อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คุฏบะฮ์ที่ 28

อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คุฏบะฮ์ที่ 28

 

คุฏบะฮ์ที่ 28 ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ อิมามอะลี(อ)กล่าวว่า


وَإِنَّ الْيَوْمَ الْمِضْمَارَ وَغَداً السِّبَاقَ وَالسَّبَقَةُ الْجَنَّةُ وَالْغَايَةُ النَّارُ
“วันนี้เป็นวันแห่งการฝึกฝนและพรุ่งคือการแข่งขัน ผู้ใดชนะเขาก็จะได้สวรรค์ ผู้ใดแพ้เขาก็จะตกนรก”
หมายความว่า วันนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการขัดเกลาตน พรุ่งนี้คือการแข่งขัน เมื่อถึงวันพรุ่งนี้ก็จะหมดเวลาแห่งการฝึกตน หากจะเปรียบเป็นการสอบก็จะหมายถึงหมดเวลาอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียนแล้ว มันถึงเวลาที่ต้องสอบแล้ว
คำว่า مضمار หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการฝึกฝนม้าซึ่งอิมามอะลี(อ)นำมาใช้เปรียบเทียบหรือนำมายกตัวอย่างเพราะการฝึกม้ามีช่วงเวลาในการฝึก เหมือนกับมนุษย์ที่มีช่วงเวลาในการฝึกเพื่อสร้างความพร้อมให้กับตนเองแต่จะใช้เวลาเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ดังนั้น เวลานี้คือเวลาแห่งการฝึกตน แห่งการขัดเกลา ให้ขัดเกลาตนเองเท่าที่เราจะทำได้ ปฏิบัติอะมัลที่ดีเพื่อพระองค์ เพราะเมื่อถึงวันแข่งทุกคนจะต้องสอบจะไม่มีใครมีโอกาสกลับไปทำความดีได้อีกเพราะไม่ใช่เวลาของมันแล้ว และหลังจากสอบแข่งขันเสร็จจะมีสองลักษณะเกิดขึ้นคือผ่านกับไม่ผ่าน ตามฮะดีษที่บอกว่าหากชนะจะได้เข้าสวรรค์และหากแพ้ก็เข้านรก
อีหนึ่งประโยคที่อยู่ในคุตบะฮ์ที่ 28 ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์
أَلَا عَامِلٌ لِنَفْسِهِ قَبْلَ يَوْمِ بُؤْسِهِ؟  จะมีใครไหมที่จะปฏิบัติก่อนที่วันเคราะห์ร้ายจะมาถึง?
ดังนั้น หากไม่อยากประสบกับความโชคร้ายในวันกิยามัตให้เขาปฏิบัติอะมัลที่ดี เก็บเกี่ยวเสบียง
أَ فَلَا تَائِبٌ مِنْ خَطِيئَتِهِ قَبْلَ مَنِيَّتِهِ؟  จะมีใครไหมที่จะเตาบะฮ์จากความผิดของตนเองก่อนที่เขาจะตาย?
أَلَا وَ إِنَّكُمْ فِي أَيَّامِ أَمَلٍ مِنْ وَرَائِهِ أَجَلٌ  จงตระหนักเถิดว่า แท้จริงแล้วพวกท่านอยู่ในความปรารถนาที่สุดท้ายแล้วหลังจากนั้นมันคือความตาย หมายความว่า ไม่ว่าพวกท่านจะมีความปรารถนามากเพียงใดสุดท้ายแล้วพวกท่านก็จะตายอยู่ดี
อะมัลที่ดีย่อมมีผลต่อทั้งดุนยาและอาคิรัต
อะมัลที่ดีที่เกิดขึ้นในดุนยาไม่ว่าจะมาจากมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิมย่อมดีทั้งหมดซึ่งจะพบผลลัพธ์ที่ดีในดุนยา
ผลลัพธ์ของการทำความดีมีทั้ง حکم تکليفی  และ حکم وضعی
حکم تلکيفی คือ เช่นหน้าที่ของประเด็นนี้คืออะไร เวลาที่เรามีความเชื่อที่ถูกต้องอะมัลที่ทำก็จะถูกต้องด้วย ดังนั้น การทำความดีตรงนี้จะมีผลทั้งในดุนยาและอาคิรัต แต่ถ้าผู้ปฏิเสธคนหนึ่งทำความดีเขาก็จะได้รับแต่ผลของมันในดุนยานี้เท่านั้นไม่มีผลต่อวันกิยามัต
อีกหนึ่งประเด็นคือเรื่องความปรารถนา การปรารถนานั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่มีเงื่อนไขว่าต้องไปทำให้เขาออกจากเป้าหมายหลัก
ความปรารถนาที่ถูกต้อง ที่ดี ไม่เป็นปัญหา คือ ความปรารถนาที่อยู่ภายใต้การมีอิสระและไม่นำพามนุษย์ไปสู่การทำบาปหรือปรารถนาในสิ่งที่ไม่สามารถไขว่คว้ามาได้จนทำให้เขาติดพันอยู่กับดุนยาจนไม่สามารถพบผลลัพธ์ใดเลย
มีอีกหนึ่งริวายัตจากท่านอิมามอะลี(อ)ที่กล่าวว่า
من أَطالَ أَمَلَ أَساءَ عَمَلَ “ใครที่มีความปรารถนาที่เกินเอื้อมย่อมมีอะมัลที่ผิด”
แต่หากเราทุกคนหวังจะได้อยู่ในยุคการปกครองของอิมามมะฮ์ดี(อ)และเราเพียรพยายามในการทำความดีเพื่อให้ไปถึงความหวังนั้น พระองค์จะประทานให้
ดังนั้น หากเป็นความปรารถนาที่เกี่ยวกับดุนยาและความปรารถนานั้นไกลเกินเอื้อมมันย่อมไม่ส่งผลลัพธ์ใดๆ แต่ถ้าเป็นความปรารถนาที่เกี่ยวกับอาคิรัตยิ่งมีความปรารถนาหรือความหวังมากเท่าใดยิ่งส่งผลลัพธ์ที่ดีมากเท่านั้นแต่มีเงื่อนไขว่าต้องพยายามและอุตสาหะด้วย
ท่านนบีนูฮ์(อ)เผยแพร่มา 950 ปีมีแค่ไม่กี่คนที่เชื่อท่านและศรัทธาแต่ท่านก็ยังมีความหวังที่จะให้เกิดผลลัพธ์ ดังนั้น เราเองก็ควรมีความหวังระยะยาวแต่เพื่ออาคิรัตไม่ใช่ในเรื่องของดุนยาและต้องพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งความปรารถนานั้นด้วย

บรรยายโดย ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี
ขอขอบคุณ เพจสถาบันศึกษาศาสนา อัล-มะฮฺดียะห์