากไม่อยากประสบกับความโชคร้ายในวันกิยามัตให้เขาปฏิบัติอะมัลที่ดี เก็บเกี่ยวเสบียง
أَ فَلَا تَائِبٌ مِنْ خَطِيئَتِهِ قَبْلَ مَنِيَّتِهِ؟  จะมีใครไหมที่จะเตาบะฮ์จากความผิดของตนเองก่อนที่เขาจะตาย?
أَلَا وَ إِنَّكُمْ فِي أَيَّامِ أَمَلٍ مِنْ وَرَائِهِ أَجَلٌ  จงตระหนักเถิดว่า แท้จริงแล้วพวกท่านอยู่ในความปรารถนาที่สุดท้ายแล้วหลังจากนั้นมันคือความตาย หมายความว่า ไม่ว่าพวกท่านจะมีความปรารถนามากเพียงใดสุดท้ายแล้วพวกท่านก็จะตายอยู่ดี
อะมัลที่ดีย่อมมีผลต่อทั้งดุนยาและอาคิรัต
อะมัลที่ดีที่เกิดขึ้นในดุนยาไม่ว่าจะมาจากมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิมย่อมดีทั้งหมดซึ่งจะพบผลลัพธ์ที่ดีในดุนยา
ผลลัพธ์ของการทำความดีมีทั้ง حکم تکليفی  และ حکم وضعی
حکم تلکيفی คือ เช่นหน้าที่ของประเด็นนี้คืออะไร เวลาที่เรามีความเชื่อที่ถูกต้องอะมัลที่ทำก็จะถูกต้องด้วย ดังนั้น การทำความดีตรงนี้จะมีผลทั้งในดุนยาและอาคิรัต แต่ถ้าผู้ปฏิเสธคนหนึ่งทำความดีเขาก็จะได้รับแต่ผลของมันในดุนยานี้เท่านั้นไม่มีผลต่อวันกิยามัต
อีกหนึ่งประเด็นคือเรื่องความปรารถนา การปรารถนานั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่มีเงื่อนไขว่าต้องไปทำให้เขาออกจากเป้าหมายหลัก
ความปรารถนาที่ถูกต้อง ที่ดี ไม่เป็นปัญหา คือ ความปรารถนาที่อยู่ภายใต้การมีอิสระและไม่นำพามนุษย์ไปสู่การทำบาปหรือปรารถนาในสิ่งที่ไม่สามารถไขว่คว้ามาได้จนทำให้เขาติดพันอยู่กับดุนยาจนไม่สามารถพบผลลัพธ์ใดเลย
มีอีกหนึ่งริวายัตจากท่านอิมามอะลี(อ)ที่กล่าวว่า
من أَطالَ أَمَلَ أَساءَ عَمَلَ “ใครที่มีความปรารถนาที่เกินเอื้อมย่อมมีอะมัลที่ผิด”
แต่หากเราทุกคนหวังจะได้อยู่ในยุคการปกครองของอิมามมะฮ์ดี(อ)และเราเพียรพยายามในการทำความดีเพื่อให้ไปถึงความหวังนั้น พระองค์จะประทานให้
ดังนั้น หากเป็นความปรารถนาที่เกี่ยวกับดุนยาและความปรารถนานั้นไกลเกินเอื้อมมันย่อมไม่ส่งผลลัพธ์ใดๆ แต่ถ้าเป็นความปรารถนาที่เกี่ยวกับอาคิรัตยิ่งมีความปรารถนาหรือความหวังมากเท่าใดยิ่งส่งผลลัพธ์ที่ดีมากเท่านั้นแต่มีเงื่อนไขว่าต้องพยายามและอุตสาหะด้วย
ท่านนบีนูฮ์(อ)เผยแพร่มา 950 ปีมีแค่ไม่กี่คนที่เชื่อท่านและศรัทธาแต่ท่านก็ยังมีความหวังที่จะให้เกิดผลลัพธ์ ดังนั้น เราเองก็ควรมีความหวังระยะยาวแต่เพื่ออาคิรัตไม่ใช่ในเรื่องของดุนยาและต้องพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งความปรารถนานั้นด้วย

บรรยายโดย ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี
ขอขอบคุณ เพจสถาบันศึกษาศาสนา อัล-มะฮฺดียะห์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม