ความยิ่งใหญ่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)ในวจนะของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
ความยิ่งใหญ่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)ในวจนะของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
ในวจนะบทหนึ่ง ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)กล่าวว่า
فاطمة بضعة منّی
ฟาฏิมะฮ์ คือ ส่วนหนึ่งจากเลือดเนื้อ/ร่างกายของฉัน เป็นตัวตนส่วนหนึ่งของฉัน(ศ็อลฯ)
من آذاها فقد آذانی
“ผู้ใดรังแกนาง ผู้นั้นรังแกฉัน”
ฮะดีษดังกล่าวนี้ เป็นฮะดิษมะอฺรูฟ(ฮะดีษที่มีชื่อเสียง)ซึ่งรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ และในครั้งหนึ่งอาอิชะฮ์ได้กล่าวว่า
وَاللهِ مَا رَأَیتُ فِی سَمتِهِ وَ هَدیِهِ اَشبَهَ بِرَسُول اللهِ مِن فاطِمَةَ
(ท่านแปลคำกล่าวนี้ว่า)ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ) แท้จริงฉันไม่เคยเห็นใครเหมือนท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) มากเท่ากับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) มาก่อนเลย ทั้งในแง่ของโครงรูป ใบหน้า ความเฉลียวฉลาด การสัญจร(ท่าทางการเดิน) และพฤติกรรม
و کان اذا دخلت علی رسولاللَّه قام الیها
เมื่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) เข้าพบท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะยืนขึ้นและเข้าหาท่านหญิง (อ) ด้วยความยินดี (ท่านจะ)ลุกขึ้นไปหาท่านหญิง (อ) ด้วยความรัก นี่คือ ความหมายของคำว่า กอมาอิลัยฮา(قام الیها) มิใช่หมายถึง เมื่อท่านหญิง (อ) เข้ามาในห้องเพื่อพบท่านศาสดา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)จะลุกขึ้นยืนต่อหน้าท่านหญิง(อ) (และปฏิบัติเหมือนบุคคลทั่วไป) เวลานั้น(ท่านใช้คำว่า ออนวักต์)บางรายงานที่มาจากรอวีย์คนเดียวกันก็มีที่ระบุว่า
وکان یقبّلها و یجلسها مجلسه
และท่านได้จุมพิตพระนาง และได้ให้พระนางนั่งลงในที่ของตนเอง(ศ็อลฯ) [1] เมื่อโองการอันทรงเกียรตินี้ถูกประทานลงมา
لَّا تَجْعَلُوا دُعَاءَ الرَّسُولِ بَيْنَكُمْ كَدُعَاءِ بَعْضِكُم بَعْضًا
พวกเจ้าอย่าทำให้การเรียกของอัลร่อซูลในหมู่พวกเจ้า เป็นเช่นเดียวกับการเรียกในระหว่างพวกเจ้าด้วยกันเอง [2] มวลมุสลิมได้รับคำบัญชาห้ามมิให้เรียกท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เหมือนกับการเรียกพวกเดียวกันเอง(เรียกแบบไม่ให้เกียรติ) แต่ให้เรียกด้วยคำว่า ยารอซูลุลลอฮ์ โอ้ศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ (หลังจากโองการนี้ถูกประทานลงมา) วันหนึ่งท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ)ได้เข้าไปเยี่ยมเรือนของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ(อ) (เมื่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มาถึง ท่านหญิง (อ) กล่าวต้อนรับว่า
السلام علیک یا رسول الله
“ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อล)” (หลังจากกล่าวสลาม) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สวมกอดบุตรีของตน และท่านได้จุมพิตดวงตาทั้งสองของท่านหญิง(อ) ซึ่งตามรายงานยังเล่าต่อ(หลังจากจุมพิตดวงตาทั้งสองข้างของท่านหญิง (อ) อีกว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ได้พูดกับท่านหญิง(อ)ว่า โอ้บุตรีของฉัน เจ้าไม่ต้องเรียกฉันว่า “รอซูลุลลอฮ์”แต่ให้เรียกฉันว่า “พ่อ” เถิด
ذلک اشفی لقلب واشکا للروح
(เพราะการเรียกฉันว่า “พ่อ”) เพราะการนี้ (การเรียกว่า “พ่อ”)ทำให้หัวใจและวิญญาณของฉันปิติสุขมีชีวิตชีวา”
(หลังจากยกริวายัตบทนี้ที่แสดงถึง การปฏิบัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต่อท่านหญิง (อ) ท่านได้ใช้ประโยคที่แสดงถึงการอุทานว่า) มนุษย์จะพูดอะไรต่อบุตรีคนนี้ได้อีกหรือ จะเหลืออะไรให้มนุษย์พูดถึงตัวตนที่ยิ่งใหญ่นี้ได้อีกหรือ ?
สรุปเนื้อหา
อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ถึงความยิ่งใหญ่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ) โดยนำเสนอริวายัตจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ริวายัตที่รายงานว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)คือส่วนหนึ่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ,รีวายัตที่ระบุถึงมุมมองของภรรยาถึงความคล้ายคลึงกันทั้งรูปพรรณสัณฐาน ท่าทีการพูดการเดิน และอิริยาบถอื่นๆ ระหว่างท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) หรือ รีวายัตที่เล่าถึง วิธีการปฏิบัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เมื่อท่านหญิง (อ) เข้าพบท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เช่น การยืนและลุกขึ้นไปต้อนรับด้วยความรัก หรือ การขอให้ท่านหญิง (อ) เรียกตนเองว่า “พ่อ” ซึ่งรีวายัตกลุ่มนี้ แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของท่านหญิง (อ) นั่นเอง
เชิงอรรถ
[1] สุนันอะบีดาวูด ฮะดีษ 5217
[2] ซูเราะฮ์นูร โองการที่ 62
อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 111-112