ตำแหน่งและฐานันดรของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ฉากครอบครัว
ตำแหน่งและฐานันดรของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ฉากครอบครัว
บทที่ 11 ตำแหน่งและฐานันดรของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)
หัวข้อ ฉากที่สาม ฉากครอบครัว
ฉากที่สาม ฉายภาพของสตรีคนหนึ่งในครอบครัว ในฐานะแม่ ในฐานะภรรยา ในฐานะสตรีคนหนึ่งที่อดทนต่ออุปสรรคนานัปการ ในฐานะสตรีที่สามีออกไปรบทัพจับศึกกว่า 30 สงครามในห้วง แปด-เก้าปี
นายหญิงคนนี้แบกรับและอดทนต่อเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด ไม่เคยขออะไรจากสามีเลยแม้แต่ครั้งเดียว ไม่เคยเรียกร้องต่อสามีให้ เตรียมสิ่งนั้นสิ่งนี้มาให้ตนเอง
แน่นอน มันเป็นเรื่องมุบาฮ์ เป็นเรื่องอนุญาตปกติสำหรับสตรี (ที่จะเรียกร้องหรือขอบางสิ่งจากสามีของตนเอง) แต่เรื่องนี้กลับไม่เคยเกิดขึ้นเลยกับท่านหญิง
นี่หมายความว่าอะไร ?
หมายความว่า ท่านหญิงควบคุม “ทุกความต้องการ” กล่าวคือ ท่านไม่ได้ถูกความต้องการควบคุม แต่ท่านคือผู้ควบคุมและกุมบังเหียรทุกความต้องการ
มีฮาดิษรายงานว่า ((سمیت فاطمة الزهراء))[1] ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)ถูกเรียกว่า อัซซะฮ์รอ (ที่แปลว่า เปล่งแสง,ส่องประกาย,สว่างไสว) เพราะในหนึ่งวัน ท่านหญิง(อ)ได้ทำให้ดวงตาของท่านอาลี(อ)สว่างไสวถึงสามครั้ง หากสตรีสนับสนุนบุรุษ บุรุษผู้นั้นจะมีพลังเพิ่มเป็นหลายเท่า
นี่คือ สตรีผู้ปราดเปรื่อง ผู้รู้ ผู้รายงานวัจนะ ผู้มีความสัมพันธ์กับมิติเร้นลับ ผู้ที่เทวฑูตเผยตนสนทนาด้วย นี่คือ สตรีที่หัวใจของนาง เหมือนกันกับหัวใจของท่านอาลี(อ) และท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ซึ่งส่องสว่างทั่วพิภพ ทั้งภพแห่ง “มุลก์” และ “มะละกูต”[2] ต่างกันเพียงสถานะหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา อันไม่ใช่ สถานะหน้าที่ของนะบูวัต หรือ อิมามัต หรือ“วะอิลลา” แต่ในทางจิตวิญญาณแล้วท่านหญิง (อ) ไม่มีความแตกต่างใดๆกับจิตวิญญาณของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)เลย
สรุป : ฉากที่สามเป็นฉากครอบครัว หมายถึง มิติชีวิตทางครอบครัวของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ) อิมามเคเมเนอีย์ แนะนำให้เราศึกษาชีวิตของท่านหญิง(อ) ในฐานะ “แม่” ในฐานะ “ภรรยา” ในฐานะของสตรีที่สามีของตนเองออกไปทำศึกสงครามเป็นเวลายาวนาน แล้วเราจะพบว่า ท่านหญิงเป็นผู้ที่แบกรับทุกปัญหาและอุปสรรคนานัปการ เป็นผู้ที่ไม่เคยเรียกร้องหรือขอสิ่งใดจากสามีของตนเองแม้แต่เพียงครั้งเดียว แม้จะเป็นเรื่องปกติ แม้จะไม่ใช่เรื่องผิดที่ภรรยาจะขอบางสิ่งจากสามีของตนก็ตามนอกจากนี้อิมามคาเมเนอีย์ยังอธิบายด้วยว่า เหตุที่ท่านหญิง(อ)ถูกเรียกว่า อัซซะฮ์รอ ก็เพราะบทบาทการสนับสนุนท่านอิมามอาลี(อ) เพราะท่านคือแสงสว่างสำหรับครอบครัว และโลกหล้า เป็นแสงสว่างที่ปลอบประโลมจิตใจของท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)อยู่เสมอและตลอดไป
[1] بحارالانوار/کتاب تاریخ فاطمة و الحسن والحسین /ابواب تاریخ سیدة نساء العالمین/باب 2/حدیث 14
[2] อาละมุลมุลก์(علم المُلک) หมายถึง โลกแบบซอฮิร ส่วน อาละมุลมะละกูต(علم الملکوت) หมายถึง โลกแบบบาฏิน ในอัลกุรอ่าน หากกล่าวถึง มะลากูต จะขึ้นด้วย ซุบฮาน «فَسُبْحانَ الَّذي بِيَدِهِ مَلَکُوتُ کُلِّ شَيْءٍ» แต่หากกล่าวถึงมุลก์ จะขึ้นโองการด้วย ตะบาร๊อก «تَبارَکَ الَّذي بِيَدِهِ الْمُلْکُ»
อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 115