สามฉากแห่งชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)

สามฉากแห่งชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)

 

บทที่ 11 ตำแหน่งและฐานันดรของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) 
หัวข้อ สามฉากแห่งชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) : ฉากที่สอง
สิ่งที่เราต้องสังเกตและศึกษา เรื่องราวและบทบาทของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ) อยู่ในสามฉากชีวิต เราต้องพินิจพิเคราะห์และตัดสินใจ สามฉากชีวิตอย่างตรงไปตรงมา และอธิบายให้ถูกต้องอีกด้วย
ฉากแรก คือ ฉากชีวิต ในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง ท่านหญิงทำสิ่งใดในฐานะมุสลิม? อิบาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) ,อัคลากของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) การใช้ชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) พวกท่านต่างเคยเห็นในรีวายัตถึงคุณลักษณะอันพิเศษและความปริชาญาณของท่านหญิง(อ)ได้ถูกนำเสนอไว้อย่างมากมายถึงเพียงใด
ฉากที่สอง คือ การศึกษาชีวิตของท่านหญิงในฐานะสตรีท่านหนึ่งในบทบาททางสังคม โดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) มีบทบาทในสถานการณ์ร่วมสมัยของสังคม หรือไม่ ? ท่านหญิง (อ) แสดงบทบาทการต่อสู้หรือออกมาเคลื่อนไหวทางสังคมหรือไม่? ท่านหญิง (อ) มีบทบาทในการสร้างสังคมให้เกิดเสถีรภาพหรือไม่ ?  [คำตอบจะชัดเจน]เมื่อพิจารณา จากการต่อสู้ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) การตับลีฆ(เผยแพร่สาส์น) คำเทศนาอันน่าอัศจรรย์ใจ  เจตนารมย์ที่พร้อมรับภยันตรายและเผชิญหน้ากับอุปสรรคปัญหา ซึ่งเกิดขึ้นในสังคมแห่งการปฏิวัติ
[ท่านคิดว่า]สตรีทำสิ่งใดได้บ้างในสังคม ? หลายคนคิดกันไปเองว่า สตรีในมุมมองของอิสลาม ไม่มีบทบาทหน้าที่อะไรเลยในทางสังคม ทั้งๆที่เราต่างรู้ดีและเห็นว่า นี่เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) ปรากฎตัวในฐานะแบบฉบับของสังคม*(ต้นฉบับใช้คำว่า มะตั่น แปลว่า ตัวบท,Text) *ไม่เพียงเท่านั้นท่านหญิง (อ) ยังปรากฎตัวในภาวะที่สังคมกำลังอยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยงและล่อแหลมต่ออันตรายอีกด้วย และนั่นคือช่วงเวลา ที่วิวาทะคือเรื่อง คิลาฟัต(การปกครอง) เรื่องการต่อสู้ทางการเมืองในอิสลาม ท่านหญิง (อ) คือ ผู้ทรงพลัง ยืนเด่นเป็นศูนย์กลาง โดยมีซัลมาน อบูซัร มิกด๊าด อัมมาร ฮุซัยฟะฮ์ และแม้แต่ท่านอาลี บิน อบีฏอลิบ (อ) มารวมพลรายล้อมรอบตัวท่าน ท่านหญิง คือ ฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) ผู้เป็นธงนำแห่งการต่อสู้ นี่คือข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์  ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับวิชากะลาม(วิชาอะกออิด) หลังการวายชนม์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิการปกครองของท่านอิมามอาลี บิน อบีฏอลิบ (อ) ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานต่อเนื่อง ข้ามวันข้ามคืน เหน็ดเหนื่อยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครสามารถปฏิเสธสิ่งนี้ได้ ว่าแท้จริง ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) ต่างหากที่เป็นแกนกลางของการต่อสู้
ท่านทั้งหลาย โปรดเพ่งมอง ในฉากต่อสู้ทางสังคม จะเห็นสตรีคนหนึ่งออกมาต่อสู้เคลื่อนไหวอยู่เช่นนี้ นี่คือแบบฉบับสำหรับเรา และจะต้องเป็นเช่นนี้เสมอไป เราไม่อาจค้านได้ว่า จริงสิ ก็เพราะท่านหญิง คือ ฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ (อ) สตรีเช่นเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร [ไม่ใช่เช่นนี้เลย] สตรีของเราควรนำแบบฉบับของท่านหญิง (อ) มาปฏิบัติตาม นำเอาแบบฉบับมาเป็นเยี่ยงอย่าง  หากไม่เป็นบุตรีของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่มีความเป็นมะอฺศูม ไม่ใช่ผู้ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แสดงความรักหวงแหน  หากงานและอามั้ลของท่านหญิง ไม่ได้ถูกรับรองโดยมะอฺศูม (ท่านหมายเหตุไว้ว่า ไม่ได้หมายความว่าตัวของท่านหญิง(อ)ไม่ใช่มะศูม จนต้องให้มะอฺศูมมารับรองอามั้ล เพราะตัวตนของท่านหญิงเองเป็นมะศูม) เราก็คงไม่เสนอให้ท่านเอาเยี่ยงอย่าง แน่นอนท่านหญิง(อ) ย่อมสูงส่งกว่า ท่านหญิงซับหนับกุบรอ (ซล) ท่านหญิงเข้มแข็งกว่าผู้ใด  อามั้ลของท่านหญิงมีมิติที่ครบถ้วนรอบด้านมากกว่าผู้ใด ไม่เพียงเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ของท่านหญิง เสมอต้นเสมอปลายไปตลอดชีวิต นี่คือ ฉากหนึ่งของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ)

สรุป
อิมามคาเมเนอีย์ สอนว่า หากจะศึกษาชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) ให้เราศึกษาชีวิตของท่านในสามฉาก ได้แก่ ชีวิตเชิงปัจเจก,สังคม ,ครอบครัว ในฉากที่สอง คือ ชีวิตทางสังคม ซึ่งเป็นฉากที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) ได้แสดงบทบาทในสถานการณ์ที่อันตราย ในทางสังคม ท่านหญิง คือ ธงชัยแห่งการต่อสู้ คือ แกนกลางแห่งการต่อสู้ ตัวตนของท่านคือการต่อสู้ ที่เราจะต้องนำมาเป็นแบบอย่าง นอกจากนี้ท่านอิมามคาเมเนอีย์ยังได้ชี้ให้ถึงความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องสองประการ ได้แก่ 
ก)ความเข้าใจว่าสตรีในอิสลาม ไม่มีบทบาทใดๆในสังคม และ 
ข)ความเข้าใจว่า สิ่งที่มะอฺศูมกระทำ คือ สิ่งที่เราไม่อาจทำได้  
ในข้อแรก ตัวตนของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) คือ ข้อพิสูจน์ว่า สตรีมุสลิม จะต้องมีบทบาทในทางสังคมและการเมือง 
ในกรณีที่สอง ท่านได้หักล้างโดยนำเสนอว่า การปฏิเสธหน้าที่โดยอ้างความสูงส่งและความเป็นมะศูมของอะฮ์ลุลบัยต์ เป็นคนละประเด็นกับการปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์ การที่พวกเขาทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่และสูงส่ง จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะปฏิบัติตามและในกระทำในสิ่งเดียวกัน

 

อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 114